ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณต้องเขียนรายงานส่งแต่คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องเริ่มจากตรงไหน นี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ วิกิฮาวจะช่วยคุณเอง คุณสามารถเขียนรายงานส่งได้ไม่ยากเพียงทำตามขั้นตอนเหล่านี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

การเลือกหัวข้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณได้รับแนวทางในการทำรายงานจากคุณครู อาจารย์ หรือเจ้านายของคุณ ขอให้คุณอ่านมันโดยละเอียด อ่านหลายๆ รอบได้ยิ่งดี งานชิ้นนี้ต้องการทำให้คุณทำอะไร คุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณพูดถึงแก่ผู้อ่านไหม โดยทั่วไปแล้ว ถ้าคุณกำลังเขียนรายงานส่งเป็นการบ้านที่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นชั้นประถมหรือมัธยม คุณเพียงแค่ต้องเขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณเลือกทำโดยไม่ต้องใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป แต่ในรายงานประเภทอื่นๆ คุณอาจต้องเขียนเพื่อโน้มน้าวผู้อ่านให้เห็นด้วยกับเรื่องที่คุณนำเสนอ หรือให้วิเคราะห์หัวข้อที่คุณได้รับ ขอให้รีบถามอาจารย์ของคุณทันที ถ้าคุณมีข้อสงสัยว่าคุณต้องทำอะไรกันแน่ [1]
    • คุณควรระวังไว้เอาว่าจุดมุ่งหมายของการเขียนรายงานคือการให้ข้อมูลผู้อ่าน การสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวหรือข้อความโน้มน้าวใจเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
  2. การเขียนถึงสิ่งที่ชอบจะทำให้คุณเขียนได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถเลือกหัวข้อได้ ให้ลองพยายามมองหาสิ่งที่คุณสนใจในหัวข้อที่คุณได้รับและลองโฟกัสที่สิ่งนั้น ทั้งนี้ อย่าลืมปรึกษาอาจารย์ของคุณอยู่เสมอว่ารูปแบบที่คุณเลือกเขียนนั้นไม่ขัดกับสิ่งที่อาจารย์อยากให้คุณทำ [2]
    • ถ้าคุณได้รับคำสั่งให้เขียนเกี่ยวกับประเทศอเมริกาในปี 1960 แต่คุณดันเกลียดประวัติศาสตร์ แต่คุณชอบดนตรี คุณอาจจะลองเขียนถึงดนตรีในยุคนั้นแทนและพยายามเชื่อโยงให้เข้ากับเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นดู อย่าลืมว่าคุณควรจะกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักให้ทั่วถึงด้วย
  3. ถ้าคุณต้องรายงานให้เพื่อนของคุณฟัง เราแนะนำให้คุณพยายามเลือกหัวข้อที่เพื่อนๆ ของคุณน่าจะสนใจและเข้าใจง่าย สมมุติว่าถ้าคุณเป็นคนที่สามของวันที่ออกมาพูดเรื่องดิสนีย์แลนด์ เพื่อนๆ ของคุณคงเบื่อที่จะฟังซ้ำไปเรียบร้อยแล้ว ปรึกษากับอาจารย์ของคุณเรื่องหัวข้อดูเพื่อป้องกันสถานการณ์แบบนี้
    • ถ้าหัวข้อที่คุณอยากเขียนโดนคนอื่นเลือกตัดหน้าไปแล้ว ให้ลองหาวิธีนำเสนอหัวข้อเดียวกันนั้นด้วยแง่มุมที่ต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะเขียนเรื่องดิสนีย์แลนด์จริงๆ แต่มีคนเลือกหัวข้อนี้ไปแล้ว คุณอาจลองตีกรอบหัวข้อของคุณให้แคบลงและเลือกนำเสนอเรื่องแอดเวนเจอร์แลนด์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดิสนีย์แลนด์แทน คุณอาจพูดเรื่องความเป็นมาในการก่อสร้าง แรงบันดาลใจ เครื่องเล่นต่างๆ ที่มีในโซนนั้น หรืออาจพูดเรื่องในแอดเวนเจอร์แลนด์มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างไหมในช่วงที่ผ่านมา เป็นต้น [3]
  4. ถ้าคุณเริ่มเขียนไปสักพักแล้วคุณรู้สึกตัน เขียนไม่ออก หาข้อมูลไม่ได้ หรือหัวข้อกว้างเกินไป คุณสามารถเลือกเปลี่ยนหัวข้อได้เสมอ ตราบใดที่คุณสามารถทำงานส่งได้ตามเวลา
    • ถ้าหัวข้อของคุณกว้างเกินไป ให้ลองหาจุดโฟกัสภายในหัวข้อเดิม เช่น ถ้าคุณอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับงานแสดงสินค้า แต่เรื่องนี้มีรายละเอียดที่จะต้องกล่าวถึงเยอะมาก ข้อมูลที่คุณหาได้ก็หลากหลายเกินไปจนเขียนไม่หมด ในสถาการณ์แบบนี้ คุณจะต้องเลือกเขียนถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คุณอาจเลือกเขียนถึงงานแสดงสินค้านานาชาติในปานามาแปซิฟิกเพียงอย่างเดียว จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้น
    โฆษณา

ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

การค้นคว้าหาข้อมูล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยปกติอาจารย์จะให้จำนวนขั้นต่ำของแหล่งอ้างอิงที่คุณต้องไปค้นคว้า คุณต้องหาให้ครบตามที่อาจารย์กำหนดเพื่อให้ได้รายงานที่ดี [4]
    • ถ้าคุณเขียนรายงานเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง คุณควรค้นคว้าให้ถี่ถ้วนเกี่ยวกับชีวิตของเขา วัยเด็กของเขา เขาทำอะไรบ้างที่มีความสำคัญต่อสังคม ครอบครัวของเขาเป็นอย่างไร เป็นต้น
    • ถ้าคุณเขียนรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ ขอให้ค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์อื่นๆ ที่นำไปสู่เหตุการณ์ที่คุณเลือกเขียนด้วย รวมไปถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเหตุการณ์และหลังจากนั้น
  2. ห้องสมุดเป็นแหล่งค้นหาข้อมูลที่ดีเยี่ยม คุณสามารถค้นหาฐานข้อมูลของหนังสือหรือรายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อรายงานของคุณ ถ้าคุณมีปัญหาในการค้นหา อย่าลืมว่าคุณสามารถขอให้บรรณารักษ์ช่วยคุณได้เสมอ
    • ถ้าคุณเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อของคุณได้เป็นอย่างดี วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้คุณได้หนังสือเล่มอื่นๆ เพิ่มคือลองดูที่แหล่งอ้างอิงของหนังสือเล่มนั้นว่าผู้เขียนใช้หนังสือเล่มใดบ้างในการอ้างอิง (แหล่งอ้างอิงมักอยู่หน้าท้ายๆ ของหนังสือ) รายชื่อหนังสือเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพให้เนื้อหารายงาน
  3. ขอให้เลือกเฉพาะแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เท่านั้นในการนำมาเขียน คุณต้องตรวจสอบข้อมูลกับแหล่งอื่นควบคู่ไปด้วย หรืออาจเลือกแหล่งข้อมูลที่ได้รับการรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญในแขนงนั้น เว็บไซต์ของรัฐบาล มหาวิทยาลัย หรือสถาบันวิชาการต่างๆ ไม่ควรใช้ข้อมูลที่ขาดความน่าเชื่อถือโดยเด็ดขาด [5]
    • ถ้าคุณเขียนถึงบุคคลเฉพาะเจาะจง ให้ลองหาข้อมูลจากบริษัทหรือเว็บไซต์ของคนๆ นั้นโดยตรง เช่น ถ้าคุณเขียนถึงเจน กูดดอลล์ คุณก็ควรเลือกหาข้อมูลจากเว็บไซต์ สถาบันเจน กูดดอลล์
  4. คุณควรจดแหล่งที่มาของข้อมูลที่คุณหาได้แยกไว้เสมอ (สิ่งที่คุณควรจด คือ ผู้เขียน วันที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ เว็บไซต์ที่ลงข้อมูล พิมพ์ที่เมืองไหน คุณใช้ข้อมูลจากหน้าไหนบ้าง) เพื่อที่เวลาคุณเขียนบรรณานุกรมสำหรับรายงานของคุณ คุณจะไม่ต้องลำบากหาอีกรอบ

    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

การวางแผนก่อนเขียนจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมมติฐานหลักถือเป็นใจความสำคัญของรายงาน และเป็นข้อความที่ช่วยสรุปว่าคุณต้องการนำเสนออะไรในรายงานชิ้นนี้ หัวข้อรองและหัวข้อย่อยต่างๆ ที่คุณต้องการกล่าวถึงจะต้องสามารถเชื่อมโยงกับสมมติฐานหลักได้เสมอ ดังนั้น คุณควรตั้งสมมติฐานหลักให้ไม่แคบ ไม่กว้างจนเกินไป ถ้าคุณอยากนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ให้เลือกตั้งสมมติฐานหลักที่ฟังดูเป็นกลางและสามารถอ้างอิงได้ด้วยข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัว แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องตั้งสมมติฐานหลักเพื่อโน้มน้าวคนให้เห็นด้วยกับคุณ คุณจำเป็นจะต้องวิเคราะห์หัวข้อของคุณอย่างละเอียด และนำเสนอทั้งข้อเท็จจริงและข้อขัดแย้งที่คุณต้องการจะโน้มน้าวในรายงานของคุณ [6]
    • ตัวอย่างสมมติฐานหลักแบบธรรมดา (สมมติฐานหลัก 1) : หอหลักทั้งสามในงานแสดงสินค้านานาชาติปานามาแปซิฟิกจัดแสดงชิ้นงานสไตล์โมเดิร์นมากมาย ถือเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณแห่งการปฏิรูปใหม่ของยุคสมัยแห่งความเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี
    • ตัวอย่างสมมติฐานหลักเชิงโน้มน้าว (สมมติฐานหลัก 2) : งานแสดงสินค้านานาชาติปานามาแปซิฟิกถูกออกแบบให้เป็นการเฉลิมฉลองจิตวิญญาณของยุคสมัยแห่งความเจริญก้าวหน้า แต่ภายในงานเองกลับซ่อนเร้นไปด้วยการเหยียดผิวและการยกย่องคนขาวซึ่งผู้ร่วมงานส่วนใหญ่เลือกที่จะเมินเฉยหรือร่วมยินดี
  2. โครงร่างจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของสิ่งที่คุณอยากจะนำเสนอชัดเจนยิ่งขึ้น จะเขียนออกมาเป็นข้อๆ หรือทำแผนภูมิเชื่อมโยงก็ได้ โดยเริ่มต้นจากใจความหลักแล้วจึงแตกออกมาเป็นหัวข้อรองที่เกี่ยวข้องสัก 3 หัวข้อ จากนั้นเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมที่หัวข้อรองแต่ละข้อ
    • ใจความหลักควรสอดคล้องกับและสมมติฐานหลักและช่วยส่งเสริมให้ข้อโต้แย้งของคุณฟังดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
    • ตัวอย่างใจความหลัก สมมติฐานหลัก 1 : ชิ้นงานแสดงใน Court of the Universe, ชิ้นงานแสดงใน Court of the Four Seasons, ชิ้นงานแสดงใน Court of Abundance.
    • ตัวอย่างใจความหลัก สมมติฐานหลัก 2 : การเหยียดผิวใน ‘Joy Zone’ (พื้นที่รื่นรมย์), รูปปั้น ‘The End of the Trail’ (บทสุดท้ายของคำตัดสิน), หัวข้อบรรยาย ‘Race Betterment’ (การปรับปรุงชาติพันธุ์ให้ดีขึ้น) ในงาน.
  3. คุณควรเลือกรูปแบบให้สอดคล้องกับหัวข้อรายงาน เช่น ถ้าคุณเขียนถึงบุคคล จะเป็นการดีกว่าถ้าคุณจะเขียนโดยเรียงลำดับตามช่วงเวลาที่เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในชีวิตของเขา
    • ในสมมติฐานหลัก 1 คุณอาจเขียนรายงานโดยเลือกใช้รูปแบบเดียวกับคู่มือการเดินดูงาน เพราะคุณต้องกล่าวถึงชิ้นงานต่างๆ ที่แสดงในหอแสดงหลักทั้งสาม (Court of the Universe, Court of the Four Seasons, Court of Abundance.)
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

การเขียนรายงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล่าวถึงหัวข้อและสมมติฐานหลักของคุณ ควรเขียนให้ครอบคลุมถึงเนื้อหาที่คุณอยากนำเสนอแต่ไม่วกวนและเยอะจนเกินไป เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของรายงาน คุณควรเริ่มจากให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ แล้วจึงนำเสนอสมมติฐานหลัก ระวังอย่าให้คำพูดซ้ำซ้อนหรือเริ่มประโยคด้วยคำเดิมซ้ำๆ
    • ตัวอย่างคำนำ สมมติฐานหลัก 1 : งานแสดงสินค้านานาชาติปานามาแปซิฟิกประจำปี 1915 ถูกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการสร้างคลองปานามาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคสมัยนั้น หอแสดงหลักทั้งสามมีการจัดแสดงชิ้นงานสุดทันสมัยมากมาย ถือเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณแห่งการปฏิรูปใหม่ของยุคสมัยแห่งความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี [7]
  2. ในส่วนของเนื้อหา ให้เขียนหลักฐานข้อมูล ข้อเท็จจริงๆ ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสมมติฐานหลักที่เราตั้งขึ้นนั้นเป็นจริง โดยอาจเขียนหนึ่งย่อหน้าต่อหนึ่งหัวข้อรอง ในแต่ละย่อหน้าให้เขียนหัวข้อก่อนแล้วจึงเริ่มขยายความต่อ โดยให้เหตุผลประกอบและหลักฐานเฉพาะ จากนั้นจึงสรุปให้ชัดเจนว่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสอดคล้องกับสมมติฐานหลักอย่างไร [8]
    • ตัวอย่างหัวข้อรอง สมมติฐานหลัก 1 : หอ Court of the Universe ถือเป็นหัวใจสำคัญของงาน ห้องนี้เป็นตัวแทนของความสำเร็จแห่งมนุษยชาติและการพบกันของชาวตะวันออกและชาวตะวันตก
    • ถ้าเป็นรายงานเกี่ยวกับบุคคล อาจเริ่มเขียนเนื้อหาในหัวข้อเช่น "วัยเด็กของนาย ก มีส่วนสำคัญให้การทำให้เขาเป็นเขาอย่างทุกวันนี้" เมื่อเริ่มดังนี้แล้วคุณก็สามารถอธิยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับชีวิตของคนๆ นี้ได้
  3. หาหลักฐานมาทำให้หัวข้อรองของคุณดูเป็นจริงและน่าเชื่อถือ. หลังจากเริ่มต้นย่อหน้าของคุณด้วยการบอกหัวข้อแล้ว ให้ใส่ข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยพิสูจน์ว่าหัวข้อที่คุณตั้งไว้นั้นเป็นจริง อาจเป็นคำอธิบายเพิ่มเติม บทคัดลอกจากผู้เชี่ยวชาญ หรือข้อค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ ก็เป็นได้
    • เมื่อกล่าวถึงหัวข้อรองเกี่ยวกับหอ Court of the Universe คุณควรเขียนเนื้อหาถึงชิ้นงานต่างๆ ที่สามารถพบได้ในหอเหล่านั้น รวมไปถึงอธิบายให้เห็นชัดเจนว่าหอแสดงนั้นเป็นตัวแทนของการพบกันของชาวตะวันออกและชาวตะวันตก อย่างไร
    • ถ้าเขียนรายงานถึงบุคคล คุณอาจเล่าถึงชีวิตวัยเด็กอันยากลำบากของนาย ก อธิบายว่าเขาลำบากอย่างไร เจออะไรมาบ้าง และสิ่งเหล่านั้นมีผลให้เขาพัฒนาตัวเองมาเป็นบุคคลสำคัญอย่างในปัจจุบันนี้ได้อย่างไร
  4. คุณจะต้องสรุปสมมติฐานหลักของคุณอีกครั้งที่ย่อหน้าสุดท้ายของรายงานคุณ รวมไปถึงกล่าวถึงหัวข้อรายงานของคุณเป็นครั้งสุดท้าย เหมือนเป็นการย้ำให้ผู้อ่านไม่ลืมสิ่งที่คุณอยากนำเสนอและได้นำสิ่งนั้นติดตัวกลับไปหลังอ่านรายงานของคุณ [9]
  5. อาจารย์น่าจะสั่งว่าให้คุณอ้างอิงด้วยระบบไหน (MLA, APA, และ Chicago สำหรับรายงานภาษาอังกฤษ) คุณควรอ้างอิงด้วยระบบเดียวกันให้หมดทั้งในข้อความคัดลอกที่เป็นส่วนหนึ่งข้อเนื้อหา และในรายชื่อหนังสือที่หน้าบรรณานุกรม
  6. คุณควรเขียนตามรูปแบบที่อาจารย์สั่ง แต่ถ้าไม่ได้สั่งให้ใช้แบบมาตรฐานที่ดูอ่านง่าย รูปแบบมาตรฐานของรายงานวิชาการภาษาอังกฤษในอเมริกาคือใช้ฟ้อนท์ Times New Roman ขนาด 12 หรือ Arial เว้นสองบรรทัดและระยะขอบกระดาษ 1 นิ้ว
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

การทำให้รายงานเสร็จสมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อ่านทวนรายงานของคุณเสมือนว่าคุณเป็นผู้อ่านคนหนึ่ง. เพื่อตรวจสอบว่าคุณนำเสนอสิ่งที่คุณอยากจะพูดได้ชัดเจนดีไหม เนื้อหารายงานของคุณมีคุณภาพดีหรือไม่ หลักฐานที่คุณยกมาอ้างสอดคล้องกับสิ่งที่คุณเขียนไว้ไหม ถ้าคุณเป็นผู้อ่านที่เพิ่งเคยเห็นรายงานของคุณเป็นครั้งแรก คุณจะเข้าใจเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือเปล่า
  2. ขอให้คนอื่นช่วยลองอ่านรายงานของคุณเพื่อดูว่าคุณนำเสนอได้ชัดเจนดีหรือไม่. ภาษาอ่านง่ายไหม มีอะไรที่ควรตัดออกหรือใส่เพิ่มหรือเปล่า หรือมีอะไรที่ควรเปลี่ยนไหม การมีคนอื่นมาช่วยอ่านตรวจทานจะทำให้รายงานของคุณสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  3. ตรวจสอบคำผิด รูปประโยค การเว้นวรรค ฯลฯ หรือคุณอาจเจอเนื้อหาที่คุณอยากเขียนใหม่ให้อ่านง่ายขึ้น [10]
  4. การอ่านออกเสียงจะช่วยเรื่องการดูว่าภาษาที่คุณเขียนนั้นเป็นธรรมชาติหรือไม่ คุณอาจพบว่าคุณเขียนประโยคยืดยาวเกินไปจนทำให้เข้าใจลำบาก
  5. ให้คุณรู้สึกหัวสมองปลอดโปร่งก่อนกลับมาลองอ่านทวนอีกครั้ง ถ้าคุณถอยตัวเองออกมาบ้างจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของรายงานคุณได้ดีขึ้นและจะทำให้คุณเห็นข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ในตอนแรกคุณอาจมองข้ามไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณจะต้องคิดไว้ว่าผู้อ่านอาจไม่มีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่คุณเลือกเท่าไรนัก คุณควรใส่คำอธิบายหรือคำจัดกัดความถ้าเขียนถึงสิ่งที่มีความเฉพาะเจาะจง อาจอธิบายหัวข้อย่อยเพิ่มเติมด้วยก็ได้
  • บอกตัวเองให้ชัดเจนว่าคุณต้องการจะสื่ออะไรในรายงานที่คุณเขียน และเขียนให้ดีตั้งแต่แรกเริ่ม
  • อย่ารอจนวันสุดท้ายค่อยมาเร่งทำ การเขียนรายงานที่ดีชิ้นหนึ่งอาจใช้เวลานานกว่าที่คุณคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาที่คุณต้องจัดการกับหน้าปก รูปภาพประกอบ การเข้าเล่ม ฯลฯ เพราะการทำรายงานมีอะไรมากกว่าแค่เขียนเนื้อหาให้เสร็จ
  • ห้ามคัดลอกงานของผู้อื่นเด็ดขาด การกระทำนี้ร้ายแรงกว่าคำว่าขี้เกียจ แต่เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณทำเรื่องผิดกฎหมายโดยการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
  • ค้นคว้าข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง ห้ามเขียนรายงานโดยอ้างอิงจากแหล่งเดียว
  • เลือกหัวข้อที่คุณเชี่ยวชาญ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,517 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา