ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ย่อหน้าสุดท้ายของเรียงความคือส่วนที่ขมวดปมต่างๆ มารวมกันเป็นย่อหน้าเดี่ยวที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การจะปิดท้ายเรียงความให้สละสลวยนั้นอาจทำได้ยาก แต่หากคุณเข้าใจว่าองค์ประกอบอะไรที่ควรและไม่ควรอยู่ในบทสรุป คุณก็จะสามารถเขียนบทสรุปเจ๋งๆ ที่คู่ควรกับเกรด A+ ได้อย่างแน่นอน
ขั้นตอน
-
คิดถึงคำถามว่า “แล้วไง”. วิธีที่ช่วยให้คุณเขียนบทสรุปได้ก็คือ การนึกภาพคนอ่านถามคุณว่า “แล้วไง” เกี่ยวกับประเด็นของคุณ ทำไมสิ่งที่คุณเขียนมันถึงสำคัญ คุณจะเขียนอะไรในบทสรุปเพื่อช่วยโน้มน้าวใจคนอ่านว่า พวกเขาควรให้ความสำคัญกับความคิดและประเด็นของคุณ [1] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ University of North Carolina Writing Center ไปที่แหล่งข้อมูล
- นอกจากนี้การถามตัวเองว่า “แล้วไง” ขณะเขียนเรียงความยังช่วยให้คุณได้ขุดความคิดของตัวเองให้ลึกขึ้นด้วย
-
เขียนใจความสำคัญของเรียงความ. การรู้ว่าใจความสำคัญของประเด็นที่คุณเขียนถึงมีอะไรบ้างจะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณต้องเขียนอะไรในบทสรุป คุณไม่จำเป็นต้องยัดทุกประเด็นและประเด็นย่อยลงไป เน้นแค่สิ่งที่สำคัญก็พอ [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ University of North Carolina Writing Center ไปที่แหล่งข้อมูล
- นอกจากนี้การรู้ว่าสิ่งที่เรียงความต้องการเน้นคืออะไรยังป้องกันไม่ให้คุณใส่ข้อมูลหรือหัวข้อใหม่ๆ ลงในบทสรุปด้วย
-
มองหาประเด็นใหญ่ที่คุณเขียนในย่อหน้าแรก. คุณจะรู้สึกได้ว่านั่นคือบทสรุปด้วยการย้อนกลับไปที่ประเด็นใหญ่ที่คุณเปิดไว้ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ลองดูว่าถ้าคุณกลับมาพูดถึงประเด็นใหญ่ในบทสรุป คุณจะสามารถขยายมันต่อไปได้ไหม [4] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ University of North Carolina Writing Center ไปที่แหล่งข้อมูล
- เช่น ถ้าคุณเริ่มต้นเรียงความด้วยแนวคิดที่ว่า มนุษย์รู้สึกถึงความเล็กจ้อยของตัวเองเมื่อเผชิญหน้ากับความกว้างใหญ่ไพศาลของอวกาศ คุณก็สามารถกลับไปพูดถึงแนวคิดนั้นในบทสรุปได้ แต่คุณอาจจะขยายประเด็นใหญ่นี้เพื่อใส่ความคิดที่ว่า ขณะที่ความรู้ของมนุษย์มีมากขึ้น อวกาศก็ดูเล็กลงจริงๆ
-
คิดว่าคุณสามารถเชื่อมโยงประเด็นของคุณในบริบทอื่นๆ ได้หรือไม่. วิธีเขียนบทสรุปอีกวิธีหนึ่งก็คือ การขยายความเกี่ยวข้องของสิ่งที่คุณอภิปรายไปยังบริบท “ภาพรวม” ที่ใหญ่กว่า วิธีนี้จะช่วยให้คนอ่านเข้าใจว่า พวกเขาสามารถนำประเด็นที่คุณเขียนไปใช้กับหัวข้ออื่นได้ ทำให้เรียงความของคุณดูมีจุดมุ่งหมายที่กว้างขึ้น [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เช่น คุณสามารถขยายเรียงความเรื่อง “Orange is the New Black” ไปถึงวัฒนธรรมการคุมขังในสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปได้ด้วย
โฆษณา
-
ขึ้นต้นด้วยคำเชื่อม (ขึ้นอยู่กับบริบท). คำเชื่อมเป็นการส่งสัญญาณบอกให้ผู้อ่านรู้ว่า เรียงความกำลังจะจบแล้วและพวกเขาก็ต้องตั้งใจอ่าน และถึงแม้ว่าเรียงความหลายฉบับจะขึ้นต้นย่อหน้าด้วยคำเชื่อม แต่ก็ไม่จำเป็นถ้าคุณรู้สึกว่ามันชัดเจนอยู่แล้วว่าเรียงความกำลังจะจบ คำเชื่อมที่ใช้อาจเป็นคำที่ง่ายมากๆ ก็ได้
- คุณอาจจะเลี่ยงคำที่ใช้บ่อยมากอย่าง “สรุปคือ” “โดยสรุป” หรือ “สุดท้ายแล้ว” เพราะคำเหล่านี้ใช้บ่อยมากจนอาจทำให้ดูซ้ำซากและแข็งทื่อ [6] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ University of North Carolina Writing Center ไปที่แหล่งข้อมูล และเปลี่ยนมาใช้คำที่นิยมน้อยกว่าแต่ก็กระชับ เช่น "กล่าวคือ"
-
สรุปประเด็นหลักสั้นๆ. ลองนำ 2-3 ประโยคแรกของย่อหน้าเนื้อหาแต่ละย่อหน้า (ประโยคใจความหลัก) และเรียบเรียงประเด็นหลักเหล่านั้นใหม่ใน 2-3 ประโยค วิธีนี้เป็นการเน้นความสำคัญของประเด็นในเรียงความ ซึ่งเป็นการเตือนผู้อ่านอีกครั้งว่าคุณกำลังพูดหรือโต้แย้งเรื่องอะไร
- อย่าสรุปประเด็นตามที่คุณเขียนเป๊ะๆ คนอ่านได้อ่านเรียงความของคุณไปแล้ว เพราะฉะนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องย้ำทุกประเด็นที่คุณพูด
-
เขียนให้กระชับและตรงจุด. ไม่มีกฎตายตัวว่าบทสรุปควรยาวแค่ไหน แต่สำหรับเรียงความในโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยแล้วนั้น โดยทั่วไปบทสรุปควรอยู่ที่ประมาณ 5-7 ประโยค ถ้าน้อยกว่านี้ก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะสรุปประเด็นได้ไม่เพียงพอ แต่ถ้ามากกว่านี้คุณก็อาจจะพล่ามยาวเกินไปเล็กน้อย
-
อย่าลืมเรียบเรียง ประโยคใจความหลัก ในบทสรุป. คุณควรอ้างอิงถึงประโยคใจความหลักขณะที่้เขียนปิดท้ายเรียงความแม้ว่ามันอาจจะเป็นแค่การกล่าวขึ้นมาลอยๆ ก็ตาม จำไว้ว่าใจความหลักคือประเด็นหลักของเรียงความ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณกำลังโต้แย้งอยู่ ถ้าคนอ่านอ่านบทสรุปแล้วยังไม่รู้ว่าใจความหลักคืออะไร แสดงว่าคุณยังสื่อออกไปได้ไม่ดีพอ
- หาวิธีเรียบเรียงใจความหลักของคุณให้น่าสนใจโดยใช้ภาษาที่ต่างไปจากเดิม เพราะการกล่าวใจความหลักซ้ำด้วยคำพูดเดิมจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าคุณขี้เกียจและไม่ได้แสดงมุมมองใหม่ของประเด็นที่คุณอภิปราย
-
เขียนถึงประเด็นนั้นอย่างมีน้ำหนัก. การเขียนอย่างมีน้ำหนักก็คือการใช้คำได้อย่างถูกต้อง (ตรงข้ามกับการหยิบคำเก่าๆ มาใช้แบบสุ่ม) ใช้หลักฐานที่น่าเชื่อถือจากแหล่งข้อมูลอื่นมาสนับสนุน และเชื่อมั่นในความสามารถด้านการเขียนของตัวเอง [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ University of North Carolina Writing Center ไปที่แหล่งข้อมูล อย่ากล่าวเป็นเชิงขอโทษที่คิดแบบนี้หรือใช้ภาษาที่เป็นทางการมาก [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เช่น แทนที่จะบอกว่า "นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมจึงคิดว่า อับราฮัม ลินคอล์นเป็นประธานาธิบดีที่ดีที่สุดของสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 19" ให้บอกว่า "นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมอับราฮัม ลินคอล์นถึงเป็นประธานาธิบดีที่ดีที่สุดของสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 19" คนอ่านรู้อยู่แล้วว่าถ้าคุณเขียนว่าอับราฮัม ลินคอล์นเป็นประธานาธิบดีที่ดีที่สุด คุณก็ต้องเชื่อแบบนั้นอยู่แล้ว การพูดว่า "ผมคิดว่า" จึงดูเหมือนว่าคุณพูดออกตัวไว้ก่อนและทำให้งานเขียนของคุณฟังดูไม่ค่อยมีน้ำหนัก
- อีกตัวอย่างก็คืออย่าขอโทษที่คุณคิดแบบนี้ ความคิดเหล่านี้เป็นความคิดของคุณ เพราะฉะนั้นให้แสดงความเป็นเจ้าของความคิดนั้น อย่าพูดทำนองว่า "ผมอาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ" หรือ "อย่างน้อยนี่ก็เป็นความคิดเห็นของฉัน" [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เพราะมันจะลดทอนความน่าเชื่อถือของคุณ
-
ปิดท้ายอย่างสละสลวย. ประโยคสุดท้ายของคุณควรจะงดงาม ตรงประเด็น และกระตุ้นอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ทั้งหมดนี้เริ่มจากการยกประเด็นของเรียงความ ถามตัวเองว่า เรียงความของฉันเกี่ยวกับอะไร และฉันกำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ และเริ่มขยายจากจุดนั้น [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ปิดท้ายเรียงความด้วยคำพูดเสียดสีเล็กน้อย ขยี้ประโยคสุดท้ายและเขียนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากสิ่งที่คุณกำลังพูดถึงด้วยอารมณ์จิกกัด ซึ่งจะทำให้ตอนท้ายของเรียงความกระตุ้นอารมณ์มากเป็นพิเศษ
- พยายามเล่นกับอารมณ์คนอ่าน เพราะส่วนใหญ่แล้วในเรียงความของคุณจะเป็นการใช้เหตุผลจนลืมเรื่องอารมณ์ไป นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการเล่นกับอารมณ์ของคนเราจึงเป็นวิธีสรุปเรียงความที่ทรงพลังมาก ถ้าทำอย่างถูกต้อง วิธีนี้จะช่วยทำให้บทความของคุณมีหัวใจ แค่ดูให้ดีว่าน้ำเสียงในบทสรุปนั้นสอดคล้องกับส่วนอื่นๆ ในเรียงความ
- ใส่การเรียกร้องให้ลงมือปฏิบัติ (แต่ต้องไม่เยอะจนเกินไป) ถ้าโดยหลักแล้วเรียงความของคุณเป็นเรื่องของการกระตุ้นให้ผู้คนเกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียกร้องให้ลงมือปฏิบัติจึงเป็นเครื่องมือที่ดีในการกระตุ้นให้ผู้อื่นลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง แต่ก็อย่าใช้มากจนเกินไป เพราะถ้าใช้ในบริบทที่ไม่ถูกต้อง (เช่น ในเรียงความอธิบายหรือเรียงความแสดงการโต้แย้ง) มันจะดูพยายามมากเกินไป
โฆษณา
-
อย่ากล่าวใจความหลักซ้ำ อย่างเดียว . ปัญหาทั่วไปที่มักพบในบทสรุปก็คือ การกล่าวใจความหลักและสรุปสิ่งที่พูดไปแล้วอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งมันไม่ได้ทำให้คนอ่านรู้สึกอยากอ่านบทสรุป เพราะพวกเขารู้อยู่แล้วว่าคุณจะพูดอะไร [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แต่พยายามพาผู้อ่านไปสู่ “อีกขั้น” ในบทสรุปหรือไม่ก็ทำให้แนวคิดเดิมของคุณมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
-
อย่ายกคำพูดคนอื่น. คุณไม่จำเป็นต้องปิดท้ายตอนจบของเรียงความด้วยการอ้างอิงคำพูดของคนอื่นและการวิเคราะห์ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่คุณควรเขียนในย่อหน้าหลักอยู่แล้ว บทสรุปคือส่วนที่คุณผูกทุกอย่างรวมกันสำหรับผู้อ่าน ไม่ใช่ส่วนที่คุณจะมานำเสนอข้อมูลใหม่ [12] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ University of North Carolina Writing Center ไปที่แหล่งข้อมูล
-
อย่าใช้ภาษาเยิ่นเย้อหรือใช้คำวิเศษณ์มากเกินไป. อย่าใช้คำพูดที่หรูหราสูงส่งในบทสรุป คุณควรเขียนให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ ไม่ใช่แข็งทื่อและน่าเบื่อ คุณควรใช้ภาษาที่ชัดเจนและกระชับมากกว่าประโยคที่พูดวกไปวนมาและเต็มไปด้วยคำยาวๆ [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- นอกจากนี้ก็อย่าใช้คำว่า "ประการแรก" "ประการที่สอง" "ประการที่สาม" และอื่นๆ เพื่อเริ่ม/จบประเด็น เขียนให้ชัดเจนว่าคุณกำลังพูดถึงอะไรและคุณจะนำเสนอกี่ประเด็น
-
อย่าใส่ข้อมูลใหม่ลงไปในบทสรุป. ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่คุณจะมานำเสนอความคิดหรือเนื้อหาใหม่ๆ เพราะมันจะทำให้คนอ่านหลุดประเด็นเดิมที่คุณนำเสนอจนอาจทำให้สับสนได้ อย่าพูดกระโดดไปกระโดดมา แค่ถ่ายทอดว่าเรียงความของคุณนำไปสู่อะไรและพูดถึงสิ่งที่คุณได้คิดหลังจากทำการวิเคราะห์ที่จำเป็นแล้ว
-
อย่าไปสนใจประเด็นหรือหัวข้อที่ไม่สำคัญในเรียงความ. บทสรุปไม่ใช่เวลาที่จะมาหยุมหยิมกับประเด็นยิบย่อยในเรียงความ แต่เป็นเวลาที่คุณต้องถอยหลังมาแล้วให้ความสำคัญกับภาพใหญ่ เรียงความของคุณต้องมุ่งประเด็นไปที่ใจความหลักของเรียงความ ไม่ใช่เรื่องเล็กเท่าขี้ผง [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง คำพูดเหล่านี้ไม่ใช่การเริ่มต้นคำเชื่อมที่ดีกว่าโฆษณา
เคล็ดลับ
- อ่านทวนเรียงความหลังเขียนเสร็จทุกครั้ง เพื่อตรวจดูว่าคุณเขียนถูกต้องตามหลักภาษาและการสะกดคำ และใช้เครื่องหมายวรรคตอนถูกต้องหรือไม่
- คุณต้องพยายามทำให้บทสรุปของคุณมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องเสมอ นอกจากนี้ก็พยายามผูกย้อนกลับไปที่ประโยคใจความหลักด้วยเพื่อให้ผู้อ่านเห็นว่า คุณรู้ว่าเหตุผลที่คุณยกมานั้นสอดคล้องกับหัวข้อในเรียงความอย่างไร
- การมีใครสักคนที่อายุมากกว่าคอยให้คำแนะนำหรือข้อมูลในย่อหน้าที่คุณเขียนสามารถช่วยคุณได้ พวกเขาอาจจะช่วยเหลือคุณในส่วนนั้นได้
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://writingcenter.unc.edu/handouts/conclusions/
- ↑ http://writingcenter.unc.edu/handouts/conclusions/
- ↑ http://writingcenter.fas.harvard.edu/pages/ending-essay-conclusions
- ↑ http://writingcenter.unc.edu/handouts/conclusions/
- ↑ http://writingcenter.fas.harvard.edu/pages/ending-essay-conclusions
- ↑ http://writingcenter.unc.edu/handouts/conclusions/
- ↑ http://writingcenter.unc.edu/handouts/conclusions/
- ↑ http://writingcenter.fas.harvard.edu/pages/ending-essay-conclusions
- ↑ http://writing2.richmond.edu/writing/wweb/conclude.html
โฆษณา