ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เด็กแรกเกิดนั้นไม่จำเป็นต้องอาบน้ำบ่อยเท่าเด็กทารกหรือเด็กเล็ก ผิวของพวกเขานั้นแห้งเร็วเกินไป และเด็กแรกเกิดที่ยังมีขั้วสายสะดือติดอยู่ก็ไม่ควรทำมากไปกว่าการใช้ฟองน้ำอาบน้ำ เวลาที่อาบน้ำเด็กแรกเกิดควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

อาบน้ำโดยใช้ฟองน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้วสายสะดือจะยังติดนานถึง 3 สัปดาห์ สถาบันกุมารแพทย์ แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatricians) แนะนำว่าควรรอจนกว่าขั้วนั้นจะหลุดออกจึงจะให้เด็กแรกเกิดแช่น้ำได้ ระหว่างนี้ควรใช้ฟองน้ำอาบน้ำ [1]
    • เราไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้เด็กแรกเกิดทุกวันในสัปดาห์แรกๆ อันที่จริง การอาบน้ำมากเกินไปจะเป็นอันตรายกับผิวของเด็กได้ ใบหน้า คอ และส่วนที่สัมผัสกับผ้าอ้อมเป็นพื้นที่ที่ต้องทำความสะอาดและดูแลได้ด้วยผ้ารองการเรอและผ้าอ้อมสะอาดๆ อย่าอาบเด็กแรกเกิดมากกว่า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ [2]
    • ปรึกษากุมารแพทย์หากขั้วนั้นไม่หลุดออกหลังจากสามสัปดาห์แล้ว ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกปัญหาใหญ่หรืออาจจำเป็นต้องตัดออก
  2. เราจะต้องเตรียมอุปกรณ์หลากหลายให้พร้อมในการอาบน้ำโดยใช้ฟองน้ำให้เด็กแรกเกิด จัดวางอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนจะเริ่มขั้นตอนการอาบน้ำ
  3. เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เสร็จ ก็ได้เวลาเริ่มอาบน้ำให้เจ้าตัวน้อยของเรา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

อาบน้ำเด็กในอ่างอาบน้ำหรืออ่างล้างมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อขั้วสายรกของเด็กแรกเกิดหลุดออกแล้ว เราก็สามารถอาบน้ำเด็กในอ่างอาบน้ำหรืออ่างล้างมือได้ ให้แน่ใจว่าเลือกอ่างอาบน้ำหรืออ่างล้างมือที่ปลอดภัยสำหรับเด็กแล้ว
  2. หาท่าที่ดีที่สุดที่จะประคองเจ้าตัวน้อยในอ่างน้ำ. เราต้องมั่นใจว่าเด็กนั้นปลอดภัยในอ่าง หาท่าทางที่จะประคองเด็กให้สบายตัวและไม่ดิ้นมากเกินไป
    • จับตัวเด็กให้มั่น แต่ให้เขาสบายตัวด้วย [15]
    • รองหัวและร่างกายของเด็กด้วยแขนของเรา ใช้อีกมือหนึ่งอาบน้ำให้ ทำได้ด้วยการโอบแขนไปรองหลังของเด็ก เมื่อต้องอาบบริเวณหลังและก้น ขยับจนเด็กโน้มตัวมาข้างหน้าในวงแขนของเรา [16]
    • สามารถซื้อที่นั่งอาบน้ำได้ที่ร้านขายของเด็กหรือทางออนไลน์ก็ได้ แต่ถึงแม้จะใช้ที่นั่งอาบน้ำแล้วเราก็ควรใช้มือข้างหนึ่งประคองเด็กอยู่ตลอดเวลา [17]
  3. การอาบน้ำควรใช้เวลาไม่เกิน 10 หรือ 15 นาที
    • ก่อนจะหย่อนตัวเด็กลงในอ่าง ถอดเสื้อผ้าออกจนเหลือแต่ผ้าอ้อม ล้างหน้าและดวงตาด้วยวิธีเดียวกับการอาบน้ำด้วยฟองน้ำ ล้างหนังตาด้วยผ้าชุบน้ำเปล่าไม่ใช้สบู่และสำลีก้อนเปียกๆ [18]
    • เมื่อเสร็จแล้ว ถอดผ้าอ้อมออก หากผ้าอ้อมสกปรก ให้ล้างก้นก่อนลงอ่างอาบน้ำ เมื่อจะหย่อนตัวลงอ่าง ให้เอาขาลงก่อน [19]
    • สามารถใช้มือ ฟองน้ำ หรือผ้าชุบน้ำถูทำความสะอาดเบาๆ สามารถใช้สบู่สำหรับเด็ก หากผิวของเด็กแห้งลองใช้คลีนเซอร์ที่เพิ่มความชุ่มชื้น [20]
    • รดน้ำบนตัวเด็กอย่างเบามือเพื่อไม่ให้รู้สึกหนาว
    • การสระผมอาจไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม หากผมดูสกปรกหรือเด็กมีอาการทั่วไปที่เรียกว่า เครเดิ้ล แคป (cradle cap) หรืออาการไขบนหนังศีรษะที่จะก่อให้เกิดผิวหนังลอกบนหนังศีรษะ ก็ควรสระผม นวดยาสระผมลงบนหนังศีรษะเบาๆ ล้างยาสระผมด้วยผ้าเช็ดตัวหรือใช้ฝักบัว ใช้มือป้องบนหน้าผากตลอดเวลาเพื่อกันยาสระผมเข้าตาเด็ก [21]
    • เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว ยกตัวขึ้นจากอ่างน้ำและรีบห่อตัวด้วยผ้าขนหนู เช็ดตัวให้แห้งอย่างเบามือและใส่เสื้อผ้าสะอาดให้ [22]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เรียนรู้ข้อควรระวังเรื่องความปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อุณหภูมิของน้ำนั้นสำคัญสำหรับความปลอดภัยของเด็ก เช็คให้แน่ใจว่าเรารู้อุณหภูมิที่เหมาะสมที่จะทำให้เด็กปลอดภัยและรู้สึกสบายตัว
    • ใส่น้ำเย็นลงไปในอ่างก่อนดีที่สุดแล้วจึงค่อยเติมน้ำร้อน กวนน้ำให้เข้ากันและกำจัดจุดที่น้ำร้อนหรือเย็นเกินไป [23]
    • เป็นความคิดที่ดีที่จะลงทุนซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิเพื่อให้แน่ใจว่าอุณหภูมินั้นอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับเด็กแรกเกิด อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 36.6 องศาเซลเซียส ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิปกติของร่างกาย หากไม่มีเครื่องวัดอุณหภูมิ ให้ใช้ข้อศอกวัดความอุ่นแทนมือ [24]
    • หากเด็กสามารถเอื้อมถึงก๊อกน้ำระหว่างการอาบน้ำได้ ห้ามไม่ให้เด็กจับมัน ในวัยนี้ เด็กจะมีแรงพอที่จะเปิดน้ำได้และอาจจะลวกตัวเองอย่างรุนแรงได้ [25]
  2. ถึงแม้สบู่จะไม่ค่อยจำเป็นในการอาบน้ำเด็กแรกเกิด แต่หากจะใช้ ก็ให้แน่ใจว่าปลอดภัยสำหรับเด็ก
  3. ห้ามทิ้งเด็กไว้ในอ่างอาบน้ำตามลำพังโดยเด็ดขาด. ถึงแม้จะออกไปนอกห้องเพียงครู่เดียวก็ตาม มันเป็นอันตรายอย่างมากหากทิ้งเด็กไว้ในอ่างอาบน้ำตามลำพัง
    • เตรียมทุกอย่างสำหรับการอาบน้ำเด็กให้เรียบร้อยก่อนจะหย่อนเด็กลงน้ำเสมอ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเดินไปหยิบของนอกห้อง [29]
    • หากจำเป็นต้องออกนอกห้องจริงๆ อุ้มเด็กออกจากอ่างก่อน เด็กแรกเกิดสามารถจมน้ำตื้น 3 เซนติเมตรได้ การทิ้งเด็กไว้ตามลำพัง แม้เพียงอึดใจเดียว ก็สามารถเกิดหายนะได้ [30]
    • หากเรากำลังอาบน้ำเด็กบนพื้นที่อยู่สูงอย่างเช่น บนเคาน์เตอร์ เด็กอาจร่วงลงมาและบาดเจ็บได้ง่ายๆ
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • เตรียมตัวเจอกับอาการหงุดหงิดเล็กน้อยในการอาบน้ำครั้งแรกๆ นี่เป็นเรื่องใหม่สำหรับเด็ก และพวกเขาก็อาจจะร้องไห้หรือดิ้น
  • ปรึกษาแพทย์หรือกุมารแพทย์หากสังเกตเห็นผื่นหรืออาการผิวหนังที่ผิดปกติระหว่างอาบน้ำให้เด็ก


โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

โน้มน้าวให้พ่อแม่อนุญาตให้คุณหยุดเรียน
เป็นพี่คนโตที่ดี
จัดการปัญหาภายในครอบครัว
ทำให้พ่อมีความสุข
รับมือกับเพื่อนบ้านเสียงดัง
รับมือกับสามี/ภรรยาที่ชอบควบคุม
คุยเรื่องส่วนตัวกับแม่
รับมือกับลูกสะใภ้จอมแสบ
ลดไข้ในเด็กเล็ก
รับมือกับคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง
เพิ่มโอกาสการมีลูกแฝด
ป้องกันเด็กติดเกม
รับมือกับคู่สมรสที่เหยียดหยาม
พิสูจน์ว่าลูกเผชิญกับภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=1
  2. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=1
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=1
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=1
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=1
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=2
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=2
  8. http://www.babycentre.co.uk/a40/bathing-your-baby-safely
  9. http://www.babycentre.co.uk/a553837/bathing-your-newborn
  10. http://www.babycentre.co.uk/a553837/bathing-your-newborn
  11. http://www.babycentre.co.uk/a553837/bathing-your-newborn
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=2
  13. http://www.babycentre.co.uk/a553837/bathing-your-newborn
  14. http://www.babycentre.co.uk/a40/bathing-your-baby-safely
  15. http://www.babycentre.co.uk/a40/bathing-your-baby-safely
  16. http://www.babycentre.co.uk/a40/bathing-your-baby-safely
  17. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=2
  18. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=2
  19. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044438?pg=2
  20. http://www.babycentre.co.uk/a40/bathing-your-baby-safely
  21. http://www.babycentre.co.uk/a40/bathing-your-baby-safely

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,472 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา