ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

วัตถุสิ่งของ อาหารการกิน และกิริยาท่าทางเป็นหลักฐานแสดงถึงวัฒนธรรมของเรา ประเพณีและทัศนคติอันเกิดจากวัฒนธรรมทำให้เราเป็นเราอย่างทุกวันนี้ ฉะนั้นเราจึงต้องพยายามศึกษาวัฒนธรรมของตนเองให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ตราบนานเท่านาน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาเดียวกับพ่อแม่และปู่ย่าตายายหรือไม่ การพยายามศึกษาประเพณีทางศาสนาไว้จะช่วยทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น ศาสนามีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษา ประวัติศาสตร์ และพฤติกรรมส่วนบุคคล ฉะนั้นการทำความรู้จักคุ้นเคยกับศาสนาที่บ้านเรานับถือจะช่วยให้เราเข้าใจวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ด้วย [1]
    • คำสอนและพิธีกรรมต่างๆ อาจเป็นอะไรที่เข้าใจยาก ถ้าไม่มีผู้รู้คอยชี้แนะให้ ขอให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยอธิบายคำสอนและพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญให้เราฟัง ลองหาหนังสือที่เกี่ยวกับคำสอนทางศาสนามาอ่านก็ได้
  2. พูดภาษาบ้านเกิด . ถ้ารู้ว่ามีเพื่อนคนหนึ่งมาจากท้องถิ่นเดียวกันกับเรา ให้พูดคุยเป็นภาษาถิ่นกับเขาดู นักภาษาศาสตร์และนักมานุษยวิทยาบอกว่าภาษานั้นมีอิทธิพลต่อการรับรู้สิ่งต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าเราอยู่ในถิ่นอื่นที่ไม่มีคนพูดหรือรู้จักภาษาถิ่นของเรา ก็จะไม่มีใครมาแอบฟังเรากับเพื่อนพูดภาษาถิ่นตอบโต้กันแน่นอน
    • มีภาษาหลายพันภาษาที่เสี่ยงต่อการสูญหาย [2] ถ้าเรารู้ภาษาที่ใกล้สูญหาย อย่าลืมถ่ายทอดให้ผู้อื่นรู้ แบ่งบันความรู้และทัศนคติที่อาจสูญหาย ถ้ามีโอกาส บันทึกภาษาพูดและภาษาเขียน (ถ้าเป็นไปได้) แล้วแปลเป็นภาษาอื่นๆ เพื่อเผยแพร่
  3. ไม่สายเกินไปที่จะขอให้คุณยายของเราสอนวิธีทำอาหารพื้นบ้านหรืออาหารตำรับโบราณให้ เราจะได้รู้ว่ากลิ่นและรสชาติอาหารแบบเฉพาะของบ้านเรานั้นเป็นอย่างไร [3] พอลองทำขนมหรือประมาณส่วนผสมของเครื่องเทศเอง ก็ให้นำสูตร วิธีการ หรือเคล็ดลับที่คุณยายสอนมาใช้ดู การอ่านตำราอาหารสักเล่มหนึ่งก็ช่วยทำให้เรารู้ว่าส่วนประกอบและเครื่องมือในการทำอาหารเปลี่ยนไปมากแค่ไหน ถึงอาหารบางเมนูจะทำได้ไม่ง่ายนัก แต่อาหารบางเมนูก็สามารถทำได้ง่ายและอาจกลายเป็นเมนูโปรดของครอบครัวไปเลยก็ได้
    • ถ้าในครอบครัวเราไม่มีผู้เชี่ยวชาญอาหารพื้นบ้านหรืออาหารตำรับโบราณเลย ลองหาซื้อหนังสือทำอาหารพื้นบ้านหรืออาหารตำรับโบราณตามร้านหนังสือดู [4] ถ้ามีคนในท้องถิ่นรู้วิธีทำอาหารพื้นบ้านหรืออาหารตำรับโบราณ ขอให้เขาสอนเราและเราก็จดบันทึกเอาไว้
  4. ทุกประเทศจะมีการแต่งกาย ดนตรี ศิลปะ เรื่องเล่า และอะไรอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของตน บ้านเรามีผู้คนมากมายที่ยินดีจะสอนและบอกเล่าวิถีชีวิตของเขาให้เราฟัง เช่น ทำงานอดิเรกอะไรในยามว่าง ประกอบอาชีพอะไร ทำงานหัตถกรรมใด และมีการละเล่นอะไรบ้าง เป็นต้น เราอาจคิดว่างานศิลปะโบราณในพิพิธภัณฑ์เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุอย่างเดียวที่เรามี แต่ความจริงแล้วมีมากกว่านี้ ช้อนในครัวหรือซอฟต์แวร์ที่คิดค้นขึ้นมาก็ถือเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุเช่นกัน
    • ผู้คนที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งไม่ซับซ้อนมักจะถูกมองว่าเป็นพวกไม่มีความรู้หรือไม่ค่อยฉลาด เรื่องนี้ไม่จริงเลย พวกเขาต้องใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของตน ฉะนั้นเครื่องมือทุกชิ้นเกิดจากภูมิปัญญาของผู้คนทั้งสิ้น [5] เครื่องมือที่ทำจากหินเป็นหนึ่งในวัตถุทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุด เครื่องมือเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงทักษะและความรู้ของคนยุคโบราณ
  5. วิธีที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของเราคือทำให้วัฒนธรรมนั้นยังคงอยู่ เราไม่จำเป็นต้องพบปะผู้คนแค่เฉพาะตอนไปเที่ยวในวันหยุดเท่านั้น แต่สามารถนัดรับประทานอาหารร่วมกัน พบเจอกันในวันสำคัญ หรือแค่พูดคุยกันเฉยๆ ก็ได้ มีวัฒนธรรมหลายด้านที่ไม่สามารถเรียนรู้จากการอ่านหนังสือและการเข้าชมพิพิธภัณฑ์แต่เพียงเดียว เช่น มารยาท ภาษากาย และความมีอารมณ์ขัน
    • ในระหว่างพุดคุยกันลองคิดสิว่าวัฒนธรรมในการสนทนาพูดคุยของเราและของผู้อื่นแตกต่างกันอย่างไร (หรือเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมสองวัฒนธรรมที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมก็ได้) วัฒนธรรมในการสนทนาของท้องถิ่นหนึ่งดูมีชีวิตชีวาหรือเป็นมิตรกว่าอีกท้องถิ่นหนึ่งหรือเปล่า ถ้อยคำธรรมดาๆ ของวัฒนธรรมหนึ่งกลับเป็นถ้อยคำที่หยาบคายสำหรับอีกวัฒนธรรมหนึ่งหรือเปล่า ทำไมเราถึงคิดว่าเป็นแบบนั้น การวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งแบบนี้อาจยากไปสักนิด แต่ก็ทำให้เราได้เข้าใจแก่นของวัฒนธรรมนั้นมากขึ้น
  6. ประเทศของเรา ท้องถิ่นของเรา กลุ่มศาสนานิกายที่เรานับถือ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ของเรามักจะมีการเฉลิมฉลองในวันสำคัญหรือจัดเทศกาลตามวัฒนธรรมของตน เดินทางไปเข้าร่วมงานหรือเทศกาลเหล่านั้นเพื่อจะได้รู้จักวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น แต่ถ้าไม่สะดวกไปงานหรือเทศกาลเหล่านั้น ก็ให้จัดงานหรือเทศกาลเหล่านั้นขึ้นที่บ้านของตนเองก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รักษาและเผยแพร่วัฒนธรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราสามารถบันทึกทุกอย่างที่ตนเองได้ค้นพบในชีวิตและในระหว่างที่ค้นคว้าได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กน้อยสักแค่ไหน แต่เราก็ไม่สามารถบันทึกทุกอย่างที่รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนได้หมด เพราะข้อมูลนั้นมากมายเกินไป คนส่วนใหญ่จึงเลือกบันทึกไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งดังนี้แทน
    • ประวัติส่วนตัวโดยมาจากประสบการณ์ของคนคนนั้นเองหรือครอบครัวเป็นผู้บอกเล่า
    • วัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งอย่างละเอียด เช่น การทำอาหาร เรื่องตลกขับขัน เป็นต้น
  2. เราจะใช้ปากกากับกระดาษ เครื่องบันทึกเสียง หรืออุปกรณ์อื่นๆ มาบันทึกประสบการณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองก็ได้ เราจะนำสิ่งที่บันทึกไว้มาลงเว็บไซต์ ดีวีดี หรือลงในสื่อดิจิตอลรูปแบบอื่นก็ได้ เราจะได้เผยแพร่วัฒนธรรมของตนเองให้ผู้คนทั่วโลกได้รับรู้
  3. สัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ในวัฒนธรรมด้านนั้นอย่างลึกซึ้งหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น เราต้องเตรียมคำถามว่าจะถามอะไรบ้าง แต่ก็ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พูดถึงหัวข้อและเรื่องราวอื่นๆ บ้าง [6] เราอาจได้เรียนรู้อะไรบางอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยก็ได้
    • ควรใช้เวลาสัมภาษณ์ครั้งละหนึ่งหรือสองชั่วโมง ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์อยากให้ข้อมูลเพิ่มเติม ค่อยกลับมาสัมภาษณ์เขาใหม่ในภายหลัง เพราะเราจะได้เตรียมคำถามมาเพิ่มเติมและผู้ให้สัมภาษณ์จะได้มีเวลาค้นหาเอกสารหรือวัตถุต่างๆ มาแบ่งปันให้เรา
    • บันทึกวีดีโอหรือบันทึกเสียง ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์อนุญาต เพราะการบันทึกวีดีโอและการบันทึกเสียงจะมีความแม่นยำกว่าการจดหรือจำเอาไว้ในหัว
  4. เขียนแผนภูมิแสดงลำดับเครือญาติของวงศ์ตระกูล. สอบถามลำดับเครือญาติของวงศ์ตระกูลเราจากสมาชิกในครอบครัว และนำข้อมูลนี้มาเขียนแผนภูมิ เราอาจเห็นว่าตนเองมีลูกพี่ลูกน้องที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน ใช้แผนภูมิแสดงลำดับเครือญาติของวงศ์ตระกูลหรืออินเตอร์เน็ตในการตามหาผู้คนเหล่านี้ เราอาจได้รู้จักวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้นจากบุคคลเหล่านี้ เว็บไซต์ของรัฐบาลและบันทึกต่างๆ อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมย้อนกลับไปได้หลายสิบปี [7]
    • ขอยืมสมุดเก็บภาพและบันทึกต่างๆ ไว้แต่เนิ่นๆ เราอาจพบว่ามีใครสักคนที่เราสามารถสอบถามข้อมูลความเป็นมาของครอบครัวเราได้ [8]
  5. ใช้สิ่งที่บันทึกไว้มาเผยแพร่เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม. เราต้องพยายามหาทางอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนเองเอาไว้ แบ่งปันเรื่องราวและข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเราให้กับคนหนุ่มสาวที่อาจไม่รู้จักวัฒนธรรมของตนเองมากนักได้รับรู้ ไม่ว่าจะเจอการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือสังคมอย่างไร พยายามให้ผู้คนได้มามีส่วนร่วมในการพูดคุยและเข้าร่วมทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม สิ่งที่เราค้นคว้ามาสามารถช่วยให้ผู้คนเข้าใจค่านิยมหลักของวัฒนธรรมตนเองและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนอยากรักษาและทำให้วัฒนธรรมเหล่านั้นเจริญงอกงามต่อไป
  6. ถึงจะมีคนพูดว่าจงรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป แต่ก็ดูเหมือนจะทำได้ยาก วัฒนธรรม "ใกล้สูญหาย" หรือ "ต้องได้รับการอนุรักษ์" ก่อนที่จะหายไป ถึงแม้เราจะต้องอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้ไม่ให้สูญหาย แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายไปซะทั้งหมด วัฒนธรรมช่วยให้คนเราปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด วัฒนธรรมก็ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเช่นกัน ขึ้นอยู่กับเราแล้วว่าจะทำยังไง [9]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจวัฒนธรรมของตนเอง แล้วเรามีจะความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 185,067 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา