ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
เมื่อคุณกำลังเป็นพ่อแม่มือใหม่ หรือกำลังมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นในครอบครัว สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือคุณจะต้องเรียนรู้การอุ้มเจ้าตัวน้อยอย่างถูกวิธี ซึ่งวิธีการอุ้มที่ถูกนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่การอุ้มแบบตาสบตากับทารก ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะสื่อสารอะไรกับเจ้าตัวน้อยของคุณ แค่ต้องจำไว้ว่าสิ่งสำคัญคือต้องใจเย็นและมั่นใจก่อนที่คุณจะอุ้มทารกเพื่อที่เจ้าตัวน้อยจะได้รู้สึกผ่อนคลาย
ขั้นตอน
-
ใจเย็นและมั่นใจ. ก่อนที่จะอุ้มเจ้าตัวน้อย ทารกสามารถรับรู้ความรู้สึกของคุณได้อย่างดีหากคุณรู้สึกไม่สะดวกใจหรือโกรธ เบาใจได้ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ความมั่นใจเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณทำมันได้ การได้อุ้มทารกครั้งแรกอาจเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับบางคน คุณต้องเชื่อมั่นว่าคุณทำได้ และสนุกไปกับมันจะทำให้คุณคลายความกังวลลง! แม้ว่าจะต้องระวังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จำไว้ว่าทารกนั้นไม่ได้เปราะบางจนเกินไปอย่างที่คิด
-
ประคองศีรษะของทารกด้วยแขนข้างหนึ่ง และประคองก้นของทารกด้วยแขนอีกข้าง. สำหรับทารกเกิดใหม่ส่วนศีรษะเป็นส่วนที่หนักที่สุด จึงต้องการการระวังเป็นพิเศษ ปกติจะจับศีรษะด้วยมือข้างเดียวให้ใช้แขนขวาช้อนก้นทารกไว้ทำแบบนี้เมื่อใช้มืออีกข้างประคองศีรษะทารกอยู่
-
อุ้มให้ทารกแนบหน้าอก. อุ้มทารกไว้ใกล้กับอกของคุณทารกจะสามารถวางศีรษะไว้บนหน้าอกของคุณได้ทารกจะรู้สึกสบายเวลาได้ยินเสียงหัวใจคุณเต้นควรใช้แขนและมือขวาทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัวทั้งหมดของทารกขณะที่มือซ้ายใช้ประคองศีรษะและคอของทารก
- ต้องแน่ใจว่าทารกไม่ได้คว่ำหน้าอยู่เพื่อให้ทารกสามารถหายใจได้
-
เพลิดเพลินกับอุ้มเจ้าตัวน้อย. การอุ้มทารกเป็นการปลอบโยนอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับคุณและทารก นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะร้องเพลง อ่านหนังสือ และเล่นสนุกกับเจ้าตัวน้อยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาป้อนอาหาร เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือจนกว่าเจ้าตัวน้อยจะงีบหลับ คุณสามารถสลับแขนไปมาได้ แต่ต้องคอยระวังว่ามีมือคอยประคองศีรษะของทารกตลอดเวลาเมื่อเปลี่ยนแขน
- ฟังเจ้าตัวน้อยของคุณ ทารกแต่ละคนก็ชอบให้อุ้มในแบบที่แตกต่างกัน หากลูกของคุณเกิดร้องไห้หรืออยู่ไม่สุข ให้ลองเปลี่ยนท่าทางการอุ้มเป็นแบบอื่นดู
โฆษณา
-
ท่าเปล. วิธีนี้เป็นวิธีทั่วไป และเป็นวิธีที่ดีที่จะดูแววตาของทารก นอกจากนั้นยังเป็นวิธีธรรมชาติที่สุดและง่ายที่สุดสำหรับการอุ้มทารกด้วยเช่นกัน ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายที่สุดในการอุ้มทารกที่มีผ้าพันไว้ สิ่งที่คุณควรทำเวลาอุ้มท่านี้ คือ:
- การอุ้มทารกด้วยท่าเปล อันดับแรกให้ทารกนอนราบและอุ้มขึ้นโดยมือข้างหนึ่งอยู่ใต้คอและศีรษะ อีกข้างอยู่ใต้ก้นและสะโพก
- กางนิ้วให้มากที่สุดเวลาอุ้มเข้าหาหน้าอกของคุณ เพราะจะทำให้ประคองได้ดีเวลาอุ้มทารก
- ค่อยๆ เลื่อนมือจากศีรษะและคอไปยังหลังของลูกน้อยอย่างอ่อนโยนศีรษะของทารกจะอยู่ที่แขน ให้งอแขนและข้อศอกเล็กน้อย
- มืออีกข้างประคองช่วงก้นและสะโพกของทารก
- อุ้มทารกไว้ใกล้ๆ ตัวของคุณ และสามารถโยกทารกไปมาได้เล็กน้อย
-
อุ้มแบบตาสบตา. ท่านี้เป็นท่าที่จะทำให้คุณสื่อสารกับลูกน้อยได้ดีที่สุด มาดูกันว่าวิธีการที่คุณต้องทำมีอะไรบ้าง:
- วางมือข้างหนึ่งไว้หลังคอและศีรษะของทารก
- มืออีกข้างประคองก้นของทารกไว้
- อุ้มทารกไว้ด้านหน้าของคุณในระดับต่ำกว่าหน้าอก
- ยิ้มและหยอกล้อเจ้าตัวน้อยแสนน่ารักของคุณ
-
ท่าอุ้มที่ท้อง. ท่านี้สามารถทำให้ลูกน้อยของคุณสงบลงได้เวลาอยู่ไม่สุข มาดูว่ามีอะไรบ้างที่คุณต้องทำในการอุ้มท่านี้
- ให้ศีรษะและหน้าอกของทารกอยู่บนแขนของคุณในลักษณะคว่ำ
- ดูให้ดีว่าหน้าของลูกน้อยหันออกข้างนอกสามารถหายใจได้ และหนุนอยู่บนแขนของคุณ
- เคาะหรือนวดหลังของทารกเล็กน้อยด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
- คอยดูว่าศีรษะและคอของทารกได้รับการประคองอย่างดีตลอดเวลา
-
ท่าถือลูกบอล. ท่านี้เหมาะกับการป้อนอาหารให้ลูกน้อย สามารถทำได้ไม่ว่าคุณจะยืนหรือนั่ง มาดูกันว่าคุณต้องทำอะไรบ้าง
- วางมือไว้ที่หลังศีรษะและคอของทารกให้หลังของทารกนอนอยู่บนแขนข้างเดียวกัน คุณสามารถเปลี่ยนแขนในการอุ้มได้ แค่ต้องมั่นใจว่าศีรษะและคอของลูกน้อยจะถูกประคองไว้ตลอด
- ทารกมีการบิดตัวด้วยการถีบขาหาคุณมากขึ้น
- ขยับทารกเข้าใกล้อกหรือเอวของคุณ
- ใช้มือข้างที่ว่างป้อนอาหารทารก หรือช่วยประคองศีรษะทารกก็ได้
-
ท่า ”เปิดโลกกว้าง”. หากลูกน้อยของคุณเป็นเด็กที่ช่างอยากรู้อยากเห็นท่านี้เป็นท่าที่เหมาะมากที่จะทำให้ลูกน้อยของคุณมองเห็นว่ามีอะไรรอบๆ ตัวบ้าง ทั้งหมดที่คุณต้องทำก็คือ
- ให้หลังของทารกแนบกับหน้าอกของคุณ และอย่าลืมต้องมั่นใจว่าหัวของทารกได้รับการดูแลที่ปลอดภัย
- ให้มือข้างหนึ่งประคองก้นของทารก
- นำมืออีกข้างประคองอกของทารกไว้โดยพาดมาด้านหน้าของทารก
- ดูให้ดีว่าศีรษะของทารกได้รับการประคองอย่างปลอดภัยจากหน้าอกของคุณ
- หากคุณนั่งอยู่ สามารถวางทารกไว้บนตักของคุณได้เลยโดยไม่ต้องเอามือประคองก้นของทารกก็ได้
-
อุ้มทารกไว้แนบสะโพกหรือข้างลำตัวเมื่อทารกถึงวัยที่สามารถประคองศีรษะของตัวเองได้แล้ว. สำหรับทารกที่โตขึ้นมาหน่อยประมาณ 4-6 เดือน ทารกสามารถประคองศีรษะของตัวเองได้แล้ว! คุณสามารถอุ้มไว้ข้างลำตัวได้เลย: (การอุ้มทั้งหมดนี้สำหรับทารกที่เด็กมากๆ จนกระทั่งถึงวัยหัดเดิน) :
- อุ้มให้ข้างลำตัวทารก (แนบลำตัว) หรือตรงกลาง (คร่อมตัวคุณ) ไว้ที่ข้างลำตัวหรือสะโพกของคุณ ให้แน่ใจว่าจะอุ้มให้ด้านซ้ายหรือกลางตัวของทารกอยู่ทางด้านขวาของคุณ หรือฝั่งตรงข้ามขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากอุ้มทารกไว้ข้างไหน ต้องแน่ใจว่าหากอุ้มทารกไว้ข้างนั้นๆ แล้วจะไม่มีปัญหาอะไร อย่าลืมให้ความปลอดภัยแก่ศีรษะของทารกเป็นพิเศษ และดูให้ดีว่าหน้าของทารกไม่ได้คว่ำอยู่ (จากการอุ้มแบบนี้ เหล่าคุณแม่มักจะอุ้มลูกน้อยไว้ทางขวาแนบกับด้านซ้ายของลูกน้อย (ให้ขาของลูกคร่อมตัวแม่) และให้หน้าของลูกหันไปข้างหน้า)
- ใช้แขนของคุณ “ประคอง” ขาและหลังของทารก จับให้ถนัดและสบายที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย
- คุณสามารถใช้มืออีกข้างช่วยประคองขาและหลัง หรือว่าส่วนอื่นๆ ที่คิดว่าต้องการการดูแลมากที่สุดก็ได้ นอกจากนั้นคุณสามารถใช้มือข้างนี้ป้อนอาหาร หรือทำงานที่จำเป็นอื่นๆ (ทารกไม่ได้ต้องการการประคองมากๆ ตลอดเวลา และคุณก็จะรู้สึกอุ้มทารกได้สบายมากขึ้นด้วย)
- วิธีการอุ้มแบบนี้เป็นท่าทั่วไป สำคัญ และสะดวกสบาย โดยเฉพาะเวลาที่คุณมีงานหลายอย่างต้องทำ ใช้ท่านี้อย่างชำนาญและระมัดระวัง รับรองเลยว่าคุณจะต้องพึงพอใจมากๆ แน่นอน
โฆษณา
เคล็ดลับ
- ให้นั่งเมื่ออุ้มทารกครั้งแรกเพราะเป็นการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด
- ดูจากคนที่มีประสบการณ์ในการอุ้มทารกบ่อยๆ ก่อนที่คุณจะเริ่มอุ้ม
- พยายามเล่นและสื่อสารกับทารกก่อนอุ้ม เพราะจะทำให้ทารกคุ้นเคยกับคุณ เขาจะจดจำเสียง กลิ่น และหน้าตาของคุณได้
- หากคุณเห็นศีรษะที่อ่อนโยนและปลอดภัย คุณทำได้ดีแล้ว
- ทางเลือกอื่นๆ ในการประคองศีรษะของทารกด้วยการใช้ด้านข้างของศอก ให้ใช้มือซ้ายช่วยประคองลำตัวของทารก
- เด็กทารกชอบถูกอุ้ม คุณอาจเห็นว่าคุณทำแบบนั้นบ่อยๆ เป้สำหรับอุ้มทารกสามารถช่วยคุณได้ ทำให้คุณทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
โฆษณา
คำเตือน
- ความผิดพลาดในการประคองศีรษะของทารกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บในระยะยาวได้
- ห้ามอุ้มทารกขณะที่ถือของร้อน อาหาร หรือทำอาหาร
- การเขย่าหรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเกินไปจะทำให้ทารกได้รับอันตราย
- การอุ้มทารกตรงๆ (บริเวณท้อง) ในลักษณะที่ทารกไม่สามารถนั่งได้เองจะทำให้เกิดความเสียหายต่อกระดูกสันหลังของทารก
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา