ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กระต่าย, หนูเจอร์บิลและหนูแฮมสเตอร์ นับว่าเป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่า หนูชินชิลาก็เป็นสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักได้ไม่แพ้ใคร หนูชินชิลามีลักษณะคล้ายกับสัตว์ทั้งสามชนิดนั้นตรงที่เป็นสัตว์ฟันแทะ มีขนนุ่มและหางไม่สั้นไม่ยาวนัก หนูพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ [1] ถ้าสร้างความสนิทสนมกับชินชิลาตั้งแต่อายุน้อยๆ ชินชิลาก็พร้อมจะเป็นคู่ซี้ของเราได้ไม่ยาก เริ่มต้นจากวิธีการอุ้มชินชิลาอย่างมั่นคงให้เขารู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่กับเรา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วิธีทำให้ชินชิลาคุ้นเคยกับเรา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าชินชิลาเพิ่งมาใหม่ ต้องปล่อยให้เขาคุ้นชินกับที่อยู่ใหม่หรือกรงใหม่เสียก่อน อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วันเพื่อให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง เมื่อชินชิลาเริ่มปรับตัวได้ ก็เริ่มตีซี้กันได้เลย อย่าลืมล้างมือก่อนจับชินชิลา และต้องแน่ใจว่ามือนั้นเป็นกลิ่นของเราเอง ไม่ใช่กลิ่นอาหารที่เพิ่งกินไปหรือของที่เพิ่งจับ เพื่อให้เขาชินกับกลิ่นจริงๆ ของเรา
  2. โดยใช้อาหารเป็นเครื่องมือตีซี้ เช่น หญ้าแห้ง ผักใบเขียว หรือผลแคคตัสหั่นเป็นชิ้นๆ ให้อาหารเขาด้วยท่าทีที่เป็นมิตร วางอาหารไว้บนมือ แบมือให้ตรง เขาจะมาสำรวจโดยการดมฟุดฟิดที่มือของเราและกินอาหารจากมือเราเอง [2]
    • เมื่อหนูชินชิลาชินกับการกินอาหารจากมือของเราแล้ว ลองใช้นิ้วหยิบอาหารให้เขาดูบ้าง หยิบอาหารให้เขาเข้ามากินอย่างนี้วันละครั้งประมาณ 3-5 วัน จนกว่าเขาจะคุ้นเคย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วิธีเข้าใกล้ชินชิลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชินชิลาเป็นสัตว์ขี้ตกใจ จึงต้องเข้าหาอย่างช้าๆ ทำตัวสบายๆ อย่าเกร็งให้มากเท่าที่จะทำได้ ชินชิลาไม่กัด เขาเพียงแค่ขี้อาย [3]
  2. คุยกับเขาอย่างนุ่มนวล และค่อยๆ ลูบชินชิลาอย่างอ่อนโยน. ชินชิลาชอบนอนกลางวันเสียส่วนใหญ่ ส่วนตอนเย็นก็เป็นเวลาวิ่งเล่น เขาจึงชอบบรรยากาศเงียบสงบในตอนกลางวัน [4]
    • อย่าลืมว่าหนูชินชิลาเป็นสัตว์ฟันแทะ ด้วยสัญชาติญานของสัตว์ผู้ถูกล่า หนูชินชิลาจึงมักวิ่งหาที่หลบซ่อนเพื่อป้องกันตัวเองเสมอ ถ้าเขาวิ่งหนี อย่าไปวิ่งไล่ตาม [5] เพราะนั่นจะทำให้เขารู้สึกกลัวยิ่งกว่าเดิม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

วิธีอุ้มชินชิลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอุ้มชินชิลาครั้งแรก เขาอาจจะดิ้นหลุดมือได้ ให้ใช้ถุงมือหนังหรือผ้าขนหนูนี่แหละจับเขาในครั้งแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เขากัดมือเรา ประคองชินชิลาให้อยู่บนตักโดยมีผ้าขนหนูรอง ลูบตัวเขาสักพัก และเมื่อเขารู้ว่าเราเป็นเจ้าของแล้ว ก็จะช่วยสร้างความผูกพันได้ง่ายขึ้น [6]
    • การใช้ผ้าขนหนูอุ้มชินชิลา ช่วยป้องกันการขีดข่วนและช่วยไม่ให้ขนหลุดร่วง ผ้าที่ใช้ต้องบางเบา และอย่าใช้ห่อตัวชินชิลาไว้นานนัก เพราะจะทำให้เขาร้อนเกินไป [7]
  2. ใช้มือทั้งสองอุ้มเขาอย่างนุ่มนวลไว้ที่บริเวณหน้าอก. ให้ฝ่ามืออยู่บริเวณใต้ท้อง โดยที่นิ้วเรายื่นออกมาให้เลยส่วนหลังชินชิลา ขณะที่อุ้มเขาขึ้นมา ให้ขยับมือข้างหนึ่งห่างออกเล็กน้อยเพื่อรองขาหลังและส่วนหลังของชินชิลา [8]
    • ถ้ามีเหตุจำเป็นจริงๆ สามารถจับโคนหางชินชิลาหิ้วขึ้นมาได้ แต่ต้องรีบวางเขาลงบนแขนของเราอย่างรวดเร็ว อย่าจับหางชินชิลาแกว่งไปมาเพราะอาจทำให้เขาเจ็บได้ [9] [10] [11]
  3. เขาจะรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยจากอกและมือของเรา ต้องเอามือรองที่เท้ากับก้นชินชิลาด้วย อย่าไปดึงขนเข้าล่ะ เพราะขนชินชิลาจะโล่งเป็นหย่อมๆ และใช้เวลาหลายเดือนกว่าขนจะงอกใหม่ [12] [13]
    • ชินชิลาบางตัวชอบให้เอามือรองที่อุ้งเท้าหน้า เพราะทำให้นั่งตัวตรงได้
  4. เวลาเอาชินชิลาเข้ากรง ให้เอาเขาใส่กรงอย่างช้าๆ. หลังจากอุ้มชินชิลาขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ค่อยๆ ก้มตัวลงต่ำไปทางประตูกรง ขั้นตอนนี้อย่าเผลอกำชินชิลาในมือจนบู้บี้ล่ะ จากนั้นค่อยๆนำเขาเข้ากรงอย่างระมัดระวัง ขั้นตอนสุดท้ายคือวางชินชิลาในกรง ควรใช้มือพยุงส่วนหลังและขาชินชิลาด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไม่ควรวิ่งไล่หรือต้อนชินชิลาให้จนมุม เพราะเขาจะรู้สึกไม่ปลอดภัยและกัดเราได้
  • ระวังชินชิลากระโดดออกจากมือ ให้อุ้มต่ำๆ หรืออุ้มไว้เหนือพื้นนุ่มๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ชินชิลากระโดดลงมาและบาดเจ็บ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,598 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา