ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความหนาแน่นของวัตถุหนึ่งคืออัตราส่วนของมวลวัตถุนั้นต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร การหาความหนาแน่นนำมาใช้ในธรณีวิทยา โลหวิทยา และวิทยาศาสตร์กายภาพเพื่อระบุคุณสมบัติของหิน แร่ โลหะและใช้ในการคำนวณหาแรงลอยตัวของวัตถุในของเหลวที่ให้มาเพื่อจะได้รู้ว่าวัตถุนั้นสามารถลอยในของเหลวนั้นได้หรือไม่ ถ้าอยากรู้วิธีหาความหนาแน่น ให้ทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลย

  1. มวลของวัตถุก็คือปริมาณเนื้อของสสารในวัตถุนั้น เราสามารถหามวลได้จากการชั่งนำหนักวัตถุด้วยตาชั่งหรือตาชั่งสปริง
    • ถ้าวัตถุอยู่ในภาชนะขณะที่กำลังชั่งน้ำหนักอย่างเช่น ของเหลวหรือผงต่างๆ ในกระบอกตวง ต้องชั่งน้ำหนักภาชนะเปล่าก่อนและค่อยนำมาลบออกจากน้ำหนักของภาชนะที่มีวัตถุอยู่ในนั้น ก็จะได้มวลของวัตถุนั้นออกมา
  2. ปริมาตรของวัตถุคือขนาดของวัตถุนั้น เราสามารถหาปริมาตรได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นเป็นวัตถุอะไร
    • ถ้าวัตถุนั้นเป็นของแข็งที่มีรูปทรงธรรมดา ให้วัดความยาว ความกว้าง ความสูง (ความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลาง ถ้าวัตถุนั้นเป็นทรงกระบอก) และคำนวณหาปริมาตรตามรูปร่างของวัตถุ ลองอ่านวิธีการหาปริมาตรของ ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก พีระมิด และอื่นๆ ดู
    • ถ้าวัตถุนั้นเป็นของแข็งและไม่มีรูพรุน อีกทั้งรูปร่างไม่เป็นรูปทรงอย่างเช่น หินขรุขระ เราสามารถหาปริมาตรของวัตถุแบบนี้โดยการหย่อนวัตถุลงในน้ำและวัดปริมาตรน้ำที่วัตถุนั้นแทนที่ (ใช้หลักของอาร์คิมิดีส วัตถุจะแทนที่ปริมาตรของน้ำด้วยปริมาตรของมันเอง)
    • ถ้าต้องหาปริมาตรของเหลวหรือผงต่างๆ ให้นำของเหลวหรือผงนั้นมาใส่ในกระบอกตวง และดูขีดที่สารนั้นขึ้นไปถึง (ถ้าเป็นของเหลว ดูขีดที่อยู่จุดต่ำสุดของส่วนโค้งซึ่งของเหลวนั้นขึ้นไปถึง)
  3. ค่านี้เป็นค่าความหนาแน่นของวัตถุนั้นและแสดงในหน่วยของมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ตัวอย่างเช่น วัตถุหนึ่งมีมวล 20 กรัมและมีปริมาตร 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร จึงมีความหนาแน่น 4 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
  4. 4
    บีกเกอร์ที่แห้งและสะอาดใบหนึ่งมีมวล 200 กรัม. ใช้ปิเปตต์ดูดของเหลวปริมาตร 200 ลูกบาศก์เซนติเมตรใส่บีกเกอร์ ถ้ามวลของบีกเกอร์และของเหลวนั้นรวมกันได้ 360 กรัม คำนวณหาความหนาแน่นของของเหลวนั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ความหนาแน่นนั้นเกี่ยวข้องกับความถ่วงจำเพาะซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของวัตถุหนึ่งกับความหนาแน่นของน้ำ เนื่องจากความหนาแน่นของน้ำคือ 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้าความหนาแน่นของวัตถุหนึ่งถูกวัดเป็นหน่วยเดียวกัน ค่าตัวเลขความถ่วงจำเพาะของวัตถุนั้นจะเท่ากับความหนาแน่นของมันโดยไม่มีหน่วยอยู่ข้างหลัง
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ตาชั่ง หรือตาชั่งสปริง
  • ไม้บรรทัดหรือเทปวัด
  • เครื่องคิดเลข
  • กระบอกตวง (สำหรับผงต่างๆ หรือของเหลว)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 78,012 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา