PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ทรงกลมเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบสามมิติที่กลมอย่างสมบูรณ์ พื้นผิวของทรงกลมมีระยะห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากันทุกจุด วัตถุที่เราใช้ในชีวิตประจำวันอย่างลูกบอลหรือลูกโลกก็เป็นทรงกลม ถ้าเราอยากคำนวณปริมาตรของทรงกลม เราก็ต้องรู้ความยาวของรัศมีเสียก่อน จะได้นำมาเข้าสูตร V = ⁴⁄₃πr³

  1. สมการนี้คือ V = ⁴⁄₃πr³ ในสมการนี้ "V"แทนปริมาตรและ "r" แทนรัศมีของทรงกลม
  2. ถ้าโจทย์ให้ความยาวของเส้นรัศมีมาแล้ว ก็สามารถทำขั้นตอนต่อไปได้เลย แต่ถ้าโจทย์ให้ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง เราต้องนำไปหารด้วยสองก่อน พอได้ความยาวของรัศมีแล้ว ก็ให้เขียนลงในสูตร สมมติว่าเส้นรัศมียาว 1 นิ้ว (2.5 ซม.) [1]
    • ถ้าโจทย์แค่ให้พื้นที่ผิวของทรงกลมมา เราก็ต้องหารัศมีของทรงกลมด้วยการนำพื้นที่ผิวนั้นมาหารด้วย 4π แล้วหารากที่สองของผลหารนั้น ในกรณีนี้ r = รากที่สองของผลลัพธ์ที่ได้จากพื้นที่ผิว/4π
  3. นำความยาวของเส้นรัศมีมาคูณกันสามครั้ง ตัวอย่างเช่น 1 3 คือผลลัพธ์จากการนำ 1 นิ้ว (2.5 ซม.) x 1 นิ้ว (2.5 ซม.) x 1 นิ้ว (2.5 ซม.) สาเหตุที่ได้ผลลัพธ์เท่าเดิมเพราะ 1 คูณตัวมันเองไม่ว่ากี่ครั้งก็ได้ 1 เราจะใส่หน่วยวัดซึ่งก็คือนิ้วไว้หลังผลลัพธ์ด้วย พอนำความยาวเส้นรัศมีมายกกำลังสามแล้ว เราก็นำมาใส่ในสมการ V = ⁴⁄₃πr³ ที่ตั้งไว้ตอนต้นเพื่อหาปริมาตรทรงกลม ก็จะได้ V = ⁴⁄₃π x 1
    • สมมติว่าเส้นรัศมียาว 2 นิ้ว (5.1 ซม.) ถ้านำมายกกำลังสาม ก็จะได้ 2 3 ซึ่งก็คือ 2 x 2 x 2 หรือ 8
  4. นำเส้นรัศมีที่ยกกำลังสามเรียบร้อยแล้วมาคูณด้วย 4/3. คราวนี้เรานำ r 3 หรือ 1 มาใส่ในสมการ จากนั้นนำตัวเลขดังกล่าวมาคูนด้วย 4/3 เพื่อจะได้แก้สมการ V = ⁴⁄₃πr³ เมื่อ 4/3 x 1 = 4/3 คราวนี้สมการก็จะกลายเป็น V = ⁴⁄₃ x π x 1 หรือ V = ⁴⁄₃π
  5. นี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการหาปริมาตรของทรงกลม เราจะปล่อย π ไว้แบบนี้ก็ได้ เราก็จะได้ผลลัพธ์ว่า V = ⁴⁄₃π หรืออาจใส่ค่า π ลงในเครื่องคิดเลขแล้วคูณด้วย 4/3 ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำ π (ประมาณ 3.14159) x 4/3 = 4.1887 ซึ่งเราจะประมาณเป็น 4.19 อย่าลืมใส่หน่วยวัดและตอบเป็นลูกบาศก์นิ้ว ปริมาตรของทรงกลมที่มีรัศมียาว 1 นิ้วคือ 4.19 ลูกบาศก์นิ้ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าลืมตอบเป็นหน่วยลูกบาศก์ (เช่น 31 ลูกบาศก์ฟุต)
  • หน่วยวัดต้องเป็นหน่วยเดียวกัน แต่ถ้าไม่ จะต้องเปลี่ยนให้เป็นหน่วยเดียวกัน
  • เครื่องหมายดอกจัน (*) ใช้แทนเครื่องหมายคูณเพื่อป้องกันไม่ให้สับสนกับตัวแปร "x"
  • ถ้าต้องหาปริมาตรทรงกลมเพียงแค่ส่วนเดียวอย่างเช่น ครึ่งทรงกลม หรือหนึ่งในสี่ของทรงกลม หาปริมาตรของทรงกลมทั้งลูกก่อน จากนั้นจึงนำมาคูณกับเศษส่วนที่เราต้องการหา ตัวอย่างเช่น เราต้องหาปริมาตรของครึ่งทรงกลม เรารู้ว่าปริมาตรของทรงกลมทั้งลูกนั้นคือ 8 ให้นำมาคูณด้วย 1/2 หรือหาร 8 ด้วย 2 ก็จะได้ 4
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เครื่องคิดเลข (ไว้ช่วยคำนวณโจทย์ที่มีตัวเลขมากและเสี่ยงที่จะคำนวณพลาด)
  • ดินสอและกระดาษ (อาจไม่ต้องใช้ถ้ามีเครื่องคิดเลขแบบไฮเทค)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 86,146 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา