ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเขียนคำแนะนำบน LinkedIn ให้ใครสักคนเป็นวิธีการที่ดีในการแสดงออกว่าคุณสนับสนุนคนๆ นั้น การช่วยเหลือด้วยวิธีนี้อาจทำให้คน ๆ นั้นหางานได้และมีตัวแทนจัดหางานจากบริษัทต่างๆ เข้ามาติดต่อ คุณสามารถเขียนคำแนะนำให้คนอื่นได้ด้วยการไปที่หน้าแรกและหาประวัติส่วนตัวของคนๆ นั้น จากนั้นก็เขียนข้อมูลที่ระบุว่าคุณรู้จักคนๆ นั้นได้อย่างไรและทำไมคุณถึงมั่นใจว่าเขาหรือเธอจะเป็นลูกจ้างที่ดีได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เริ่มใช้งานเว็บไซต์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปที่เว็บเพจ https://www.linkedin.com/ หากคุณอยู่ในระบบแล้ว คุณก็จะเข้าสู่หน้าโฮมเพจได้ทันที แต่หากคุณยังไม่เข้าสู่ระบบของ LinkedIn ก็แค่พิมพ์อีเมลและรหัสตรงช่องว่างที่ด้านบนของเพจจากนั้นก็กด "เข้าสู่ระบบ" ได้เลย
  2. พิมพ์ชื่อของคนที่คุณอยากจะเขียนคำแนะนำให้ตรงแถบค้นหาด้านบนของเพจ จากนั้นก็คลิกชื่อที่ปรากฏขึ้นมาใต้แถบ แล้วคุณก็จะสามารถไปยังหน้าเพจที่คุณต้องการได้ [1]
  3. คลิกเลือกบริเวณจุดสามจุดด้านบนหน้าประวัติส่วนตัว. จุดสามจุดจะอยู่ตรงด้านขวาของรูปใกล้ๆ ด้านบนของเพจ เมื่อคลิกแล้วไอคอนจะแสดงแถบเมนูดิ่งลงมาซึ่งจะบอกให้คุณรู้ว่าจะเขียนคำแนะนำได้อย่างไร [2]
  4. ตัวเลือกนี้จะปรากฏอยู่ล่างสุดของแถบเมนูที่ดิ่งลงมา จากนั้นจะมีคำถามขึ้นมาว่า "คุณต้องการแนะนำใคร?" คุณก็เพียงแค่พิมพ์ชื่อคนที่คุณต้องการลงไป [3]
  5. คำสั่งอัตโนมัติจะนำคุณไปยังหน้าเขียนคำแนะนำซึ่งคุณจะต้องกรอกข้อมูลพื้นฐาน เช่น บอกว่าคุณรู้จักคนๆ นั้นได้อย่างไรและเคยทำงานด้วยกันที่ไหน จากนั้นกล่องข้อความสำหรับเขียนคำแนะนำก็จะปรากฏขึ้นมา [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เริ่มเขียนคำแนะนำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    คิดถึงเป้าหมายทางอาชีพของคนๆ นั้น. คนส่วนใหญ่มักมีทักษะหลากหลายซึ่งสามารถนำมาประยุกต์กับการทำงานได้หลายอย่าง คุณต้องลองนึกถึงเป้าหมายทางอาชีพของคนๆ นั้นดูเพื่อตีกรอบและหาทักษะที่คุณต้องการให้ความสำคัญ คนที่คุณอยากช่วยกำลังมองหางานประเภทไหน? คุณควรจะใส่ข้อมูลอะไรบ้างเพื่อช่วยให้คนๆ นั้นหางานที่ต้องการได้? [5]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเขียนคำแนะนำให้คนที่สนใจงานด้านการเขียนและบรรณาธิการและคุณรู้ดีกว่าเป้าหมายสำคัญของเขาหรือเธอคือการได้เป็นนักเขียนนิตยสาร ลองคิดดูว่าอาชีพนี้ต้องการทักษะเฉพาะทางอะไรขณะเขียนคำแนะนำ หากจะเขียนคำแนะนำให้คนที่อยากเป็นนักเขียนก็ลองเล่าถึงตอนที่คุณและคนๆ นั้นฝึกงานช่วงหน้าร้อนด้วยกันที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็ได้
  2. 2
    เขียนประโยคเริ่มต้นดีๆ. บรรดานายจ้างนั้นอ่านประวัติส่วนตัวและจดหมายสมัครงานวันละเป็นร้อยๆ ฉบับ ดังนั้น การเขียนเริ่มต้นแบบทั่วๆ ไป (เช่น "บิลเป็นคนขยันมาก") ไม่สะดุดตาชวนให้อ่านต่อหรอก คุณต้องพยายามคิดประโยคเริ่มต้นที่ดึงดูดความสนใจและแตกต่างจากคนอื่นเพื่อที่จะได้เตะตาผู้ว่าจ้างขณะไล่สายตาไปตามประวัติส่วนตัวมากมายได้ [6]
    • จำไว้ว่าคุณกำลังพยายามให้ผู้ว่างจ้างหยุดคิดว่า "นี่คือคนที่เหมาะกับงานนี้ที่สุด" ดังนั้น ลองคิดถึงสิ่งที่คุณชื่นชมเกี่ยวกับคนๆ นั้น และเล่าออกมาอย่างสร้างสรรค์นะ
    • ตัวอย่างเช่น อย่าบอกว่า "บิลเป็นนักเขียนที่ดี"​ แต่เขียนอะไรประมาณว่า "ไม่บ่อยนักหรอกที่คุณจะเจอคนที่เสียเวลาทั้งบ่ายเพื่อแต่งประโยคๆ เดียวให้ออกมาสละสลวยที่สุด แต่บิลคือคนๆ นั้นที่ทุ่มเทกับการสร้างงานเขียนให้ออกมามีคุณภาพที่สุดเสมอ"
  3. 3
    เขียนอธิบายความสัมพันธ์ของคุณกับคนๆ นั้น. หลังจากเขียนประโยคเริ่มต้นเสร็จแล้ว เขียนอธิบายต่อว่าคุณรู้จักกับคนๆ นั้นได้อย่างไร ผู้ว่าจ้างคงไม่ต้องการทราบเพียงแค่ว่าคุณกับคนๆ นั้นเป็นเพื่อนกันหรอก แต่เขาต้องการคนที่สามารถอธิบายถึงทักษะของคนๆ นั้นได้ต่างหากล่ะ [7]
    • ตัวอย่างเช่น เขียนอะไรประมาณว่า "ผมเป็นหัวหน้าของบิลตอนที่เขาทำหนังสือพิมพ์โรงเรียนในช่วงฤดูใบร่วงตอนที่เขาเรียนอยู่ชั้นปีสุดท้าย"​
  4. 4
    พูดถึงทักษะของคนๆ นั้น. เล่าออกมาให้เฉพาะเจาะจง หลังจากได้อธิบายทักษะโดยรวมไปแล้ว ลองเล่าอะไรเฉพาะเจาะจงถึงสิ่งที่คนๆ นั้นทำ ไล่เรียงทักษะเฉพาะทางของคนๆ นั้นออกมาและอธิบายว่าเขาหรือเธอได้แสดงทักษะเหล่านั้นอย่างไรตอนที่ทำงาน [8]
    • ตัวอย่างเช่น “นอกจากเป็นนักเขียนที่เกิดมาพร้อมพรสวรรค์แล้ว บิลยังเป็นคนมีความอดทน มุมานะ และมีจรรยาบรรณที่ช่วยให้เขาสร้างสรรค์งานเขียนที่เปี่ยมคุณภาพได้ เขาไม่เคยมีปัญหาในการทำงานให้ทันกำหนดและยังเป็นคนใส่ใจรายละเอียดในทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับงานอีกด้วย”​
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ลงท้ายคำแนะนำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    มุ่งความสำคัญไปยังคุณสมบัติที่โดดเด่นเพียงอย่างเดียว. หลังจากไล่เรียงคุณสมบัติทั่วๆ ไปแล้ว คุณควรลงท้ายด้วยการมุ่งเล่าถึงคุณสมบัติอันโดดเด่นเพียงอย่างเดียวของคนๆ นั้นเพื่อทำให้คำแนะนำดูเฉพาะเจาะจงขึ้น ผู้ว่าจ้างอาจจะรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไปหากคุณพยายามใส่คุณสมบัติทุกอย่างลงในคำแนะนำเดียว ดังนั้น ลองคิดถึงคุณสมบัติใดคุณสมบัติหนึ่งของคนๆ นั้นที่โดดเด่นกว่าสิ่งอื่น ลองนึกดูว่าคุณชื่นชมเขาหรือเธอในด้านใดมากที่สุด? [9]
    • ตัวอย่างเช่น "บิลเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์อันโดดเด่น เมื่อผมมอบหมายงานที่นักเรียนคนอื่นๆ อาจจะคิดว่าน่าเบื่อให้แก่เขา เขากลับถ่ายทอดเรื่องที่ควรน่าเบื่อให้ออกมาน่าสนใจได้ เขาสามารถเขียนข่าวเรื่องโรงจอดรถที่เพิ่งสร้างเสร็จให้น่าสนใจได้ไม่ต่างกับเขียนข่าวเรื่องการสืบสวนการทุจริตเงินบริจาคภายในมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว”
  2. 2
    เล่าเรื่องความสำเร็จที่เฉพาะเจาะจงของคนๆ นั้น. คนๆ นั้นมีความสำเร็จเฉพาะเจาะจงอะไรที่คุณพอจะเล่าได้บ้าง? ผู้ว่าจ้างมักจะสนใจคนที่มีความสำเร็จที่จับต้องได้เสมอ เช่น มีตัวเลขและสถิติยืนยัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่าคนๆ นั้นจะทำประโยชน์อะไรให้กับบริษัทได้บ้าง [10]
    • ตัวอย่างเช่น ลองเขียนอะไรประมาณว่า "ในขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่เขียนบทความเพียงหนึ่งบทความต่อสัปดาห์ บิลเขียนบทความถึงห้าบทความต่อสัปดาห์ ผมสังเกตเห็นว่าจำนวนผู้อ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นราว 20% ในวันที่ลงบทความที่บิลเขียน"​
  3. 3
    อธิบายว่าความสำเร็จต่างๆ แสดงให้เห็นว่าคนๆ นั้นเป็นคนเช่นไร. หลังจากพูดถึงความสำเร็จของคนๆ นั้นแล้ว ร้อยเรียงทุกอย่างเข้าด้วยกัน อธิบายว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าคนๆ นั้นเป็นคนเช่นไรเพื่อที่ผู้ว่าจ้างจะได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนว่าคนที่คุณแนะนำเป็นคนอย่างไรเวลาทำงาน [11]
    • ตัวอย่างเช่น เขียนไปว่า "ความสามารถในการทำงานเสร็จอย่างรวดเร็วโดยคงความมุ่งมั่นไว้ได้ รวมถึงความสามารถในการดึงดูดผู้อ่านล้วนเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นของบิลได้เป็นอย่างดี เวลาทำงาน บิลพร้อมที่จะทำงานหนักและทำงานเกินกว่าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในทุกๆ วัน"
  4. 4
    จบคำแนะนำด้วยการเล่าถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว. ก่อนจะจบคำแนะนำ ลองเล่าถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวของคุณและคนๆ นั้น เช่น เล่าถึงช่วงเวลาที่คุณได้ทำงานร่วมกันและเล่าถึงความคาดหวังของคุณที่มีต่ออนาคตของคนๆ นั้น [12]
    • ตัวอย่างเช่น เล่าอะไรประมาณว่า "ทุกคนที่สำนักพิมพ์คิดถึงบิลเสมอ แต่ผมก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นก้าวต่อไปของเขา ผมมั่นใจว่าชีวิตของเขายังก้าวหน้าได้อีกไกลและผมหวังจะได้เห็นเขาประสบความสำเร็จ"
  5. 5
    ตรวจทาน. ก่อนที่จะบันทึกคำแนะนำ ตรวจทานหลายๆ รอบก่อน คุณคงไม่อยากให้คำแนะนำดีๆ ต้องเสียไปเพราะมีคำที่พิมพ์ผิดหรอกใช่ไหม หากเป็นไปได้ เว้นช่วงไปสักชั่วโมงก่อนกลับมาอ่านคำแนะนำที่คุณเขียน การพักสายตาไปสักพักจะช่วยให้คุณเห็นคำที่สะกดผิดได้ง่ายขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วิธีการที่ดีที่สุดในการได้รับคำแนะนำคือการเริ่มเขียนคำแนะนำให้เพื่อนร่วมงานในปัจจุบันหรือในอดีตของคุณก่อน โดยทั่วไปแล้วคนอื่นๆ มักจะเต็มใจช่วยเขียนคำแนะนำกลับมาให้หากคุณเป็นฝ่ายเริ่มเขียนให้ก่อน ส่งอีเมล์ไปหาเพื่อนร่วมงานของคุณเพื่อบอกว่าคุณอยากจะเขียนคำแนะนำบน LinkedIn ให้กับเขา โอกาสที่อีกฝ่ายจะปฏิเสธคุณนั้นน้อยมาก พวกเขาอาจจะแค่มีลักษณะสายงานหรือทักษะที่อยากให้คุณช่วยเน้นในคำแนะนำให้ในใจอยู่แล้วก็ได้
  • อย่ามองข้ามเพื่อนหรือคนในครอบครัว คำแนะนำจากบุคคลที่คุ้นเคยกันดีก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันนะ จริงๆ แล้ว คำแนะนำจากคนสนิทอาจจะสำคัญกว่าด้วยซ้ำเพราะคำแนะนำที่เขียนขึ้นจากมุมมองของคนที่รู้จักกันมานานเป็นสิบๆ ปีย่อมมีน้ำหนักมากกว่าคนที่รู้จักกันผิวเผินผ่านการทำโครงการธุรกิจด้วยกัน (เช่น คุณอาจจะเขียนคำแนะนำโดยให้ความสำคัญแต่กับคุณสมบัติด้านการทำงานที่ผู้ว่าจ้างต้องการเท่านั้น)
  • LinkedIn จัดเรียงรายชื่อคนที่ถูกค้นหาโดยอ้างอิงจากจำนวนคำแนะนำและ "คำสำคัญ" ในบริบทนั้นๆ ดังนั้น คุณต้องเลือกใช้คำสำคัญที่สะท้อนถึงเป้าหมายการทำงานในอนาคตที่เพื่อนร่วมงานของคุณมองเอาไว้ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะทราบแน่นอนว่าควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดและควรเขียนอะไรลงไปบ้างก็คือการถามเพื่อนร่วมงานของคุณไปตรงๆ เลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,096 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา