ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

นมแม่ที่เก็บไว้ในช่องฟรีซหรือตู้เย็นนั้นอาจจะต้องอุ่นก่อนให้ทารกดื่ม การอุ่นนมแม่เป็นเรื่องง่าย แต่คุณก็ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้นมร้อนเกินไปสำหรับทารกหรือสูญเสียคุณค่าที่มีประโยชน์ไปในระหว่างการอุ่น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ละลายนมแม่ในตู้เย็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] นำนมแม่ที่อยู่ในช่องฟรีซออกมาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา
    • คุณต้องละลายนมแม่แช่แข็งก่อนมันจะเริ่มไม่ดี นมแม่ที่แช่ไว้ในตู้แช่แข็งเย็นจัดจะเก็บได้ 6 – 12 เดือน แต่ถ้าแช่ในช่องฟรีซธรรมดาที่ติดกับตู้เย็น นมแม่จะอยู่ได้ประมาณ 3 – 6 เดือนเท่านั้น ถ้าเก็บไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หลังจาก 2 สัปดาห์ไปก็จะเริ่มไม่ดีแล้ว [2]
    • ขณะละลายให้วางภาชนะที่ใส่นมแม่ไว้แถวๆ ด้านหน้าของตู้เย็น เพราะบริเวณนี้จะอุ่นกว่าด้านหลังแต่ก็สามารถละลายนมได้อย่างปลอดภัย
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    "ทารกที่โตขึ้นมาหน่อยอาจไม่เลือกมาก แต่ทารกเพิ่งเกิดอาจไม่ยอมดูดขวดนมจนกว่ามันจะอุ่นเท่าอุณหภูมิของร่างกาย"

    Rebecca Nguyen, MA

    ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมและเจ้าของ Family Picnic
    รีเบ็คกา เหงียนเป็นผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมที่มีใบรับรองและเป็นวิทยากรเรื่องการคลอดบุตร เธอบริหารบริษัท Family Picnic ในชิคาโกร่วมกับซู ก็อตสคอลผู้เป็นแม่ ทั้งคู่จะสอนพ่อแม่มือใหม่ตั้งแต่การเตรียมตัวคลอด การให้นมบุตร และการพัฒนาและให้การศึกษาเด็ก รีเบ็คกาสอนเด็กอนุบาลจนถึงประถมศึกษาที่ 3 มาเป็นเวลาสิบปี เธอได้รับปริญญาโทครุศาสตร์ปฐมวัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในปี 2003
    Rebecca Nguyen, MA
    ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมและเจ้าของ Family Picnic
  2. ทิ้งนมแม่ไว้ในตู้เย็นประมาณ 8 ชั่วโมงเพื่อให้ละลายหมด
    • เช็กดูว่านมละลายหมดหรือยังด้วยการเปิดฝาภาชนะแล้วใช้ช้อนหรือไม้คนกาแฟคน ถ้าคุณรู้สึกว่าน้ำนมแม่ยังเป็นน้ำแข็งก้อนๆ ทิ้งไว้ในตู้เย็นให้ละลายต่ออีก 2 – 3 ชั่วโมงหรือละลายให้หมดเร็วขึ้นด้วยการให้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นไหลผ่านภาชนะ
  3. นมแม่ที่ละลายแล้วควรให้ทารกดื่มทันที แต่ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นไม่เกิน 5 วันก็ยังปลอดภัยพอที่จะให้ทารกดื่ม
    • ย้ายภาชนะใส่นมแม่ไปไว้ด้านหลังของตู้เย็น เพราะอุณหภูมิบริเวณนั้นมักจะเย็นที่สุด
  4. อย่านำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับไปแช่ช่องฟรีซอีก. การนำนมแม่กลับไปแช่ช่องฟรีซอีกจะทำให้ลิพิดในนมเสื่อม นมจะคุณภาพลดลงและอาจจะเริ่มบูด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ละลายด้วยการเปิดน้ำไหลผ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณอุ่นนมแม่ตั้งแต่ยังเป็นน้ำแข็ง ให้เริ่มจากการให้น้ำเย็นไหลผ่านนมแม่แช่แข็งก่อน [3]
    • น้ำควรเย็นกว่าอุณหภูมิห้องแค่นิดหน่อย
    • คุณควรใช้น้ำเย็นละลายก่อนในขั้นแรกเพราะเป็นการค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิของนมแม่ ถ้าคุณใช้น้ำร้อนเลย ความร้อนก็อาจจะทำให้ด้านนอกก่อตัวเป็นจุดร้อนในขณะที่ด้านในยังแข็งอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือคุณอาจจะบังเอิญทำลายเอ็นไซม์ที่มีคุณค่าที่อยู่ในนมแม่มากกว่าด้วย
    • ใช้น้ำเย็นแค่พอที่คุณรู้สึกว่านมแม่ละลายแล้ว เมื่อมองเข้าไปในภาชนะคุณควรจะเห็นแต่นมแม่เหลวๆ และไม่มีส่วนไหนที่ยังจับเป็นน้ำแข็งก้อนๆ ค่อยๆ เขย่าภาชนะเพื่อดูว่ายังมีก้อนนมแม่ที่ยังไม่ละลายซ่อนอยู่หรือเปล่า
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Rebecca Nguyen, MA

    ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมและเจ้าของ Family Picnic
    รีเบ็คกา เหงียนเป็นผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมที่มีใบรับรองและเป็นวิทยากรเรื่องการคลอดบุตร เธอบริหารบริษัท Family Picnic ในชิคาโกร่วมกับซู ก็อตสคอลผู้เป็นแม่ ทั้งคู่จะสอนพ่อแม่มือใหม่ตั้งแต่การเตรียมตัวคลอด การให้นมบุตร และการพัฒนาและให้การศึกษาเด็ก รีเบ็คกาสอนเด็กอนุบาลจนถึงประถมศึกษาที่ 3 มาเป็นเวลาสิบปี เธอได้รับปริญญาโทครุศาสตร์ปฐมวัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในปี 2003
    Rebecca Nguyen, MA
    ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมและเจ้าของ Family Picnic

    การอุ่นนมมีหลายวิธี รีเบคกา เหงียน ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นม กล่าวว่า: "คุณสามารถใช้เครื่องอุ่นที่จะได้น้ำนมตามอุณหภูมิร่างกายที่ต้องการพอดิบพอดี แต่หากคุณแช่น้ำนมไว้ในถุงแช่แข็ง คุณสามารถววางมันลงในถ้วยน้ำอุ่นสัก 30 วินาทีถึง 1 นาทีจนรู้สึกได้ว่ามันอุ่น ถ้าเก็บนมไว้ในขวด ให้จุ่มลงในถาดน้ำเดือดจนกระทั่งมันอุ่น อย่างไรก็ดี อย่านำนมไปใส่เตาไมโครเวฟหรือในเตาอบโดยตรง เพราะมันจะร้อนเกินไปจนลวกลิ้นทารกแทน"

  2. เมื่อนมละลายแล้วค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิน้ำไหลผ่าน
    • เพิ่มอุณหภูมิน้ำจากเย็นไปที่อุณหภูมิห้อง จากอุณหภูมิห้องไปอุ่น และจากอุ่นไปร้อน การค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิจะทำลายเอ็นไซม์ที่อยู่ในนมน้อยกว่าและทำให้ร้อนทั่วกันมากกว่า
    • ปิดน้ำก่อนที่น้ำจะเริ่มกลายเป็นไอ เพราะคุณต้องไม่ให้นมร้อนเกินจนลวกปากที่บอบบางของลูกน้อย
    • รู้ว่านมแม่เย็นๆ นั้นปลอดภัยสำหรับลูกน้อยอย่างแน่นอน แต่ถ้าลูกน้อยของคุณช่างเลือก คุณก็อาจจะต้องอุ่นให้ถึงอุณหภูมิห้องก่อนเพื่อให้ดูน่าอร่อยยิ่งขึ้น
  3. ถ้าคุณละลายนมแม่ในตู้เย็นหรือแช่ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาเพื่อให้เริ่มละลาย ให้ข้ามขั้นตอนน้ำเย็นไปและใช้น้ำอุ่นไหลผ่านภาชนะใส่นมแม่โดยตรง
    • ค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิน้ำจากอุ่นไปร้อน และปิดน้ำก่อนที่น้ำจะกลายเป็นไอ
  4. เพื่อให้แน่ใจว่านมอุ่นทั่วกันหมด ค่อยๆ หมุนภาชนะหรือขวดไปรอบๆ เพื่อเป็นการเขย่านมไปรอบๆ
    • คุณจะทำให้นมมีอุณหภูมิเท่ากันทั่วด้วยการใช้ช้อนหรือไม้คนกาแฟคนนมแม่ด้วยก็ได้
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    "น้ำนมแม่จะแยกชั้นในตู้แช่เย็น แต่คุณแค่คนมันเบาๆ ให้มันผสมกัน อย่าไปเขย่าแรงๆ ซึ่งจะไปทำลายคุณสมบัติของนมบางประการไป"

    Rebecca Nguyen, MA

    ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมและเจ้าของ Family Picnic
    รีเบ็คกา เหงียนเป็นผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมที่มีใบรับรองและเป็นวิทยากรเรื่องการคลอดบุตร เธอบริหารบริษัท Family Picnic ในชิคาโกร่วมกับซู ก็อตสคอลผู้เป็นแม่ ทั้งคู่จะสอนพ่อแม่มือใหม่ตั้งแต่การเตรียมตัวคลอด การให้นมบุตร และการพัฒนาและให้การศึกษาเด็ก รีเบ็คกาสอนเด็กอนุบาลจนถึงประถมศึกษาที่ 3 มาเป็นเวลาสิบปี เธอได้รับปริญญาโทครุศาสตร์ปฐมวัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในปี 2003
    Rebecca Nguyen, MA
    ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมและเจ้าของ Family Picnic
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ละลายนมแม่ด้วยน้ำอุ่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่น้ำลงไปในหม้อใบเล็กประมาณครึ่งหม้อและตั้งเตาด้วยไฟกลาง พอน้ำเริ่มจะเป็นไอแต่ยังไม่ทันปุดๆ หรือเดือด ให้ยกเตาลง
  2. [4] คุณจะวางขวดหรือภาชนะใส่นมแม่ในหม้อน้ำร้อนหรือแกว่งไปรอบๆ น้ำร้อนเรื่อยๆ ก็ได้
    • ถ้าคุณยกหม้อออกจากเตาแล้ว คุณสามารถให้ขวดสัมผัสกับก้นหม้อได้ แต่ถ้าคุณยังกังวล ก็ให้ถือขวดไว้ในน้ำโดยไม่ต้องให้ขวดสัมผัสก้นหม้อ
    • คุณสามารถอุ่นนมแม่ที่จับตัวเป็นก้อนน้ำแข็งหรือนมแม่เย็นๆ ด้วยวิธีนี้ได้ ถ้าคุณอุ่นนมแม่ที่เย็นแล้ว ก็อาจจะใช้เวลาแค่ 2 – 3 นาที แต่ถ้าอุ่นนมแม่ที่ยังเป็นน้ำแข็ง ก็อาจจะใช้เวลา 2 เท่า
  3. หมุนขวดหรือภาชนะใส่นมอย่างระมัดระวังเพื่อให้อุณหภูมิเท่ากันทั่ว
    • คุณสามารถใช้ช้อนหรือไม้คนกาแฟเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เครื่องอุ่นขวดนม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เครื่องอุ่นขวดนมแต่ละเครื่องนั้นไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เพราะฉะนั้นคุณต้องอ่านวิธีใช้ให้ละเอียดก่อนใช้
    • แม้ว่าจะมีลักษณะเฉพาะและวิธีใช้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง แต่ก็มีหลักการทั่วไปบางอย่างที่เหมือนกัน
    • รู้ไว้ว่าเครื่องอุ่นขวดนมหลายแบบ (แต่ไม่ทุกแบบ) ที่สามารถใช้อุ่นอาหารทารกได้เมื่อลูกของคุณเริ่มรับประทานอาหารหยาบและซีเรียล
  2. ดูว่าเครื่องอุ่นขวดนมเป็นแบบใช้น้ำร้อนหรือไอน้ำ. [5] เครื่องอุ่นขวดนมบางเครื่องจะอุ่นขวดนมในน้ำร้อน แต่ส่วนใหญ่จะใช้ไอน้ำ
    • โดยหลักการแล้วเครื่องอุ่นขวดนมที่ใช้น้ำร้อนก็เหมือนกับการที่คุณเอาภาชนะใส่นมไปใส่ในน้ำร้อนโดยไม่ต้องมีเครื่องอุ่นขวดนม ขวดนมจะแช่ลงไปในน้ำร้อนโดยตรงเหมือนกัน
    • เครื่องอุ่นขวดนมที่ใช้ไอน้ำจะใช้น้ำน้อยกว่า น้ำจะถูกทำให้ร้อนในอีกช่องหนึ่งด้วยวัสดุกำเนิดความร้อนหรือเตา และไอน้ำก็จะขึ้นมาในช่องที่ใส่ขวดนมเพื่ออุ่นนมแม่ วิธีนี้จะเป็นการค่อยๆ เพิ่มความร้อนให้กับนมแม่
  3. ใส่น้ำก็อกลงไปในช่องใส่น้ำในเครื่องอุ่นขวดนมจนถึง "เส้นระดับน้ำ"
  4. ใส่ขวดนมลงไปในเครื่องอุ่นขวดนม วางเข้าไปในช่องใส่ขวดนม
    • ขวดจะอยู่ในเครื่องอุ่นขวดนมแบบหลวมๆ ในขณะที่บางเครื่องอาจจะบอกให้คุณใส่ขวดนม "ให้เข้าที่"
  5. ถ้าเครื่องอุ่นขวดนมมีปุ่มกด ทำตามวิธีใช้เพื่อกำหนดว่าจะต้องกดปุ่มตั้งอุณหภูมิสูงหรือต่ำ กดปุ่มสตาร์ทแล้วรอจนกว่าเครื่องจะทำงาน
    • เครื่องอุ่นขวดนมส่วนใหญ่จะมีไฟเซ็นเซอร์กระพริบเมื่อเครื่องอุ่นขวดนมเสร็จแล้ว บางเครื่องก็อาจจะมีเสียงดังขึ้นหรือเสียงเตือนเมื่ออุ่นเสร็จแล้ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เช็กอุณหภูมิของนมแม่ที่อุ่นแล้วก่อนให้ทารกดื่ม หยดนมลงบนข้อมือด้านใน 2 – 3 หยด นมควรจะอุ่นแต่ไม่ถึงกับร้อนนัก
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าอุ่นนมแม่จนถึงจุดเดือด
  • อย่าอุ่นนมแม่ในไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะการทำเช่นนี้อาจไปฆ่าเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ยังมีชีวิตในน้ำนมที่ช่วยให้ทารกต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ยิ่งไปกว่านั้นการอุ่นในไมโครเวฟมักจะทำให้เกิดจุดร้อนที่อาจจะลวกปากที่บอบบางของลูกน้อยได้ [6]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • หม้อเล็ก
  • ช้อนหรือไม้คนกาแฟ
  • เครื่องอุ่นขวดนม

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,665 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา