PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

กิจกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวันอาจกลับกลายเป็นเรื่องยากและน่าหงุดหงิดใจไปแทนได้ในช่วงที่คุณพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัด ไม่เว้นแม้แต่การอาบน้ำที่คุณเคยทำได้ตามปกติ เนื่องจากแผลผ่าตัดโดยส่วนใหญ่จำเป็นต้องแห้งอยู่เสมอ คุณจึงควรอาบน้ำตามแนวทางการปฏิบัติตัวที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด โดยแพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณงดอาบน้ำสักระยะหนึ่ง ปิดแผลผ่าตัดให้เรียบร้อย หรือทั้งสองอย่าง ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายที่จำกัดอาจทำให้การอาบน้ำตามปกติของคุณไม่สะดวกสบายเช่นเคย อีกทั้งการขยับตัวในพื้นที่อาบน้ำแคบๆ ยังอาจไม่ปลอดภัยเท่าไรนัก ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเข้ารับการผ่าตัดชนิดใด พยายามทำตามขั้นตอนการอาบน้ำที่ปลอดภัยอยู่เสมอเพื่อช่วยให้คุณปลอดภัยทั้งจากการติดเชื้อและการได้รับบาดเจ็บ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ทำความสะอาดแผลผ่าตัดด้วยความระมัดระวัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์ของคุณจะเป็นผู้ตรวจประเมินหลังการผ่าตัดและพิจารณาแนวทางการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในลำดับถัดไปในระยะพักฟื้นของคุณ
    • แพทย์ของคุณจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัดซึ่งรวมถึงคำแนะนำในการกลับมาอาบน้ำตามปกติอีกครั้งอย่างปลอดภัย ซึ่งโดยหลักๆ แล้วแนวทางการปฏิบัติตัวจากแพทย์จะขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดและลักษณะการเย็บปิดแผล
    • คุณจะได้รับคำแนะนำในการอาบน้ำหลังการผ่าตัดก่อนออกจากโรงพยาบาล ซึ่งหากคุณเกิดหลงลืมข้อมูลบางส่วน คุณควรติดต่อแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำที่ถูกต้องอีกครั้งโดยทันทีเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บ และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
  2. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่แพทย์ใช้ในการเย็บปิดแผลของคุณเพื่อให้คุณสามารถป้องกันการบาดเจ็บและการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น [1]
    • วิธีการเย็บปิดแผลที่นิยมใช้โดยทั่วไปมีทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ การใช้ไหมเย็บแผล การใช้ลวดเย็บแผล การใช้แถบปิดแผลหรือที่เรียกว่าแผ่นเทปสเตอไรด์ และการใช้กาวติดเนื้อเยื่อ [2]
    • ศัลยแพทย์โดยส่วนใหญ่จะใช้ผ้าปิดแผลกันน้ำปิดทับลงไปบนแผลผ่าตัดเพื่อให้คนไข้สามารถอาบน้ำได้ตามปกติหลังจากที่ร่างกายเริ่มฟื้นตัว [3]
    • แผลผ่าตัดที่เย็บปิดด้วยกาวติดเนื้อเยื่อโดยส่วนใหญ่สามารถสัมผัสกับน้ำที่ไหลผ่านเบาๆ ได้ภายหลัง 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด [4]
    • ไหมที่ใช้สำหรับเย็บปิดแผลผ่าตัดมีทั้งชนิดที่ต้องตัดออกหลังจากที่เนื้อเยื่อสมานเป็นเนื้อเดียวกันและชนิดที่สามารถละลายและดูดซึมลงไปบนผิวหนังได้โดยไม่จำเป็นต้องตัดออกในภายหลัง [5]
    • แผลผ่าตัดที่เย็บปิดด้วยไหมชนิดไม่ละลาย ลวดเย็บแผล หรือแถบปิดแผลอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสถูกน้ำเป็นระยะเวลาที่นานกว่า ดังนั้นในช่วงที่แผลยังไม่สามารถโดนน้ำได้ ให้คุณใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดตัวให้สะอาดหรือปิดแผลไว้ด้วยผ้าปิดแผลในระหว่างอาบน้ำ [6]
  3. หากแผลผ่าตัดของคุณไม่จำเป็นต้องปิดด้วยผ้าปิดแผลปิดต่อแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการขัดถูที่บริเวณแผลผ่าตัดหรือใช้ผ้าขนหนูเช็ดอย่างรุนแรง [7]
    • ทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนและน้ำเปล่า โดยระวังอย่าให้สบู่หรือผลิตภัณฑ์อาบน้ำอื่นๆ สัมผัสถูกแผลโดยตรงและเปิดน้ำเปล่าให้ไหลผ่านเพียงเบาๆ [8]
    • ศัลยแพทย์โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้คนไข้ใช้สบู่และผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมตัวเดิมที่ใช้อยู่ตามปกติ
  4. หลังอาบน้ำเสร็จ ให้คุณดึงผ้าปิดแผลที่ใช้สำหรับปิดทับแผลผ่าตัดไว้ให้หลุดออก (เช่น ผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ยา แต่ อย่า ดึงแถบปิดแผลที่ใช้เย็บแผลผ่าตัดออก) และตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริเวณแผลผ่าตัดแห้งสนิทดี
    • ใช้ผ้าขนหนูสะอาดหรือผ้าก๊อซค่อยๆ ซับบริเวณแผลผ่าตัดให้แห้งสนิท [9]
    • หลีกเลี่ยงการเช็ดถูแรงๆ และอย่าแกะไหมเย็บแผล ลวดเย็บแผล หรือแถบปิดแผลที่ยังคงทำหน้าที่ยึดปากแผลอยู่
    • หลีกเลี่ยงการแกะเกาแผลผ่าตัดและปล่อยให้สะเก็ดแผลหลุดลอกเองตามธรรมชาติ โดยสะเก็ดแผลจะทำหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกจากแผล [10]
  5. ทายาครีมหรือยาขี้ผึ้งที่แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น. หลีกเลี่ยงการใช้ยาทาภายนอกทาที่บริเวณแผลผ่าตัดเว้นแต่ว่าศัลยแพทย์ของคุณจะเจาะจงสั่งใช้ยาดังกล่าว [11]
    • ในขั้นตอนการเปลี่ยนผ้าปิดแผล แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ทายาครีมหรือยาขี้ผึ้งที่บริเวณแผลผ่าตัดก่อนใช้ผ้าปิดแผลปิดทับลงไป อย่างไรก็ตาม ให้คุณใช้ยาทาภายนอกเฉพาะในกรณีที่แพทย์เป็นผู้ออกคำสั่งใช้ยาเท่านั้น [12]
  6. เมื่อพ้นระยะที่ต้องคอยระวังไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำแล้ว แถบปิดแผลที่ยึดปากแผลไว้ก็สามารถโดนน้ำได้โดยไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม อย่าแกะแถบปิดแผลออกและรอจนกระทั่งแถบปิดแผลหลุดออกมาเอง [13]
    • ค่อยๆ ซับบริเวณแผลผ่าตัดรวมถึงแถบปิดแผลที่ยังไม่หลุดออกให้แห้งสนิท
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ระวังอย่าให้แผลผ่าตัดเปียกชื้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ป้องกันไม่ให้บริเวณแผลผ่าตัดเปียกน้ำตามที่แพทย์สั่ง. พยายามดูแลให้บริเวณแผลผ่าตัดแห้งอยู่เสมอด้วยการหลีกเลี่ยงการอาบน้ำในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรกหลังรับการผ่าตัดเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อและกระตุ้นให้แผลสมานติดกันเร็วขึ้น [14]
    • ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ มากมาย ซึ่งคุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อหรือเกิดความเสียหายต่อแผลผ่าตัดได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด [15]
    • เตรียมผ้าก๊อซสะอาดไว้ให้พร้อมเพื่อให้คุณสามารถหยิบใช้ตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ได้เข้าใกล้น้ำก็ตามที
  2. ศัลยแพทย์อาจอนุญาตให้คุณกลับมาอาบน้ำได้ตามปกติหลังจากที่ร่างกายฟื้นตัวดีแล้วในกรณีที่แผลผ่าตัดอยู่ในตำแหน่งที่คุณสามารถใช้วัสดุกันน้ำปิดไว้ได้
    • โดยส่วนใหญ่แล้วศัลยแพทย์จะอธิบายขั้นตอนการปิดแผลผ่าตัดในระหว่างอาบน้ำไว้อย่างชัดเจน
    • นำพลาสติกแรปแบบใส ถุงขยะ หรือฟิล์มถนอมอาหารมาพันปิดแผลผ่าตัดไว้ให้แนบสนิท จากนั้นใช้เทปแต่งแผลติดไล่ไปตามขอบเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าไปด้านในได้ [16]
    • สำหรับแผลผ่าตัดที่อยู่ในตำแหน่งที่เอื้อมถึงได้ยาก ลองขอให้สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนของคุณช่วยตัดถุงพลาสติกหรือพลาสติกแรปเพื่อใช้สำหรับปิดแผลก่อนยึดไว้ให้แน่นด้วยเทปแต่งแผล
    • สำหรับแผลผ่าตัดที่อยู่บริเวณหัวไหล่หรือหลังส่วนบน นอกเหนือจากการปิดแผลผ่าตัดไว้แล้ว ให้คุณใช้ถุงขยะคลุมไหล่ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำ สบู่ หรือแชมพูสัมผัสบริเวณแผลผ่าตัดในระหว่างอาบน้ำ และสำหรับแผลผ่าตัดที่อยู่บริเวณหน้าอก ให้คุณใช้ถุงขยะคลุมไว้ในลักษณะเดียวกับผ้ากันเปื้อนของเด็ก [17]
  3. ในช่วงที่แพทย์ยังไม่อนุญาตให้คุณกลับมาอาบน้ำได้ตามปกติ คุณสามารถชำระล้างร่างกายให้รู้สึกสดชื่นได้ด้วยการใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดตัวให้สะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกชื้นหรือได้รับการกระทบกระเทือน [18]
    • ใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูผืนเล็กจุ่มลงไปในน้ำสบู่อ่อนๆ ให้ชุ่มและนำไปเช็ดตัวให้ทั่วก่อนเช็ดตัวให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด
  4. โดยส่วนใหญ่แล้วศัลยแพทย์จะอนุญาตให้อาบน้ำด้วยฝักบัวหลังจากที่พ้นระยะที่ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำและร่างกายของคุณเริ่มฟื้นตัวดี [19]
    • อย่าให้บริเวณแผลผ่าตัดโดนน้ำเป็นเวลานาน แช่ตัวในอ่างอาบน้ำหรืออ่างน้ำร้อน หรือว่ายน้ำในสระว่ายน้ำอย่างน้อย 3 สัปดาห์หรือจนกว่าคุณจะได้รับอนุญาตจากแพทย์ [20]
  5. โดยส่วนใหญ่แล้วศัลยแพทย์จะแนะนำใช้เวลาในการอาบน้ำด้วยฝักบัวไม่เกิน 5 นาทีจนกว่าร่างกายของคุณจะฟื้นตัวมากขึ้นและแผลผ่าตัดเริ่มสมานติดกัน [21]
  6. ลองขอให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวคอยเฝ้าดูคุณในระหว่างอาบน้ำในช่วง 2-3 วันแรกที่คุณเพิ่งกลับมาอาบน้ำตามปกติ [22]
    • คุณอาจจำเป็นต้องใช้เก้าอี้อาบน้ำ เก้าอี้ทั่วไป หรือราวจับเพื่อช่วยให้คุณสามารถพยุงตัวได้อย่างมั่นคงและป้องกันการสะดุดล้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเข้ารับการผ่าตัดชนิดใด [23]
    • การผ่าตัดที่บริเวณหัวเข่า ขา ข้อเท้า เท้า และหลังอาจทำให้คุณควบคุมการทรงตัวในพื้นที่อาบน้ำแคบๆ ได้ยาก ดังนั้นคุณจึงควรใช้เก้าอี้อาบน้ำ เก้าอี้ทั่วไป หรือราวจับเพื่อช่วยในการพยุงตัวให้มั่นคงยิ่งขึ้น
  7. จัดท่าทางร่างกายให้แผลผ่าตัดอยู่ห่างจากน้ำที่ไหลจากฝักบัว. หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำที่ไหลแรงๆ ไหลผ่านแผลผ่าตัดโดยตรง
    • ปรับอุณหภูมิและความแรงของน้ำให้เหมาะสมก่อนเริ่มอาบน้ำเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อแผลผ่าตัดของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ป้องกันการติดเชื้อ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การติดเชื้อเป็นผลข้างเคียงหนึ่งที่พบได้มากหลังเข้ารับการผ่าตัด [24]
    • ติดต่อแพทย์โดยทันทีหากคุณสงสัยว่าแผลผ่าตัดของคุณเริ่มมีอาการติดเชื้อ [25]
    • อาการที่พบได้เมื่อเกิดการติดเชื้อได้แก่ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38°C มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน รู้สึกเจ็บอย่างรุนแรง มีรอยแดงใหม่เกิดขึ้นที่บริเวณแผลผ่าตัด มีอาการกดเจ็บ รู้สึกถึงไออุ่นเมื่อสัมผัส มีของเหลวกลิ่นเหม็นหรือของเหลวสีเขียวหรือสีเหลืองไหลซึมออกมา หรือมีอาการบวมเกิดขึ้นที่บริเวณแผลผ่าตัด [26]
    • ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดจำนวนกว่า 300,000 คนต่อปีในสหรัฐอเมริกาจะพบการติดเชื้อเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด และน่าเศร้าที่ผู้ป่วยประมาณ 10,000 จากจำนวนดังกล่าวเสียชีวิตจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้น [27]
  2. ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น. ลักษณะนิสัยและสภาพแวดล้อมบางอย่างอาจทำให้ผู้ป่วยบางคนมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อหรือที่แผลผ่าตัดจะเปิดออกสูงกว่าผู้ป่วยคนอื่นๆ
    • ตัวอย่างของปัจจัยเสี่ยงได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวานหรือภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะทุพโภชนาการ การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ และการสูบบุหรี่ [28]
  3. ขั้นตอนการดูแลสุขอนามัยง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ที่บ้านเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แก่การหมั่นล้างมือเป็นประจำและการใช้อุปกรณ์ที่สะอาดในการทำแผลหรือซับแผลให้แห้งหลังอาบน้ำ [29]
    • ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ ถือถุงขยะ สัมผัสสัตว์เลี้ยง จับเสื้อผ้าสกปรก สัมผัสสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในที่สาธารณะ และจับผ้าปิดแผลที่เปื้อนสารคัดหลั่ง [30]
    • กล่าวเตือนให้สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ที่มาเยี่ยมเยียนล้างมือให้สะอาดก่อนเข้ามาพบกับผู้ป่วยที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด [31]
    • หากเป็นไปได้ให้คุณงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แต่ถ้าให้ดีคุณควรเว้นจากการสูบบุหรี่ให้นานยิ่งขึ้นเป็น 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้กระบวนการหายของแผลช้าลง [32] ซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อที่กำลังสมานเป็นเนื้อเดียวกันขาดออกซิเจนจนอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ [33]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ปรึกษาแพทย์เมื่อถึงคราวจำเป็น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีไข้ต่ำๆ หลังรับการผ่าตัดไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของร่างกายที่สูงกว่าหรือเท่ากับ 38°C อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้ [34]
    • สัญญาณอื่นๆ ของการติดเชื้อที่เตือนว่าคุณควรติดต่อแพทย์โดยทันทีได้แก่ มีรอยแดงใหม่เกิดขึ้นที่บริเวณแผลผ่าตัด มีน้ำหนองไหลซึมออกจากแผล มีของเหลวกลิ่นเหม็นหรือมีสีผิดปกติไหลซึมออกมา มีอาการกดเจ็บที่บริเวณแผลผ่าตัด รู้สึกถึงไออุ่นเมื่อสัมผัส หรือมีอาการบวมเกิดขึ้นที่บริเวณแผลผ่าตัด [35]
  2. ล้างมือให้สะอาดและใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าขนหนูสะอาดกดปากแผลไว้เบาๆ ก่อนติดต่อแพทย์โดยทันที [36]
    • อย่าออกแรงกดปากแผลมากจนเกินไป โดยคุณควรใช้วิธีกดลงไปเบาๆ และใช้ผ้าก๊อซสะอาดพันแผลไว้จนกระทั่งได้พบแพทย์ของคุณหรือไปถึงสถานพยาบาลแห่งอื่นแล้วเพื่อทำการตรวจสอบบริเวณแผลผ่าตัดของคุณ [37]
  3. หากคุณมีอาการปวดท้อง มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน หรือมีอาการดีซ่าน (ผิวหนังหรือดวงตากลายเป็นสีเหลือง) คุณควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด [38]
    • รวมถึงหากร่างกายของคุณแสดงอาการของการเกิดลิ่มเลือดเหล่านี้ เช่น ผิวดูซีด ปลายแขนปลายขาเย็น มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรือมีอาการบวมผิดปกติที่แขนหรือขา [39]
    โฆษณา
  1. http://sportsmedicine.osu.edu/patientcare/sports_injuries/the_knee/acl_injury/home_care_after_acl/
  2. http://sportsmedicine.osu.edu/patientcare/sports_injuries/the_knee/acl_injury/home_care_after_acl/
  3. http://sportsmedicine.osu.edu/patientcare/sports_injuries/the_knee/acl_injury/home_care_after_acl/
  4. http://www.uofmchildrenshospital.org/healthlibrary/Article/82362
  5. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  6. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  7. http://www.uofmchildrenshospital.org/healthlibrary/Article/82362
  8. http://www.barbaraberginmd.com/Portals/2213/web-content/files/KeepItDry.pdf
  9. http://sportsmedicine.osu.edu/patientcare/sports_injuries/the_knee/acl_injury/home_care_after_acl/
  10. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000624.htm
  11. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000624.htm
  12. http://ejgh.org/services/surgery/post-operative-instructions
  13. http://www.allinahealth.org/Health-Conditions-and-Treatments/Health-library/Patient-education/Total-Knee-Replacement/Common-questions/
  14. http://www.allinahealth.org/Health-Conditions-and-Treatments/Health-library/Patient-education/Total-Knee-Replacement/Common-questions/
  15. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  16. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  17. http://www.allinahealth.org/Health-Conditions-and-Treatments/Health-library/Patient-education/Total-Knee-Replacement/Common-questions/
  18. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  19. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  20. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  21. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  22. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  23. http://www.surgeryencyclopedia.com/Fi-La/Incision-Care.html
  24. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4241583/
  25. http://ejgh.org/services/surgery/post-operative-instructions
  26. http://ejgh.org/services/surgery/post-operative-instructions
  27. http://ejgh.org/services/surgery/post-operative-instructions
  28. http://ejgh.org/services/surgery/post-operative-instructions
  29. http://ejgh.org/services/surgery/post-operative-instructions
  30. http://sportsmedicine.osu.edu/patientcare/sports_injuries/the_knee/acl_injury/home_care_after_acl/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,666 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา