PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งกว่าจะรู้ตัวอีกทีคุณก็เหลือเวลาอ่านหนังสือก่อนสอบครั้งใหญ่เพียงแค่ 1 วัน คุณอาจจะผัดวันประกันพรุ่งหรือไม่มีเวลา แต่ถ้าคุณมีระเบียบวินัยและความตั้งใจ คุณก็ยังสามารถสอบผ่านฉลุยได้แม้จะเตรียมตัวแค่วันเดียว แม้ว่าการอ่านหนังสือก่อนสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ แต่บางครั้งชีวิตก็มีอะไรเกิดขึ้นมากมาย มี 2 – 3 วิธีที่รับรองได้ว่า คุณจะทำข้อสอบได้อย่างสุดความสามารถแม้จะมีเวลาทบทวนแค่วันเดียว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สร้างบรรยากาศการทบทวนบทเรียนที่ทำให้เกิดสมาธิ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] ทบทวนบทเรียนในที่ๆ ห่างไกลจากสิ่งที่ทำให้วอกแวกเช่นเตียงนอนหรือเพื่อนๆ การไปหาสถานที่อ่านหนังสือใหม่ๆ จะทำให้คุณมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเพียงอย่างเดียว
    • คุณต้องหาสถานที่ที่คุณไม่ต้องย้ายที่นั่งสักพัก ห้องเงียบๆ ห้องสมุด หรือร้านกาแฟเป็นทางเลือกที่เหมาะมากๆ
  2. เขียนรายการสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ในการทบทวนบทเรียนก่อนที่คุณจะออกไปข้างนอก เพื่อที่คุณจะได้ไม่ลืมอะไร อาจจะเป็นหนังสือเรียน โน้ตย่อ คอมพิวเตอร์ ของขบเคี้ยว Post-its ปากกาไฮไลต์ และอย่างอื่นที่คุณอาจต้องใช้
    • อย่าเอาอะไรที่อาจทำให้คุณเสียสมาธิไปด้วย
  3. ถ้าคุณไม่ต้องใช้โทรศัพท์ในการทบทวนบทเรียน ลองปิดโทรศัพท์ครั้งละนานๆ ระหว่างที่อ่านหนังสือ วิธีนี้จะช่วยให้คุณจดจ่อกับการอ่านหนังสือได้นานขึ้นโดยไม่ต้องหยุด และลดโอกาสในการเสียสมาธิด้วย
  4. ด้วยเวลาที่จำกัด การอ่านหนังสือคนเดียวอาจได้ผลดีที่สุด แต่บางครั้งการอ่านหนังสือเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็มีประโยชน์ตรงที่ได้เทียบโน้ตและถกคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาด้วยกัน [2] ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่าการอ่านเป็นกลุ่มจะช่วยคุณได้ ให้เลือกเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่อย่างน้อยเก่งพอๆ กับคุณ เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้คุณช้าไปด้วย [3]
    • ระวังเวลาอ่านหนังสือกับเพื่อนๆ เพราะคุณจะเสียสมาธิได้ง่ายถ้าคุณอ่านหนังสือเฉพาะกับเพื่อนสนิท กลุ่มที่อ่านหนังสือด้วยกันต้องมีคนที่มาจากห้องเดียวกันที่คุณแค่รู้จักเฉยๆ ด้วย [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สำรวจเทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมสอบที่มีประสิทธิภาพ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไม่ได้จดโน้ตเอง คุณก็ต้องขอซีรอกซ์โน้ตของคนที่คุณไว้ใจ การอ่านโน้ตทวนซ้ำอีกครั้งเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ยังไม่พอ อ่านให้ละเอียดแล้วไฮไลต์คำสำคัญและคอนเซ็ปต์เอาไว้ หรือใช้ Post-it เพื่อเน้นว่าส่วนไหนสำคัญ
    • ลองเขียนสรุปย่อโน้ตของคุณในแต่ละบทหรือคอนเซ็ปต์หลักลงไป [5] ใช้คำที่ง่ายที่สุดและเขียนลงบนกระดาษแยกไว้แต่ละแผ่น [6] สรุปย่อเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการอ่านหนังสือเตรียมสอบในวันนั้นได้
    • ขณะที่อ่านโน้ตทวน อย่าอ่านเรียงตามลำดับ [7] วิธีนี้จะช่วยให้คุณแน่ใจว่า คุณรู้ข้อมูลแต่ละส่วนมากกว่าจะเข้าใจว่ามันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเนื้อหาทั้งหมด
  2. คุณต้องพูดข้อมูลออกมาดังๆ ขณะที่คุณทบทวน เพราะคุณจะจำได้ง่ายกว่าถ้าสมองของคุณได้ยินและได้ออกเสียงข้อมูลนั้นๆ ออกมา แทนที่จะแค่อ่านข้อมูลนั้นอย่างเดียว [8]
    • ลองสอนเนื้อหาสักบทหรือคอนเซ็ปต์ให้นักเรียนในจินตนาการฟัง [9] วิธีนี้จะบังคับให้คุณต้องพูดเกี่ยวกับหัวข้อนั้นเต็มๆ ซึ่งถ้าคุณพยายามที่จะอธิบายเนื้อหาให้คนอื่นฟัง มันก็จะชัดเจนว่าคุณเข้าใจเนื้อหาหรือไม่ คุณสามารถใช้วิธีนี้กับกลุ่มเพื่อนหรือคนที่มาติวด้วยกันได้
  3. ขณะที่คุณเตรียมการท่องจำมากมายในนาทีสุดท้าย การใช้เทคนิคช่วยจำจะมีประโยชน์มาก
    • การเขียนเนื้อหาเดิมซ้ำไปซ้ำมาอาจช่วยให้มันซึมเข้าไปในสมองของคุณได้ แต่ถ้าจะทำวิธีนี้คุณต้องลอกข้อเท็จจริงหรือแนวคิดอย่างน้อย 3 ครั้งถึงจะได้ผล
    • ใช้เครื่องมือช่วยจำ เครื่องมือช่วยจำเป็นเทคนิคที่ช่วยให้สมองจำข้อมูลได้ การสร้างคำคล้องจอง อักษรย่อ และเพลงที่คุณสามารถเชื่อมโยงกับเนื้อหาจะช่วยให้คุณนึกถึงเนื้อหาเหล่านั้นได้
  4. เขียนคำและความหมายเต็มลงบนการ์ดโน้ตเล็กๆ วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถทดสอบตัวเองได้ตลอดทั้งวัน และยังมีประโยชน์ในวันสอบด้วย เพราะคุณสามารถทบทวนตอนอยู่บนรถเมล์หรือตอนเข้าแถวซื้ออาหารกลางวันได้ [10]
  5. แค่อ่านหนังสือเรียนซ้ำไปซ้ำมาไม่ช่วยให้คุณจำเนื้อหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีเวลาเตรียมสอบแค่วันเดียว มองหาสรุปของแต่ละบทและคีย์เวิร์ดที่เป็นตัวหนาขณะที่คุณทบทวน และเน้นบทนำกับบทสรุปของแต่ละบท เพราะว่ามันมักจะมีข้อมูลสำคัญที่สรุปออกมาให้แล้ว
    • ดูคำถามทบทวนท้ายบนหรือที่ปกหลังของหนังสือเรียน คุณต้องทดสอบตัวเองทุกครั้งที่ทำได้ เพื่อที่คุณจะได้ประเมินได้ดีขึ้นว่า ยังมีตรงไหนที่ต้องกลับไปทบทวนใหม่
  6. เนื้อหาเตรียมสอบเป็นวิธีที่บังคับให้คุณทบทวนเนื้อหาทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดูวันสอบเพื่อให้ได้ไอเดียคร่าวๆ ว่าต้องอ่านอะไรบ้างก็มีประโยชน์เหมือนกัน พิมพ์รายการเนื้อหาทั้งหมดที่คุณต้องอ่าน ได้แก่ คำเฉพาะหลักๆ วันที่ และคอนเซ็ปต์ จากนั้นให้กลับไปเขียนหรือพิมพ์เนื้อหาลงในโน้ตเพื่อเติมช่องว่างของเนื้อหาแต่ละส่วน เขียนแนวคิดต่างๆ ลงไปด้วยภาษาของคุณเอง และการเขียนเนื้อหาลงไปก็ช่วยให้ข้อมูลนั้นติดแน่นอยู่ในหัวของคุณได้จริงๆ
    • เพื่อนหรือเพื่อนร่วมชั้นของคุณอาจจะทำเนื้อหาเตรียมสอบของตัวเองที่คุณอาจจะอยากยืมมาเวลาที่คุณมีเวลาไม่มาก แต่การทำคู่มือเตรียมสอบของตัวเองจะบังคับให้คุณต้องเขียนข้อมูลลงไปโดยใช้คำพูดของตัวเอง และการลอกเนื้อหาลงไปก็ช่วยให้คุณจำเนื้อหาเหล่านั้นในหัวได้
  7. ถึงจะมีเวลาน้อยขนาดไหน คุณก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือให้ตรงกับการสอบ ซึ่งก็แล้วแต่ว่ารูปแบบการสอบจะเป็นแบบไหน อ่านประมวลรายวิชาหรือโน้ตย่อที่คุณจดในห้องเรียนเพื่อสร้างรูปแบบการสอบแบบเดียวกับที่คุณจะต้องสอบ ถ้าคุณไม่แน่ใจ คุณต้องติดต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อที่คุณจะได้อ่านหนังสือได้อย่างตรงจุด
    • สำหรับข้อสอบที่มีตัวเลือก คำถามมักจะเป็นไปในแนวของการถามรายละเอียดและข้อเท็จจริง รวมถึงคำศัพท์และนิยามมากกว่า นอกจากนี้ก็อาจจะมีคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนและลำดับ คำถามที่ถามเรื่องความเหมือนและความต่างระหว่างสิ่งต่างๆ ก็พบได้บ่อยในข้อสอบตัวเลือกเช่นเดียวกัน แม้ว่าการจำรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดในเวลาที่จำกัดจะเป็นเรื่องยาก แต่ให้เน้นไปที่จุดใดจุดหนึ่งแทนที่จะพยายามจำรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ ให้ได้ทั้งหมด [11]
    • สำหรับการสอบที่เป็นเรียงความหรือตอบคำถามสั้นๆ คุณจะต้องแสดงความเข้าใจที่มีต่อหัวข้อหลักและแนวคิดแบบกว้างๆ ได้เป็นอย่างดี ลองเตรียมคำถามตัวอย่างจากหนังสือเรียนและประมวลรายวิชา จับเวลาตัวเอง 15 นาทีและเขียนโครงคำตอบแบบละเอียดสำหรับคำถามแต่ละข้อ เหมือนว่าคุณกำลังจะเขียนเรียงความจริงๆ คุณต้องจำคำเฉพาะหลักๆ และตัวอย่างที่คุณสามารถนำมาใช้เพื่อสนับสนุนคำถามของเรียงความในขณะทำข้อสอบจริงได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำแผนทบทวนบทเรียน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. [12] คุณต้องแน่ใจว่าตัวเองรู้ดีว่าข้อสอบจะออกอะไรบ้าง ซึ่งก็อาจจะเป็นช่วงวันที่ต่างๆ ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง หรือสมการคณิตศาสตร์ ถ้าคุณไม่แน่ใจ ให้ถามเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อเช็กว่าข้อสอบจะออกอะไรบ้าง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จของคุณเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้าคุณเสียเวลามากไม่ได้
  2. [13] แบ่งเวลาในวันนั้นออกเป็นชั่วโมงแล้วตัดสินใจว่าตอนไหนจะอ่านอะไร อย่าลืมแบ่งเวลาไว้นอนด้วย
  3. อ่านประมวลรายวิชาหรือเอกสารอะไรก็ตามที่ครูแจกให้ หาให้ได้ว่าข้อสอบจะออกอะไรกันแน่ และเขียนรายการเนื้อหาที่คุณต้องทบทวนขึ้นมา
  4. คุณต้องแบ่งเวลาให้ตัวเองได้พักบ่อยๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่รู้สึกเหนื่อยเกินไป คุณอาจจะอ่านหนังสือ 45 นาทีแล้วก็พักสัก 1 – 5 นาที ระหว่างพักจะทำอะไรก็ได้ เช็กอีเมล ใช้โทรศัพท์ หรือลุกขึ้นเดินไปเดินมาก็ได้
    • วิธีแบ่งเวลาพักวิธีหนึ่งก็คือ ใช้วิธี 50/10 [14] ทบทวนเนื้อหาอย่างขะมักเขม้น 50 นาที บังคับตัวเองให้ได้ ถ้าคุณหยุดหรือวอกแวก ให้เริ่มนับใหม่อีก 50 นาที พอคุณอ่านหนังสือได้โดยไม่วอกแวก 50 นาทีแล้ว ก็ให้พัก 10 นาที วิธีนี้จะบังคับให้คุณอ่านหนังสือได้มากขึ้นกว่าเดิมมากขณะทบทวนบทเรียน
  5. สร้างรายการคอนเซ็ปต์ทฤษฎีหลักหรือคอนเซ็ปต์ที่แน่ชัด และต้องแน่ใจว่าตัวเองเข้าใจคอนเซ็ปต์เหล่านี้ทั้งหมด เนื่องจากคุณเพิ่งจะมาอ่านหนังสือในนาทีสุดท้าย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องเข้าใจคอนเซ็ปต์ที่ใหญ่ที่สุดก่อน [15] แม้ว่าข้อสอบอาจจะถามรายละเอียดยิบย่อย แต่ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจทฤษฎีใหญ่ๆ ก่อนเพื่อให้ตัวเองรู้บริบทของข้อเท็จจริงย่อยๆ
    • เรียงคำศัพท์และข้อเท็จจริงตามการจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ เทคนิคนี้เรียกว่า “การจัดกลุ่มความจำ” เพราะการจำคอนเซ็ปต์แต่ละคอนเซ็ปต์นั้นง่ายกว่าถ้าคุณเอาคอนเซ็ปต์เหล่านั้นมาจัดเรียงกันตามความสัมพันธ์กับข้อมูลที่ใหญ่กว่า [16]
  6. ปกติอาจารย์จะแจกประมวลรายวิชาตอนต้นปีหรือต้นเทอมที่มีรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดที่ต้องเรียนในวิชานั้น กลับไปดูประมวลรายวิชาเพื่อให้แน่ใจว่า คุณไม่ได้ข้ามเนื้อหาส่วนไหนไป
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ประมวลรายวิชาเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือเตรียมสอบได้ด้วย เพราะเป็นไปได้ว่าอาจารย์ของคุณจะเรียงเนื้อหาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อแนะแนวทางในการเรียน ใช้ประมวลรายวิชาช่วยคุณหาวิธีที่จะพิจารณาเนื้อหาในรายวิชาจากมุมมองที่ใหญ่กว่า และหาวิธีที่ดีที่สุดในการจัดเรียงข้อมูลมหาศาลเหล่านี้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณต้องรับประทานขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพและดื่มน้ำเยอะๆ [17] การรับประทานอาหารที่ดีช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยคุณจดจำข้อมูลขณะอ่านหนังสือ
  • นอนหลับพักผ่อนให้ได้มากที่สุด คุณอาจจะไม่สามารถนอนมากเท่าที่คุณต้องการได้เนื่องจากมีเวลาอ่านหนังสือแค่วันเดียว แต่สมองของคุณจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ [18] ในวันสอบคุณจะมีสมาธิมากขึ้นถ้าคุณไม่ได้อ่านอดตาหลับขับตานอนอ่านหนังสือทั้งคืน
  • ความสามารถในการทำข้อสอบของคุณน่าจะดีขึ้นถ้าคุณมีเวลาอ่านหนังสือมากกว่า 1 วัน เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ครั้งหน้าให้วางแผนอ่านหนังสือก่อนสอบล่วงหน้า 1 สัปดาห์
  • ใจเย็นๆ ความเครียดมีแต่จะทำให้จดจ่ออยู่กับการอ่านหนังสือได้ยากและอ่านไม่ได้มากนัก
  • แบ่งเวลาตามวิชา (เช่น วิชาง่ายๆ อ่าน 20 นาที) จำกัดเวลาตัวเองให้อ่านหนังสือในแต่ละวิชาตามนั้น
  • ผ่อนคลายและต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ!
  • อย่าเครียดเพราะมีแต่จะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ให้จดจ่ออยู่กับการอ่านหนังสือเท่านั้น เพราะคุณฉลาดกว่าที่คุณคิด
  • จดจ่อขณะอ่านหนังสือ มนุษย์เรามีช่วงความสนใจแค่ 30 – 45 นาทีเท่านั้น!
  • อ่านหนังสือ 1 บทแล้วพักแค่ 10 – 15 หรือน้อยกว่านั้น
  • ยิ่งคุณมีสมาธิมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยลงเท่านั้น แต่อย่าหักโหมจนสมองล้า
  • ไฮไลต์ อย่าขีดทั้งเล่ม เอาแค่คำสำคัญ
  • วันต่อมาให้ตื่นเช้าประมาณตีห้าแล้วอ่านคำสำคัญที่ไฮไลต์ไว้อีกครั้ง ถ้าอ่านจบเร็วก็นอนต่อ
โฆษณา

คำเตือน

  • หลังสอบเสร็จอย่าคุยเรื่องคำตอบและอย่าประเมินความสามารถของตัวเอง เพราะทำอย่างนี้ยิ่งทำให้ระดับความมั่นใจลดลง
  • อย่า ถกกับเพื่อนจนนาทีสุดท้าย เพราะสุดท้ายคุณจะสับสนเอง แค่ถามคำถามที่คุณไม่รู้ก็พอ
  • อย่าอดนอนทั้งคืน เพราะเวลานอนที่สูญเสียไปจะมีผลตอนที่คุณทำข้อสอบ คุณจะไม่ค่อยมีสมาธิและทำผิดได้ง่าย
  • เวลาที่คุณอ่านหนังสือเตรียมสอบแบบอัดๆ คุณกำลังพยายามยัดข้อมูลมากมายใส่สมองรวดเดียวและหวังว่าจะได้สำรอกข้อมูลทั้งหมดออกมาในเวลาที่ถูกต้อง (ซึ่งก็คือตอนทำข้อสอบ) แต่สุดท้ายคุณก็ จะ ลืมสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ในระหว่างการอ่านหนังสือแบบอัดๆ และนั่นอาจทำร้ายคุณในภายหลัง (เช่น พอถึงตอนสอบกลางภาคหรือปลายภาค) คุณควรอ่านหนังสือนิดๆ หน่อยๆ ทุกวันตลอดทั้งภาคเรียน วิธีนี้คุณจะได้เรียนรู้จริงๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 52,868 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา