ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ลำดับเลขคณิตคืออนุกรมของจำนวนที่แต่ละพจน์เพิ่มขึ้นด้วยปริมาณที่คงที่ ถ้าเราต้องการหาผลบวกของลำดับเลขคณิต เราสามารถนำจำนวนทั้งหมดมาบวกกันเลยก็ได้ แต่ถ้าจำนวนในลำดับเลขคณิตนั้นมีค่ามาก การนำจำนวนทั้งหมดมาบวกกันอาจทำได้ยากลำบาก เราจึงต้องหาผลบวกของลำดับเลขคณิตด้วยการนำจำนวนพจน์ที่มีทั้งหมดในลำดับเลขคณิตนั้นมาคูณกับค่าเฉลี่ยของพจน์แรกและพจน์สุดท้าย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

พิจารณาลำดับเลขคณิตที่ให้มา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลำดับเลขคณิตคือชุดตัวเลขซึ่งเรียงไปตามลำดับ โดยที่การเปลี่ยนแปลงในจำนวนเหล่านั้นเป็นไปอย่างคงที่ [1] สูตรการหาผลบวกของลำดับเลขคณิตจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อชุดตัวเลขที่เรามีเป็นลำดับเลขคณิตเท่านั้น
    • ถ้าอยากรู้ว่าชุดตัวเลขเหล่านั้นเป็นลำดับเลขคณิตหรือไม่ หาผลต่างระหว่างตัวเลขสองสามตัวแรกและตัวเลขสองสามตัวสุดท้าย ดูสิว่าตัวเลขเหล่านั้นมีผลต่างเท่ากันหรือเปล่า
    • ตัวอย่างเช่น ชุดตัวเลข 10, 15, 20, 25, 30 เป็นลำดับเลขคณิต เพราะผลต่างของแต่ละพจน์นั้นเท่ากัน (5)
  2. จำนวนแต่ละจำนวนคือพจน์แต่ละพจน์ ถ้าพจน์มีเพียงไม่กี่พจน์ เราสามารถนับเองได้ แต่ถ้าเรารู้พจน์แรก พจน์สุดท้าย และผลต่างร่วมกัน (ผลต่างระหว่างแต่ละพจน์) ก็จะสามารถใช้สูตรเพื่อหาว่าพจน์ในชุดนั้นมีกี่พจน์ ตอนนี้ให้แทนจำนวนของพจน์ด้วยตัวแปร ก่อน
    • ตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังหาผลบวกของลำดับเลขคณิต 10, 15, 20, 25, 30 ให้ เพราะในลำดับเลขคณิตนี้มีพจน์อยู่ 5 พจน์
  3. ดูสิว่าพจน์ใดเป็นพจน์แรกและพจน์ใดเป็นพจน์สุดท้ายของลำดับนั้น. เราจะต้องรู้ว่าพจน์ใดเป็นพจน์แรกและพจน์ใดเป็นพจน์สุดท้ายเพื่อหาผลบวกของลำดับเลขคณิตนั้น โดยปกติจำนวนแรกจะเป็น 1 แต่ก็ไม่เสมอไป เราจะให้ตัวแปร แทนพจน์แรกในลำดับเลขคณิตนั้นและ แทนพจน์สุดท้ายของลำดับเลขคณิตนั้น
    • ตัวอย่างเช่นในลำดับเลขคณิต 10, 15, 20, 25, 30 ฉะนั้น และ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หาผลบวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สูตรนี้คือ โดยที่ เท่ากับผลบวกของลำดับเลขคณิตนี้ [2]
    • สูตรนี้บอกว่าผลบวกของลำดับเลขคณิตมีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยของพจน์แรกและพจน์สุดท้าย คูณด้วยจำนวนพจน์ [3]
  2. แทนค่า , และ ลงไปในสูตร. เราต้องแทนค่าให้ถูกต้อง
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าลำดับเลขคณิตของเรามี 5 พจน์ 10 คือพจน์แรก และ 30 คือพจน์สุดท้าย เมื่อแทนค่าเหล่านี้ลงในสูตรแล้วก็จะได้เป็น
  3. หาค่าเฉลี่ยด้วยการนำจำนวนทั้งสองมาบวกกันและหารด้วย 2
    • จากตัวอย่างที่ยกมา

  4. เราก็จะได้ผลบวกของลำดับเลขคณิตนั้น
    • จากตัวอย่างที่ยกมา


      ฉะนั้นผลบวกของลำดับเลขคณิต 10, 15, 20, 25, 30 คือ 100
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูตัวอย่างการหาผลบวกของลำดับเลขคณิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองมาดูตัวอย่างการหาผลบวกของลำดับเลขคณิตของจำนวนเต็มที่มีลำดับต่อเนื่องกัน
    • หาจำนวนพจน์ ( ) ในลำดับเลขคณิตนั้น เนื่องจากจำนวนเต็มที่มีลำดับต่อเนื่องกันมี 500 พจน์ ฉะนั้น
    • หาพจน์แรก ( ) และพจน์สุดท้าย ( ) ในลำดับเลขคณิตนั้น เนื่องจากลำดับเลขคณิตนั้นเริ่มตั้งแต่ 1 สิ้นสุดที่ 500 ฉะนั้น และ
    • หาค่าเฉลี่ยของ และ :
    • คูณค่าเฉลี่ยด้วย ก็จะได้
  2. หาผลบวกของลำดับเลขคณิตเมื่อโจทย์กำหนดค่าต่างๆ มาให้. พจน์แรกในลำดับเลขคณิตคือ 3 พจน์สุดท้ายในลำดับเลขคณิตนี้คือ 24 ผลต่างร่วมกันคือ 7
    • หาจำนวนพจน์ ( ) ในลำดับเลขคณิตนี้ เนื่องจากจำนวนแรกคือ 3 และจำนวนสุดท้ายคือ 24 จำนวนแต่ละจำนวนเพิ่มขึ้นทีละ 7 ชุดลำดับเลขคณิตนี้ประกอบด้วย 3, 10, 17, 24 (ผลต่างร่วมคือผลต่างระหว่างจำนวนแต่ละจำนวนในลำดับเลขคณิตนี้) [4] ฉะนั้น
    • หาพจน์แรก ( ) และพจน์สุดท้าย ( ) ในลำดับเลขคณิตนี้ จะเห็นว่าลำดับเลขคณิตเริ่มจาก 3 ไปจนสิ้นสุดที่ 24 ฉะนั้น และ
    • หาค่าเฉลี่ยของ และ :
    • คุณค่าเฉลี่ยด้วย ก็จะได่
  3. เมธาวีเก็บเงินในสัปดาห์แรกของปีได้ 50 บาท เธอเก็บเงินเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 50 บาท พอสิ้นปีเมธาวีจะมีเงินเก็บเท่าไหร่
    • หาจำนวนพจน์ ( ) ในลำดับเลขคณิต เนื่องจากเมธาวีเก็บเงิน 52 สัปดาห์ (1 ปี) ฉะนั้น
    • หาพจน์แรก ( ) และพจน์สุดท้าย ( ) ของลำดับเลขคณิตนั้น เธอเก็บเงินในสัปดาห์แรก 50 บาท ฉะนั้น เธอเก็บเงินในสัปดาห์สุดท้าย ฉะนั้น
    • หาค่าเฉลี่ยของ และ :
    • คูณค่าเฉลี่ยด้วย ก็จะได้ ฉะนั้นตอนสิ้นปีเธอจะมีเงินเก็บ 68,900 บาท
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 59,877 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา