ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อีเมลเป็นช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากปัจจุบัน เพราะสามารถรับส่งได้ทั้งข้อความ ไฟล์ รูปภาพ ฯลฯ ใช้ติดต่อในนามส่วนตัวหรือบริษัทก็ได้ รวมถึงสามารถเปิดอ่านที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือกำลังเดินทาง ผ่านคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงมีอีเมลไว้ติดต่อสื่อสาร อย่างน้อยๆ ก็หนึ่งอีเมล แต่สำหรับคนที่เพิ่งใช้หรือใช้ไม่ชำนาญเท่าไหร่ อาจจะยังไม่รู้ว่าการอ่านอีเมลมีวิธีการอย่างไร ไม่ต้องกังวลไป บทความนี้จะช่วยแนะนำให้คุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การอ่านอีเมลผ่านเบราว์เซอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณมีอีเมลแอคเคาท์หรือสมัครอีเมลเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเช็คอีเมลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้ โดยเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สมัคร แล้วล็อกอินด้วยอีเมลแอคเคาท์ของคุณ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้แอคเคาท์ของ “Gmail” ก็ให้เข้าไปล็อกอินที่เว็บ mail.google.com ถ้าคุณใช้แอคเคาท์ของ “Outlook” ก็ให้เข้าไปล็อกอินที่เว็บ live.com เป็นต้น
    • คุณต้องล็อกอินด้วยแอคเคาท์ที่สมัครไว้กับเว็บนั้นๆ แต่ถ้ายังไม่มี ก็ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ใดก็ได้ที่ให้บริการอีเมล แล้วสมัครแอคเคาท์ใหม่ได้เลย
  2. เมื่อล็อกอินเข้ามาแล้ว มันจะพาคุณไปยังกล่องจดหมาย (inbox) ซึ่งเป็นหน้าที่แสดงอีเมลที่ได้รับ คุณสามารถเปิดอ่านได้โดยคลิกบนชื่อหัวเรื่องของอีเมลนั้น
  3. คลิกที่ปุ่ม “ตอบกลับ” หรือ “Reply” เพื่อเขียนข้อความตอบกลับเมลที่ได้รับ โดยวิธีการตอบกลับก็จะแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการ บางเว็บที่ให้บริการอย่าง “Gmail” สามารถตอบกลับในหน้าเมลที่กำลังอ่านได้เลย ขณะที่บางเว็บจะให้กดปุ่ม “Reply” ก่อน ถึงจะเขียนข้อความตอบกลับได้
  4. สแปมเมลคืออีเมลจำพวกโฆษณาหรือหลอกให้เปิดอ่านโดยมีจุดประสงค์แอบแฝงบางอย่าง อย่างไรก็ตาม เว็บที่ให้บริการส่วนใหญ่ก็กรองสแปมเมลให้เราอัตโนมัติ โดยย้ายมันไปอยู่ในโฟลเดอร์ “Spam” ทันทีที่ได้รับ ซึ่งจะเก็บไว้นาน 30 วันก่อนลบออกจากระบบ ถึงกระนั้นคุณก็ควรเข้าไปเช็คบ้างเป็นบางครั้งบางคราว เผื่อมีเมลที่ใช้ติดต่อปกติถูกย้ายมาอยู่ในโฟลเดอร์นี้
  5. ถ้าคุณไม่จัดการอีเมลทั้งหลายที่ส่งมา มันก็จะค่อยๆ สะสมจนตกลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นหลังจากอ่านหรือใช้เมลใดเสร็จแล้ว คุณควรย้ายเมลนั้นไปอยู่ในโฟลเดอร์เพื่อจัดหมวดหมู่ หรือลบมันออกไปเลยถ้าไม่ใช้แล้ว การทำแบบนี้จะทำให้คุณบริหารจัดการหรือค้นหาเมลได้ง่ายขึ้น
    • คุณควรศึกษาวิธีบริหารจัดการอีเมลในเว็บที่คุณสมัคร เพื่อที่คุณจะได้ใช้อีเมลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีมักใช้อีเมลในการล้วงข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นแอคเคาท์ รหัสผ่าน บัญชีธนาคาร ฯลฯ ซึ่งบางเมลก็เขียนออกมาได้อย่างน่าเชื่อถือและดูเป็นทางการ ดังนั้นควรเช็คให้แน่ใจก่อนกดลิงค์ใดๆ อย่างน้อยต้องส่งมาจากผู้ส่งที่คุ้นเคยหรือน่าเชื่อถือจริงๆ นอกจากนี้ต้องระมัดระวังอีเมลที่ติดไวรัสที่ทำให้มันส่งมาโดยเจ้าของเมลไม่รู้ตัวด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การใช้อีเมลไคลเอนต์ (Email Client) (เฉพาะ Outlook กับ Thunderbird)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อีเมลแอคเคาท์ส่วนใหญ่สามารถเชื่อมต่อกับอีเมลไคลเอนต์ หรือโปรแกรมจัดการอีเมลที่ติดตั้งบนคอมของคุณได้ โดยโปรแกรมดังกล่าวสามารถดาวโหลดและบริหารจัดการอีเมลต่างๆ ที่ได้รับและส่งออกไป อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องต่อเน็ตเวลาเปิดอ่านด้วย บริษัทใหญ่ๆ และใครหลายคนจึงเลือกใช้ในการติดต่อสื่อสารแทนการเปิดผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ทั้งนี้โปรแกรมที่ได้รับความนิยมก็เช่น “Outlook” และ “Mozilla Thunderbird”
    • คุณควรศึกษาวิธีการเชื่อมต่ออีเมลแอคเคาท์กับ “Outlook” ถ้าคุณต้องการใช้ “Outlook” บริหารจัดการอีเมล
    • คุณควรศึกษาวิธีการเชื่อมต่ออีเมลแอคเคาท์กับ “Mozilla Thunderbird” ถ้าคุณต้องการใช้ “Mozilla Thunderbird” บริหารจัดการอีเมล
  2. ดาวโหลดอีเมลของคุณจากเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการอีเมล. เมื่อเชื่อมต่ออีเมลแล้ว “Outlook” จะดาวโหลดอีเมลของคุณเข้ามาอัตโนมัติ และจะเช็คอีเมลที่ได้รับหรือส่งออกเรื่อยๆ เมื่อเปิดใช้งานอยู่ และเมื่อดาวโหลดเสร็จแล้ว คุณสามารถตรวจดูอีเมลได้โดยคลิกที่ปุ่ม “Send/Receive”
  3. คุณสามารถเปิดดูพรีวิวหรือเนื้อหาคร่าวๆ ได้โดยคลิกที่เมลนั้นหนึ่งครั้ง และเปิดอ่านเนื้อหาในเมลทั้งหมดได้โดยดับเบิลคลิกที่เมลนั้น ซึ่งมันจะเปิดเป็นหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ทั้งนี้ในเวอร์ชันล่าสุด ถ้าเมลใดมีการตอบกลับ มันก็จะแสดงลิสต์ลำดับการตอบกลับใต้เนื้อหาในเมลดังกล่าวด้วย
  4. คลิกปุ่ม “Reply” เพื่อเขียนข้อความตอบกลับอีเมลที่เปิดอ่านอยู่ เมื่อเขียนเสร็จและพร้อมที่จะส่ง ให้คลิกปุ่ม “Send” แล้วอีเมลก็จะถูกส่งกลับไปยังผู้ที่ส่งมาในทันที
  5. ใน “Outlook” คุณสามารถสร้างโฟลเดอร์ไว้เก็บอีเมลต่างๆ ได้ ซึ่งการสร้างโฟลเดอร์รวมถึงซับโฟลเดอร์นี้จะทำให้อีเมลต่างๆ ถูกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ อีกทั้งยังทำให้กล่องจดหมายดูเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย
  6. ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีมักใช้อีเมลในการล้วงข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นแอคเคาท์ รหัสผ่าน บัญชีธนาคาร ฯลฯ ซึ่งบางเมลก็เขียนออกมาได้อย่างน่าเชื่อถือและดูเป็นทางการ ดังนั้นควรเช็คให้แน่ใจก่อนกดลิงค์ใดๆ อย่างน้อยต้องส่งมาจากผู้ส่งที่คุ้นเคยหรือน่าเชื่อถือจริงๆ นอกจากนี้ต้องระมัดระวังอีเมลที่ติดไวรัสที่ทำให้มันส่งมาโดยเจ้าของเมลไม่รู้ตัวด้วย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การอ่านอีเมลผ่านมือถือหรือแท็บเล็ต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มือถือส่วนใหญ่จะให้ลงชื่อเข้าใช้ด้วยอีเมลแอคเคาท์ก่อนใช้งาน แล้วมันก็จะโหลดอีเมลของคุณเข้ามาอยู่ในแอปเมล์ที่มากับเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งแสดงว่าอีเมลแอคเคาท์ได้เชื่อมต่อกับมือถือแล้ว ดังนั้นถ้ามีคนส่งอีเมลมา มือถือก็จะแสดงเตือนว่าได้รับอีเมล
    • คุณควรศึกษาวิธีการเชื่อมต่ออีเมลแอคเคาท์กับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไอโอเอส (iOS) ถ้าคุณใช้ไอโฟนหรือไอแพด
    • คุณควรศึกษาวิธีการเชื่อมต่ออีเมลแอคเคาท์กับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบแอนดรอยด์ (Android) ถ้าคุณใช้มือถือหรือแท็บเล็ตแอนดรอยด์
  2. ผู้ให้บริการอีเมลบางราย เช่น “Gmail” มีแอปพลิเคชันเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ คุณสามารถดาวโหลดแล้วตั้งเป็นแอปหลักที่ใช้อ่านอีเมลได้ ทั้งนี้แอป “Gmail” จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบแอนดรอยด์อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มี ก็สามารถดาวโหลดจากกูเกิลเพลย์สโตร์ (Google Play Store) ได้เลย ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไอโอเอส ก็สามารถดาวโหลดจากแอปสโตร์ (App Store) ได้เช่นกัน
  3. ซึ่งสามารถทำได้โดยเปิดแอปเมลที่คุณใช้ จากนั้นมันก็จะแสดงหน้าที่เป็นกล่องจดหมายเป็นหน้าแรกทันที ทั้งนี้คุณสามารถเปิดอ่านเมลที่ส่งมาได้โดยตรง โดยกดเลือกเมลที่แจ้งเตือนในแถบโนติฟิเคชัน (notification)
  4. โดยกดปุ่ม “Reply” เพื่อเขียนข้อความตอบกลับไปหาผู้ที่ส่งมา ทั้งนี้บางแอปสามารถเขียนข้อความตอบกลับตรงท้ายเมลที่ส่งมาได้เลย (สามารถปิดได้ถ้าไม่ต้องการใช้)
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การอ่านอีเมล์เฮดเดอร์ (Email Headers)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความเข้าใจว่าเฮดเดอร์ถูกเพิ่มเข้ามาได้อย่างไร. อีเมลเฮดเดอร์ คือ รายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอีเมลนั้นๆ เช่น ผู้ส่ง วันและเวลาที่ส่ง หัวเรื่อง ฯลฯ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกบันทึกเก็บไว้ทุกครั้งที่มีการส่งหรือรับอีเมล ดังนั้นอีเมลที่มีการส่งไปมาหลายครั้งก็จะมีเฮดเดอร์ที่ยาวเหยียด เนื่องจากประกอบด้วยข้อมูลตอนส่ง ตอนรับ ตอนส่งกลับ ตอนรับอีกครั้ง ฯลฯ
  2. ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักสนใจข้อมูลแค่บางรายการ โดยเฉพาะรายการหลักๆ ซึ่งถ้าคุณดูเป็น คุณก็จะรู้ว่าอีเมลนี้ส่งมาจากไหน และนานเท่าไหร่แล้ว ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการหาต้นตอถ้าการส่งอีเมลติดขัดหรือมีปัญหา หรือหาว่าอีเมลดังกล่าวถูกส่งมาไหน ใครส่งเป็นคนแรก
    • Delivered-To: คือส่วนที่แสดงแอดเดรสที่เคยส่งอีเมลไป
    • Received: Received: คือส่วนที่แสดงไอพีแอดเดรส (IP address) ของเครื่องที่ได้รับอีเมล (บริการอีเมลของผู้รับ) รวมถึงวันเวลาที่ส่ง
    • Return-Path: คือส่วนที่แสดงแอดเดรสที่ส่งอีเมลมา
    • Message-ID: คือส่วนที่แสดงหมายเลขเฉพาะของข้อความนั้นๆ เพื่อใช้ระบุตัวข้อความดังกล่าว
    • From, Subject, To: คือส่วนที่แสดงข้อมูลที่ระบุโดยผู้ส่ง ซึ่งประกอบด้วยชื่อผู้ส่ง หัวเรื่อง และชื่อผู้รับ
    โฆษณา


คำเตือน

  • อย่าเปิดอ่านอีเมลที่ไม่มีแหล่งที่มาชัดเจน รวมทั้งไฟล์ที่แนบมาด้วย เพราะมันอาจมีไวรัสที่สร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ได้
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,512 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา