ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเขียนนิทานสำหรับเด็กอาศัยจินตนาการที่แจ่มชัดและความสามารถในการสวมความเป็นเด็กในตัวคุณ คุณอาจจะต้องเขียนนิทานสำหรับเด็กเพื่อส่งเป็นการบ้านหรือคุณอาจจะตัดสินใจเขียนนิทานในฐานะโปรเจ็กต์ส่วนตัว ในการเขียนนิทานสำหรับเด็กนั้น ให้เริ่มจากการระดมแนวคิดที่ดึงดูดใจเด็ก จากนั้นเขียนเรื่องราวที่มีการเปิดเรื่องที่น่าสนใจ มีพัฒนาการด้านเนื้อเรื่อง และมีคติสอนใจ นอกจากนี้คุณยังต้องขัดเกลานิทานหลังจากเขียนเสร็จแล้วเพื่อให้ถูกใจบรรดานักอ่านตัวจิ๋วของคุณด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เริ่มเขียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นิทานสำหรับเด็กมักจะเขียนโดยมีกลุ่มอายุของเด็กที่เจาะจงอยู่ในใจ คุณอาจจะเขียนนิทานสำหรับเด็กวัยเตาะแตะหรือเด็กที่โตกว่านั้น กำหนดกลุ่มอายุว่าคุณเขียนนิทานสำหรับเด็ก 2-4 ขวบ 4-7 ขวบ หรือ 8-10 ขวบ ภาษา น้ำเสียง และสไตล์ของนิทานจะแตกต่างไปตามกลุ่มอายุของเด็กที่กำหนดไว้ [1]
    • เช่น ถ้าคุณเขียนนิทานสำหรับเด็กช่วงวัย 2-4 ขวบหรือ 4-7 ขวบ คุณควรใช้ภาษาเรียบง่ายและประโยคสั้นมากๆ
    • ถ้าคุณเขียนนิทานสำหรับเด็กช่วงอายุ 8-10 ขวบ คุณสามารถใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้นเล็กน้อยและประโยคที่ยาวกกว่า 4-5 คำได้
  2. คิดถึงความทรงจำวัยเยาว์ที่น่าตื่นเต้น แปลก หรือมหัศจรรย์หน่อยๆ ใช้ความทรงจำเหล่านั้นเป็นพื้นฐานของนิทานสำหรับเด็ก
    • เช่น คุณอาจจะมีวันอันแปลกประหลาดตอนป. 3 ที่คุณสามารถนำไปเขียนเป็นเรื่องราวสนุกๆ ได้ หรือคุณอาจจะเคยไปต่างประเทศตอนคุณเด็กมากๆ และมีเรื่องราวจากการไปเที่ยวครั้งนั้นที่เด็กๆ น่าจะชอบ
  3. พูดถึงสิ่งธรรมดาๆ แล้วทำให้มันกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์. เลือกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ประจำวันแล้วเพิ่มความแปลกเข้าไปในเหตุการณ์นั้น เพิ่มความมหัศจรรย์ด้วยการเพิ่มองค์ประกอบแปลกๆ เข้าไป ใช้จินตนาการของคุณมองเหตุการณ์นั้นจากมุมมองของเด็ก [2]
    • เช่น คุณอาจจะเลือกเหตุการณ์ธรรมดาๆ อย่างการไปหาหมอฟันแล้วทำให้เหตุการณ์นั้นมหัศจรรย์ขึ้นด้วยการให้เครื่องมือที่หมอฟันใช้เกิดมีชีวิตขึ้นมา หรือคุณอาจจะใช้ประสบการณ์การไปมหาสมุทรครั้งแรกของเด็กคนหนึ่งแล้วทำให้เหตุการณ์นั้นมหัศจรรย์ขึ้นด้วยการให้เด็กลงลึกไปใต้มหาสมุทร
  4. การมีประเด็นหลักของเรื่องจะช่วยให้คุณต่อยอดแนวคิดต่างๆ ออกมาได้ เน้นไปที่ประเด็นอย่างความรัก การสูญเสีย ตัวตน หรือมิตรภาพจากมุมมองของเด็ก ลองคิดดูว่าเด็กมองประเด็นนั้นอย่างไรแล้วลองสำรวจประเด็นนั้น [3]
    • เช่น คุณอาจจะสำรวจประเด็นมิตรภาพด้วยการเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กผู้หญิงกับเต่าที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเธอ
  5. บางครั้งนิทานสำหรับเด็กก็อาศัยตัวละครหลักที่เด็กเข้าถึงได้และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลองนึกถึงประเภทของตัวละครที่ไม่ค่อยปรากฏในนิทานสำหรับเด็ก แล้วทำให้ตัวละครนั้นโดดเด่นด้วยการใช้คุณสมบัติของเด็กและผู้ใหญ่ในชีวิตจริงที่คุณคิดว่าน่าสนใจ [4]
    • เช่น คุณอาจจะสังเกตว่าไม่ค่อยมีนิทานสำหรับเด็กเรื่องไหนที่มีเด็กผู้หญิงพิการเป็นตัวละครหลัก คุณอาจจะสร้างตัวละครเพื่อเติมเต็มส่วนที่หายไปนี้
  6. สร้างตัวละครหลักให้มีลักษณะพิเศษสัก 1-2 อย่าง. สร้างตัวละครหลักให้จับใจผู้อ่านด้วยการสร้างลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ทรงผมแบบใดแบบหนึ่ง ชุดเดรสที่มีสไตล์เป็นเอกลักษณ์ หรือท่าเดินที่ไม่เหมือนใคร หรือคุณอาจจะให้ตัวละครหลักมีลักษณะบุคลิกที่เป็นคนจิตใจดี รักการผจญภัย หรือมีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก [5]
    • เช่น คุณอาจจะให้ตัวละครหลักไว้ผมเปียยาวอยู่เสมอและรักเต่าเป็นชีวิตจิตใจ หรือคุณอาจจะให้ตัวละครหลักมีรอยแผลพิเศษบนมือจากตอนที่เธอตกต้นไม้ก็ได้
  7. ร่างโครงเรื่องออกมาเป็น 6 ส่วน เริ่มจากคำอธิบายหรือคำบรรยาย ในการบรรยายให้คุณแนะนำฉากท้องเรื่อง ตัวละครหลัก และปมขัดแย้ง เริ่มจากชื่อตัวละครหลัก จากนั้นอธิบายสถานที่หรือที่ตั้งของเรื่อง จากนั้นค่อยร่างความปรารถนาหรือเป้าหมายของตัวละคร รวมถึงอุปสรรคหรือปัญหาที่พวกเขาต้องรับมือ [6]
    • เช่น คุณอาจจะบรรยายว่า เด็กผู้หญิงคนหนึ่งชื่อเฟื่องฟ้าที่อยากได้สัตว์เลี้ยงไปพบเต่าในทะเลสาบข้างบ้านของเธอ
  8. เหตุการณ์เร่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือการตัดสินใจที่เปลี่ยนหรือท้าทายตัวละครหลัก เหตุการณ์หรือการตัดสินใจนั้นอาจจะมาจากอีกตัวละครหนึ่ง หรืออาจจะมาจากสถาบัน เช่น โรงเรียนหรืองาน หรืออาจจะมาจากธรรมชาติ เช่น พายุหรือพายุทอร์นาโด
    • เช่น คุณอาจจะเขียนเหตุการณ์เร่งเร้าไปว่า แม่ของเฟื่องฟ้าบอกว่าเธอเลี้ยงสัตว์ไม่ได้เพราะว่าต้องอาศัยความรับผิดชอบมากเกินไป
  9. การขมวดปมคือการที่คุณพัฒนาตัวละครหลักและสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักกับตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง แสดงให้ผู้อ่านเห็นการดำเนินชีวิตของตัวละครท่ามกลางเหตุการณ์เร่งเร้า อธิบายว่าพวกเขารับมือหรือปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์เร่งเร้าอย่างไร
    • เช่น คุณอาจจะเพิ่มการขมวดปมไปว่า เฟื่องฟ้าจับเต่าแล้วเอาไปซ่อนไว้ในกระเป๋าเป้ แอบพกเต่าไปไหนมาไหนด้วยทุกที่เพื่อไม่ให้แม่รู้
  10. จุดสำคัญสูงสุดของเหตุการณ์เป็นจุดสูงสุดของเรื่อง เป็นจุดที่ตัวละครหลักต้องตัดสินใจหรือเกิดการเลือกครั้งใหญ่ ซึ่งควรจะกระชากอารมณ์และเป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นที่สุดของเรื่อง
    • เช่น คุณอาจจะให้จุดสำคัญของเรื่องเป็นตอนที่แม่ของเฟื่องฟ้าเจอเต่าในกระเป๋าของเธอและห้ามไม่ให้เธอเลี้ยงเต่า
  11. ภาวะคลี่คลายคือจุดที่ตัวละครหลักรับมือกับผลที่เกิดจากการเลือก พวกเขาอาจจะต้องชดเชยหรือตัดสินใจ โดยที่ตัวละครนี้อาจจะร่วมมือกับตัวละครอื่นในส่วนนี้ของเนื้อเรื่องก็ได้
    • เช่น ภาวะคลี่คลายของคุณอาจจะเป็นแบบนี้ เฟื่องฟ้าทะเลาะกับแม่แล้วเต่าก็หนีไป จากนั้นเฟื่องฟ้ากับแม่ก็ออกตามหาเต่าเมื่อพวกเขารู้ว่ามันหายไป
  12. การแก้ปมจะเป็นตัวขมวดเรื่อง บอกให้ผู้อ่านรู้ว่าตัวละครหลักประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการไปถึงเป้าหมาย ตัวละครหลักอาจจะได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือเขาอาจจะต้องลดเป้าหมายของตัวเองก็ได้
    • เช่น การแก้ปมของคุณอาจจะเป็น เฟื่องฟ้ากับแม่เจอเต่าที่ทะเลสาบแล้วมองมันว่ายน้ำออกไปด้วยกัน
  13. คุณควรอ่านตัวอย่างนิทานหรือวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ประสบความสำเร็จเพื่อให้เข้าถึงแก่นประเภทของงานเขียนมากยิ่งขึ้น พยายามอ่านเรื่องที่ตรงกับกลุ่มพื้นเพหรือกลุ่มอายุที่คุณอยากเขียน คุณอาจจะอ่าน
    • ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย โดย Maurice Sendak
    • แมงมุมเพื่อนรัก โดย E.B. White
    • กรัฟฟาโลกับเจ้าหนูหัวไว โดย Julia Donaldson
    • ในสวนลับ โดย Frances Hodgson Burnett
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ร่างนิทาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นด้วยประโยคที่จะทำให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อในทันที ใช้ภาพตัวละครหลักแปลกๆ เป็นตัวเปิดเรื่อง แสดงภาพตัวละครหลักกำลังทำอะไรสักอย่างอยู่ การเปิดเรื่องควรเป็นสิ่งที่กำหนดบรรยากาศของเรื่องทั้งหมดที่เหลือและทำให้ผู้อ่านคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง [7]
    • เช่น ในประโยคแรกของเรื่อง “ไอด้ากับยาวิเศษ” โดยสินจิรา สินธุเสนและวิวัฒน์ โรจนพิทยากร คือ “ในเวลาค่อนดึกของเดือนหงาย ไอด้า เทพตัวน้อยๆ ซึ่งถือกำเนิดบนดาวดวงหนึ่ง นั่งเศร้าศร้อยอยู่บนโขดหินแต่เพียงลำพัง…”
    • ประโยคเปิดเรื่องนี้สร้างตัวละคร บรรยากาศของเรื่อง และองค์ประกอบที่มหัศจรรย์ให้กับไอด้าที่เป็น “เทพตัวน้อยๆ”
  2. ให้ภาษาที่แสดงถึงประสาทสัมผัสและรายละเอียด. ทำให้ตัวละครของคุณมีชีวิตชีวาด้วยการเน้นไปที่ว่าเขาเห็น ได้กลิ่น ชิมรส สัมผัส รู้สึก และได้ยินอะไร ใช้ภาษาที่อธิบายประสาทสัมผัสเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงเรื่องของคุณ [8]
    • เช่น คุณอาจจะบรรยายฉากท้องเรื่องว่า “ดังและดุดัน” หรือ “ร้อนและเหนียวเหนอะหนะ”
    • นอกจากนี้คุณอาจจะใช้เสียง เช่น “โครม” “ปัง” “ตุ้ม” หรือ “หวือ” เพื่อให้เรื่องราวน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน
  3. ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านด้วยการใส่คำคล้องจองเข้าไปในนิทานของคุณ ลองเขียนสัมผัสคู่ที่ตอนจบของทุก 2 บรรทัดจะคล้องจองกัน หรือจะใช้คำคล้องจองในประโยคเดียวกันก็ได้ เช่น “เขาทำดึงดันปั้นปึ่ง” หรือ “เธอช่างพร้อมเพียบเรียบร้อย” [9]
    • คุณอาจจะใช้คำคล้องจองโดยสมบูรณ์ที่ทั้งเสียงสระและเสียงสะกดเข้ากัน เช่น “ดม” และ “ขม” ถือว่าคล้องจองกันโดยสมบูรณ์
    • หรือคุณจะใช้คำคล้องจองไม่สมบูรณ์ก็ได้ ที่มีแค่เสียงสระหรือเสียงสะกดเท่านั้นที่เข้ากัน เช่น “ดม” กับ “หลน” ถือเป็นคำคล้องจองไม่สบบูรณ์ มีแค่เสียงสระ “โอะ” เท่านั้นที่เข้ากัน
  4. ทำให้ภาษาในนิทานของคุณคุ้นหูด้วยการย้ำคำหลักตลอดทั้งเล่ม การย้ำคำซ้ำจะทำให้ผู้อ่านอินกับเนื้อเรื่องและทำให้จำเนื้อเรื่องได้ [10]
    • เช่น คุณอาจจะย้ำคำถามอย่าง “เจ้าเต่าดุ๊กดิ๊กหายไปไหน” ตลอดทั้งเรื่อง หรือคุณอาจจะย้ำวลีเช่น “ไม่นะ!” หรือ“วันนี้คือวันพิชิต!” เพื่อให้จังหวะและพลังของเรื่องขับเคลื่อนไปเรื่อยๆ
  5. การสัมผัสอักษรคือการที่คำแต่ละคำขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน เช่น “มะเหมี่ยวมดเหม็น” หรือ “ตุ๊ดตู่เต่าต้วมเตี้ยม” เป็นวิธีการสนุกๆ ในการเพิ่มจังหวะเข้าไปในงานเขียนและทำให้เนื้อเรื่องสนุกสนานสำหรับเด็กๆ [11]
    • อุปลักษณ์คือการเปรียบเทียบของสองสิ่ง เช่น คุณอาจจะใส่อุปลักษณ์ไปว่า “เจ้าเต่าคือเปลือกสีเขียวที่ล่องลอยอยู่ในทะเลสาบ”
    • อุปมาคือการเปรียบเทียบของสองสิ่งโดยใช้คำว่า “เหมือน” หรือ “ราวกับ” เช่น คุณอาจจะใส่อุปมาเข้าไปว่า “เต่าน้อยรูปร่างเหมือนมือของฉันเลย”
  6. องค์ประกอบหลักของเรื่องที่ดีคือปมขัดแย้งที่ตัวละครหลักจะต้องเอาชนะอุปสรรค ปัญหา หรือปมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง จำกัดปมขัดแย้งในเรื่องไม่เกิน 1 ปมให้เป็นปมขัดแย้งที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนสำหรับผู้อ่าน คุณอาจจะให้ตัวละครหลักต่อสู้กับการยอมรับจากผู้อื่น ปัญหาครอบครัว หรือการเติบโตทางกายก็ได้ [12]
    • อีกหนึ่งปมขัดแย้งในนิทานสำหรับเด็กก็คือความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ เช่น การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ การไปที่ใหม่ๆ หรือการหลงทาง
    • เช่น คุณอาจจะสร้างตัวละครหลักที่ต่อสู้กับการเข้ากับคนอื่นๆ ที่โรงเรียน เธอจึงตัดสินใจให้เต่าเป็นเพื่อนรักของเธอ หรือคุณอาจจะสร้างตัวละครหลักที่กลัวห้องใต้ดินในบ้านและทำให้เธอต้องเรียนรู้ที่จะเอาชนะความกลัวของเธอ
  7. นิทานสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะมีตอนจบที่มีความสุขและให้ความหวังพร้อมด้วยคติสอนใจ ระวังอย่าให้คติสอนใจดูยัดเยียดมากเกินไป คติสอนใจที่แยบยลจะมีประสิทธิภาพมากกว่าและไม่ค่อยชัดเจนสำหรับผู้อ่านมากนัก [13]
    • ลองแสดงคติสอนใจผ่านการกระทำของตัวละคร เช่น คุณอาจแสดงภาพเด็กผู้หญิงกับแม่กอดกันริมทะเลสาบขณะที่เต่ากำลังว่ายน้ำออกไป ซึ่งอาจเป็นการสำรวจคติสอนใจของการหาแรงสนับสนุนจากครอบครัวโดยไม่ต้องบอกผู้อ่านตรงๆ ว่าคติสอนใจของเรื่องคืออะไร
  8. นิทานสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะมีภาพประกอบที่ทำให้นิทานมีชีวิตชีวามากขึ้นผ่านภาพ คุณจะวาดภาพประกอบด้วยตัวเองหรือจ้างนักวาดภาพประกอบก็ได้ [14]
    • ในนิทานสำหรับเด็กหลายๆ เรื่อง ภาพประกอบมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องราวไปยังผู้อ่านครึ่งหนึ่ง คุณอาจจะเพิ่มรายละเอียดของตัวละครอย่างเช่นเสื้อผ้า ทรงผม การแสดงสีหน้า และสีลงไปในภาพประกอบด้วยก็ได้
    • ส่วนใหญ่ภาพประกอบในหนังสือสำหรับเด็กจะวาดหลังจากเขียนเรื่อง ซึ่งทำให้นักวาดภาพประกอบสามารถวาดภาพจากเนื้อหาในแต่ละฉากหรือตามเส้นเรื่องได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ขัดเกลานิทานสำหรับเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณเขียนร่างนิทานสำหรับเด็กเสร็จแล้ว ให้อ่านออกเสียงให้ตัวเองฟัง ฟังว่าเรื่องราวในแต่ละหน้าฟังดูเป็นอย่างไร สังเกตว่ามีภาษาที่ซับซ้อนเกินไปหรือระดับสูงกว่ากลุ่มอายุเป้าหมายหรือเปล่า แก้ไขนิทานเพื่อให้อ่านและติดตามได้ง่ายขึ้น
  2. ขอความคิดเห็นจากกลุ่มอายุเป้าหมาย ขอให้น้อง สมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อย หรือเด็กที่โรงเรียนอ่านนิทานของคุณแล้วแสดงความคิดเห็น ปรับเนื้อเรื่องเพื่อให้น่าอ่านและเข้าถึงได้สำหรับเด็กๆ [15]
  3. ปรับแก้เนื้อเรื่องในด้านความยาวและความชัดเจน. อ่านร่างที่เขียนไว้อีกครั้งและดูให้แน่ใจว่ามันไม่ยาวเกินไป นิทานสำหรับเด็กมักจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อมันสั้นและตรงประเด็น นิทานสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือ หรือถ้ามีก็จะต้องใช้เนื้อหาเล่าเรื่องออกมาได้อย่างชัดเจน
  4. ถ้าคุณชอบนิทานสำหรับเด็กที่คุณเขียน คุณอาจจะส่งงานเขียนชิ้นนี้ไปให้สำนักพิมพ์ที่พิจารณาตีพิมพ์หนังสือเด็ก เขียนจดหมายสอบถามเรื่องการส่งนิทานสำหรับเด็กไปให้บรรณาธิการและสำนักพิมพ์พิจารณา
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถเผยแพร่หนังสือเด็กได้ด้วยตัวเองและขายให้แก่ผู้อ่านทางออนไลน์ก็ได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,720 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา