ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

รัศมีของรูปทรงกลม (ย่อด้วยตัวแปร r หรือ R ) คือระยะทางจากจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลมไปถึงจุดที่เป็นขอบนอกของรูปทรงกลมนั้น และเช่นเดียวกับ วงกลม ที่รัศมีของรูปทรงกลมมักจะเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นในการคำนวณหาเส้นรอบวง เส้นผ่าศูนย์กลาง พื้นที่ผิว และ/หรือปริมาตรของรูปทรงนั้น อย่างไรก็ตาม คุณยังสามารถคิดย้อนกลับจากเส้นรอบวง เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นอาทิ ในการหารัศมีของรูปทรงกลม แค่ใช้สมการที่เหมาะกับข้อมูลที่มี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้สูตรคำนวณหารัศมี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รัศมีเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง ดังนั้นใช้สูตร r = D/2 นี่ก็เหมือนวิธีคำนวณรัศมีของวงกลมจากเส้นผ่าศูนย์กลาง [1]
    • ถ้าคุณมีรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 ซม. หารัศมีโดยการหาร 16/2 เพื่อได้ 8 ซม. หากเส้นผ่าศูนย์กลางคือ 42 รัศมีก็จะเท่ากับ 21
  2. ใช้สูตร C/2π เนื่องจากเส้นรอบวงเท่ากับ πD, ซึ่งเท่ากับ 2πr, หารเส้นรอบวงด้วย 2π ก็จะได้รัศมี [2]
    • ถ้าคุณมีรูปทรงกลมที่มีเส้นรอบวง 20 ม. หารัศมีโดยการหาร 20/2π = 3.183 ม.
    • ใช้สูตรเดียวกันนี้ในการแปลงระหว่างรัศมีกับเส้นรอบวงของวงกลม
  3. ใช้สูตร ((V/π)(3/4)) 1/3 [3] ปริมาตรของรูปทรงกลมจะได้มาจากสมการ V = (4/3)πr 3 แก้สมการหาตัวแปร r ในสมการนี้จะได้ ((V/π)(3/4)) 1/3 = r, หมายถึงว่ารัศมีของรูปทรงกลมจะเท่ากับปริมาตรหารด้วย π, คูณด้วย 3/4, ทั้งหมดนี้ต้องยกกำลัง 1/3 (หรือรากของรูปทรงลูกบาศก์) [4]
    • ถ้าคุณมีรูปทรงกลมที่มีปริมาตร 100 นิ้ว 3 , แก้โจทย์หารัศมีได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้:
      • ((V/π)(3/4)) 1/3 = r
      • ((100/π)(3/4)) 1/3 = r
      • ((31.83)(3/4)) 1/3 = r
      • (23.87) 1/3 = r
      • 2.88 นิ้ว = r
  4. ใช้สูตร r = √(A/(4π)) พื้นที่ผิวของรูปทรงกลมได้มาจากสมการ A = 4πr 2 แก้สมการเพื่อหาตัวแปร r จะได้ √(A/(4π)) = r, หมายถึงว่ารัศมีของรูปทรงกลมเท่ากับรากที่สองของพื้นที่ผิวหารด้วย 4π คุณยังสามารถนำ (A/(4π)) ไปยกกำลัง 1/2 ได้ผลลัพธ์เดียวกันอีกด้วย [5]
    • ถ้าคุณมีรูปทรงกลมที่มีพื้นที่ผิว 1,200 ซม. 2 , แก้โจทย์หารัศมีได้ดังต่อไปนี้:
      • √(A/(4π)) = r
      • √(1200/(4π)) = r
      • √(300/(π)) = r
      • √(95.49) = r
      • 9.77 ซม. = r
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

นิยามแนวคิดหลัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รัศมี ( r ) คือระยะทางจากจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลมไปจนถึงจุดใดๆ ที่อยู่บนพื้นผิวของรูปทรงกลมนั้น พูดง่ายๆ ก็คือคุณสามารถหารัศมีของรูปทรงกลมได้ถ้าทราบเส้นผ่าศูนย์กลาง เส้นรอบวง ปริมาตร หรือพื้นที่ผิว
    • เส้นผ่าศูนย์กลาง (D) : ระยะทางที่ผ่ารูปทรงกลมเป็นสองเท่าของรัศมี เส้นผ่าศูนย์กลางคือระยะความยาวของเส้นตรงเส้นหนึ่งที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลม: จากจุดหนึ่งที่อยู่ด้านนอกของรูปทรงกลมไปจนถึงจุดที่อยู่ตรงข้ามของมัน พูดง่ายๆ ก็คือ ระยะทางยาวที่สุดที่เป็นไปได้ระหว่างจุดสองจุดบนรูปทรงกลม
    • เส้นรอบวง (C) : ระยะทางเชิงมิติเดียวรอบรูปทรงกลมในจุดที่กว้างที่สุดของมัน พูดง่ายๆ คือ เส้นรอบรูปทรงกลมที่มาบรรจบกันโดยที่ระนาบของมันผ่านทะลุจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลม
    • ปริมาตร (V) : พื้นที่เชิงสามมิติที่บรรจุอยู่ภายในรูปทรงกลม เป็น "เนื้อที่ซึ่งก่อให้เกิดรูปทรงกลมนั้น" [6]
    • พื้นที่ผิว (A) : พื้นที่เชิงสองมิติบนผิวด้านนอกของรูปทรงกลม ปริมาณของพื้นที่ราบที่ครอบคลุมภายนอกของรูปทรงกลม
    • พาย (π) : ค่าคงตัวที่แสดงถึงอัตราส่วนของเส้นรอบวงของวงกลมกับเส้นผ่าศูนย์กลางของมัน สิบหลักแรกของค่าพายจะเท่ากับ 3.141592653 เสมอถึงแม้ว่ามันมักจะถูกปัดเศษเป็น 3.14
  2. คุณสามารถใช้ทั้งเส้นผ่าศูนย์กลาง เส้นรอบวง ปริมาตร และพื้นที่ผิวมาใช้คำนวณหารัศมีของรูปทรงกลมได้ คุณยังสามารถคำนวณแต่ละจำนวนเหล่านี้ถ้าคุณทราบรัศมีด้วย ดังนั้นเพื่อที่จะหารัศมี ให้ลองย้อนสูตรการคำนวณหาแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้ เรียนรู้สูตรที่ใช้รัศมีในการหาเส้นผ่าศูนย์กลาง เส้นรอบวง ปริมาตร และพื้นที่ผิว
    • D = 2r เหมือนเช่นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางของรูปทรงกลมจะเป็นสองเท่าของรัศมี
    • C = πD หรือ 2πr เหมือนเช่น วงกลม เส้นรอบวงของรูปทรงกลมจะเท่ากับค่าพายคูณกับเส้นผ่าศูนย์กลาง เนื่องจากเส้นผ่าศูนย์กลางจะเป็นสองเท่าของรัศมี เราจึงพูดได้ว่าเส้นรอบวงคือสองเท่าของรัศมีคูณด้วย π
    • V = (4/3)πr 3 ปริมาตรของรูปทรงกลมคือรัศมียกกำลังสาม (คูณตัวมันเองสองครั้ง), คูณ π, คูณ 4/3 [7]
    • A = 4πr 2 พื้นที่ผิวของรูปทรงกลมคือรัศมียกกำลังสอง (คูณตัวมันเอง), คูณ π, คูณ 4 เนื่องจากพื้นที่ของวงกลมเท่ากับ πr 2 , จึงพูดได้อีกอย่างว่าพื้นที่ผิวของรูปทรงกลมจะเป็นสี่เท่าของพื้นที่วงกลมที่ก่อตัวขึ้นมาจากเส้นรอบรูปของมันเอง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หารัศมีในฐานะระยะทางระหว่างจุดสองจุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีหนึ่งในการคิดถึงรัศมีก็คือในฐานะระยะทางระหว่างจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลมไปจนถึงจุดใดๆ บนพื้นผิวของรูปทรงกลมนั้น เนื่องด้วยความจริงข้อนี้ หากคุณทราบพิกัดของจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลมกับพิกัดของจุดใดๆ บนพื้นผิว คุณจะสามารถหารัศมีของรูปทรงกลมนั้นได้โดยแค่คำนวณระยะทางระหว่างจุดสองจุดด้วยตัวแปรในสูตรการหาระยะทางธรรมดา เริ่มด้วยการหาพิกัดของจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลม โปรดสังเกตว่าเนื่องจากรูปทรงกลมนั้นเป็นสามมิติ พิกัดจึงเป็นจุด (x,y,z) แทนที่จะเป็นจุด (x,y)
    • กระบวนการนี้จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยการดูตามตัวอย่าง ด้วยจุดประสงค์นี้ จึงสมมติว่าเรามีรูปทรงกลมที่ศูนย์กลางอยู่รอบพิกัด (x,y,z) ที่จุด (4, -1, 12) ในไม่กี่ขั้นตอนต่อไปนี้เราจะใช้จุดนี้ในการช่วยหารัศมี
  2. ต่อจากนั้นคุณจำเป็นต้องหาพิกัด (x,y,z) ของจุดบนพื้นผิวของรูปทรงกลม ซึ่งสามารถเป็นจุด ใดๆ ก็ได้บนพื้นผิวของรูปทรงกลมนั้น เนื่องจากตามคำจำกัดความแล้วจุดบนพื้นผิวจะห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเดียวกันหมด จุดไหนก็จึงสามารถนำมาใช้หารัศมีได้
    • เพื่อจุดประสงค์ของโจทย์ตัวอย่างของเรา สมมติว่าเราทราบว่าจุด (3, 3, 0) อยู่บนพื้นผิวรูปทรงกลม โดยการคำนวณระยะทางระหว่างจุดนี้กับจุดศูนย์กลาง เราก็จะหารัศมีได้
  3. ตอนนี้พอคุณทราบจุดศูนย์กลางของรูปทรงกลมและจุดบนพื้นผิว ก็คำนวณระยะทางระหว่างจุดสองจุดนี้เพื่อหารัศมี ใช้สูตรระยะทางเชิงสามมิติ d = √((x 2 - x 1 ) 2 + (y 2 - y 1 ) 2 + (z 2 - z 1 ) 2 ), โดยที่ d เท่ากับระยะทาง, (x 1 ,y 1 ,z 1 ) เท่ากับพิกัดของจุดศูนย์กลาง, และ (x 2 ,y 2 ,z 2 ) เท่ากับพิกัดของจุดบนพื้นผิว เพื่อหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดนี้
    • ในตัวอย่าง เราจะแทนค่า (4, -1, 12) สำหรับ (x 1 ,y 1 ,z 1 ) และ (3, 3, 0) สำหรับ (x 2 ,y 2 ,z 2 ), แก้สมการได้ดังนี้:
      • d = √((x 2 - x 1 ) 2 + (y 2 - y 1 ) 2 + (z 2 - z 1 ) 2 )
      • d = √((3 - 4) 2 + (3 - -1) 2 + (0 - 12) 2 )
      • d = √((-1) 2 + (4) 2 + (-12) 2 )
      • d = √(1 + 16 + 144)
      • d = √(161)
      • d = 12.69 นี่คือรัศมีของรูปทรงกลมของเรา
  4. ในรูปทรงกลมนั้น จุดทุดจุดบนพื้นผิวจะมีระยะทางห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากัน หากเรานำสูตรการหาระยะทางเชิงสามมิติด้านบน มาแทนที่ตัวแปร "d" ด้วยตัวแปร "r" ซึ่งแทนรัศมี เราจะได้รูปแบบของสมการที่สามารถใช้หารัศมีได้จากจุดศูนย์กลางใดๆ (x 1 ,y 1 ,z 1 ) กับจุดบนพื้นผิวใดๆ (x 2 ,y 2 ,z 2 )
    • โดยการยกกำลังทั้งสองข้างของสมการ เราจะได้ r 2 = (x 2 - x 1 ) 2 + (y 2 - y 1 ) 2 + (z 2 - z 1 ) 2 โปรดสังเกตว่านี่จะเท่ากับสมการรูปทรงกลมทั่วไป r 2 = x 2 + y 2 + z 2 ที่สันนิษฐานว่าจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (0,0,0)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลำดับของการปฏิบัติการนั้นมีความสำคัญ หากคุณไม่แน่ใจว่าต้องจัดลำดับอย่างไร และเครื่องคิดเลขนั้นใช้กับวงเล็บได้ ก็จงแน่ใจว่าได้ใช้มันมาช่วย
  • บทความนี้เขียนขึ้นมาตามความต้องการ อย่างไรก็ตาม หากคุณอยากจะเข้าใจในเรื่องรูปทรงเรขาคณิตก่อน ทางที่ดีควรเริ่มย้อนกลับมา: คำนวณคุณสมบัติของรูปทรงกลมจากรัศมีแทน
  • ถ้าคุณมีรูปทรงกลมตามโจทย์อยู่ในมือ วิธีหนึ่งที่จะหาคือการแทนที่ด้วยน้ำ โดยเริ่มด้วยการทิ้งมันลงในอ่างที่บรรจุน้ำไว้จนเต็มแล้วเก็บน้ำที่ไหลล้นออกมา จากนั้นวัดปริมาตรของน้ำที่ล้นนี้ แปลงหน่วยจาก มล. เป็นลูกบาศก์เซนติเมตรหรือหน่วยที่ต้องการสำหรับรูปทรงกลม คุณสามารถใช้ค่านี้แก้โจทย์หา r ด้วยสมการ v=(4/3)* pi*r^3 นี่จะยุ่งยากซับซ้อนกว่าการวัดเส้นรอบวงด้วยเทปวัดหรือไม้บรรทัดอยู่บ้าง แต่มันจะค่อนข้างแม่นยำกว่าเพราะคุณไม่ต้องคอยห่วงว่าอุปกรณ์ที่ใช้วัดนั้นจะเอียงไม่ตรงกับศูนย์กลางของรูปทรงกลมหรือเปล่า
  • π หรือพายเป็นตัวอักษรกรีกที่ใช้แทนอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมกับเส้นรอบวงของมัน มันเป็นจำนวนอตรรกยะและไม่สามารถเขียนเป็นอัตราส่วนของจำนวนเต็ม 2 จำนวนได้ มีการประมาณค่ากันหลายรูปแบบ 333/106 จะให้ค่าพายเป็นจุดทศนิยมสี่ตำแหน่ง ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่จะจำค่าประมาณ 3.14 ซึ่งค่อนข้างจะแม่นยำเพียงพอสำหรับการใช้คิดในชีวิตประจำวัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 150,248 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา