ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทิวลิป เป็นหนึ่งในดอกไม้แสนสวยที่หลายคนชมชอบ ซึ่งจะบานเต็มที่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ส่วนใหญ่ทิวลิปจะงามที่สุดก็ต่อเมื่อหัวอยู่ในดินครบปี แต่ถ้าเป็นบ้านเรา อากาศอาจจะไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่ ถ้าได้หัวพันธุ์ทิวลิปมาช่วงฤดูใบไม้ผลิ ในขณะที่หน้าหนาวก็ไม่หนาวเท่าไหร่แบบบ้านเรา ก็ต้องเก็บรักษาหัวพันธุ์ทิวลิปไว้ให้ดี จนกว่าจะได้ฤกษ์ปลูกในปีถัดไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ตัดดอกทิวลิป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัดก้านแยกหัวด้วยกรรไกรตัดกิ่งหลังทิวลิปตาย. พอดอกไม้ร่วงไปแล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดกิ่ง ตัดก้านแยกออกจากส่วนหัวของทิวลิป เพื่อป้องกันไม่ให้หัวทิวลิปเสียพลังงานมากกว่าที่ควร โดยตัดใกล้ฐานดอกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ [1]
    • ไม่ต้องตัดใบออก เพราะช่วยรักษาพลังงานไปได้ถึงปีหน้า
  2. พอผ่านช่วงผลิบานไปแล้ว ใบของทิวลิปจะอยู่ได้อีกประมาณ 6 อาทิตย์แล้วเริ่มเหี่ยวเหลืองตายไป เป็นช่วงที่หัวทิวลิปรวบรวมพลังงานที่จำเป็นจากแสงแดด เพื่อที่จะบานใหม่ในฤดูใบไม้ผลิถัดไป พอใบตายไปหมดแล้ว ก็ขุดหัวขึ้นมาจากดินหรือกระถางได้เลย [2]
    • ห้ามรดน้ำหัวทิวลิปเยอะไปตอนใบแห้งเหี่ยว ถ้าฝนตกเองบ้างก็ไม่เป็นไร แต่อย่ารดเพิ่มให้ดินแฉะ เพราะหัวทิวลิปจะเริ่มเน่า
    • ใช้เสียมพรวนดินรอบหัวทิวลิปให้ร่วนซุย แล้วดึงหัวทิวลิปออกมาจากดิน [3]
  3. ถึงตอนนี้ใบจะเหี่ยวตายไปหมดแล้ว ใช้มือเด็ดทิ้งได้เลย ถ้าเด็ดยากก็ให้ตัดออกทั้งรากและใบด้วยกรรไกรตัดกิ่งหรือกรรไกรคมๆ ให้ตัดใกล้หัวทิวลิปที่สุด เท่าที่ไม่ทำให้หัวเสียหาย [4]
  4. ใช้ทิชชู่แห้งๆ เช็ดทำความสะอาดผิวนอกของหัวทิวลิป ไม่ให้มีทั้งดินและหนอนติดไป แบบนี้จะทำให้หัวทิวลิปแห้งเร็วขึ้นด้วย [5]
    • ชั้นนอกสุดของหัวทิวลิปอาจจะใกล้ตาย ถ้าเป็นสีน้ำตาล หรือท่าทางจะเน่า ให้เช็ดด้วยทิชชู่เบาๆ จนสะอาด
  5. ตากหัวทิวลิปไว้ในถาด 2 วันในบริเวณที่อากาศแห้งและเย็น. ให้เก็บหัวทิวลิปไว้ในที่แห้ง 2 วัน อย่าให้โดนแดด แนะนำให้วางถาดไว้ในโรงรถหรือที่ร่มนอกบ้านจะดีที่สุด [6]
    • ถ้าเก็บหัวทิวลิปตากแดดหรือไว้ในที่ชื้นๆ ระวังหัวทิวลิปจะกักความชื้นไว้จนเน่าได้
  6. ถ้าหัวทิวลิปคล้ำเข้มหรือเป็นโรคพืช ให้ทิ้งไป. คัดเลือกหัวทิวลิปที่เก็บมา ว่าหัวไหนสีคล้ำใกล้เน่าหรือเป็นโรคพืช ให้ทิ้งไป เพราะหัวพันธุ์ทิวลิปต้องแข็งเต่ง ไม่นิ่มเละหรือเหี่ยว [7]
    • คุณใช้มีดเฉือนจุดเน่าเล็กๆ ออกได้ โดยฆ่าเชื้อมีดด้วยน้ำยาที่ใช้ในบ้านก่อน เช่น น้ำยาฟอกขาวเจือจาง แอลกอฮอล์ล้างแผล หรือน้ำส้มสายชูกลั่นขาว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เก็บรักษาหัวทิวลิปให้ถูกวิธี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ห่อแต่ละหัวแยกกัน โดยใช้หนังสือพิมพ์แผ่นเล็กๆ หนังสือพิมพ์จะช่วยกักความชื้นไว้ รวมถึงปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมสำหรับหัวทิวลิป [8]
    • จะเก็บหัวทิวลิปโดยห่อด้วยพีทมอส (sphagnum moss) หรือขี้เลื่อยก็ได้เหมือนกัน [9]
  2. ถุงตาข่ายจะช่วยให้อากาศถ่ายเทระหว่างเก็บหัวทิวลิป จะใช้ตาข่ายใส่หอมแดงที่มีก็ได้ ไม่ต้องซื้อถุงตาข่ายใบใหม่ [10]
    • หรือเก็บหัวทิวลิปในถุงกระดาษหรือลังกระดาษก็ได้ ให้พ้นจากแสงแดด
  3. เก็บหัวทิวลิปไว้ในที่มืดและแห้งได้นาน 12 อาทิตย์. ถ้าเก็บไว้ในโรงรถหรือห้องเก็บไวน์ได้จะดีที่สุด ขอแค่อุณหภูมิไม่ลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จุดสำคัญคือต้องเก็บหัวทิวลิปให้พ้นจากแสง ไม่งั้นจะเริ่มงอกก่อนเวลาอันควร [11]
  4. ถ้าเป็นเมืองร้อน ให้เก็บหัวทิวลิปในลิ้นชักแช่ผักของตู้เย็น. ถ้าปกติอุณหภูมิจะไม่ลดต่ำกว่า 10°C (50°F) ก็อาจจะต้องแช่หัวทิวลิปในตู้เย็น โดยเก็บหัวทิวลิปในลิ้นชักแช่ผัก เพื่อให้พ้นจากแสงไฟในตู้เย็น [12]
    • ห้ามแช่หัวทิวลิปรวมกับแอปเปิ้ลหรือผลไม้อื่นๆ เพราะจะปล่อยแก๊ส ethylene ที่อันตรายต่อดอกในหัวทิวลิป
  5. เช็คทุก 2 อาทิตย์ ว่าหัวทิวลิปเหี่ยวหรือขึ้นราหรือเปล่า. ให้หมั่นสังเกตสภาพของหัวทิวลิประหว่างเก็บรักษาไว้ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือวัสดุที่ใช้เก็บเริ่มเน่าหรือขึ้นรา ให้รีบทิ้งไปแล้วเปลี่ยนแผ่นหรือวัสดุชิ้นใหม่ทันที [13]
    • ถ้าหัวทิวลิปดูเหี่ยวย่นหรือหดเล็กลงกว่าเดิม ให้ฉีดพ่นละอองน้ำใส่เบาๆ
  6. ปลูกหัวพันธุ์ทิวลิปในฤดูใบไม้ร่วง ก่อนหิมะแรกจะมา. ปกติหัวพันธุ์ทิวลิปจะใช้เวลาปลูกประมาณ 6 - 8 อาทิตย์ก่อนหิมะแรก (หรือเข้าฤดูหนาวบ้านเรา) แต่จะปลูกช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิให้ทันบานก็ได้เหมือนกัน ถ้าเป็นเมืองนอกที่อากาศหนาวจัด เขาแนะนำให้ปลูกกันช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคม แต่ถ้าอากาศไม่หนาวเท่าไหร่ ให้ปลูกช่วงปลายกุมภาพันธ์ หรือต้นมีนาคม [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณเก็บหัวทิวลิปก่อนนำไปปลูกได้ประมาณ 6 - 12 อาทิตย์ แต่จะเก็บไว้ได้นานแค่ไหนก็แล้วแต่ดินฟ้าอากาศในแถบนั้นด้วย [15]
โฆษณา

คำเตือน

โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้
  • ทิชชู่หนาๆ
  • ถาด
  • หนังสือพิมพ์
  • ถุงตาข่าย
  • ตู้เย็น (ถ้าอยู่ในที่อากาศร้อน)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,440 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา