ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากสุนัขของคุณเคยทำปลายหูตัวเองเป็นแผล คุณคงรู้ดีว่าการห้ามเลือดที่หูนั้นมันยากแค่ไหน ถึงแม้ว่าคุณจะกดแผลและใช้ผ้าขนหนูเพื่อทำให้เลือดออกช้าลง แต่เมื่อคุณเอาผ้าออกจากหูสุนัขและมันรู้สึกคันที่แผลแล้ว มันก็จะสะบัดหัวและทำให้เลือดออกเหมือนเดิมอีก แต่ถ้าใช้เวลาศึกษาสักหน่อย คุณก็จะสามารถห้ามเลือดและป้องกันไม่ให้สุนัขทำให้แผลมีเลือดออกอีกได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ห้ามเลือดที่หูสุนัข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติหูเลือดไหลเยอะอยู่แล้วเพราะมีเส้นเลือดอยู่มาก เลือดจะออกเยอะมากในหลายกรณี ฉะนั้นอย่ากังวล เพราะส่วนใหญ่แล้วสุนัขไม่น่าจะเลือดออกจนถึงขั้นวิกฤต นอกจากนั้น สุนัขยังจะตอบสนองต่ออารมณ์ที่เจ้านายแสดงออกอีกด้วย หากคุณตื่นกลัวหรือตกใจ สุนัขของคุณก็จะตื่นเต้นไปด้วย ความตื่นเต้นนี้จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ทำให้เลือดออกเยอะขึ้นอีก
  2. คุณควรพาสุนัขไปอยู่ให้ไกลแหล่งความตื่นเต้นอื่น เช่น สุนัขตัวอื่น หรือคนที่ส่งเสียงดัง ให้ขนมมันสัก 2-3 ชิ้นแล้วจับให้มันนั่งหรือนอนลง คุณจะได้ทำแผลได้
  3. ใช้กระดาษชำระ ผ้าขนหนู ผ้ากอซ หรือผ้าสะอาดอื่นๆ เพื่อกดแผลโดยตรง ออกแรงกดแผลไว้ประมาณ 5 นาที [1]
    • เมื่อเวลาผ่านไป 2 นาที คุณจะค่อยๆ ยกผ้าดูว่าเลือดไหลช้าลงหรือยังก็ได้
    • เมื่อกดแผลไว้ครบ 5 นาที เลือดน่าจะไหลช้าลงมากหรือหยุดแล้ว
  4. หากคุณมีสารที่ทำให้เลือดจับตัวแบบที่ซื้อในร้านได้ ก็ให้เทผงนี้ในปริมาณที่มากพอใส่ฝ่ามือข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วที่สะอาดแต้มผงไปที่แผลอย่างเบามือ [2] ทำซ้ำจนกระทั่งเลือดหยุดไหล
    • ถ้าคุณไม่มีสารทำให้เลือดจับตัว จะใช้แป้งข้าวโพด แป้งอเนกประสงค์ หรือแป้งเด็กก็ได้
    • อย่าใช้เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู เพราะอาจจะทำให้แผลติดเชื้อได้
  5. คุณสามารถใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เจือจางเพื่อกำจัดคราบเลือดที่แห้งได้ แต่อย่าให้เพอร์ออกไซด์หรือน้ำยาทำความสะอาดอื่นโดนแผลโดยตรง เพราะอาจไปรบกวนเลือดที่จับตัวกันแล้วและทำให้เลือดไหลอีกครั้ง
  6. ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถจัดการกับแผลเล็กๆ ที่หูเองที่บ้านได้ แต่ก็จะมีบางกรณีที่คุณควรให้สัตวแพทย์เป็นคนรักษาสุนัข ในกรณีนี้ ให้กดแผลไว้ตลอดขณะที่กำลังพาสุนัขไปหาสัตวแพทย์ สัตวแพทย์อาจจะต้องเย็บแผลหรือใช้วิธีอื่นเพื่อห้ามเลือดและทำให้มั่นใจได้ว่าหูจะหายดี ให้ขอความช่วยเหลือจากสัตวแพทย์หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น: [3]
    • เลือดไหลเยอะมาก
    • แผลทะลุหู
    • เลือดไม่หยุดไหลหลังจากพยายามรักษาที่บ้านเป็นเวลา 30 นาทีแล้ว
    • เลือดไหลใหม่เรื่อยๆ
    • แผลมีขนาดใหญ่กว่าแผลทั่วไป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ป้องกันไม่ให้สุนัขทำให้แผลเปิดอีก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้สุนัขอยู่ในที่เงียบ มันจะได้พักและคุณจะได้จับตามองมันได้ อย่าให้สุนัขทำกิจกรรม เช่น วิ่ง หรือเล่น
  2. [4] ถ้าสุนัขสะบัดหัวหรือเกาเนื่องจากรู้สึกคันๆ ที่แผล มันอาจจะทำให้แผลเปิดอีกและเลือดออกเพิ่มขึ้นได้
    • ปัญหาอีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสะบัดหัวหรือการเกาแรงๆ คือภาวะใบหูบวมเลือด (aural hematoma) ซึ่งคือลิ่มเลือดที่ติดอยู่ระหว่างชั้นหู ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดภายใต้ผิวหนังและกระดูกอ่อนแตก แล้วเลือดไหลเข้าไปในกระดูกอ่อนส่วนหู หูจะบวมเหมือนกับหมอน และต้องให้สัตวแพทย์รักษา [5]
  3. คุณจะให้สุนัขใส่ลำโพงที่คอ 2-3 วันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่นเพิ่มเติมก็ได้ [6] การทำแบบนี้จะทำให้สุนัขไม่สามารถใช้ขาเขี่ยถึงหูได้
  4. คุณสามารถลดความต้องการของสุนัขที่จะสะบัดหัวได้โดยการทำความสะอาดหูและรูหูอย่างระมัดระวัง กำจัดเลือดหรือสิ่งสกปรกในหูหรือรูหูออกไปซะ
  5. วิธีอีกวิธีหนึ่งที่คุณเลือกใช้ได้คือการทำผ้าพันหัวให้สุนัข วิธีนี้จะช่วยได้เยอะมากหากสุนัขชอบกระดิกหู คุณจะต้องยอมเสียสละถุงน่องสำหรับขั้นตอนนี้ ให้ตัดปลายเท้าของถุงน่องออกเพื่อให้ถุงน่องกลายเป็นท่อ ดันหูสุนัขไปด้านหลังโดยใช้ผ้ากอซกดที่แผลไว้ ค่อยๆ สวมถุงน่องครอบหัว จมูกและตาของสุนัขจะยังโผล่ออกมาอยู่ และขอบถุงน่องจะอยู่หลังตาพอดี
    • จัดให้ถุงน่องรัดหัวพอดีแต่ไม่แน่นเกินไป คุณควรจะสามารถสอดนิ้วเข้าไปในถุงน่องทั้งบนหัวและตรงคอได้
    • ปล่อยผ้าพันหัวไว้ 1 วัน แล้วเอาออกเพื่อตรวจดูแผลที่หู หากจำเป็น คุณสามารถใช้ถุงน่องซ้ำอีกวันได้ตราบใดที่ถุงน้องยังสะอาดและแห้งอยู่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา 2-3 วันเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเลือดหยุดไหลแล้วจริงๆ
  • เมื่อสุนัขรู้สึกว่าเลือดไหล มันน่าจะสะบัดหัว ทำให้เลือดกระเด็นไปโดนผนัง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ให้พามันไปอยู่ห่างเฟอร์นิเจอร์แพงๆ ของคุณจนกว่าคุณจะแน่ใจว่าเลือดหยุดแล้ว
  • อย่าพยายามพันผ้าขนหนูรอบหูสุนัข มันจะพยายามดิ้นให้ผ้าหลุดและทำให้เลือดออกอีก
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Kirk and Bistner’s Handbook of Veterinary Procedures and Emergency Treatment. Eighth Edition. Ford and Mazzaferro. Saunders. 2006
  2. Kirk and Bistner’s Handbook of Veterinary Procedures and Emergency Treatment. Eighth Edition. Ford and Mazzaferro. Saunders. 2006
  3. The First Aid Companion for Dogs & Cats. Amy D. Shoja. Rodale, Inc. 2001
  4. The Merck Veterinary Manual, 10th Edition. Kahn and Line, editors. Wiley. 2010
  5. The Merck Veterinary Manual, 10th Edition. Kahn and Line, editors. Wiley. 2010
  6. The Merck Veterinary Manual, 10th Edition. Kahn and Line, editors. Wiley. 2010

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,932 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา