ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
การรู้ว่าผู้อื่นคิดอะไรอยู่นั้นมีประโยชน์มากในการพบปะ สนทนา และปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่เราจะอ่านใจเขาได้อย่างไร ในเมื่อความคิดของผู้อื่นถูกเก็บไว้ในหัวของเขาและเราก็มองไม่เห็นความคิดของเขาด้วย ความจริงแล้วมีวิธีการต่างๆ มากมายที่ช่วยให้เราอ่านใจเขาได้อยู่ เราสามารถคาดเดาจากความรู้และประสบการณ์ได้จริงๆ ว่าผู้อื่นรู้สึกอย่างไรด้วยการสังเกตและการเปิดใจรับฟังความคิดเห็น บทความนี้จะแสดงให้เห็นวิธีการอ่านใจคนโดยใช้แนวทางที่ให้ไว้อย่างครบถ้วนด้านล่างนี้
ขั้นตอน
-
การอ่านใจคือการนำสิ่งบ่งชี้มาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันเพื่อทำความเข้าใจว่าผู้อื่นคิดอะไรอยู่. การอ่านใจไม่ใช่การใช้โทรจิต หรือใช้อำนาจเหนือธรรมชาติบางอย่างเพื่ออ่านความคิดที่แท้จริงของผู้อื่นอย่างแน่นอน แต่คือการมีสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า “ความแม่นยำในการอนุมานความรู้สึกและความคิดของผู้อื่น” ที่ทำให้เรารู้ว่าผู้อื่นรู้สึกอย่างไร [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- สิ่งบ่งชี้อาจมาจากภาษากายของอีกฝ่าย ภูมิหลังของเขา การเอาใจใส่รายละเอียด และรูปแบบการพูดถึงสิ่งต่างๆ ของอีกฝ่าย เช่น อีกฝ่ายอาจกอดอกเมื่อโกรธหรืออารมณ์เสีย
- นักวิทยาศาสตร์เรียกทักษะที่ทำให้ผู้คนเข้าใจจิตใจของผู้อื่นได้ดีว่า “แรงจูงใจในการอ่านใจ” [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น คนที่มีแรงจูงใจในการอ่านใจสูงอาจรู้ว่าเพื่อนร่วมงานวิตกกังวลเพราะเห็นเขาเอาแต่เคาะนิ้วอยู่ตลอด
-
การอ่านใจยังเป็น “การทำความเข้าใจจิตใจของผู้อื่น". ที่จริงแล้วเราทำความเข้าใจจิตใจของผู้อื่นตลอดเวลา เราอาจลองอ่านใจผู้อื่นอย่างน้อยวันละสองสามครั้งว่าเขาคิดอะไรอยู่ เราอาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ากำลังทำแบบนี้อยู่ การทำความเข้าใจจิตใจของผู้อื่นสามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ตอนที่เรากำลังคิดถึงบางสิ่งที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ความสามารถในการอ่านใจและเข้าใจสภาพทางอารมณ์ของผู้อื่นเป็นทักษะที่มีประโยชน์มากในการทำงาน การเรียน และการดำเนินชีวิตส่วนตัว
- ใครที่ทำงานในด้านซึ่งต้องอาศัยการเข้าใจจิตใจของผู้อื่นเป็นอย่างดีอย่างเช่น นักการทูต บุคลากรทางการแพทย์ หรือนักธุรกิจ จะได้รับประโยชน์มากมายจากการฝึกทักษะการอ่านใจจนเชี่ยวชาญ
- ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมักจะอ่านใจเก่งกว่าผู้ชาย [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คนที่เป็นโรคออทิซึมอาจทำความเข้าใจจิตใจของผู้อื่นได้ยาก คนที่เป็นโรคออทิซึมจำนวนมากมีกลยุทธ์อย่างเช่นการฝึกสนทนาล่วงหน้าเพื่อลดความยากลำบากในการทำความเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
การอ่านใจไม่ใช่ศาสตร์ที่แม่นยำ ฉะนั้นต้องระวังด้วย. อย่าคิดว่าการอ่านใจจะทำให้เรารู้ว่าผู้อื่นคิดอะไรหรือรู้สึกอย่างไรได้แม่นยำ 100% เพราะการอ่านใจต้องใช้การคาดเดาจากความรู้และประสบการณ์ ฉะนั้นมีโอกาสที่เราจะเดาผิดได้ [6] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Greater Good Magazine ไปที่แหล่งข้อมูล
- อย่าลืมว่าผู้อื่นเป็นคนที่รู้ความรู้สึกของตนเองดีที่สุด ฉะนั้นอย่าคิดว่าเรารู้จักอีกฝ่ายดีกว่าตัวของเขาเอง
โฆษณา
-
ตั้งใจฟังทั้งตอนที่ผู้อื่นพูดและเงียบ. เมื่อใครสักคนกำลังพูดกับเราอยู่ ถามตัวเองสิว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่อีกฝ่ายต้องการจะสื่อสารคืออะไร ใช้ทักษะการฟังเชิงรุกซึ่งก็คืออย่าพูดแทรก ให้ตั้งใจฟัง ถาม ให้เวลาคู่สนทนาตอบ และฟังต่อไปอีก [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การสนทนาเชิงลึกไม่ใช่เพียงวิธีเดียวที่จะทำความเข้าใจผู้อื่น การพูดคุยแบบเล็กๆ น้อยๆ จะทำให้เรามีโอกาสเห็นว่าโดยปกติและตอนอยู่ในภาวะผ่อนคลายอีกฝ่ายทำตัวอย่างไร
- ตัวอย่างเช่น เพื่อนดูร่าเริงและช่างพูดเวลาพูดคุยเรื่องลมฟ้าอากาศ แต่พอถามเขาว่าครอบครัวเป็นอย่างไรบ้าง อีกฝ่ายกลับใช้เวลานานกว่าจะตอบและคำตอบที่ได้ก็คลุมเครือ แสดงว่าเรื่องครอบครัวเป็นหัวข้อสนทนาที่พูดได้ยากลำบากสำหรับเขา
- สมมติเราถามเพื่อนว่า “น้องสาวเป็นยังไงบ้าง” และพบกับความเงียบชั่วขณะหนึ่งก่อนเขาบอกว่า “ฉันคิดว่าเธอสบายดีนะ”
- ในตัวอย่างนี้เพื่อนของเราอาจมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับน้องสาวก็เป็นได้ เนื่องจากเพื่อนใช้คำว่า “ฉันคิดว่า” ก่อนจะตอบว่า “เธอสบายดีนะ”
-
สังเกตภาษากาย. การอ่านภาษากายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำความเข้าใจจิตใจของผู้อื่น แต่อาจต้องได้รับการฝึกฝนเสียหน่อยถึงจะรู้ได้ ภาษากายสามารถเปิดเผยสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับผู้คนที่เขาไม่ต้องการบอกหรือที่เขาอาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำได้ ถ้าใครพูดว่า “ใช่” แต่ภาษากายของเขาบอกว่า “ไม่” นี่อาจเป็นการเตือนเราว่ามีบางอย่างผิดปกติ [8] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล มีหนังสือหลายเล่มที่เขียนเกี่ยวกับภาษากายโดยเฉพาะ แต่ในการเริ่มต้นสังเกตภาษากาย สิ่งที่เราควรมองมีดังต่อไปนี้:
- ดวงตา : เมื่อผู้คนพบบางสิ่งที่ทำให้เขากระวนกระวาย เมื่อต้องทำการตัดสินใจเลือกที่ยากลำบาก หรือเมื่อกำลังมีความรู้สึกที่รุนแรง รูม่านตามักจะใหญ่ขึ้น [9] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
- ท่าทาง : คนที่เรากำลังคุยด้วยนั้นดูแข็งกระด้าง เคร่งเครียด หรือผ่อนคลาย ท่าทางสามารถบ่งบอกได้ว่าอีกฝ่ายเครียดมากแค่ไหน [10] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล
- สีหน้า : รอยยิ้มที่แท้จริงไม่ได้ใช้แค่ริมฝีปากเท่านั้น ถ้าใครกำลังยิ้มอยู่จริงๆ เราจะเห็นเส้นรอยยิ้มหรือรอยย่นเล็กๆ รอบดวงตา [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง คนที่ทำหน้าบึ้งอาจไม่พอใจหรือโกรธก็ได้
- ท่าทางมือ : คนที่ประหม่าอาจเล่นดินสอหรือวัตถุอื่นๆ ในมือไม่หยุด [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- น้ำเสียง : คนที่สบายใจโดยส่วนใหญ่มีน้ำเสียงที่ผ่อนคลาย อบอุ่น และมั่นใจ [13] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้าม น้ำเสียงของเขาก็อาจฟังดูหงุดหงิดหรือฉุนเฉียว
-
พิจารณาภูมิหลังของบุคคล. อายุ วัฒนธรรม และความเชื่อมีอิทธิพลสำคัญต่อสิ่งที่ผู้คนคิด ใช้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของผู้อื่นช่วยในการพิจารณาว่าเขาคิดอะไรอยู่ [14] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Edutopia ไปที่แหล่งข้อมูล
- ตัวอย่างเช่น หากกำลังนำเสนอข้อตกลงทางธุรกิจกับคนที่อายุมาก เขาอาจกังวลเรื่องความเสี่ยงมากกว่าคนที่อายุน้อย คนอายุน้อยจะเปิดรับความเสี่ยงมากกว่า [15] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
- บุคคลที่มาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมและให้ความสำคัญกับการอ่อนน้อมถ่อมตนอาจปฏิเสธที่จะโต้เถียง แม้เขาจะรู้สึกไม่พอใจก็ตาม [16] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Edutopia ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ใช้อารมณ์ร่วม. การรับรู้ทางประสาทสัมผัสหมายถึงการรับรู้ว่าร่างกายของเรารู้สึกอย่างไรกับโลกรอบตัวเรา การเห็นผู้อื่นเจ็บปวดหรือทุกข์สามารถทำให้ร่างกายหรือจิตใจเจ็บปวดหรือทุกข์ไปด้วยได้ [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าใครทำให้เรารู้สึกเศร้าใจหรือมีความสุขอย่างที่สุด ถือว่านี่เป็นสัญญาณให้รู้ว่าเขาอาจรู้สึกแบบนั้นอยู่ก็ได้ [18] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
สิ่งที่ผู้อื่นเขียน: อ่านสิ่งที่ผู้อื่นเขียน เช่น ข้อความ หรืออีเมลเพื่อจะได้รู้ว่าเขาชอบเรื่องอะไรมากที่สุด ถ้าผู้อื่นได้เขียนบล็อกหรือมีงานเขียนที่สาธารณะชนเข้าไปอ่านได้ ให้ลองอ่านสิ่งที่เขาเขียนดู เมื่อพูดถึงเรื่องที่เขาชื่นชอบ น้ำเสียงและการเลือกใช้คำเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร [19] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น ถ้าคนที่เราสนใจเขียนบล็อกเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เขาก็น่าจะรู้สึกว่ามีบางสิ่งที่คล้ายกันกับเรา หากเราสนใจความชื่นชอบการผจญภัยของเขา
-
สิ่งที่ผู้คนโพสต์บนสื่อสังคม: การดูสิ่งที่ผู้คนโพสต์บนสื่อสังคมและน้ำเสียงที่เขาใช้ในโพสต์สามารถบ่งบอกให้เรารู้ความคิดและความรู้สึกของเขาที่มีต่อเรื่องต่างๆ ได้ เราอาจบอกได้ด้วยซ้ำว่าบุคลิกลักษณะของผู้อื่นเป็นอย่างไรผ่านทางสื่อสังคม บุคคลที่มีลักษณะเก็บตัวมักจะใช้คำที่เน้นตนเองอย่างเช่น “ฉัน” บุคคลที่มีลักษณะเปิดเผยมักจะใช้คำที่สะท้อนถึงกิจกรรมทางสังคมอย่างเช่น “รัก” “กลางคืน” หรือ “งานสังสรรค์” [20] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าอยากรู้จักกรอบความคิดของใครสักคนให้มากขึ้นผ่านทางสื่อสังคม ลองดูสิว่าเขาติดตามเพจอะไรบ้างเพื่อจะได้รู้สิ่งที่เขาสนใจ
-
ความคิดเห็นของเพื่อนสนิทและคนในครอบครัว: ฟังความคิดเห็นของเพื่อนสนิทและคนในครอบครัว เพราะผู้คนที่สนิทกับคนที่เราต้องการทำความเข้าใจให้ดีนั้นมักจะรู้ดีถึงสิ่งที่เขาชอบและสิ่งที่เขาไม่ชอบ รวมทั้งเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไรในสถานการณ์ต่างๆ ลองถามเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวของคนที่เราสนใจว่าเขามีความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างไร [21] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Association for Psychological Science ไปที่แหล่งข้อมูล
- ตัวอย่างเช่น ถ้าอยากรู้ว่าผู้อื่นชอบกินอะไรมากเป็นพิเศษ ลองถามพี่น้องของเขาก็ได้เช่นว่า “เวลาไปกินอาหารที่ร้านโปรด พี่สาวของเธอชอบสั่งเมนูไหนเป็นพิเศษ”
-
สไตล์การแต่งตัวส่วนบุคคลและรูปลักษณ์ภายนอก: ดูสไตล์การแต่งตัวส่วนบุคคลและรูปลักษณ์ภายนอก ตัวอย่างเช่น คนที่สวมเสื้อโค้ทขนสัตว์ก็ไม่น่าจะใช่นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสัตว์ อย่าลืมว่าการทำความเข้าใจผู้อื่นโดยดูจากรูปลักษณ์ภายนอกมีข้อจำกัดอยู่ ชุดเครื่องแบบบอกให้เรารู้ว่าผู้อื่นทำงานที่ไหนมากกว่าบอกว่าเขาเป็นใคร [22] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
- ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้อื่นย้อมสีผมแปลกๆ และแต่งกายโฉบเฉี่ยว เขาอาจจะมีความคิดเห็นที่แหวกแนวหรือเปิดกว้างเกี่ยวกับประเด็นสังคม
โฆษณา
-
วางอคติและคำตัดสินของตนเองเอาไว้ก่อน. เมื่อกำลังพิจารณาว่าผู้อื่นรู้สึกอย่างไร พยายามเปิดใจให้กว้าง อย่าลืมว่าแค่เพราะเราแสดงปฏิกิริยาแบบใดแบบหนึ่งออกไป ไม่ได้หมายความว่าผู้อื่นจะทำแบบเดียวกัน [23] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น แค่เพราะเราแสดงอาการไม่พอใจ หากมีใครยกเลิกแผนในตอนสุดท้าย ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้อื่นจะแสดงอาการไม่พอใจด้วย
-
ฝึกการให้เหตุผลแบบอุปนัย. ขณะที่การให้เหตุผลแบบนิรนัยเริ่มจากการตั้งสมมติฐานและจากนั้นพยายามหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนสมมติฐานนั้น (“เขาโมโห ก็เลยมองพื้น”) การให้เหตุผลแบบอุปนัยทำตรงข้ามโดยสิ้นเชิง (“เขามองพื้นอยู่ แสดงว่าเขากำลังโมโห”) กุญแจสู่การอ่านใจคือการรวบรวมหลักฐานก่อนที่เราจะตัดสินว่าผู้อื่นรู้สึกอย่างไร ไม่ใช่ทำตรงกันข้าม [24] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมมักจะพยายามใช้การให้เหตุผลแบบนิรนัยแทนการให้เหตุผลแบบอุปนัย ถ้าคิดว่าผู้คนกำลังตัดสินเราในทางลบและพยายามหาทางพิสูจน์ความคิดนี้ แสดงว่าเราไม่ได้อ่านใจผู้อื่น แต่เป็นเพียงแค่ความวิตกกังวลของเราเท่านั้น [25] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ถามออกไปตรงๆ. ถึงแม้จะไม่ใช่การอ่านใจ แต่วิธีการทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นที่ดีที่สุดคือการพูดคุยกับเขาโดยตรง ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการเอาใจเขามาใส่ใจเราที่จริงแล้วไม่แม่นยำอย่างที่เราคิด สงสัยเรื่องอะไร ให้ถามออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด [26] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Greater Good Magazine ไปที่แหล่งข้อมูล
- ตัวอย่างเช่น “เธอดูประหม่านิดหน่อยนะ หรือฉันอาจเข้าใจผิดไปก็ได้ เธอรู้สึกยังไงบ้าง”
- “ผมรู้สึกว่าคุณสนุกเวลาที่เราอยู่ด้วยกัน หรือว่าผมคิดไปเอง ตอนออกไปกินอาหารเย็นด้วยกัน คุณรู้สึกยังไงบ้าง”
โฆษณา
เคล็ดลับ
- ในอนาคตอันใกล้อาจมีโปรแกรมที่สามารถอ่านรูปแบบความคิดโดยใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ได้ ถ้าสนใจเรื่องการอ่านใจจริงๆ อาจลองพิจารณาอาชีพด้านประสาทวิทยาศาสตร์ดูก็ได้ [27] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Nature ไปที่แหล่งข้อมูล
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.psychhelp.com.au/can-a-psychologist-read-your-mind/
- ↑ https://indianexpress.com/article/lifestyle/workplace/heres-how-mind-reading-at-workplace-can-benefit-you-2832530/
- ↑ https://discovery.ucl.ac.uk/id/eprint/1430329/7/Fonagy_chapter1_draft_pfrevised_protected.pdf
- ↑ https://www.bath.ac.uk/announcements/women-better-at-reading-minds-than-men-new-study/
- ↑ https://www.neurologyadvisor.com/topics/autism-spectrum-disorder/the-consequences-of-compensation-in-autism/
- ↑ https://greatergood.berkeley.edu/article/item/how_putting_yourself_in_someone_elses_shoes_may_backfire
- ↑ https://www.usip.org/public-education-new/what-active-listening
- ↑ https://www.helpguide.org/articles/relationships-communication/nonverbal-communication.htm
- ↑ https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28072452/
- ↑ https://www.helpguide.org/articles/relationships-communication/nonverbal-communication.htm
- ↑ https://www.nbcnews.com/healthmain/how-spot-fake-smile-its-all-eyes-1c9386917
- ↑ https://essay.utwente.nl/72853/1/Thesis_%20Bianca_%20Ciuffani_s1108905.pdf
- ↑ https://www.helpguide.org/articles/relationships-communication/nonverbal-communication.htm
- ↑ https://www.edutopia.org/discussion/being-mindful-cultural-differences
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3840427/
- ↑ https://www.edutopia.org/discussion/being-mindful-cultural-differences
- ↑ https://www.scientificamerican.com/article/how-you-feel-what-another-body-feels/
- ↑ https://lesley.edu/article/the-psychology-of-emotional-and-cognitive-empathy#
- ↑ https://www.umgc.edu/current-students/learning-resources/writing-center/online-guide-to-writing/tutorial/chapter3/ch3-21.html
- ↑ https://www.psychologytoday.com/us/blog/close-encounters/202009/what-can-we-learn-about-people-their-social-media
- ↑ https://www.psychologicalscience.org/news/releases/how-well-do-you-know-your-friends.html
- ↑ https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34566800/
- ↑ https://www.mequilibrium.com/resources/secrets-of-communication-from-a-professional-mind-reader/
- ↑ https://iep.utm.edu/deductive-inductive-arguments/
- ↑ https://www.healthyplace.com/blogs/anxiety-schmanxiety/2015/12/social-anxietys-minions-mind-reading-and-projecting
- ↑ https://greatergood.berkeley.edu/article/item/how_putting_yourself_in_someone_elses_shoes_may_backfire
- ↑ https://www.nature.com/articles/502428a
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,960 ครั้ง
โฆษณา