ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สารประกอบไอออนิกเกิดจากแคตไอออน (ไอออนบวก) และแอนไอออน (ไอออนลบ) โดยปกติสารประกอบไอออนิกประกอบด้วยธาตุโลหะกับธาตุอโลหะหนึ่งหรือสองธาตุ ในการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกเราต้องรู้ชื่อของแคตไอออนและแอนไอออนที่อยู่ในสารประกอบ ควรอ่านชื่อธาตุโลหะก่อนแล้วค่อยอ่านชื่อธาตุอโลหะพร้อมคำลงท้ายชื่อใหม่ตามลำดับ ถ้าอยากรู้วิธีอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกที่ถูกต้อง ลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้ดู

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สารประกอบไอออนิกทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอยกตัวอย่างสารประกอบไอออนิกคือ NaCl [1]
  2. ธาตุโลหะคือไอออนประจุบวกในสารประกอบนั้นและมักจะเขียนเป็นตัวแรกในสูตรสารประกอบไอออนิกเสมอ Na คือโซเดียม ฉะนั้นจึงเขียนว่า โซเดียม
  3. เขียนชื่อธาตุอโลหะหรือแอนไอออนโดยเปลี่ยนเสียงสุดท้ายเป็น "ไอด์". Cl คือคลอรีน แค่ตัด "สระอี" และ "น.หนู" ออกแล้วใส่ "สระไอ" ไว้ข้างหน้าร.เรือพร้อมมี "ด.เด็ก" และเครื่องหมายการันต์ไว้ข้างหลังแทน คลอรีนก็จะกลายเป็น คลอไรด์
  4. NaCl ก็จะเขียนได้เป็น โซเดียมคลอไรด์
  5. พอเข้าใจหลักการอ่านชื่อบ้างแล้ว ก็ให้พยายามฝึกอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกเพิ่มสักสองสามตัว การจำชื่อสารประกอบไอออนิกได้สักสองสามตัวจะช่วยให้เข้าใจวิธีอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกมากขึ้น นี้เป็นตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกเพิ่มเติม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

โลหะทรานซิชัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โลหะทรานซิชันสามารถพบได้ที่กลางตารางธาตุ สาเหตุที่เรียกว่าโลหะทรานซิชันเพราะเลขออกซิเดชันหรือประจุของธาตุเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ขอยกตัวอย่างสารประกอบ Fe 2 O 3 เพื่อจะได้รู้วิธีการอ่านสารประกอบไอออนิกที่มีโลหะทรานซิชันเป็นส่วนประกอบ [2]
  2. 2
    เขียนประจุของธาตุโลหะ. เรารู้ว่าธาตุโลหะมีประจุบวก ฉะนั้นย้าย 3 จาก O 3 ขึ้นไปเป็นประจุ +3 ให้ Fe (ทำอะไรสนุกๆ โดยการเขียนกลับกัน ใส่ประจุ -2 ให้กับ O ) บางครั้งโจทย์ก็ให้ประจุมา
  3. เนื่องจากเรารู้ว่า Fe คือเหล็กและธาตุนี้มีประจุ +3 จึงเรียกว่า ไอร์ออน (III) เราจะใช้ตัวเลขโรมันเมื่อเขียนชื่อนี้เท่านั้น ไม่ใช้ในการเขียนสูตร
  4. เรารู้ว่า O คือออกซิเจน จึงเปลี่ยนสระอิมาเป็นสระ "ไอ" เพิ่ม ด.เด็ก ที่มีการันต์หลังซ.โซ่ และออกเสียงใหม่ว่า "ออกไซด์"
  5. คราวนี้ก็จะได้ชื่อสารประกอบไอออนิกแล้ว Fe 2 O 3 = ไอร์ออน (III) ออกไซด์
  6. ถ้าเลือกใช้วิธีอ่านแบบเก่า ก็เปลี่ยนเสียงท้ายของชื่อธาตุโลหะนั้นเป็น "อัส" และ "อิก" แทนการใช้ตัวเลขโรมัน ถ้าไอออนของโลหะมีสถานะออกซิเดชันต่ำกว่า (ค่าประจุต่ำกว่าโดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็น "+" หรือ "-") จะเปลี่ยนเสียงท้ายเป็น "อัส" ถ้ามีค่าประจุสูงกว่า เปลี่ยนเสียงท้ายเป็น "อิก" Fe 2+ มีสถานะออกซิเดชันต่ำกว่า (Fe 3+ มีสถานะออกซิเดชันสูงกว่า) ฉะนั้นจึงอ่านว่า เฟอรัส ชื่อของ Fe 2+ O ยังอ่านว่า เฟอรัสออกไซด์ ได้ด้วย
  7. มีธาตุโลหะทรานซิชันสองธาตุที่มีประจุแน่นอน นั้นคือสังกะสี (Zn) และเงิน (Ag) เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ไม่ต้องใช้ตัวเลขโรมันหรือการอ่านชื่อแบบเก่ากับสองธาตุนี้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สารประกอบที่มีไอออนหลายอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สารประกอบนี้จะมีไอออนมากกว่าสองขึ้นไป คราวนี้จะมาลองอ่านสารประกอบ FeNH 4 (SO 4 ) 2 ดู [3]
  2. เราจะต้องคิดเลขสักหน่อยเพื่อหาประจุ ก่อนอื่นเลยเรารู้ว่าซัลเฟต หรือ SO 4 มีประจุ -2 และรู้ว่ามีซัลเฟตอยู่สองตัวเพราะมีเลข 2 ห้อยอยู่ที่วงเล็บ ฉะนั้น 2 x -2 = -4 ต่อมาเรารู้ว่า NH 4 หรือไอออนของแอมโมเนียมีประจุ +1 นำ -4 และ 1 มาบวกกันจะได้ -3 ผลบวกที่ได้หมายความว่าไอออนของเหล็ก Fe ต้องมีประจุ +3 เพื่อสร้างสารประกอบนี้และทำให้สารประกอบเป็นกลาง
  3. ในกรณีนี้สามารถเขียนชื่อได้ทั้ง ไอร์ออน (III) หรือ เฟอร์ริก
  4. ในกรณีนี้ชื่อนั้นคือ แอมโมเนีย และ ซัลเฟต หรือ แอมโมเนียซัลเฟต
  5. เราจะอ่านชื่อสารประกอบ FeNH 4 (SO 4 ) 2 ว่า ไอร์ออน (III) แอมโมเนียซัลเฟต หรือ เฟอร์ริกแอมโมเนียซัลเฟต
    • โดยพื้นฐานแล้วสารประกอบไบนารีก็เป็นสารประกอบไอออนิก สารประกอบนี้จะได้รับหรือเสียอิเล็กตรอนขึ้นอยู่กับสถานะออกซิเดชัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าจะเขียนให้กลับไปเป็นสูตรเคมีและมีเลขโรมัน ให้ "ตรวจสอบ" โมเลกุล เลขโรมันคือประจุของแคตไอออน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,094 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา