ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณจำเป็นต้องเขียนบทคัดย่อหรือสาระสังเขปสำหรับเอกสารทางวิชาการหรือทางวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องตื่นตระหนกไป! บทคัดย่อนั้นก็เป็นแค่บทสรุปสั้นๆ ของเนื้อหาในเอกสารทางวิชาการที่อ่านแล้วเข้าใจเพื่อให้คนอื่นสามารถใช้ดูเป็นภาพรวมได้ [1] บทคัดย่ออธิบายสิ่งที่คุณทำในเอกสารนั้น ไม่ว่ามันจะเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือบทวิเคราะห์วรรณกรรม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในเอกสารนั้นและยังช่วยให้คนที่กำลังค้นหาเอกสารบทความได้เจอและตัดสินใจว่าเอกสารนั้นตอบวัตถุประสงค์ของเขาหรือไม่ ฉะนั้นมองแล้วบทคัดย่อก็เป็นแค่บทสรุปในงานที่คุณได้ทำสำเร็จลงไปแล้วนั่นเอง มันเขียนง่ายจะตาย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เริ่มเขียนบทคัดย่อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้บทคัดย่อจะอยู่ตรงเริ่มต้นของชิ้นงาน แต่มันทำหน้าที่เสมือนบทสรุปของเอกสารงานทั้งหมด มันเป็นภาพรวมของทุกอย่างที่คุณเขียนลงไปในชิ้นงานมากกว่าที่จะเป็นการแนะนำหัวข้อ ฉะนั้น เก็บบทคัดย่อไว้เป็นอย่างสุดท้ายหลังจากที่คุณทำชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
    • บทความวิจัยกับบทคัดย่อนั้นเป็นคนละเรื่องกันเลย บทความวิจัยในเอกสารนั้นจะเป็นการแนะนำแนวคิดหลักหรือคำถามหลัก ส่วนบทคัดย่อจะเป็นการให้ภาพรวมโดยย่อของเอกสารทั้งชิ้น รวมไปถึงวิธีการและผลที่ได้
    • แม้ว่าคุณจะคิดไปว่าพอจะรู้คร่าวๆ แล้วว่าเอกสารงานวิจัยนั้นจะออกมาเป็นเช่นไร ก็ยังต้องเก็บการทำบทคัดย่อไว้หลังสุดอยู่ดี คุณจะสามารถสรุปได้ตรงประเด็นกว่า คือสรุปจากสิ่งที่ได้เขียนลงไปแล้วเท่านั้น
  2. ทบทวนและทำความเข้าใจในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเขียนบทคัดย่อของคุณ. เอกสารที่คุณกำลังเขียนอยู่อาจจะมีแนวทางปฏิบัติและสิ่งที่จำเป็นต้องมีเป็นแบบเฉพาะของตัวเอง ไม่ว่ามันจะเป็นการเขียนบทความลงตีพิมพ์ในจุลสาร, หรือเอกสารที่นำเสนอในชั้นเรียน, หรือเป็นส่วนหนึ่งของโครงงานที่ต้องนำเสนอ ก่อนที่จะเริ่มต้นเขียน ให้พิจารณากฎระเบียบปฏิบัติหรือแนวทางสำหรับการนำเสนอเพื่อจะได้เล็งเห็นประเด็นสำคัญหลักๆ ไว้จำใส่ใจ
    • จำกัดความยาวสูงสุดหรือต่ำสุดไว้หรือไม่?
    • จำเป็นต้องเขียนในสไตล์ไหนหรือไม่?
    • เป็นการเขียนเพื่อเสนออาจารย์ผู้สอนหรือเพื่อลงตีพิมพ์?
  3. บทคัดย่อนั้นเขียนเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นงานของคุณเจอ ยกตัวอย่างเช่น ในจุลสารทางวิทยาศาสตร์ บทคัดย่อจะช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่างานวิจัยชิ้นนี้เกี่ยวโยงกับความสนใจของตนหรือไม่ บทคัดย่อยังช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจในประเด็นถกเถียงหลักได้เร็วขึ้นด้วย ให้คิดถึงความต้องการของผู้อ่านเป็นสำคัญเวลาเขียนบทคัดย่อ [2]
    • นักวิชาการในวงการเดียวกับคุณจะได้อ่านบทคัดย่อนี้หรือไม่?
    • คนที่ได้อ่านจะเป็นพวกระดับอนุศาสตราจารย์หรือคนจากแวดวงอื่นหรือไม่?
  4. ถึงแม้บทคัดย่อทั้งหมดล้วนต้องการจะบรรลุเป้าหมายอย่างเดียวกัน แต่ก็มีบทคัดย่อหลักๆ อยู่สองประเภทด้วยกัน: ประเภทอรรถาธิบายกับประเภทให้ข้อมูลความรู้ คุณอาจจะได้รับการมอบหมายให้เขียนแบบใดแบบหนึ่งไปเลย แต่ถ้าไม่ใช่ คุณจะต้องเลือกว่าประเภทไหนเหมาะกับคุณ ตามปกติแล้ว บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้จะใช้สำหรับงานวิจัยที่มีความยาวและเต็มไปด้วยศัพท์เฉพาะ ส่วนบทคัดย่อประเภทอรรถาธิบายเหมาะที่สุดกับงานที่มีขนาดสั้นกว่า [3]
    • บทคัดย่อประเภทอรรถาธิบายจะอธิบายจุดประสงค์, เป้าหมาย, และวิธีการของงานวิจัยของคุณแต่ตัดส่วนของผลที่ได้ออกไป มักจะมีความยาวเพียง 100-200 คำ
    • บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้จะคล้ายกับการเอาชิ้นงานทั้งหมดไปย่อให้สั้น โดยจะให้ภาพรวมของทุกสิ่งที่มีอยู่ในเอกสารรวมไปถึงผลลัพธ์ที่ได้ มันจึงมีความยาวกว่าบทคัดย่อประเภทอรรถาธิบาย และมีความยาวได้ตั้งแต่แค่ย่อหน้าเดียวไปจนถึงหนึ่งหน้าเต็ม [4]
    • ข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่ในบทคัดย่อทั้งสองประเภทจะเหมือนกัน โดยความแตกต่างหลักจะอยู่ตรงบทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้จะรวมส่วนของผลลัพธ์เข้าไปด้วยและมีความยาวกว่า
    • บทคัดย่อประเภทวิพากษ์วิจารณ์มักจะไม่ค่อยมีบ่อยนัก แต่มันอาจต้องใช้ในบางหัวเรื่อง บทคัดย่อแบบวิพากษ์วิจารณ์มีจุดประสงค์เดียวกับบทคัดย่อประเภทอื่น แต่จะมีการเทียบเคียงการศึกษาหรืองานที่ได้รับการหยิบยกมาพูดถึงกับการวิจัยของตัวผู้เขียน มันอาจวิพากษ์การออกแบบหรือวิธีการที่ใช้ในงานวิจัยก็ได้ [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเขียนบทคัดย่อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณกำลังเขียนถึงความเชื่อมโยงระหว่างการขาดแคลนอาหารเที่ยงในโรงเรียนกับผลการเรียนที่ตกต่ำ แล้วไง? ทำไมมันถึงสำคัญล่ะ? ผู้อ่านนั้นอยากรู้ว่าเพราะเหตุใดงานวิจัยของคุณจึงมีความสำคัญและวัตถุประสงค์ของมันคืออะไร ให้เริ่มบทคัดย่อประเภทอธิบายโดยการพิจารณาถึงคำถามดังต่อไปนี้: [6]
    • เพราะเหตุใดคุณถึงตัดสินใจทำการศึกษาหรือทำโครงงานชิ้นนี้?
    • คุณจัดทำการวิจัยอย่างไร?
    • คุณได้ค้นพบอะไร?
    • ทำไมงานวิจัยและการค้นพบของคุณจึงมีความสำคัญ?
    • เพราะเหตุใดคนอื่นถึงควรอ่านงานชิ้นนี้ของคุณ?
  2. บทคัดย่อจะชี้ถึง “ปัญหา” เบื้องหลังงานชิ้นนี้ คิดให้มันเป็นเหมือนประเด็นที่งานวิจัยหรือโครงงานของคุณกำลังพยายามแก้ไขปัญหานี้อยู่ บางครั้งคุณสามารถรวมปัญหากับแรงจูงใจของตัวเองเข้าด้วยกัน แต่ทางที่ดีควรทำให้ชัดเจนและแยกสองเรื่องนี้ออกจากกัน [7]
    • ปัญหาใดที่งานวิจัยของคุณพยายามจะทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้นหรือแก้ไขมัน?
    • ขอบเขตของการศึกษาอยู่ระดับไหน พูดถึงปัญหาโดยทั่วไปหรือเจาะจงไปยังประเด็นใดเป็นพิเศษ?
    • ข้อโต้แย้งหรือสนับสนุนหลักของคุณคืออะไร?
  3. มีแรงจูงใจ – ตรวจแล้ว ปัญหา – ตรวจแล้ว วิธีการล่ะ? นี่คือส่วนที่คุณจะต้องให้ภาพรวมว่าคุณทำการศึกษาอย่างไร ถ้าคุณทำงานนี้เอง ให้เขียนคำอธิบายของมันไว้ตรงนี้ด้วย หากคุณวิจารณ์งานของคนอื่น ก็ต้องอธิบายเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย [8]
    • อภิปรายงานวิจัยของคุณรวมไปถึงตัวแปรต่างๆ และวิธีที่คุณเลือก
    • อธิบายหลักฐานที่คุณนำมาใช้สนับสนุนความคิดเห็นของคุณ
    • พูดถึงภาพรวมของแหล่งข้อมูลสำคัญที่สุดของคุณ
  4. อธิบายผลลัพธ์ที่ได้ (เฉพาะในบทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลเท่านั้น). นี่คือจุดที่คุณเริ่มแยกความแตกต่างระหว่างบทคัดย่อประเภทอรรถาธิบายกับบทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ ในบทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้นั้น คุณจำต้องเตรียมผลลัพธ์ที่ได้ใส่ลงไปด้วย คุณได้พบผลอะไร? [9]
    • คำตอบใดที่คุณได้จากการวิจัยหรือการศึกษาของคุณ?
    • ข้อมูลที่ได้สนับสนุนสมมติฐานหรือสนับสนุนข้อโต้แย้งของคุณ?
    • คุณได้ค้นพบอะไรบ้าง?
  5. เป็นการจบบทสรุปและปิดท้ายบทคัดย่อของคุณ ในนั้นให้ระบุถึงความหมายของสิ่งที่คุณค้นพบและความสำคัญของเอกสารทั้งหมดนี้ รูปแบบของการมีบทสรุปนั้นสามารถใช้ได้ทั้งในบทคัดย่อประเภทอรรถาธิบายและประเภทให้ข้อมูลความรู้ แต่คุณจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้เฉพาะในบทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ [10]
    • งานของคุณมีความนัยหรือกินความหมายด้านอะไรบ้าง?
    • ผลที่ได้นั้นเป็นผลโดยรวมหรือเฉพาะเจาะจง? [11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เขียนบทคัดย่อให้ตรงตามรูปแบบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีคำถามจำเพาะที่บทคัดย่อของคุณจะต้องตอบให้ได้ แต่คำตอบนั้นต้องจัดเรียงตามลำดับ ตามหลักแล้วมันก็ควรลอกตามรูปแบบโดยรวมของบทความของคุณ โดยมี ‘ช่วงแนะนำ’, ‘ตัวเรื่อง’, และ ‘บทสรุป’
  2. ซึ่งแตกต่างไปจากย่อหน้าในบทความที่อาจใช้คำคลุมเครือ บทคัดย่อนั้นควรจะอธิบายเอกสารและงานวิจัยได้อย่างรวบรัด สรรหาคำที่ใช้ในบทคัดย่อเพื่อผู้อ่านจะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าคุณกำลังหมายถึงอะไร ไม่ใช่ต้องมานั่งงงกับประโยคหรือการอ้างอิงที่กำกวม
    • หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อหรือตัวย่อในบทคัดย่อ เพราะมันจำเป็นต้องอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ ซึ่งนั่นหมายถึงการกินพื้นที่อันมีค่าและควรจะหลีกเลี่ยงเสมอ
    • หากประเด็นเรื่องที่คุณทำเป็นสิ่งที่รู้จักกันดีพอ คุณสามารถอ้างอิงชื่อบุคคลหรือสถานที่ที่เอกสารของคุณเน้นประเด็นไปที่นั่นได้
    • อย่าใส่ตาราง, ตัวเลข, แหล่งข้อมูล, หรือประโยคอ้างอิงยาวๆ มาใส่ในบทคัดย่อ พวกมันกินเนื้อที่มากและมักจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้อ่านเขาต้องการจากในบทคัดย่อเลย [13]
  3. บทคัดย่ออาจเป็นการสรุปก็จริงอยู่ แต่มันควรถูกเขียนขึ้นมาใหม่แยกจากเอกสารรายงานของคุณ อย่าไปคัดลอกและวางประโยคอ้างอิงโดยตรงของตัวคุณเอง และหลีกเลี่ยงการถอดประโยคเดิมของคุณจากภายในบทความมาใส่ในบทคัดย่อ ให้เขียนโดยใช้การเรียบเรียงคำพูดขึ้นมาใหม่เพื่อทำให้มันน่าสนใจและไม่ซ้ำซ้อนกัน
  4. หากบทคัดย่อของคุณต้องถูกตีพิมพ์ในจุลสาร คุณต้องการให้คนสามารถหามันได้โดยง่าย จะทำได้ก็ต้องให้ผู้อ่านค้นหาในคลังข้อมูลออนไลน์โดยมีคำสั่งค้นจำเพาะเพื่อหวังให้แสดงผลเอกสารของคุณออกมา ให้ลองใช้คำหลักที่สำคัญต่องานวิจัยของคุณ 5-10 คำในบทคัดย่อ [14]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังเขียนรายงานว่าดวยความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการรับรู้เรื่องโรคจิตเภท ให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้คำอย่าง “โรคจิตเภท”, “ข้ามวัฒนธรรม”, “วัฒนธรรมเฉพาะที่”, “ความเจ็บป่วยทางจิต” และ “การยอมรับทางสังคม” ทั้งหมดนี้อาจเป็นคำค้นหาที่ผู้คนจะใช้เมื่อมองหางานวิจัยในหัวข้อนี้
  5. คุณต้องการดึงความสนใจของผู้คนมายังบทคัดย่อ มันเป็นเสมือนเหยื่อล่อที่ไปกระตุ้นพวกเขาเข้ามาอ่านงานของคุณต่อ อย่างไรก็ดี อย่าอ้างอิงแนวคิดหรือการศึกษาที่ไม่ได้มีรวมอยู่ในเอกสารงานของคุณเพียงเพื่อหวังดึงคนเข้ามาอ่าน การอ้างข้อมูลที่คุณไม่ได้ใช้ในงานเป็นการทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดและสุดท้ายก็มีแต่ทำให้ยอดผู้อ่านลดลง
  6. บทคัดย่อนั้นเป็นการสรุป และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจึงไม่ควรชี้ไปยังประเด็นใดประเด็นหนึ่งของงานวิจัยเป็นการเฉพาะเจาะจงมากไปกว่าการพูดถึงชื่อหรือสถานที่ คุณไม่จำเป็นต้องอธิบายหรือให้คำจำกัดความคำใดๆ ที่ใช้ในบทคัดย่อ เพราะสามารถแสดงในส่วนของการอ้างอิง หลีกเลี่ยงการชี้ประเด็นจำเพาะใดๆ และยึดอยู่กับการแสดงภาพรวมของชิ้นงานทั้งหมด [15]
    • ให้แน่ใจว่าได้หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะวงการ. คำพิเศษเหล่านี้อาจไม่ได้เป็นที่เข้าใจในหมู่ผู้อ่านทั่วไปและอาจสร้างความสับสนขึ้นได้ [16]
  7. บทคัดย่อเป็นงานเขียนชิ้นหนึ่งที่เหมือนงานเขียนอื่นๆ คือควรจะต้องตรวจทานก่อน ตรวจดูข้อผิดพลาดทั้งด้านรูปประโยคหรือคำผิดและให้แน่ใจว่าได้เขียนตามรูปแบบที่กำหนดอย่างถูกต้อง
  8. การมีใครคนอื่นมาอ่านบทคัดย่อเป็นวิธีที่ดีเพื่อคุณจะได้ทราบว่าคุณสรุปงานวิจัยได้ดีแล้วหรือไม่ พยายามหาคนที่ไม่รู้อะไรในโครงงานของคุณ ขอให้เขาอ่านบทคัดย่อและถามดูว่าอ่านแล้วเข้าใจไหม มันจะทำให้คุณได้ทราบว่าคุณสื่อสารประเด็นหลักได้ถี่ถ้วนหรือไม่ [17]
    • การขอคำปรึกษาจากอาจารย์, เพื่อนร่วมวงการ, หรือผู้ให้คำปรึกษาจากศูนย์การเขียนนั้นเป็นประโยชน์ ถ้าคุณมีแหล่งข้อมูลเหล่านี้อยู่กับมือ จงใช้มันซะ!
    • การถามหาความช่วยเหลือจะทำให้คุณได้ทราบถึงธรรมเนียมปฏิบัติในแวดวงวิชาการนั้นๆ เช่น มันเป็นเรื่องปกติมากที่ในแวดวงวิทยาศาสตร์จะใช้รูปประโยคแบบกรรมวาจกหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (“การทดลองถูกจัดทำขึ้น”) อย่างไรก็ดี ในแวดวงมนุษยศาสตร์นั้นจะเลือกใช้แบบประธานเป็นผู้กระทำมากกว่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บทคัดย่อมักมีความยาวเพียงหนึ่งหรือสองย่อหน้าและไม่ควรจะยาวเกินกว่า 10% ของความยาวของเอกสารตัวจริง มองหาตัวอย่างจากบทคัดย่อแบบเดียวกันที่ได้รับการตีพิมพ์เพื่อดูว่าของคุณควรเป็นอย่างไร [18]
  • พิจารณาด้วยความระมัดระวังว่าเอกสารกับบทคัดย่อของคุณควรจะมีศัพท์เฉพาะมากแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้วก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะสันนิษฐานว่าผู้อ่านต้องมีความเข้าใจในวงการนั้นอยู่บ้างและคุ้นเคยกับศัพท์ภาษาที่ใช้เป็นอย่างดี แต่ไม่ว่าอย่างไรการเขียนบทคัดย่อให้อ่านเข้าใจง่ายก็เป็นเรื่องที่ดี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 105,442 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา