ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าในบ้านมีน้องๆ หนูๆ ที่เพิ่งเริ่มอ่านไม้บรรทัดหรือสายวัด แล้วสับสนเรื่องขีดและตัวเลขของหน่วยวัดระบบเมตริก ว่าขีดกับตัวเลขที่เห็นมันยาวเท่าไหร่กันแน่ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำให้เอง ตอนแรกอาจจะคิดว่ายากจัง แต่พอรู้หลักแล้ว ก็จดแล้วแปลงหน่วยตามต้องการได้ทันที ประเทศส่วนใหญ่ในโลกนั้นใช้หน่วยวัดระบบเมตริก ส่วนฝรั่งบางประเทศใช้ระบบอิมพีเรียล ลองนำหลักคิดในบทความวิกิฮาวนี้ไปสอนน้องๆ หนูๆ ที่บ้านดู เดี๋ยวก็อ่านสายวัดหรือไม้บรรทัดได้ง่ายนิดเดียว! [1]

1

สังเกตหน่วยวัดระบบเมตริก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ามีระบบอิมพีเรียลด้วย ก็เลือกอ่านด้านที่เป็นระบบเมตริก ปกติระบบเมตริกจะอยู่ด้านล่าง เป็นเลขตัวเล็กกว่า ส่วนระบบอิมพีเรียลมักอยู่ด้านบน เป็นเลขตัวใหญ่กว่า แต่เช็คให้ชัวร์ได้โดยสังเกตตัวอักษร “cm” (เซนติเมตร) หรือ “meter” ไม่ก็ “m” (เมตร กับม.) นั่นคือด้านหน่วยเมตริก [2]
    • ไม่ใช่ทุกสายวัดจะมีตัวอักษรบอกระบบ แต่ถ้ามี ก็จะอยู่ทางซ้ายสุด
    • ถ้ามีขีดบอกระยะแค่แถวเดียว ลองพลิกสายวัดไปอีกด้าน น่าจะมีขีดวัดเพิ่มเติม
    • ถ้ามีแค่ระบบอิมพีเรียล หรือ “inch” กับ “feet” หรือ ”ft” (นิ้ว ฟุต ฟ.) ต้องหาสายวัดอื่นที่มีระบบเมตริก
    โฆษณา
2

สังเกตมิลลิเมตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มิลลิเมตร เป็นหน่วยย่อยที่รวมกันเป็นเมตรได้. ตรงระบบเมตริกในสายวัด จะมีมิลลิเมตรเป็นขีดวัดเล็กสุด ไม่มีตัวอักษรบอกชื่อ โดย 10 มิลลิเมตร เท่ากับ 1 เซนติเมตร ก็เลยจะมีเส้นมิลลิเมตร 9 เส้น คั่นกลางระหว่างเลขบอกเซนติเมตรแต่ละตัวในสายวัด ส่วนเส้นที่ 10 นั้นจะเป็นเลขเซนติเมตรถัดไป [3]
    • เช่น จะมีเส้นสั้น 9 เส้น ระหว่าง “5” และ “6” เป็นต้น
3

สังเกตเลขเซนติเมตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เซนติเมตร เป็นหน่วยย่อยถัดไป ที่รวมกันเป็นเมตรได้. จะเป็นเส้นและเลขตัวใหญ่ในแถวของหน่วยวัดระบบเมตริก โดยจะมีเส้นที่ยาวกว่าหน่อย ตรงกึ่งกลางระหว่างเส้นเซนติเมตร อันนั้นคือเส้นบอกครึ่งเซนติเมตร หรือก็คือ 5 มิลลิเมตร เส้นนี้จะยาวกว่าขีดมิลลิเมตรอื่น แต่สั้นกว่าเส้นเซนติเมตร เส้นนี้ปกติจะไม่มีตัวอักษรบอกไว้ [4]
    • เช่น จะมีเส้นยาวกว่าหน่อย ระหว่าง “3” กับ “4” บอกระยะ 3 เซนติเมตรกับอีก 5 มิลลิเมตร หรือ 3.5 เซนติเมตร
    โฆษณา
4

สังเกตเลขเมตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หรือก็คือทุกเส้นเซนติเมตร 100 เส้น จะมีบอกระยะ 1 เมตร
    • เช่น จะมีบอกระยะ 3 เมตร หลังผ่านไป 300 เส้นเซนติเมตร
5

วัดขนาดวัตถุแล้วจดไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตอนนี้พอรู้เส้นต่างๆ ของหน่วยวัดระบบเมตริกแล้ว ก็มาวัดกันได้เลย!. เริ่มจากทางซ้ายสุดของสายวัด ที่มีเลข “0” แล้วสังเกตเลขขวาสุด ที่สุดขอบของวัตถุที่กำลังวัด แล้วจดเลขได้เลย
    • เช่น ถ้าวัดเส้นยาว 205 เซนติเมตร ก็เท่ากับ 2.05 เมตร
    • ถ้าเลยจาก 2 เซนติเมตรไป 4 มิลลิเมตร ก็เท่ากับ 2.4 เซนติเมตร
    โฆษณา
6

เช็คว่าต้องแปลงหน่วยวัดหรือไม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าวัดอะไรออกมายาวกว่า 100 เซนติเมตร แสดงว่าเป็นหน่วยเมตรแล้ว!. เช่น ถ้าวัดได้ 205 เซนติเมตร ก็ให้จด 2.05 เมตรได้เลย ไม่ต้องแปลง แต่ถ้าวัดได้ไม่ถึง 1 เมตร ก็ต้องแปลงหน่วยก่อน
    • เช่น ถ้าวัดวัตถุได้ความยาว 13 เซนติเมตร แต่อยากได้หน่วยเป็นเมตร ก็ต้องแปลงเซนติเมตรเป็นเมตรก่อน
7

แปลงหน่วยจากมิลลิเมตรเป็นเมตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แปลงหน่วยแบบนี้ ถ้าวัดได้สั้นกว่า 1 เซนติเมตร. ปกติ 1 เมตรมี 1,000 มิลลิเมตร ให้หารเลขมิลลิเมตรที่ได้ด้วย 1,000 แล้วจะได้หน่วยเมตร [5]
    • เช่น ถ้าวัดความยาวได้ 5 มิลลิเมตร ก็ตั้ง 5 เอา 1,000 หาร จะได้ 0.005 เมตร
    โฆษณา
8

แปลงหน่วยจากเซนติเมตรเป็นเมตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แปลงหน่วยแบบนี้ ถ้าวัดได้ยาวกว่า 1 เซนติเมตร. ปกติ 1 เมตรมี 100 เซนติเมตร ให้หารเลขเซนติเมตรที่ได้ด้วย 100 จะได้หน่วยเมตร [6]
    • เช่น ถ้าวัดความยาวได้ 9.5 เซนติเมตร ก็ตั้ง 9.5 เอา 100 หาร จะได้ 0.095 เมตร

เคล็ดลับ

  • วิธีนี้ใช้กับสายวัดแบบไหนก็ได้ เพราะยังไงหน่วยวัดก็เท่าเดิม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,225 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา