ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตารางธาตุมีรายชื่อธาตุที่ได้รับการค้นพบ 118 ธาตุ ธาตุแต่ละธาตุจะมีสัญลักษณ์และตัวเลขแตกต่างกันไป ตารางธาตุจะมีการจัดหมวดหมู่ธาตุตามความคล้ายคลึง บทความนี้จะขอแนะนำวิธีอ่านตารางธาตุเพื่อจะได้สามารถรู้ข้อมูลของธาตุที่ต้องการได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ทำความเข้าใจโครงสร้างของตารางธาตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูตารางธาตุโดยเริ่มจากด้านซ้ายบนจนไปจบที่แถวสุดท้ายในแนวนอนใกล้ด้านขวาล่าง. ตารางธาตุจะเรียงธาตุจากซ้ายไปขวาตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น เลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในอะตอม
    • ตารางธาตุอาจมีแถวแนวนอนหรือแนวตั้งไม่สมบูรณ์ ถึงแม้อาจมีช่องว่างคั่นกลางตารางธาตุ แต่การอ่านตารางธาตุจะอ่านจากซ้ายไปขวาเหมือนเดิม ตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจนมีเลขอะตอม 1 และอยู่ด้านซ้ายบนสุดของตารางธาตุ ฮีเลียมมีเลขอะตอม 2 และอยู่ด้านขวาบนสุดของตารางธาตุ
    • ธาตุที่ 57 ถึง 102 จะถูกจัดเรียงไว้ที่ด้านขวาล่างของตารางธาตุ ธาตุกลุ่มนี้เรียกว่า “ธาตุโลหะหายาก”
  2. หา “หมู่” ของธาตุต่างๆ โดยดูจากแถวในแนวตั้งแต่ละแถวของตารางธาตุ. แถวในแนวตั้งมีทั้งหมด 18 แถว
    • เมื่อต้องการรู้หมู่ของธาตุ เราจะดูธาตุต่างๆ “ตามยาว” โดยไล่เรียงจากบนลงล่าง
    • จะมีการใส่เลขหมู่เหนือแถวแนวตั้งเสมอ แต่ก็อาจมีการใส่เลขหมู่ใต้ธาตุกลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น โลหะ
    • ตารางธาตุแต่ละตารางจะมีรูปแบบการใส่เลขหมู่แตกต่างกันไป ตารางธาตุหนึ่งอาจใส่เลขหมู่เป็นตัวเลขโรมัน (IA) อารบิก (1A) หรือตัวเลขธรรมดา 1 ถึง 18
    • ไฮโดรเจนอาจถูกจัดไว้ในกลุ่มแฮโลเจนและโลหะแอลคาไลหรือทั้งสองกลุ่มก็ได้
  3. หา “คาบ” ของธาตุต่างๆ โดยดูจากแถวในแนวนอนแต่ละแถวของตารางธาตุ. ตารางธาตุมีทั้งหมด 7 คาบ เวลาอยากรู้ว่าธาตุต่างๆ อยู่ในคาบที่เท่าไร เราจะดูธาตุต่างๆ “ตามขวาง” โดยไล่เรียงจากซ้ายไปขวา
    • มักจะมีการใส่ตัวเลขคาบ 1 ถึง 7 ที่ด้านซ้ายมือของตารางธาตุ
    • แต่ละคาบจะใหญ่กว่าคาบสุดท้าย ที่เป็นเช่นนี้เพราะระดับพลังงานของอะตอมในตารางธาตุเพิ่มขึ้น
  4. รู้ว่าธาตุกลุ่มใดเป็นโลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ. ในตารางธาตุจะมีการกำหนดสีของกลุ่มเหล่านี้แตกต่างกัน
    • โลหะจะอยู่ในกลุ่มเฉดสีเดียวกัน แต่ไฮโดรเจนมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีเฉดสีต่างออกไปและถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอโลหะ โลหะมีความแวววาว มักจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นำความร้อนและไฟฟ้า สามารถนำมาตีเป็นแผ่นบางๆ และดึงให้เป็นเส้นได้
    • ธาตุอโลหะจะอยู่ในกลุ่มเฉดสีเดียวกัน กลุ่มนี้ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 6 ไปจนถึงเรดอน (Rn) ธาตุลำดับที่ 86 รวมทั้งไฮโดรเจน (H) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 1 ธาตุอโลหะจะไม่มีความแวววาว ไม่นำความร้อนและไฟฟ้า ไม่สามารถนำมาตีเป็นแผ่นบางๆ ได้ มักจะอยู่ในสถานะก๊าซที่อุณหภูมิห้องและสามารถอยู่ในสถานะของแข็ง ก๊าซ หรือของเหลวได้
    • ธาตุกึ่งโลหะหรือเมตัลลอยด์มักจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มเฉดสีม่วงหรือเขียว เพราะเป็นสีที่เกิดจากสีอื่นๆ อีก 2 สี ธาตุกลุ่มนี้จะตั้งเรียงกันในแนวทแยงมุม เริ่มจากธาตุโบรอน (B) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 5 ไปจนถึงธาตุแอสทาทีน (At) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 85 ธาตุกึ่งโลหะมีคุณสมบัติของธาตุโลหะและธาตุอโลหะ [1]
  5. กลุ่มอีกแบบดังกล่าวประกอบด้วยโลหะแอลคาไล (1A) โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (2A) แฮโลเจน (7A) แก๊สมีตระกูล (8A) และคาร์บอน (4A)
    • กลุ่มเหล่านี้จะมีการใส่ตัวเลขโรมัน ตัวเลขอารบิก หรือตัวเลขธรรมดาไว้เหนือแถวแนวตั้งเพื่อแสดงเลขหมู่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ดูสัญลักษณ์และชื่อธาตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะมีการใช้อักษรหนึ่งถึงสองตัวเป็นสัญลักษณ์ธาตุ โดยใช้แบบเดียวกันทุกชาติทุกภาษา
    • สัญลักษณ์ธาตุมาจากชื่อภาษาละตินของธาตุนั้นหรือชื่อสามัญที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
    • ในหลายกรณีสัญลักษณ์ที่มีชื่อภาษาอังกฤษอย่างเช่น Helium (ฮีเลียม) จะใช้ “He” เป็นสัญลักษณ์ธาตุ แต่ก็ไม่อาจใช้กฎนี้ได้กับทุกธาตุ ตัวอย่างเช่น Iron หรือเหล็กมีสัญลักษณ์ธาตุคือ “Fe” ฉะนั้นจึงต้องมีการจำสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุไปพร้อมกัน [2]
  2. ชื่อสามัญจะปรากฏอยู่ใต้สัญลักษณ์ธาตุและจะเปลี่ยนไปตามภาษาของแต่ละประเทศ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ดูเลขอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูเลขอะตอมที่อยู่ตรงกลางด้านบนหรือด้านซ้ายบนของสัญลักษณ์ธาตุนั้นเพื่อจะได้รู้ข้อมูลของธาตุ. อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าธาตุในตารางธาตุเรียงลำดับจากด้านซ้ายบนไปด้านขวาล่าง การรู้เลขอะตอมเป็นทางที่เร็วที่สุดในการหาข้อมูลเกี่ยวกับธาตุนั้น
  2. รู้ว่าเลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมธาตุนั้น.
  3. รู้ว่าการเพิ่มหรือเอาโปรตอนออกจะทำให้ธาตุนั้นกลายเป็นธาตุอื่น. [3]
  4. เมื่อรู้จำนวนโปรตอนในอะตอม ก็จะรู้จำนวนอิเล็กตรอนด้วย. เพราะอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนและโปรตอนเท่ากัน
    • อย่าลืมว่ากฎนี้มีข้อยกเว้น ถ้าอะตอมเสียหรือได้รับอิเล็กตรอน ก็จะมีไอออนซึ่งมีประจุทางไฟฟ้าปรากฏขึ้นที่สัญลักษณ์ธาตุ
    • ถ้ามีเครื่องหมายบวกอยู่ข้างสัญลักษณ์ธาตุ แสดงว่าธาตุนั้นมีประจุบวก ถ้ามีเครื่องหมายลบอยู่ข้างสัญลักษณ์ธาตุ แสดงว่าธาตุนั้นมีประจุลบ
    • ถ้าไม่มีเครื่องหมายลบหรือบวก แสดงว่าโจทย์ทางเคมีข้อนั้นไม่จำเป็นต้องนำไอออนมาคิดด้วย เพราะจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนนั้นเท่ากัน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ดูน้ำหนักอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำหนักอะตอมคือตัวเลขที่อยู่ใต้ชื่อสามัญของธาตุนั้น
    • ถึงแม้อาจดูเหมือนว่าน้ำหนักอะตอมจะเพิ่มขึ้นจากด้านซ้ายบนไปด้านขวาล่าง แต่ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป
  2. รู้ว่าธาตุส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักอะตอมเป็นเลขทศนิยม. น้ำหนักอะตอมคือผลรวมของอนุภาคในนิวเคลียส แต่ก็เป็นน้ำหนักโดยเฉลี่ยของไอโซโทปต่างๆ ด้วย
  3. ประมาณน้ำหนักอะตอมให้เป็นจำนวนเต็มที่มีค่าใกล้เคียงที่สุด จำนวนเต็มนี้เรียกว่าเลขมวล จากนั้นนำเลขมวลลบจำนวนโปรตอนก็จะได้จำนวนนิวตรอน [4]
    • ตัวอย่างเช่น น้ำหนักอะตอมของเหล็กคือ 55.847 ฉะนั้นเลขมวลคือ 56 ธาตุนี้มีโปรตอน 26 ตัว นำ 56 (เลขมวล) ลบ 26 (โปรตอน) ก็จะได้ 30 อะตอมของเหล็กมีนิวตรอน 30 ตัว
    • การเปลี่ยนแปลงจำนวนนิวตรอนในอะตอมจะทำให้เกิดไอไซโทปซึ่งมีอะตอมที่หนักกว่าหรือเบากว่าก็ได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 112,971 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา