ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเกิดคุณไปอยู่ในจุดที่ห่างไกลผู้คนแต่ดันเป็นสถานการณ์ที่มีใครสักคนบาดเจ็บ แทบจะไม่มีหรือไม่มีหน่วยฉุกเฉินหรืออุปกรณ์ปฐมพยาบาลเลย คุณอาจจำเป็นต้องแบกคนผู้นั้นไปยังที่ปลอดภัยหรือเข้ารับการรักษา แม้มันอาจฟังดูน่ากลัว แต่ถ้ามีใครอีกคนอยู่กับคุณ ก็จะมีวิธีหลากหลายที่จะแบกผู้บาดเจ็บไม่ว่าเขาจะมีสติหรือไม่มีสติก็ตาม โดยการแบกหลายๆ แบบตามต่อไปนี้ คุณอาจได้ช่วยหรือกระทั่งช่วยชีวิตคนที่บาดเจ็บ และจำไว้ว่าต้องใช้วิธีการลุกที่ถูกต้องเวลายกร่างผู้บาดเจ็บ นั่นคือให้ลุกขึ้นด้วยขา ไม่ใช่ใช้ก้มหลังของคุณเอา

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ใช้ไม้ค้ำยันมนุษย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจบุคคลนั้นดูว่ามีการบาดเจ็บที่คอกับหลังหรือไม่. อย่าพยายามขยับร่างคนที่บาดเจ็บตรงคอหรือกระดูกสันหลัง สันนิษฐานว่าจะเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะกับลำคอถ้าหากว่า:
    • คนผู้นั้นบ่นว่าปวดที่คอหรือหลังอย่างมาก
    • อาการบาดเจ็บนั้นมีแรงกระทำอย่างมากตรงหลังหรือศีรษะ
    • คนผู้นั้นบ่นเรื่องไร้เรี่ยวแรง ชา หรืออัมพาต หรือมิอาจบังคับควบคุมแขนขา กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ได้
    • ลำคอหรือแผ่นหลังของคนผู้นั้นบิดหรืออยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ
  2. ในระหว่างที่คุณกำลังเตรียมตัวเองกับอีกคนหนึ่งจัดตำแหน่งท่วงท่าเพื่อใช้เป็นประหนึ่งไม้ค้ำยันมนุษย์ ให้ทิ้งผู้บาดเจ็บไว้ที่พื้นก่อน นี่จะช่วยให้มั่นใจว่าคุณจะไม่ทำเขาหล่นร่วงหรือยิ่งทำให้บาดเจ็บหนักกว่าเดิมในขณะกำลังจัดท่าทาง [1]
  3. คุณกับผู้ช่วยเหลืออีกคนนั้นควรยืนขนาบตรงบริเวณทรวงอกของผู้บาดเจ็บคนละข้าง โดยให้หันหน้าเข้าหากัน [2] การแน่ใจว่าคุณอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการทำผู้บาดเจ็บหล่นหรือทำให้เขาบาดเจ็บยิ่งขึ้นอีก
    • ผู้เข้าช่วยแต่ละคนควรคว้าข้อมือของผู้บาดเจ็บด้วยมือข้างที่อยู่ติดกับเท้าที่สุด ให้แน่ใจว่าให้ทำเฉพาะด้านของตนเอง [3]
    • มือข้างที่ยังว่างอยู่ของคุณกับเพื่อนควรคว้าเสื้อผ้าของผู้บาดเจ็บหรือไหล่ด้านที่อยู่ใกล้ที่สุด [4]
  4. พอคุณกับเพื่อนสามารถจับร่างผู้บาดเจ็บได้อย่างรัดกุมแล้ว ให้รั้งตัวเขาขึ้นมาอยู่ในท่านั่ง ให้แน่ใจว่าได้ทำช้าๆ เพื่อจะได้ไม่เผลอไปกระแทกหรือทำเขาหลุดมือ [5]
    • การค่อยๆ ดึงผู้บาดเจ็บขึ้นมาอยู่ในท่านั่งนั้นยังเปิดโอกาสให้ระบบหมุนเวียนโลหิตของเขาได้ปรับความคงที่ โดยเฉพาะถ้าเขานอนอยู่บนพื้น มันจะช่วยป้องกันอาการวิงเวียนหน้ามืดที่อาจทำให้คนผู้นั้นล้มลงได้
    • หากตัวเขายังคงมีสติอยู่ คุณอาจต้องตรวจสอบทางวาจากับผู้บาดเจ็บเพื่อความแน่ใจว่าการทำแบบนี้ไม่ทำให้เขาเจ็บและยืนยันว่าเขารู้สึกอาการทรงตัว [6]
    • ปล่อยให้เขาได้นั่งอย่างน้อยสักหลายนาทีก่อนจะขยับเป็นท่ายืน ในจุดนี้ให้แนะนำคนผู้นั้นว่าคุณกำลังจะขยับตัวเขาย้ายไปยังจุดที่ปลอดภัย
  5. พอผู้บาดเจ็บพร้อมและคิดว่าจะทำได้แล้ว ให้ช่วยเขาลุกขึ้นยืน หากทำไม่ได้ ให้ยกคนผู้นั้นขึ้นมายืนโดยคว้าตรงเสื้อผ้า [7]
    • ให้เวลาเขาในการยืนมากเท่าที่เขาต้องการ ตราบเท่าที่ไม่มีอันตรายเฉพาะหน้าใดๆ ก็เหมือนกับตอนลุกนั่ง นี่จะช่วยให้ระบบความดันโลหิตปรับความคงที่และช่วยไม่ให้ล้มลงโดยไม่จำเป็น [8]
    • หากเขาไม่สามารถวางเท้าแม้ข้างใดข้างหนึ่งไว้ที่พื้น คุณอาจจำเป็นต้องคอยช่วยพยุงตัว ถ่ายน้ำหนักจากขาเขาไม่ว่าจะข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างให้ได้มากที่สุดในกรณีนี้
  6. พอผู้บาดเจ็บยืนขึ้น ให้โอบมือรอบเอวเขา เมื่อคุณเริ่มจะขยับร่างเขานั้น มันจะช่วยเพิ่มความมั่นคงในระหว่างช่วยเหลือเขา [9]
    • ถ้าเขาคนนั้นไม่ได้สติ คว้าเข็มขัดหรือสายรัดเอวแทน ดึงมันขึ้นเล็กน้อยเพื่อยกร่างท่อนบนของเขาขึ้นมา [10]
  7. ย่อตัวเล็กน้อยแล้ววางแขนของเขาโอบไหล่คุณกับเพื่อนอีกคน นี่จะช่วยทำให้คุณหันหน้าไปในทิศทางเดียวกับผู้บาดเจ็บ
    • คนที่มาช่วยเหลือควรใช้ขาของพวกเขายืนขึ้นพร้อมผู้บาดเจ็บ ให้แน่ใจว่าทำช้าๆ เพื่อพยุงตัวได้อย่างมั่นคง [11]
    • ลองถามผู้บาดเจ็บดูว่าเขายังโอเคและพร้อมจะขยับตัวย้ายที่หรือไม่ [12]
    • อย่าเร่งรัดเขา ให้เวลาเขาลุกขึ้นยืนตามที่ต้องการ
  8. พอทุกคนลุกขึ้นยืนและหันไปในทิศทางเดียวกันหมด คุณก็พร้อมที่จะพาผู้บาดเจ็บเคลื่อนย้ายออกไป ให้แน่ใจว่าเขาปลอดภัยโดยการเอ่ยถามหรือตรวจกับเพื่อนที่มาช่วยถ้าผู้บาดเจ็บไม่ได้สติ มันไม่เพียงจะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าคุณจะไม่ทำเขาพลั้งหล่นหรือไปกระแทกอะไร แต่ยังช่วยให้คุณเคลื่อนย้ายตัวเขาออกจากจุดเกิดเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น [13]
    • ขาของผู้บาดเจ็บควรลากเท้าอยู่หลังคุณกับคนที่มาช่วย [14]
    • ให้แน่ใจว่าได้ทำช้าๆ และรอบคอบเวลาเคลื่อนย้ายเขาเพื่อความปลอดภัย [15]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การหามร่างท่าอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเขาคนนั้นไม่ได้สติหรือมีอาการไม่คงที่ ให้ทำแคร่หามคนผู้นั้น คุณสามารถใช้ท่อนไม้สองท่อนกับผ้าห่ม หรือจะประยุกต์การทำแคร่หามจากวัสดุที่พอหาได้แถวนั้นก็ได้ [16]
    • หาไม้พลองที่มั่นคง กิ่งไม้หรือวัสดุที่มีทรงเหยียดตรงเหมือนเสามาวางขนานกันบนพื้น [17]
    • หาผ้าที่มีขนาดใหญ่กว่าแคร่ประมาณสามเท่ามาวางไว้บนพื้น สอดท่อนไม้เข้าไปในผ้าประมาณหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่ง พับส่วนนั้นทับท่อนไม้
    • วางไม้อีกท่อนไว้บนผ้าสองชิ้น ให้เหลือพื้นที่พอสำหรับผู้บาดเจ็บและมีผ้าเหลือพอจะพับทับไม้ท่อนที่สอง
    • พับผ้าทับท่อนไม้เพื่อที่อย่างน้อยผ้าราวหนึ่งฟุตได้หุ้มไม้ท่อนที่สอง นำผ้าที่เหลือพับทับท่อนไม้อีก
    • หากคุณหาผ้าผืนใหญ่ๆ หรือผ้าห่มไม่ได้ ให้ใช้ผ้าเช็ดตัว เสื้อ เสื้อหนาว หรือผ้าอะไรก็ได้ที่พอหาได้ อย่าใช้เสื้อผ้าตนเองถ้าหากมันไปขัดขวางความสามารถที่คุณจะช่วยเหลือคนผู้นั้น [18]
    • ตรวจดูเพื่อความมั่นใจว่าแคร่ที่ทำขึ้นนั้นมีความมั่นคงปลอดภัยพอที่คุณจะไม่ทำผู้บาดเจ็บพลัดหล่น [19]
  2. ถ้าคุณหาวัสดุมาใช้ทำแคร่หามไม่ได้เลย คุณสามารถใช้แขนของตัวเองร่วมกับแขนของเพื่อนที่มาช่วย [20] มันเป็นท่าที่มั่นคงกับคนนั้นมากกว่า โดยเฉพาะถ้าเขาหมดสติ [21]
    • ผู้บาดเจ็บควรอยู่ที่พื้นและคนที่มาช่วยให้ใช้มือข้างที่อยู่ใกล้ศีรษะผู้บาดเจ็บที่สุดมารองใต้ศีรษะเขาเพื่อประคองเอาไว้
    • ผู้เข้ามาช่วยเหลือแต่ละคนควรคว้าจับมือของผู้ช่วยเหลือที่เอามือประคองศีรษะ โดยให้มือที่จับอยู่ใต้ทรวงอกของผู้บาดเจ็บ ในระดับเดียวกับกระดูกหน้าอกส่วนล่าง ผู้เข้ามาช่วยเหลือควรจับมือสอดประสานกันเป็นพื้นที่มั่นคง [22]
    • ผู้เข้ามาช่วยเหลือคนที่มืออยู่ชิดกับเท้าผู้บาดเจ็บที่สุดควรวางมือเขาสอดใต้ขาผู้บาดเจ็บ [23]
    • ย่อเข่าลงและค่อยๆ ยกร่างผู้บาดเจ็บพร้อมเคลื่อนย้ายออกมา
  3. ถ้ามีก็ให้ใช้เก้าอี้หามร่างผู้บาดเจ็บ นี่จะเป็นวิธีการที่ได้ผลมากหากคุณกับคนที่มาช่วยเหลือจำต้องขึ้นลงบันไดหรือต้องเคลื่อนย้ายในพื้นที่ซึ่งแคบหรือพื้นไม่สม่ำเสมอ [24]
    • ไม่ว่าจะอุ้มเขามาวางบนเก้าอี้หรือให้เขามานั่งที่เก้าอี้เองถ้ายังไหว [25]
    • คนที่มาช่วยเหลือที่ยืนตรงหัวเก้าอี้ควรจับเก้าอี้ตรงด้านข้างของพนักหลังโดยให้หันฝ่ามือเข้าหาตัว [26]
    • จากตรงนั้น ผู้มาช่วยเหลือตรงหัวเก้าอี้จะสามารถเอนเก้าอี้ไปทางขาหลังของเก้าอี้ [27]
    • ผู้ช่วยเหลือคนที่สองควรหันหน้าเข้าหาคนนั้นและจับขาเก้าอี้ไว้ [28]
    • หากคุณต้องหามเป็นระยะทางไกล คุณกับผู้มาช่วยเหลือควรแยกขาผู้บาดเจ็บออกและยกเก้าอี้ขึ้นโดยการย่อเข่าแล้วยกขึ้น [29]
  4. ถ้าหาเก้าอี้มาช่วยหามไม่ได้ คุณกับคนมาช่วยเหลือสามารถใช้มือทำเป็นเก้าอี้ ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งแบบสองมือหรือสี่มือ คุณสามารถเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บบนที่นั่งจากมือนี้ [30]
    • ที่นั่งแบบสองมือจะใช้งานได้ดีที่สุดสำหรับการหามคนในระยะทางที่ยาวกว่าหรือใช้หามคนที่หมดสติ [31]
      • ย่อเข่าลงทางข้างลำตัวของผู้บาดเจ็บทั้งสองข้าง สอดแขนข้างหนึ่งใต้บ่าเขา วางมือพักบนบ่าของเพื่อนคนที่มาช่วย สอดแขนอีกข้างใต้เข่าของผู้บาดเจ็บและจับข้อมือของเพื่อนที่มาช่วย อีกทางเลือกคุณทั้งคู่สามารถใช้มือทำเป็น "ตะขอ" โดยการงอนิ้วเข้าหาฝ่ามือ แล้วเกี่ยวมือคุณสองคนเข้าด้วยกัน
      • ยกตัวขึ้นโดยการย่อเข่า ยกตัวจากขาและให้หลังยังตั้งตรง ก่อนจะขยับเคลื่อนไปข้างหน้า [32]
    • ที่นั่งแบบสี่มือจะใช้งานได้ดีที่สุดเมื่อต้องหามคนที่ยังมีสติอยู่ [33]
    • คุณกับคนที่มาช่วยควรจับข้อมือของกันและกัน เขาควรใช้มือขวาคว้าข้อมือซ้ายของคุณ และคุณควรใช้มือซ้ายจับข้อมือข้างขวาของตนเอง มือขวาคุณไปจับข้อมือซ้ายของเขา และมือซ้ายเขาจับข้อมือขวาของเขาเอง [34] มือทั้งสี่ของคุณควรจัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมเมื่อจับกันอยู่ในลักษณะนี้
    • ลดที่นั่งจากมือนี้ลงให้อยู่ในระดับความสูงที่ผู้บาดเจ็บจะนั่งลงได้ ให้แน่ใจว่าได้ลดที่นั่งโดยใช้ขาย่อลงไม่ใช่ก้มหลังเพื่อลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บให้น้อยลงและเพิ่มความมั่นคง [35] ให้ผู้บาดเจ็บเอาแขนโอบรอบบ่าคุณ
    • ยืนขึ้นโดยใช้ขา รักษาแผ่นหลังให้ตั้งตรง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ประเมินความแข็งแรงและความอ่อนแอของตัวคุณและผู้ร่วมเข้าช่วยเหลือ คุณอาจไม่สามารถใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งตามที่บอกไว้ได้ ให้ลองใช้วิธีต่างๆ จนกว่าจะพบวิธีที่เหมาะกับสถานการณ์ที่สุด
  • ให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้เส้นทางที่สะดวกและตรงที่สุดในการพาผู้บาดเจ็บไปยังที่ปลอดภัย
  • ฝึกฝนวิธีการเหล่านี้ที่บ้านเพื่อคุณจะได้คุ้นเคยเผื่อเวลาต้องใช้ในเหตุฉุกเฉิน
  • บางครั้งการใช้คนๆ เดียวอุ้มคนที่หมดสติก็เป็นเรื่องที่ง่ายกว่ามาก แต่ต้องจำกัดความเป็นไปได้ที่จะไปทำให้การบาดเจ็บภายใน บาดแผลจากการถูกกระแทก หรือการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหนักขึ้นกว่าเดิม
โฆษณา

คำเตือน

  • เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่สันนิษฐานว่าจะบาดเจ็บที่ศีรษะหรือกระดูกสันหลังเฉพาะเมื่อมันจำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น เช่น ต้องหลบเศษวัตถุที่กำลังร่วงหล่นลงมา ไฟไหม้หรือน้ำที่ท่วมสูงขึ้น ทำให้ลำคอกับกระดูกสันหลังของเขามีความมั่นคงทันทีที่ปลอดภัย
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เก้าอี้ (หากหาได้)
  • ไม้พลอง (หากหาได้)
  • วัสดุแทนผ้าห่ม (หากหาได้)
  1. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  2. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  3. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  4. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  5. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  6. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  7. http://www.troop50.org/first_aid/04-moving_victims.shtml
  8. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  9. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  10. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  11. http://www.troop50.org/first_aid/04-moving_victims.shtml
  12. http://www.troop50.org/first_aid/04-moving_victims.shtml
  13. http://www.troop50.org/first_aid/04-moving_victims.shtml
  14. http://www.troop50.org/first_aid/04-moving_victims.shtml
  15. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  16. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  17. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  18. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  19. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  20. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  21. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  22. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  23. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  24. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  25. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf
  26. http://adminopsnet.usc.edu/sites/default/files/all_departments/FireSafetyEmergPlanning/CERTLiftsandCarries.pdf

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,650 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา