ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอ่านหนังสือเตรียมสอบหรือทำการบ้านได้มากมายหลายวิธี แต่ถ้าอยากเรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีๆ ก็ต้องมีวินัยและอ่านถูกวิธี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จัดเตรียมสถานที่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หรือก็คือที่เงียบๆ สว่างๆ เป็นระเบียบ นั่งสบาย เลือกมุมสงบที่นั่งอ่านหนังสือได้แบบไม่มีใครรบกวน การหาและจัดเตรียมสถานที่ถือว่าสำคัญเอามากๆ
  2. ทั้งดินสอ ปากกา สมุดทั้งแบบมีเส้นและไม่มีเส้น หนังสือเรียน และอื่นๆ
  3. ถ้าไม่ค่อยมีสมาธิเพราะคนในบ้าน ก็ให้พูดกันตรงๆ แต่อย่างสุภาพ ว่าขอเวลาส่วนตัวอ่านหนังสือเตรียมสอบหรือทำการบ้านหน่อย แต่ถ้าบ้านใครมีลูกๆ หลานๆ เต็มไปหมดก็อาจจะต้องทำใจ ที่สำคัญคือต้องปิดทีวีและวิทยุ เว้นแต่ใครชอบให้มีเสียงคลอเบาๆ อาจจะเปิดเพลงคลาสสิกแทน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พฤติกรรมทำแล้วดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค่อยๆ ตั้งสมาธิไป . ใจเย็นๆ อย่ารีบถอดใจ ไม่มีใครเรียนรู้อะไรแล้วเข้าใจตั้งแต่แรกหรอก
  2. อย่าอยู่ดึกหรืออ่านหนังสือโต้รุ่ง เพราะการอดนอนจะทำให้ไม่มีสมาธิจดจ่อ จดจำอะไรที่อ่านไปไม่ค่อยได้ [1]
  3. นักเรียนทุกคนควรมีตารางสอนและตารางสอบ พร้อมเน้นวันสำคัญชัดเจน นอกจากตารางเรียนหลัก ก็ควรกำหนดเวลาอ่านหนังสือและทำการบ้านหรือรายงานด้วย จะได้ไม่หลงลืมหรือทำงานไม่ทันกำหนดส่ง จนไฟลนก้นเอาตอนวินาทีสุดท้ายหรือคืนก่อนสอบไล่ สุดท้ายคือหาเวลาทำกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น เล่นกีฬา ยิ่งตารางนี้ละเอียดและครอบคลุมเท่าไหร่ ก็ยิ่งเรียน อ่านหนังสือ และทำการบ้านได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
  4. จดเลคเชอร์ทุกวิชา . ตอนทำงานเองก็จดได้ ถ้ารีบๆ จดเป็นตัวย่อที่เข้าใจเองก็สะดวกดี และจับใจความแต่เรื่องสำคัญ (และ/หรือคีย์เวิร์ด) เขียนหัวข้อให้ชัดเจน ข้อมูลจะได้เป็นระบบระเบียบ พร้อมรูป/แผนผังประกอบ แล้วอย่าลืมเน้นหรือขีดเส้นใต้ใจความสำคัญในตำราด้วย
  5. จะได้ผลัดกันถาม-ตอบ และช่วยอธิบายในจุดที่อีกคนไม่เข้าใจ
  6. อาจจะไปเดินเล่น ขี่จักรยาน หรือใช้เวลากับครอบครัว ถ้าหาเวลาพักสมองบ้าง จะช่วยคลายเครียด ทำให้สมองโล่ง ชาร์จแบตพร้อมอ่านหนังสือต่อ หรือจะฟังเพลงก็คลายเครียดได้ดี
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ฝึกนิสัยระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช่น ถ้าเรียนเคมี เลข ไทย และอังกฤษ อาจจะเริ่มจากเคมีก่อน แล้วปิดท้ายด้วยภาษาไทย ควรเริ่มจากวิชาที่ยากที่สุด เพราะสมองกำลังโล่งพร้อมลุย
  2. ฝึกเทคนิคการจดจำอย่างมีประสิทธิภาพ . เช่น ไล่ออกมาเป็นรายการหรือรายชื่อก่อน ถ้าต้องท่องจำอะไรเยอะๆ (เช่น สูตรต่างๆ) หรือทำบัตรคำเวลาต้องจำกลุ่มข้อมูลจำนวนมหาศาล
  3. ฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (critical reading) . ยิ่งเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ยิ่งต้องอ่านตำรายากๆ เยอะไปหมด ถ้าอ่านหนังสือไม่แตกฉาน หรืออ่านจับใจความไม่เป็น อาจจะงงจนถอดใจ ไม่ดีต่อผลการเรียนโดยรวม เพราะงั้นทักษะสำคัญที่ควรฝึกฝนคือการอ่านจับใจความ ถ้าทักษะการอ่านไม่ดีแต่แรก ก็ต้องพยายามพัฒนาตัวเอง ไม่งั้นส่งผลต่อการเรียนทุกวิชาแน่นอน
  4. มีสมาธิจดจ่อ กับเรื่องสำคัญที่สุด. เรื่องไหนรู้สึกยาก ไม่เข้าใจ ยิ่งต้องเน้น
  5. บางคนได้คะแนนน้อยไม่ได้แปลว่าเรียนไม่เก่งหรือไม่ตั้งใจเรียนเสมอไป บางคนก็เข้าใจและอ่านหนังสือมาแล้ว แต่กลับทำสอบออกมาได้ไม่ดี เพราะงั้นต้องรู้จักวางแผนก่อนสอบจริง คืออ่านหนังสือโดยจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่จะสอบ เตรียมตัวหลายวันก่อนสอบ ไม่ใช่ไฟลนก้นคืนก่อนหน้า ไม่เครียดจนสติแตกตอนทำข้อสอบจริง และบริหารเวลาให้ทำข้อสอบครบทุกส่วนทุกข้อ
  6. ตั้งคำถามเอง . คำถามที่ดีคือจับใจความจากบทเรียนว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และทำไม ให้ถามตัวเองแบบนี้เวลาอ่านหนังสือหรือเตรียมสอบ การตอบคำถามเหล่านี้เท่ากับเปิดโอกาสให้คุณได้ทำความเข้าใจบทเรียน และช่วยให้จดจำได้ง่ายและมากขึ้น เพราะเป็นขั้นตอนที่จะดึงความสนใจของคุณ เวลาเราประทับใจหรือจำอะไรได้ ก็เพราะเรื่องนั้นมีความหมายในสายตาเรา ไม่ลืมแน่นอน
  7. ถ้าทบทวนบทเรียนแล้วติดขัดหรือสงสัยตรงไหน ก็อย่าเพิ่งถอดใจ ลองปรึกษาใครสักคนดู อย่าเก็บไว้เครียดคนเดียว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หาอะไรกินก่อนอ่านหนังสือสัก 1 ชั่วโมง เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง ปล่อยให้หิว ติวไม่รู้เรื่องแน่นอน
  • พกสมุดโน้ต เพราะจดโน้ตว่าดีแล้ว แต่การนำมาอ่าน ทบทวน หรือต่อยอดจากที่จดไว้ยิ่งช่วยให้อ่านหนังสือได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ทำการบ้านให้เสร็จก่อนค่อยออกไปทำกิจกรรมนอกหลักสูตร
  • ถ้าจะติวหนังสือกันเป็นกลุ่ม ระวังอย่าชวนกันเล่น
  • ยืดเส้นยืดสายตอนพักเบรค เหมือนได้ชาร์จแบตทั้งร่างกายและจิตใจ
  • อะไรที่อ่านเข้าหัวที่สุด ก็คือเรื่องที่คุณสนใจ เพราะงั้นให้พยายามหาจุดน่าสนใจในเรื่องที่คิดว่ายาก
  • ยิ่งทบทวนยิ่งจดจำได้นาน
  • ปิดประตูก่อนทบทวนบทเรียน เสียงข้างนอกจะได้ไม่ทำคุณเสียสมาธิ
  • มุ่งมั่นตั้งใจจริง แต่ก็ต้องพักเบรคเป็นระยะ โดยเฉพาะถ้าเริ่มเครียด เช่น ทุก 1 ชั่วโมงให้พัก 5 - 10 นาที
  • อ่านหนังสือในห้องตัวเอง อย่าสบายจนนอนอ่าน เพราะสติหลุดง่ายมาก แทบไม่ค่อยได้อ่านหรือทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน
  • เคี้ยวหมากฝรั่งรสมินต์หรือสเปียร์มินต์ อาจจะช่วยให้สดชื่น สมองแล่นขึ้น [ ต้องการเอกสารอ้างอิง ]
  • นั่งสมาธิสัก 15 - 20 นาทีก่อนอ่านหนังสือ จะช่วยให้มีสติและสมาธิมากขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าตาและสมองล้า ก็เก็บการบ้านไปก่อน แล้วหาอะไรทำเปลี่ยนบรรยากาศสักพัก
  • ห้ามผัดวันประกันพรุ่งจน วินาทีสุดท้าย เด็ดขาด! แต่การอ่านหนังสือรวดเดียวจบในคืนก่อนหน้า (เป็นการทบทวนหลังอ่านมาแล้ว) ก็ ดี เหมือนกัน เพราะช่วยให้ยิ่งจำแม่น ไม่หลงลืมอะไรไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,793 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา