ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถึงแม้การอุ้มแมวสักตัวนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าอยากให้แมวรู้สึกสบายและไม่ได้รับบาดเจ็บ ก็ต้องรู้วิธีการอุ้มแมวที่ถูกต้อง ต้องทำให้แมวรู้สึกปลอดภัยและสบายใจเมื่อมีเราอยู่ด้วยเสียก่อน จึงค่อยพยายามอุ้มมัน แมวบางตัวก็ต้องการให้เราเข้าหาอย่าง “นิ่มนวล”มากกว่าตัวอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมวที่กลัวคนหรือแมวที่สุขภาพมีปัญหาอย่างเช่น เป็นโรคข้ออักเสบ พอสร้างความสัมพันธ์อันดีกับแมวแล้ว ก็ได้เวลาอุ้มมันขึ้นมาโดยไม่ทำให้มันบาดเจ็บเสียที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำให้แมวรู้สึกผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอยากอุ้มแมว เราก็ควรเข้าไปหามันโดยให้แมวรู้ตัว เราอาจต้องพูดคุยกับกับมันดีๆ ให้มันเห็นเรา หรือให้มันรู้ตัวว่าเรากำลังเข้ามาหา
    • ถ้าอุ้มแมวจากด้านหลังโดยไม่ให้มันรู้ว่าเราเข้ามาหา มันก็อาจจะกลัว รู้สึกตกใจและไม่ปลอดภัย
    • ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่าควรเข้าหาแมวจากด้านซ้ายหรือด้านขวาจะดีที่สุด เพราะถ้าเข้าหาตรงเหนือศีรษะมัน อาจดูเหมือนเป็นการคุกคามมากเกินไป [1]
    • อย่าพยายามอุ้มแมวจรจัดถ้าไม่รู้จักนิสัยใจคอแมวตัวนั้นเป็นอย่างดี เพราะมันอาจดุร้ายและเป็นอันตรายต่อเราได้ อุ้มแมวที่เรารู้จักคุ้นเคยจะดีที่สุด
  2. แมวอาจจ้องใช้เวลาเพื่อเตรียมพร้อมยอมรับเรา แม้แต่แมวที่เราเลี้ยงไว้เองก็ตาม พอแมวรู้ว่าเรากำลังเข้ามาใกล้ เราก็ควรแสดงความเป็นมิตรและรักมัน แมวจะได้พร้อมให้เราสัมผัสตัว แมวส่วนใหญ่จะแนะนำตัวให้แมวด้วยกันเองรู้จักด้วยการเอาหน้ามาถูกัน ฉะนั้นเราก็ควรทำเหมือนกัน เน้นลูบแก้ม หน้าผาก บริเวณหลังใบหู หรือแม้แต่ใต้คางของมันเบาๆ เลือกลูบบริเวณเหล่านี้ตามที่สะดวก
    • การลูบเบาๆ ช่วยให้แมวรู้สึกปลอดภัยและได้รับความรัก จึงพร้อมที่จะให้เราอุ้ม
    • ถ้าแมวรู้สึกกลัวอยู่นิดหน่อย การลูบเบาๆ ช่วยมันให้สงบลงได้ เราอาจใช้เวลาสักหน่อยกว่าแมวจะรู้สึกสบายใจ
  3. แมวส่วนใหญ่จะส่งสัญญาณให้เรารู้ว่ามันไม่อยากให้อุ้มอย่างชัดเจน ถึงแม้การลูบหัวจะทำให้แมวที่เลี้ยงไว้ค่อยๆ สงบลงและไว้วางใจเราได้แล้ว แต่ก็ไม่ควรลองอุ้มแมวที่อารมณ์ไม่ดีหรือไม่อยากให้เราอุ้ม ถ้าแมวพยายามวิ่งหนีเรา กัด ข่วน หรือตะปบเรา ให้ลองกลับมาอุ้มแมวภายหลัง [2]
    • การสอนเด็กที่อยากอุ้มแมวให้รู้จักสัญญาณเตือนเหล่านี้นั้นสำคัญอย่างยิ่ง ให้เด็กอุ้มเฉพาะตอนที่แมวรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และไว้วางใจพวกเขาเท่านั้น เพราะเราคงไม่อยากให้ลูกหลานถูกแมวที่ไม่อยากให้อุ้มข่วน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

อุ้มแมวอย่างถูกวิธี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สอดมือข้างหนึ่งไว้ใต้ตัวแมว บริเวณด้านหลังขาหน้าทั้งสองข้าง ถ้าแน่ใจว่าแมวยอมให้อุ้มแล้ว. ค่อยๆ สอดมือไว้ใต้ตัวแมว บริเวณใต้ขาหน้าทั้งสองข้าง เราจะได้พยุงตัวมันขึ้นเมื่อเริ่มอุ้มมัน แมวอาจขัดขืนหรือรู้สึกไม่ชอบใจทันที ฉะนั้นเราสอดมือไปไว้ใต้ขาหน้าแมวก่อนแล้วไม่นานหลังจากนั้นจึงค่อยใช้มืออีกข้างช่วย [3]
    • ไม่สำคัญว่าเราจะใช้มือไหนสอดบริเวณใต้ขาหน้าหรือรองก้นกับขาหลัง ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเรา
    • จริงๆ แล้วบางคนสอดมือเข้าหลังขาหน้าพร้อมกัน และสอดมืออีกข้างไว้ใต้ขาหลังทั้งสองแทน
  2. คราวนี้ใช้มืออีกข้างสอดใต้บริเวณขาหลังของแมว จะได้รองรับขาและก้นของมันไว้ เราคิดว่านี้เป็นการประคองแมวด้วยมือข้างเดียวก็ได้ พอมือของเราอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เราก็พร้อมยกตัวแมวขึ้นมาแล้ว [4]
  3. ตอนนี้เรากำลังใช้มือทั้งสองข้างจับแมวอยู่ ค่อยๆ ยกตัวมันขึ้นมาไว้ที่อกของเรา ให้แมวสัมผัสร่างกายส่วนที่เหลือให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีนี้จะทำให้แมวรู้สึกปลอดภัยเร็วขึ้น ถ้าแมวตัวหนักไปจนยกตัวจากพื้นไม่ไหว ให้มันอยู่บนโต๊ะหรือแท่นยก แล้วค่อยอุ้ม [5]
  4. พออุ้มแมวขึ้นมาพร้อมประคองมันไว้ด้วยมือทั้งสองข้างแล้ว เราก็สามารถกอดมันไว้แนบอก ฉะนั้นตัวของแมวก็จะได้สัมผัสกับร่างกายของเรา หัวของแมวสามารถซบลงที่อกเราได้ด้วย
    • โดยทั่วไปลำตัวแมวควรจะตั้งตรงพอสมควร แทนที่จะตัวเอียงจมไปกับอก หัวห้อยไปด้านล่าง แมวจะไม่สบายเมื่ออยู่ในท่านี้ และเป็นสาเหตุทำให้มันดิ้นและข่วนเรา
    • ควรอุ้มแมวให้อยู่ในลักษณะปกติ อย่าเล่นพิเรนทร์อุ้มแมวแบบกลับหัวกลับหาง!
    • แมวบางตัวอาจอยากให้อุ้มในแบบที่ต่างออกไป โดยเฉพาะถ้าเป็นแมวของเราเองและรู้สึกสบายใจที่อยู่ใกล้เรา แมวบางตัวชอบให้อุ้มเหมือนเด็กทารก บางตัวชอบวางขาหลังไว้ที่ไหล่ของเรา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

วางแมวลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอแมวเริ่มอยู่ไม่สุข ขยับตัว ร้องเหมียว หรือพยายามหนีไม่ให้เราจับตัว แสดงว่าได้เวลาวางแมวลงแล้ว เราต้องหยุดอุ้มแมว ถ้ามันไม่อยากให้อุ้มแล้ว เพราะถ้ายังอุ้มแมวอยู่ แมวจะรู้สึกไม่สบายใจมากขึ้นและยังรู้สึกว่ามีภัยคุกคามอีกด้วย
    • แมวบางตัวไม่ชอบให้อุ้มนาน ฉะนั้นถ้ารู้สึกว่าแมวไม่มีความสุขเมื่ออยู่ในอ้อมแขนของเราแล้ว ได้เวลาปล่อยมันไป
  2. อย่าปล่อยมันลงพื้นไปเลย เมื่อรู้สึกว่าเจ้าตัวน้อยกระสับกระส่าย เพราะจะทำให้แมวเสียการทรงตัว หรือลงพื้นผิดท่า ค่อยๆ วางแมวลงจนกระทั้งอุ้งเท้าทั้งสี่แตะพื้น แล้วค่อยปล่อยมันไปอย่างเบาใจ
    • แมวบางตัวจะกระโดดออกจากการอุ้มของเราเลย ฉะนั้นให้เตรียมตัวสำหรับกรณีนี้ไว้ด้วย
  3. ถึงแม้แม่แมวจะคาบลูกแมวที่หลังคอ แต่เราไม่ควรจับหลังคอแมว โดยเฉพาะแมวที่อายุสามเดือนขึ้นไป เพราะตอนนั้นแมวจะตัวโตเกินไป การจับที่หลังคออาจทำให้แมวเจ็บได้ และทำให้กล้ามเนื้อช้ำ เพราะแมวโตเกินกว่าจะยกตัวด้วยการจับหลังคอแล้ว [6]
    • ถึงแม้เจ้าของหรือสัตวแพทย์ต้องจับหลังคอแมวเพื่อให้ยามันหรือตัดเล็บมัน แต่อย่าจับแมวขึ้นโต๊ะตรวจร่างกายโดยใช้วิธีจับหลังคอ
  4. เด็กๆ ชอบอุ้มแมวอยู่แล้ว แต่ถ้าเด็กๆ อยากอุ้มแมว เราก็ควรแนะนำวิธีอุ้มให้เขา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมั่นใจว่าเด็กโตพอที่จะอุ้มแมวได้อย่างสบาย ถ้าเด็กตัวเล็กเกินไป ให้เด็กจับมันนั่งตักดีกว่า
    • พอเด็กอุ้มแมว ให้จับตาดูไว้ จะได้บอกเด็กได้ว่าเมื่อไรที่แมวอยากให้เลิกอุ้มแล้ว วิธีนี้จะช่วยทั้งเด็กและแมวไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แมวบางตัวไม่ชอบให้อุ้ม เพราะฉะนั้นอย่าบังคับมัน ในกรณีนั้น ให้อุ้มแมวตอนที่จำเป็นเท่านั้น อย่างเช่น ตอนไปหาสัตวแพทย์ อุ้มไปหาสัตวแพทย์สัปดาห์ละครั้ง และตอนที่มันไม่ให้สัตวแพทย์อุ้ม
  • ให้อุ้มแมวโดยใช้แขนทั้งสองข้าง อย่าอุ้มโดยใช้แขนขางเดียวโอบท้องมันไว้ เพราะถ้าอุ้มแบบนี้จะทำให้แมวไม่สบายตัวและพยายามดิ้นเพื่อลงพื้น
  • ค่อยๆเข้าไปใกล้แมวด้วยท่าทีที่สงบ อย่าขยับตัวเร็ว ค่อยๆ หมอบลง ปล่อยให้แมวดม หรือทำความรู้จักเรา ถ้าแมวคิดว่าเราไม่เป็นภัยแก่มัน มันจะเดินมาหา
  • ต้องเข้ามาหาแมวด้วยท่าทีที่สงบ ไม่เคลื่อนไหวแบบกะทันหัน ไม่อย่างนั้นเราจะทำให้แมวตกใจกลัวจนหนีไป
  • เราต้องสอดมือไว้หลังขาหน้าทั้งสองข้าง
โฆษณา

คำเตือน

  • ไม่แนะนำให้อุ้มแมวโดยใช้วิธีจับหลังคอ เพราะแมวอาจได้รับบาดเจ็บสาหัสได้ ถ้าไม่จับหลังคออย่างถูกวิธี และเราก็จะได้รับบาดเจ็บเช่นกัน เพราะการอุ้มแมวแบบนี้ ทำให้แมวสามารถหันกลับมากัดหรือข่วนเราได้
  • ถ้าถูกข่วน ล้างแผลด้วยสบู่และน้ำ แล้วใช้ยาทาแผลเฉพาะภายนอก ถ้าถูกแมวกัด ให้ทำแบบเดียวกันและไปพบแพทย์ เพราะรอยแมวกัดอาจติดเชื้อร้ายแรงอย่างรวดเร็วได้
  • ระวังอันตรายจากถูกการกัดและการถูกข่วนเสมอ
  • อย่าอุ้มแมวให้นอนหงายแบบเด็กทารก ยกเว้นรู้ว่าแมวไม่ใส่ใจที่จะอยู่ในท่านี้ เพราะถ้าอุ้มแมวแบบนี้ จะทำให้แมวรู้สึกไม่ปลอดภัยและเหมือนติดกับ อาจทำให้ตกใจและจบลงด้วยการข่วนเรา อุ้มแมวโดยให้มันอยู่ท่านั่งตัวตรงแนบกับตัวเราจะปลอดภัยมากกว่า
  • อย่าอุ้มแมวที่ไม่รู้จักมักคุ้น อย่าอุ้มแมวจรจัดหรือแมวป่า


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 57,671 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา