ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทคัดย่อที่ดีจะต้องสรุปใจความสำคัญของเนื้อหาในรายงานโดยไม่มีข้อมูลที่ไม่จำเป็นมาเกี่ยวข้อง การเขียนในรูปแบบมาตรฐาน APA (American Psychological Association) นั้นจะมีรูปแบบการจัดวางหน้าบทคัดย่อเฉพาะตัว ดังนั้น คุณควรที่จะคำนึงถึงรูปแบบการเขียนบทคัดย่อเสมอเมื่อคุณเขียนบทคัดย่อในรูปแบบ APA นอกจากนี้ คุณควรเรียนรู้วิธีเขียนบทคัดย่อให้ออกมาดูดี ข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นสิ่งที่คุณควรเรียนรู้เอาไว้ (สำหรับการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษเท่านั้น)

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รูปแบบการเขียนพื้นฐาน [1]

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หัวกระดาษ (Header) หรือที่รู้จักกันคือ “หัวเรื่องด้านบนของแต่ละหน้าของบทความ” ซึ่งจะปรากฎบริเวณด้านบนสุดของทุกๆ หน้ากระดาษ
    • ชื่อโดยย่อของหัวข้อรายงานควรอยู่บริเวณมุมบนซ้ายของหน้ากระดาษ โดยไม่ควรมีตัวอักษรเมื่อรวมการเว้นวรรคและสัญลักษณ์ต่างๆ เกินกว่า 50 ตัว
    • ตัวอักษรทุกตัวควรเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
    • หมายเลขหน้าควรอยู่บริเวณมุมบนขวาของหน้ากระดาษ โดยบทคัดย่อในรูปแบบ APA จะจัดวางอยู่ในหน้าที่ 2 ของรายงานทั้งหมด ดังนั้น บทคัดย่อของคุณควรมีเลข 2 อยู่บริเวณมุมบนขวา
  2. ถ้าอาจารย์ไม่ได้กล่าวถึงรูปแบบตัวอักษรที่จะใช้ในงาน คุณควรใช้รูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 เสมอ
    • อาจารย์บางท่านอาจจะอนุญาตให้ใช้รูปแบบตัวอักษร Arial ขนาด 10-12 อย่างไรก็ตาม คุณควรสอบถามอาจารย์ให้แน่ใจก่อน
  3. เนื้อหาทั้งหมดในบทคัดย่อควรตั้งค่าการเว้นบรรทัดไว้ที่ 2.0 (Double-space)
    • “ระยะห่างระหว่างบรรทัด 2 เท่า” หมายถึงตัวอักษรระหว่างบรรทัดจะแยกออกจากกันด้วยพื้นที่ว่าง
    • นอกจากบทคัดย่อแล้ว เนื้อหาในรายงานทั้งหมดก็ควรเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัด 2 เท่าด้วยเช่นกัน
  4. เขียนคำว่า “Abstract” ไว้บริเวณกึ่งกลางหน้ากระดาษ. คำๆ นี้จะอยู่ใต้หัวกระดาษและอยู่ในตำแหน่งบรรทัดแรกของเนื้อหา
    • ตัวอักษรตัวแรกของคำควรพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษรที่ตามมาให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
    • อย่าทำตัวหนา ตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้คำ ห้ามใช้เครื่องหมายปรัศนี (?) และคำทุกคำควรอยู่ในรูปแบบปกติ
  5. บรรทัดถัดจากคำว่า “Abstract” ควรเขียนสรุปเนื้อหาของรายงานทั้งหมด และควรเขียนให้จบในย่อหน้าเดียว
    • เขียนให้กระชับ มาตรฐานของบทคัดย่อในรูปแบบ APA ควรมีจำนวนคำประมาณ 150-250 คำและใช้ย่อหน้าเดียว
  6. [2] เขียนรายการคำสำคัญ (Keyword) ของบทคัดย่อในบรรทัดต่อมาถัดจากเนื้อหาบทคัดย่อของคุณ
    • เว้นระยะห่างจากหน้ากระดาษเหมือนการขึ้นย่อหน้าใหม่
    • พิมพ์คำว่า "Keywords" ด้วยตัวเอียง พิมพ์ตัว “K” ด้วยพิมพ์ใหญ่แล้วตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค (Colon (:))
    • คำสำคัญที่ตามมาจะใช้รูปแบบตัวอักษรปกติ ไม่เขียนด้วยตัวเอียง โดยมีคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายงานประมาณ 3-4 คำ และคำเหล่านั้นต้องอยู่เดี่ยวๆ โดยใช้เครื่องหมายลูกน้ำในการแบ่งคำ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เขียนบทคัดย่อให้ออกมาดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนบทคัดย่อเป็นส่วนสุดท้ายของการทำรายงาน. [3] เพราะบทคัดย่อเป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดของรายงาน คุณจึงควรเขียนเนื้อหาในบทคัดย่อเมื่อคุณเขียนรายงานเสร็จแล้ว
    • เพื่อเน้นว่าบทคัดย่อคือการสรุปความ คุณควรเขียนเนื้อหาในส่วนผลลัพธ์ (Result) และการสรุปความ (Conclusions) ด้วย Present tense เนื้อหาในส่วนกระบวนการ (Method) และเครื่องมือที่ใช้วัดผล (Measurements taken) ให้ใช้ Past Tense จำไว้ว่าอย่าใช้ Future tense ในการเขียนเด็ดขาด
    • ทบทวนรายงานของคุณก่อนที่จะเขียนบทคัดย่อเพื่อให้คุณจำเนื้อหาได้ ตั้งใจอ่านวัตถุประสงค์ (Purpose) กระบวนการ (Methods) ขอบเขต (Scope) ผลลัพธ์ (Results) สรุปผล (Conclusions) และข้อเสนอแนะ (Recommendations) ในบทความของคุณได้ดี
    • ร่างบทคัดย่อคร่าวๆ โดยไม่กลับไปอ่านเนื้อหาในรายงาน การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณสรุปความโดยไม่ได้คัดลอกประโยคสำคัญในรายงานของคุณเอง
  2. การเขียนบทคัดย่ออาจจะเป็นเชิงให้ข้อมูลความรู้หรือพรรณนาก็ได้ [4]
    • บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informational abstract) ควรจะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ กระบวนการ ขอบเขต ผลลัพธ์ สรุปผล และข้อเสนอแนะ และเน้นจุดสำคัญของเนื้อหาเพื่อให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าจะอ่านต่อหรือไม่ โดยความยาวเนื้อหาไม่ควรเกิน 10% ของเนื้อหาทั้งหมด
    • บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Descriptive abstract) จะกล่าวเพียงวัตถุประสงค์ กระบวนการ และขอบเขตในรายงาน แต่จะไม่กล่าวถึงผลลัพธ์ สรุปผล และข้อเสนอแนะ บทคัดย่อประเภทนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในการเขียนรูปแบบ APA และมักจะมีความยาวไม่เกิน 100 คำ จุดมุ่งหมายของบทคัดย่อประเภทนี้คือการแนะนำหัวข้อให้กับผู้อ่าน และต้องการให้ผู้อ่านอ่านเนื้อหาในรายงานเพื่อหาผลลัพธ์ของการศึกษานั้นๆ ด้วยตนเอง
  3. ในการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลนั้น คุณควรจะถามตัวเองเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของรายงานหลายๆ คำถาม [5]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถามตัวเองว่าทำไมทำรายงานเรื่องนี้ คุณทำอะไร ทำอย่างไร ค้นพบอะไร และสิ่งที่คุณค้นพบสำคัญอย่างไร
    • ถ้ารายงานของคุณมีการใช้กระบวนการดำเนินงานใหม่ๆ ให้ลองถามตัวเองว่ากระบวนการใหม่นี้มีข้อดีอย่างไรและใช้ได้ดีแค่ไหน
  4. บทคัดย่อมีมาเพื่อสรุปเนื้อหาในรายงานของคุณ ดังนั้น การให้ข้อมูลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายงานก็ถือว่าเป็นการโฆษณาที่ผิดจุดประสงค์
    • แม้ว่าข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกับข้อมูลในรายงานเป็นอย่างมาก ก็ไม่สมควรที่จะนำมาไว้ที่บทคัดย่อ
    • จำไว้ว่าคุณอาจจะใช้คำที่แตกต่างกันไปในการเขียนบทคัดย่อ โดยข้อมูลในบทคัดย่อควรเป็นข้อมูลเดียวกับรายงาน แต่การใช้ภาษาอาจจะเปลี่ยนแปลงได้
  5. บทคัดย่อควรจะมีความชัดเจนและละเอียดพอที่จะสามารถอ่านเพียงบทคัดย่ออย่างเดียวก็เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้
    • หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคประมาณว่า "This paper will look at..." เพราะบทคัดย่อมีเนื้อหาที่สั้นมาก ดังนั้น คุณสามารถพูดถึงรายละเอียดได้ทันทีแทนที่จะเสียเวลามาเกริ่นก่อนเข้าเรื่อง
    • ชื่อหัวข้อรายงานไม่ควรเขียนใหม่หรือใช้ซ้ำในบทคัดย่อ เพราะบทคัดย่อมักจะอ่านคู่กับชื่อหัวข้ออยู่แล้ว
    • เนื้อหาในบทคัดย่อควรจบในตัวเอง เพราะคนส่วนใหญ่จะอ่านเพียงส่วนนี้ ไม่อ่านรายงานทั้งหมด
  6. คุณควรรายงานเพียงว่าคุณค้นพบอะไรแทนที่จะแสดงความเห็นถึงสิ่งที่คุณค้นพบ
    • คุณควรกล่าวถึงสิ่งที่คุณค้นพบ แต่อย่าเพิ่งตัดสินหรือประเมินค่าสิ่งนั้น เพราะตัวรายงานจะเป็นตัวตัดสินสิ่งที่คุณค้นพบและให้ข้อสนับสนุนเพิ่มเติม แต่บทคัดย่อไม่จำเป็นต้องมี
  7. อย่าใช้คำว่า “I” “We” ควรใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 เช่น “It” “They” “He or she” และ “One”
    • คุณควรใช้กริยาในรูป Active มากกว่า Passive
    • ยกตัวอย่างเช่น ประโยคที่ดีที่สุดในการเขียนบทคัดย่อควรจะเป็น “Research shows” หรือ หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคทำนองว่า “I researched” "it was researched"
  8. แม้ว่าอักษรย่อหรือตัวย่ออาจจะพบเห็นได้ในตัวรายงาน แต่ไม่ควรใช้ในบทคัดย่อ
    • นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อการค้าหรือสัญลักษณ์ทางการค้า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณกำลังเขียนรายงานสั้นๆ ในรูปแบบ APA ให้กับอาจารย์ที่ไม่ได้ขอให้ทำบทคัดย่อ ให้สอบถามอาจารย์เพื่อยื่นยันว่าท่านต้องการหรือไม่ แม้ว่าการเขียนแบบ APA จะแนะนำให้เขียนบทคัดย่อในทุกชิ้นงาน แต่อาจารย์ส่วนมากก็อนุญาตให้ข้ามส่วนนี้ไปได้ถ้ารายงานมีเนื้อหาเพียง 1-2 หน้า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,903 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา