PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การพบปะผู้คนใหม่ๆ และหาเพื่อนอาจเป็นสิ่งที่คุณไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี แต่ขอแค่คุณใช้ความพยายามสักหน่อยและเต็มใจก้าวขาออกจากพื้นที่ปลอดภัย เท่านี้คุณก็หาเพื่อนได้ไม่ยาก เริ่มจากการออกไปข้างนอกและมองหาสถานที่ที่คุณจะได้พบปะพูดคุยกับคนอื่นๆ เช่น ชมรมท้องถิ่นหรือองค์กรอาสาสมัคร เมื่อคุณเริ่มพบปะผู้คนใหม่ๆ แล้ว ก็หาเวลาทำความรู้จักพวกเขาและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หาสถานที่ที่ได้พบปะผู้คนใหม่ๆ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณอยากหาเพื่อน ก่อนอื่นคุณต้องเอาตัวเองออกไปข้างนอกเพื่อพบปะผู้คนให้ได้ก่อน [1] ถ้าคุณนั่งคนเดียว ก็อาจจะมีเพื่อนเข้ามาหาคุณ แต่นั่นก็เป็นไปได้ยาก เช่น ถ้าคุณยังเรียนอยู่ ให้นั่งกับคนอื่น ไม่จำเป็นต้องเป็นโต๊ะที่มีคนนั่งเต็มไปหมดก็ได้ แต่พยายามเลือกโต๊ะที่มีคนอื่นอย่างน้อย 2 คน
    • จำไว้ว่าเป็นไปได้ยากที่เพื่อนจะมาเคาะประตูหน้าบ้านระหว่างที่คุณนั่งเล่นโน้ตบุ๊กอยู่ที่บ้าน
    • ถ้าคุณมีโอกาสที่จะออกไปข้างนอกและพบปะผู้คนใหม่ๆ ให้คว้าโอกาสนั้นไว้ เช่น ลองไปงานสังสรรค์ที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน ถ้ามีใครชวนคุณไปงานปาร์ตี้ ก็อย่าพลาด!
  2. วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่คุณจะได้พบปะคนอื่นๆ ที่มีความสนใจเหมือนกัน คุณไม่จำเป็นต้องชอบอะไรเหมือนกันหลายอย่างถึงจะเป็นเพื่อนกันได้ บางครั้งมิตรภาพที่มีความหมายที่สุดก็เกิดขึ้นระหว่างคนสองคนที่ไม่ได้มีอะไรเหมือนกันมากนัก อย่างไรก็ตามถ้ามีเรื่องอะไรที่คุณสนใจเป็นพิเศษ ให้หาสถานที่ที่คุณจะได้พบปะกับคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน [2]
    • เช่น คุณอาจจะเข้าชมรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียน วงโยธวาทิต กลุ่มถักนิตติ้ง หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจร่วมกันอื่นๆ
    • ถ้าคุณเล่นดนตรีหรือ ร้องเพลง ลองเข้าวงดนตรีหรือวงประสานเสียง. การเข้าร่วมทีมกีฬาก็เป็นทางเลือกที่ดีถ้าคุณชอบเล่นกีฬาอยู่แล้ว หรือแค่อยากทำอะไรใหม่ๆ ที่ท้าทายก็ได้!
    • ถ้าคุณนับถือศาสนา วัด โบสถ์ มัสยิด หรือสถานที่สักการะอื่นๆ ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะอย่างน้อยคุณกับคนอื่นๆ ก็มีศรัทธาในศาสนาร่วมกัน

    เคล็ดลับ : มีแหล่งข้อมูลออนไลน์มากมายสำหรับหากลุ่มคนที่มีความสนใจเหมือนกันกับคุณ ลองหากลุ่มท้องถิ่นใน Meetup.com หรือเลื่อนดูกลุ่มและกิจกรรมที่จะจัดในละแวกบ้านของคุณใน Facebook.

  3. การเป็นอาสาสมัครก็เป็นวิธีที่ช่วยให้คนทุกวัยได้มาพบปะกัน การทำงานร่วมกันจะทำให้คุณได้สานสัมพันธ์กับคนอื่น นอกจากนี้คุณยังจะได้พบกับคนที่มีไฟในที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในแบบเดียวกันกับคุณ (มีเป้าหมายร่วมกัน) [3]
    • เช่น คุณอาจจะสละเวลาไปทำงานที่บ้านพักคนชราใกล้บ้าน โรงพยาบาล ศูนย์พักพิงสัตว์ หรือองค์กรไม่แสวงผลกำไร
    • ค้นหาในอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์ไปที่องค์กรการกุศลในละแวกบ้านเพื่อหาโอกาสในการทำงานเป็นอาสาสมัครใกล้บ้าน
  4. เป็นไปได้ว่าจริงๆ แล้วคุณอาจจะมีคนรู้จักที่สามารถเป็นเพื่อนสนิทกันได้ คุณอาจจะลองเข้าไปทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อนห้องเดียวกัน หรือแม้แต่คนที่อยู่ในเครือข่ายโซเชียลมีเดียของคุณ [4]
    • เช่น ถ้าคุณเป็นพ่อ/แม่ คุณอาจจะเข้าหาพ่อแม่ของเพื่อนที่เรียนห้องเดียวกับลูก การกำหนดวันที่เด็กๆ จะได้เล่นด้วยกันถือเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้ทำความรู้จักกับเพื่อนที่เป็นผู้ใหญ่คนใหม่ๆ บ้าง [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เข้าหาคนอื่นก่อน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองหาโอกาสที่จะได้ พูดคุยกับคนอื่น . คุณอาจจะเข้าร่วมชมรม ไปโรงเรียน หรือไปโบสถ์ แต่คุณก็ยังจะหาเพื่อนไม่ได้อยู่ดีถ้าคุณไม่ได้พูดคุยกับคนอื่นจริงๆ และเช่นเดียวกันว่าคุณไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมองค์กรเพื่อพบปะพูดคุยกับคนอื่นๆ เพราะทุกครั้งที่คุณได้คุยกับใครสักคน คุณก็มีโอกาสจะได้เพื่อนใหม่ที่คบกันไปนานๆ ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องพูดอะไรที่พิเศษ แค่เปิดบทสนทนาด้วยการพูดอย่างเป็นมิตร (เช่น “วันนี้อากาศดีจังเลยเนอะ” หรือ “เสื้อสวยจัง!”) แล้วดูว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป! [6]
    • คุณจะคุยกับใครก็ได้ พนักงานร้านวิดีโอ คนที่นั่งติดกับคุณบนขนส่งสาธารณะ หรือคนที่ต่อแถวซื้ออาหารกลางวันข้างหน้าคุณ อย่าช่างเลือกนักเลย
    • การมีมารยาทที่ดีนั้นเป็นประโยชน์อย่างมาก คุณอาจจะเริ่มคุยกับคนอื่นด้วยการทักทายพวกเขาก่อนว่า "สวัสดี เป็นยังไงบ้าง" ขณะที่คุณเดินผ่านพวกเขา การแสดงมารยาทที่ดีขั้นพื้นฐานด้วยการกล่าวทักทายผู้อื่นทำให้คุณดูเป็นคนอัธยาศัยดี และคนอื่นก็มักจะตอบกลับมาดีเช่นกัน วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นพูดคุยกับผู้อื่น
  2. สบตา และ ยิ้ม . ถ้าคุณไม่แสดงออกว่าคุณเป็นคนอัธยาศัยดีและน่าเข้าหา คนก็จะไม่ค่อยรับไมตรีจากคุณเท่าไหร่ เวลาที่คนอื่นคุยกับคุณ (หรือเวลาที่คุณคุยกับคนอื่น) ให้มองเขาไปในดวงตาของเขาและยิ้มให้เขาอย่างอบอุ่นและเป็นมิตร [7]
    • อย่าหรี่ตา ทำหน้าเบื่อๆ บึ้งตึง หรือหน้าตาย พยายามอย่าใช้ภาษาท่าทางที่ปิดกั้น เช่น กอดอกหรือยืนอยู่ตรงมุมคนเดียว

    รู้หรือไม่ การเลียนแบบภาษากายของอีกฝ่ายเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ขณะที่คุณกำลังคุยกับคนอื่น พยายามเลียนแบบการแสดงสีหน้าและท่าทางของเขาอย่างแนบเนียน เช่น ถ้าเขายิ้มหรือโน้มตัวมาหาขณะที่คุยกับคุณ ก็ให้ทำแบบเดียวกัน [8]

  3. เริ่มบทสนทนา ให้หลากหลาย. เมื่อคุณเจอคนที่คุณอยากเป็นเพื่อนด้วยแล้ว คุณก็ต้องเริ่มคุยกับคนนั้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้สานสัมพันธ์กับเขาและเริ่มสร้างมิตรภาพระหว่างกัน [9] การเข้าไปพูดคุยกับคนอื่นนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น
    • ลองพูดถึงบรรยากาศในตอนนี้ หัวข้อคลาสสิกก็คือเรื่องอากาศ "อย่างน้อยฝนก็ไม่ตกเหมือนตอนอาทิตย์ที่แล้วนะ!"
    • ขอความช่วยเหลือ "ถ้าคุณมีเวลาสักครู่ คุณช่วยฉันถือกล่องพวกนี้หน่อยได้ไหมคะ" หรือ "คุณช่วยฉันเลือกหน่อยได้ไหมคะว่าจะให้อันไหนเป็นของขวัญแม่ดี" หรือคุณจะเป็นฝ่ายเสนอความช่วยเหลือก็ได้ เช่น “คุณอยากได้คนช่วยทำความสะอาดไหมคะ”
    • กล่าวชม เช่น "รถสวยจังเลย" หรือ "ฉันชอบรองเท้าของคุณจัง" แต่อย่ากล่าวชมในเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดได้
    • ต่อด้วยคำถามที่เกี่ยวข้องทันที เช่น “คุณซื้อรองเท้าคู่นี้มาจากที่ไหนเหรอคะ ฉันอยากได้รองเท้าแบบนี้มานานแล้ว”
  4. พูดคุยเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ต่อยอดบทสนทนาไปได้เรื่อยๆ. ถ้าอีกฝ่ายดูท่าทางอยากจะคุยต่อ พยายามต่อยอดบทสนทนาไปเรื่อยๆ ด้วยการถามคำถามและบอกเล่าข้อมูลของตัวเองเล็กน้อย ไม่ต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่หรือส่วนตัวมากๆ ก็ได้ สิ่งสำคัญคือการแสดงให้เห็นว่า คุณสามารถเป็นทั้งผู้ฟังและแบ่งปันสิ่งที่น่าสนใจให้กับการคุยกันครั้งนี้ได้ [10]
    • คนเราชอบพูดเรื่องของตัวเองและเล่าว่าตัวเองเจ๋งหรือดูดีแค่ไหน การฟังมากกว่าพูดจะทำให้คุณดูเป็นเพื่อนที่น่าคบ
    • แสดงให้เห็นว่าคุณตั้งใจฟังด้วยการพยักหน้า สบตา และถามคำถามหรือแสดงความคิดเห็นต่อจากสิ่งที่เขาพูด
    • เช่น ถ้าอีกฝ่ายเล่าเรื่องงานให้ฟัง คุณก็อาจจะพูดประมาณว่า “ว้าว เจ๋งเลย! คุณเข้าไปทำงานนี้ได้ยังไงครับ”
  5. แนะนำตัวเอง หลังจากคุยกันจบแล้ว. คุณอาจจะแนะนำตัวง่ายๆ เช่น "อ๋อ แล้วก็ ผมชื่อ . . . นะครับ" เมื่อคุณแนะนำตัวเองแล้ว อีกฝ่ายก็มักจะแนะนำตัวกลับมาเหมือนกัน [11]
    • หรือคุณจะเปิดบทสนทนาด้วยการแนะนำตัวก็ได้ เช่น คุณอาจจะเข้าไปหาเพื่อนร่วมงานคนใหม่ด้วยการพูดว่า “สวัสดีค่ะ ฉันชื่อซอนะคะ ฉันว่าเราคงยังไม่ได้เจอกันเป็นเรื่องราว แต่ฉันทำงานชั้นเดียวกันกับคุณนี่แหละค่ะ!”
    • จำชื่อเขาให้ได้ ถ้าคุณทำให้เขาเห็นว่าคุณจำสิ่งที่เคยคุยกันมาก่อนหน้านี้ได้ เขาจะรู้ว่าคุณตั้งใจฟังและสนใจเขาจริงๆ
  6. วิธีนี้เป็นโอกาสดีที่คุณจะได้พูดคุยและทำความรู้จักกันอีกสักนิด ชวนเขามาดื่มกาแฟด้วยกันบ้างและให้อีเมลแอดเดรสหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือเขาไป เขาจะได้มีโอกาสติดต่อคุณกลับมา แต่เขาอาจจะให้ข้อมูลติดต่อกับคุณกลับมาหรือไม่ให้ก็ได้ ซึ่งก็ไม่เป็นไร
    • คุณสามารถชวนเขาได้ด้วยการพูดว่า "ผมต้องไปแล้ว แต่ถ้าคุณอยากคุยกันตอนมื้อกลางวันหรือกินกาแฟอะไรประมาณนี้ เดี๋ยวผมให้เบอร์/อีเมลผมไว้นะ"
    • อีกฝ่ายมีแนวโน้มที่จะตอบตกลงมากกว่าถ้าคุณบอกเวลาและสถานที่ชัดเจน เช่น คุณอาจจะบอกว่า “วันนี้คุยกันสนุกดีนะ! คุณอยากไปกินกาแฟกับมัฟฟินด้วยกันที่ร้าน Coffee Bean by Dao วันเสาร์ไหม”
    • ถ้าการนัดกันไปสองต่อสองดูกระอักกระอ่วน ให้ชวนเขาไปงานที่คนมาเป็นกลุ่ม เช่น งานปาร์ตี้หรือคืนที่คุณนัดกันดูหนัง
  7. ถ้าคุณพบว่าคนที่คุณคุยด้วยสนใจเรื่องเดียวกันกันกับคุณ ให้ถามเขาเพิ่มเติม และถ้าเหมาะสมให้ถามว่าเขารวมกลุ่มกับคนอื่น (เช่น ในชมรม) เพื่อทำสิ่งที่สนใจร่วมกันหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็เป็นโอกาสดีที่คุณจะขอเข้าร่วมกับเขาด้วย ถ้าคุณแสดงออกชัดเจนว่าคุณสนใจ (เมื่อไหร่ ที่ไหน ใครไปก็ได้หรือเปล่า) เขาก็อาจจะชวนคุณก็ได้
    • ถ้าคุณมีชมรม วงดนตรี โบสถ์ หรือกลุ่มและกิจกรรมอื่นๆ ที่คุณคิดว่าเขาน่าจะชอบ ถือโอกาสนี้ให้เบอร์หรืออีเมลคุณไปแล้วชวนเขามาเข้าร่วมกับคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษามิตรภาพให้ยืนยาว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่าเพื่อนกิน ซึ่งก็คือเพื่อนประเภทที่ยินดีจะอยู่กับคุณเมื่อสิ่งต่างๆ เป็นไปด้วยดี แต่พอถึงเวลาที่คุณต้องการเขาจริงๆ เขากลับหายหัวไปเลย การเป็นกัลยาณมิตรจะดึงดูดคนที่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัตินี้เข้าหาคุณ และเป็นวิธีที่ดีที่คุณจะได้ทำในสิ่งที่คุณเชื่อและดึงดูดประเภทของเพื่อนๆ ที่คุณต้องการให้เข้ามาอยู่ในชีวิต [12]
    • ส่วนหนึ่งของการเป็นเพื่อนก็คือ การเสียสละเวลาและพลังงานเพื่อช่วยเหลือเพื่อน แค่ทำตัวน่ารักก็พอ
    • ถ้าเพื่อนต้องการความช่วยเหลือเรื่องธุระที่ไม่ราบรื่นหรือแค่ต้องการไหล่ไว้ซบ คุณก็ควรอยู่เคียงข้างเพื่อน

    เคล็ดลับ : การเป็นกัลยาณมิตรไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเอาใจคนอื่นหรือปล่อยให้เพื่อนมาเอาเปรียบคุณ คุณต้องกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมและพูดว่า “ไม่” บ้างหากจำเป็นต้องทำเพื่อรักษาความสุขของตัวเอง

  2. มิตรภาพที่ดีต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ถ้าเพื่อนเป็นฝ่ายทักคุณก่อนตลอด ชวนมาเจอกัน จำวันเกิดคุณได้ และเสนอตัวเลี้ยงข้าวกลางวันคุณ คุณก็ต้องพยายามตอบแทนเมื่อไหร่ก็ตามที่ทำได้ [13]
    • ทบทวนตัวเองเป็นครั้งคราวและถามตัวเองว่า คุณเป็นเพื่อนในแบบที่คุณเองอยากมีหรือเปล่า
    • ในอีกแง่หนึ่ง ให้ถามตัวเองว่าเพื่อนก็ทำในส่วนของเพื่อนหรือเปล่า ถ้าไม่ ก็อาจถึงเวลาที่ต้องคุยกับเพื่อนแบบเปิดใจ (แต่ระวังอย่ากล่าวโทษหรือโยนความผิดทั้งหมดให้เพื่อนถ้ามิตรภาพไม่เป็นอย่างที่คุณหวัง)
  3. เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพูดว่าจะทำอะไร ก็ต้องทำตามที่พูด ทำให้คนอื่นรู้ว่าพวกเขาสามารถพึ่งพาคุณได้ ถ้าคุณปฏิบัติต่อผู้อื่นในแบบที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณพึ่งพาได้ มันก็จะดึงดูดคนที่ให้ความสำคัญกับความไว้วางใจและเป็นคนที่คุณพึ่งพาได้เช่นเดียวกัน [14]
    • ถ้าคุณกับเพื่อนนัดกันที่ไหน อย่าไปสาย และ อย่า เบี้ยวนัดเพื่อน
    • ถ้าคุณไม่สามารถไปตามเวลานัดหรือไม่สามารถไปได้เลย ให้โทรหาเขาทันทีที่คุณรู้ตัว ขอโทษ เขาและขอนัดเวลากันอีกครั้ง
    • อย่าให้เขาต้องรอโดยที่คุณไม่บอกก่อน เพราะมันเสียมารยาทและไม่ใช่วิธีที่ดีในการเริ่มต้นมิตรภาพอย่างแน่นอน
  4. เป็นผู้ฟังที่ดี . หลายคนคิดว่าในการที่จะเป็นคน "น่าคบหา" นั้น เราต้องทำตัวให้ดูน่าสนใจมากๆ แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือการที่คุณสามารถแสดงให้เห็นว่า คุณสนใจคนอื่น ตั้งใจฟังสิ่งที่คนอื่นพูด จำรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเขาได้ (ชื่อ สิ่งที่ชอบ และสิ่งที่ไม่ชอบ) ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เขาสนใจ และใช้เวลาทำความรู้จักเขาให้มากขึ้น [15]
    • คุณต้องไม่คิดว่าเรื่องที่ตัวเองจะเล่านั้นเจ๋งกว่าเรื่องของคนอื่นเสมอ หรือเปลี่ยนหัวข้อกะทันหันแทนที่จะไหลไปตามบทสนทนา
    • ขณะที่คุณฟัง ให้ตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูดแทนที่จะคิดว่าตัวเองจะพูดอะไรต่อ อย่าพูดแทรกและพยายามอย่าให้คำแนะนำถ้าเพื่อนไม่ได้ขอ
  5. หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดของการมีเพื่อนก็คือ การมีคนที่คุณสามารถพูดคุยได้ทุกเรื่องแม้แต่ความลับที่คุณเก็บงำจากคนทั้งโลก แต่ก่อนที่คนอื่นจะเปิดอกคุยกับคุณได้อย่างสบายใจ คุณก็ต้อง สร้างความไว้วางใจ ให้ได้เสียก่อน [16]
    • หัวใจสำคัญของการเป็นคนไว้ใจได้ก็คือความสามารถในการเก็บความลับ แน่นอนว่าคุณไม่ควรเปิดเผยสิ่งที่คนอื่นเล่าให้คุณฟังเป็นความลับให้ใครฟัง
    • อย่านินทาเพื่อนลับหลังหรือทำให้เขาผิดหวังเมื่อเขาต้องพึ่งคุณ นอกจากนี้คุณยังสามารถสร้างความไว้ใจได้ด้วยการเป็นคนที่ ซื่อสัตย์ และพึ่งพาได้
  6. แสดงคุณสมบัติด้านดีที่ไม่เหมือนใครออกมา ทำให้คนอื่นเห็นว่าอะไรที่ทำให้คุณแตกต่างจากคนอื่นๆ เล่าถึงสิ่งที่คุณสนใจและงานอดิเรก เล่าภูมิหลังของคุณให้เพื่อนใหม่ฟังสักเล็กน้อย ทุกคนล้วนมีเรื่องที่น่าสนใจให้เล่า เพราะฉะนั้นอย่ากลัวที่จะเล่าเรื่องของตัวเองบ้าง ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่เหมือนใคร ก็แสดงออกมาให้คนอื่นเห็น [17]
    • อารมณ์ขันเล็กน้อยทำให้บทสนทนาเบาสบายและรื่นรมย์ เพราะคนเราชอบอยู่กับคนที่ทำให้เราหัวเราะได้อยู่แล้ว
    • มิตรภาพจะดำเนินต่อไปได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อคุณและเพื่อนสบายใจกับการเป็นตัวเอง ชื่นชมคุณสมบัติที่ดีที่สุดของตัวเองและฉายความโดดเด่นนั้นเวลาที่คุณอยู่กับเพื่อน แต่อย่าพยายามเป็นคนอื่นที่คุณไม่ได้เป็นเพียงเพื่อทำให้คนอื่นพอใจหรือประทับใจ
  7. คนเรามักจะไม่ได้ข่าวคราวจากเพื่อนเพราะว่าเรายุ่งมากหรือแค่ไม่ได้เห็นคุณค่าของเพื่อนมากพอ และเมื่อเราขาดการติดต่อกับเพื่อน มิตรภาพก็อาจจะจบลง และเมื่อคุณพยายามที่จะติดต่อพวกเขาอีกครั้ง มันก็อาจจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ได้ยาก [18]
    • แม้ว่าคุณจะไม่มีเวลาคุยกันยาวๆ หรือมาเจอกัน ทำให้เพื่อนรู้ว่าคุณยังคิดถึงเขาด้วยการส่งข้อความไปหาหรือแวะไปหาเพื่อบอกว่า “สวัดดี”
    • การรักษามิตรภาพเป็นงานที่ต้องใช้ความพยายาม หาเวลาและเล่าเรื่องราวในชีวิตให้เพื่อนฟัง เคารพการตัดสินใจของเขาและเล่าการตัดสินใจของคุณให้เขาฟัง พยายามติดต่อกันเสมอเมื่อเวลาผ่านไป
  8. ขณะที่คุณเริ่มเป็นเพื่อนกับคนอื่นมากขึ้น คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณเข้ากับบางคนได้ดีกว่าคนอื่น แม้ว่าคุณควรมองคนอื่นในแง่ดีก่อนเสมอ แต่บางครั้งคุณอาจจะตระหนักได้ว่าบางมิตรภาพก็ไม่ดีต่อตัวคุณเอง เช่น ถ้าเขาอยากได้ความสนใจจากคุณตลอดเวลาหรือบงการคุณ วิจารณ์คุณไม่หยุด หรือนำอันตรายหรือภัยคุกคามมาสู่ชีวิตของคุณ ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้ถอนตัวจากมิตรภาพนั้นแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่นให้ได้มากที่สุด
    • เห็นคุณค่าของเพื่อนที่เป็นพลังบวกในชีวิตของคุณ และพยายามที่จะเป็นพลังบวกในชีวิตของพวกเขาด้วย
    • การละทิ้งมิตรภาพเป็นเรื่องยากแม้ว่ามันจะเป็นมิตรภาพที่ทำร้ายคุณก็ตาม ถ้าคุณต้องจบมิตรภาพระหว่างเพื่อน อย่าลืมให้เวลาตัวเองได้เศร้าโศกกับการสูญเสีย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อ่อนโยนเสมอและอย่าตัดสินคนจากรูปลักษณ์ภายนอกหรือเพราะว่าเขาไม่เหมือนคุณเด็ดขาด เพราะคุณจะพลาดโอกาสที่จะได้เจอมิตรภาพที่งดงามมากมายหากคุณไม่ให้โอกาสคนอื่นก่อน
  • ถ้าคุณไม่ใช่คนประเภทที่ยิ้มได้อย่างเป็นธรรมชาติบ่อยๆ/สบตาคนอื่น ก็ไม่ต้องกดดันตัวเองให้ฝืนยิ้มหรือสบตาคนอื่นถ้ามันทำให้คุณรู้สึกอึดอัด อย่าบังคับให้ตัวเองต้องเปลี่ยน/ปิดบังพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติของคุณ เพราะไม่ใช่ว่าเราจะเป็นคนชอบสังสรรค์ที่ยิ้มแฉ่งกันทุกคน เราทุกคนต่างแสดงความเป็นตัวเองในแบบที่แตกต่างกัน
  • ไม่ต้องกังวลว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร เพราะส่วนใหญ่แล้วคนอื่นก็มักจะคิดเรื่องอื่น อย่าไประแวงมากนัก
  • คิดถึงสิ่งที่จะพูดก่อนพูดออกมาเสมอ เพราะเพื่อนอาจจะเสียใจหรือรู้สึกแย่ได้ถ้าคุณพูดพล่อยๆ
  • แม้จะไม่โด่งดังระดับซูเปอร์สตาร์ แต่คุณก็เป็นเพื่อนที่ดีได้ พยายาม คิดบวก และมีอัธยาศัยดีเพื่อให้คนอื่นรู้สึกดีและมีคุณค่าเวลาที่ได้อยู่กับคุณ
  • ถ้าเขาไม่ได้คิดว่าเขาสนิทกับคุณเท่าที่คุณรู้สึกสนิทกับเขา พยายามถอยห่างออกมาเล็กน้อย อย่าบังคับให้เขามาชอบคุณ
  • ทำความรู้จักกับเพื่อนคนอื่นๆ และครอบครัวของเพื่อนใหม่ เพราะนั่นเป็นการเปิดประตูไปสู่การได้รู้จักกับเพื่อนคนอื่นๆ มากขึ้นในวงสังคมของพวกเขา!
  • มั่นใจ ในตัวเอง! คนเราชอบความมั่นใจ และคุณก็จะเข้าหาคนอื่นได้ง่ายขึ้นถ้าคุณไม่มัวแต่วิพากษ์วิจารณ์ตัวเองตลอดเวลา
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าทิ้งเพื่อนเก่าไปหาเพื่อนใหม่ มิตรภาพที่ดีนั้นมีคุณค่าและไม่ได้หาได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นพยายามติดต่อกับเพื่อนเก่าให้ได้มากที่สุดแม้ว่าคุณจะรู้จักคนใหม่ๆ แล้วก็ตาม
  • เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง ถ้าใครสักคนทำให้คุณรู้สึกอึดอัด มันก็มักจะมีเหตุให้ต้องเป็นแบบนั้น อย่าพยายามไขว่คว้ามิตรภาพจากคนที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจเลย
  • เมื่อคุณรู้จักกับใครสักคนดีแล้ว มันก็ต้องมีเรื่องขัดแย้งกันบ้างเป็นธรรมดา ถ้าคุณทะเลาะกับเพื่อน อย่าโทษเพื่อนหรือระเบิดอารมณ์ออกมา ให้เวลาเพื่อนสักพักและขอโทษที่คุณเองก็มีส่วนที่ทำให้ต้องผิดใจกัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,939 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา