ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เกรด C ก็เรียนจบได้เหมือนกัน แต่มีแค่รายงานที่ได้ A+ เท่านั้นที่จะได้ครองพื้นที่บนตู้เย็นของคุณยายหรือของคุณเอง คุณเคยพยายามเขียนรายงานแบบสุดติ่งกระดิ่งแมว แต่สุดท้ายก็ยังได้คะแนนงั้นๆ หรือเปล่า ถ้างั้นเดินไปบอกคุณยายเลยว่าเตรียมแม็กเน็ตให้พร้อม เพราะแค่ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ รับรองว่ารายงานประจำภาคเรียนของคุณจะต้องคะแนนนำโด่งคนอื่นๆ ในห้องแน่

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 1:

เขียนรายงานประจำภาคเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกหัวข้อให้มากที่สุด ถ้าคุณสามารถเลือกหัวข้อได้เอง ให้ใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้เลือกหัวข้อที่คุณสนใจเป็นพิเศษเพราะมันจะช่วยให้เขียนง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยายามเลือกหัวข้อที่เกิดจากคำถามที่น่าสนใจที่คุณเองก็อยากจะค้นคว้าเพื่อหาคำตอบอยู่แล้ว พอเลือกหัวข้อได้แล้วก็อย่าลืมลดทอนหัวข้อใหญ่ลงมาให้เป็นหัวข้อที่คุณทำได้จริงๆ เพราะหัวข้อในตอนเริ่มแรกมักจะมีขอบเขตที่กว้างเกินไปและไม่สามารถเขียนให้เสร็จได้ภายในเวลาและความยาวที่กำหนด เพราะฉะนั้นจำกัดหัวข้อให้แคบลงมาเพื่อที่คุณจะได้ลงมือเขียนตามขอบเขตของรายงานได้ แต่ถ้าอาจารย์กำหนดหัวข้อมาให้แล้ว ให้เริ่มจากการสำรวจมุมมองในหัวข้อนั้นๆ ที่ต่างออกไปก่อน เพื่อให้เนื้อหาและรายงานของคุณแตกต่างจากมุมมองที่ชัดเจนที่หลายคนน่าจะเลือกเขียน [1] แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะเลือกเขียนมุมไหนในหัวข้อนั้นก็แล้วแต่ มุมที่คุณเขียนควรใช้วิธีการมองในแบบของคุณเองและแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจหัวข้อนั้นอย่างลึกซึ้ง เพราะมันเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและทำให้ผู้อ่านรู้สึกทึ่ง fascinated by.
    • ระวังอย่าเลือกหัวข้อและตั้งมั่นว่าผลลัพธ์ของรายงานจะเป็นอย่างไร จนกลายเป็นว่าคุณจมอยู่กับแนวความคิดและวิธีการคิดใหม่ๆ ขณะค้นคว้า ซึ่งเป็นสิ่งที่วงวิชาการเรียกกันว่า "การยึดมั่นในกระบวนการคิดเร็วเกินไป" (premature cognitive commitment) [2] เพราะมันอาจจะเป็นทำให้รายงานที่น่าจะดีออกมาแย่ได้ ระหว่างค้นคว้าไม่ว่าคุณจะเจอผลการวิจัยแบบไหน แต่ถ้าคุณมีผลลัพธ์ในหัวอยู่ก่อนแล้ว คุณก็จะพยายามทำให้ข้อมูลมันสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ แทนที่จะเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนการวิเคราะห์สิ่งที่ค้นพบอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นให้คุณตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ศึกษาในแต่ละขั้นตอนของการค้นคว้าและการเขียนรายงานอยู่เสมอ และมองว่าหัวข้อนั้นเป็น "สมมุติฐาน" ไม่ใช่บทสรุป วิธีนี้จะทำให้คุณพร้อมที่จะถูกท้าทายหรือแม้กระทั่งเปลี่ยนความคิดขณะค้นคว้า
    • ข้อคิดเห็น ความเห็น และข้อมูลที่คนอื่นเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนั้นมักจะเป็นประโยชน์ในการขัดเกลางานของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อคิดเห็นที่บอกว่าต้องมี "การค้นคว้าเพิ่มเติม" หรือเมื่อมีการตั้งคำถามที่ท้าทายและยังไม่มีคำตอบ
    • คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ วิธีการ เขียนรายงาน
  2. ไม่มีประโยชน์ที่จะเขียนรายงานก่อนที่จะค้นคว้าเพราะคุณต้องเข้าใจความเป็นมาของหัวข้อและแนวคิดในปัจจุบัน รวมทั้งค้นหาด้วยว่าในหัวข้อนี้ยังต้องมีการค้นคว้าต่อไปในเรื่องใดบ้าง [3] แม้ว่าคุณจะอยากพ่นทุกอย่างที่คุณรู้ดีอยู่แล้วลงไปรายงานรวดเดียวมากแค่ไหน อย่าทำอย่างนั้นเด็ดขาดเพราะไม่อย่างนั้นคุณจะไม่ได้เรียนรู้อะไรจากการค้นคว้าและการเขียนรายงานเลย ขณะค้นคว้าให้คิดว่าตัวเองกำลังผจญภัยและเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่คุณยังไม่เข้าใจ รวมถึงพร้อมที่จะสำรวจวิธีการมองปัญหาเก่าๆ ด้วยวิธีการใหม่ เวลาค้นคว้า ให้ใช้ทั้งแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (ข้อความต้นฉบับ เอกสาร คดีทางกฎหมาย บทสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น) และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (การตีความและคำอธิบายแหล่งข้อมูลปฐมภูมิของคนอื่น) นอกจากนี้ยังมีที่ที่นักศึกษาที่สนใจหัวข้อเดียวกันสามารถมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ หรือคุณจะตั้งกระทู้ในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณสนใจก็ได้ แต่การพูดคุยเป็นแค่การแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำให้หัวข้อของคุณเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น แต่ไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่คุณจะนำคำพูดมาอ้างอิงได้ ถ้าคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ให้เข้าไปอ่านบทความดังต่อไปนี้:
  3. หลังจากค้นคว้ามาแล้ว ให้กลับไปทบทวนหัวข้อที่เลือกไว้ ถึงจุดนี้คุณจะต้องเจาะจงประเด็นที่ชัดเจนและหนักแน่นเพียงหนึ่งประเด็น เป็นประเด็นที่คุณมั่นใจว่าจะอภิปรายได้อย่างหนักแน่นตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านรู้แน่ชัดว่าเขากำลังจะได้เรียนรู้อะไรจากงานเขียนของคุณ และผู้อ่านก็ควรจะได้ข้อสรุปที่สมเหตุสมผลในประเด็นนี้ด้วย ใจความหลักคือแกนหลักของเรียงความ และย่อหน้าอื่นๆ ก็จะต้องสนับสนุนใจความหลักนี้ ถ้าคุณเขียนด้วยความเชื่อแค่ครึ่งๆ กลางๆ รายงานของคุณก็จะออกมาน่าเบื่อ สร้างใจความหลักน่าสนใจ โดยใจความหลักที่คุณสร้างขึ้นมาก็ควรเป็นสิ่งที่คุณสนใจในระหว่างการค้นคว้า เพราะจะทำให้คุณไม่เบื่อตอนหาข้อมูลมาสนับสนุน พอคุณพอใจแล้วว่าหัวข้อของคุณสมเหตุสมผลและชัดเจนแล้ว ก็ให้เริ่มเขียนร่างฉบับแรกได้เลย [4]
    • จำไว้ว่าการค้นคว้าไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ และคุณก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับใจความหลักของรายงานในตอนแรกด้วย เหลือพื้นที่สำหรับความยืดหยุ่นขณะค้นคว้าและเขียนรายงานด้วย เพราะคุณอาจจะอยากเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างที่สอดคล้องกับแนวความคิดที่อยู่ในหัวของคุณและการค้นพบที่คุณยังต้องสำรวจเพิ่มเติม แต่ในขณะเดียวกันก็ระวังอย่าเป็นนักสำรวจที่ไม่ยอมลงหลักปักฐานกับแนวความคิดอะไรเลยเพราะกลัวว่าจะเป็นการจำกัดตัวเอง เพราะถึงจุดหนึ่งคุณก็ต้องบอกตัวเองว่า "ฉันเสนอประเด็นแค่นี้พอแล้ว!" ถ้าคุณสนใจหัวข้อนั้นมากจริงๆ คุณมีเวลาเหลือเฟือที่จะกลับมาเรียนต่อหลังจากจบปริญญาตรี แต่รายงานประจำภาคเรียนน่ะเขาจำกัดจำนวนคำและมีกำหนดส่งนะ!
  4. เขียน โครงร่าง รายงาน. บางคนสามารถเขียนรายงานประจำภาคเรียนได้โดยไม่ต้องเขียนโครงร่างก่อน แต่คนพวกนี้หายากและมักจะเป็นพวกที่ทำงานได้ก็ต่อเมื่อไฟล้นก้น แต่การเขียนโครงร่างออกมาคร่าวๆ ก่อนนั้นดีกว่า เพราะคุณจะได้รู้ว่าคุณจะมุ่งหน้าไปไหน เหมือนแผนที่ถนนที่ช่วยให้คุณรู้ว่าคุณจะไปไหนจากจุด A ไป B โครงร่างเองก็เหมือนกับตัวรายงานทั้งฉบับตรงที่ไม่ตายตัวและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่โครงร่างจะทำให้คุณรู้โครงสร้างและขอบข่ายที่คุณสามารถย้อนกลับมาดูได้เวลาที่คุณหลงประเด็นกลางคันระหว่างเขียน และยังทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของรายงานด้วย ที่เหลือก็เป็นแค่การใส่รายละเอียด การเขียนโครงร่างมีด้วยกันหลายวิธีและคุณก็อาจจะมีวิธีของตัวเองที่คุณถนัดอยู่แล้ว แต่โดยหลักการทั่วไป องค์ประกอบพื้นฐานของโครงร่างควรจะมี: [5]
    • บทนำ ย่อหน้า/ส่วนของการอภิปราย และข้อสรุปหรือใจความสรุป
    • ย่อหน้าบรรยายหรืออธิบายต่อจากบทนำ โดยกำหนดที่มาที่ไปหรือสาระสำคัญ
    • ย่อหน้า/ส่วนที่เป็นบทวิเคราะห์และข้อโต้แย้ง เขียนแนวคิดหลักของเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าโดยใช้ข้อมูลที่ค้นคว้ามา
    • คำถามหรือประเด็นสำคัญที่คุณยังไม่มั่นใจ
    • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีการเขียนโครงร่าง
  5. ย่อหน้าแรกเขียนยากแต่ก็อย่าให้มันกลายเป็นอุปสรรคในการเขียนรายงาน ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ต้องกลับมาเขียนใหม่บ่อยที่สุดขณะที่คุณคว้าข้อมูลและเจอการเปลี่ยนแปลงของทิศทาง ขั้นตอน และผลลัพธ์ ดังนั้นให้มองว่าบทนำก็เป็นแค่การเริ่มลงมือเขียน และบอกตัวเองว่าคุณกลับมาแก้ไขได้เสมอ วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถเขียนไปมั่วๆ ก่อนแล้วค่อยกลับมาแก้ไขในจุดที่ต้องแก้ได้ [6] นอกจากนี้ให้ใช้บทนำเป็นโอกาสที่คุณจะได้ช่วยให้ตัวเองเริ่มเข้าใจองค์ประกอบทั่วไปของรายงานประจำภาคเรียนที่คุณเขียน โดยการอธิบายส่วนย่อยต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้อ่านจะต้องรู้ก่อนตั้งแต่เริ่มอ่าน ลองใช้หลักการ HIT ในการเขียนบทนำ: [7]
    • H ook (จุดดึงความสนใจ) ดึงความสนใจของผู้อ่านด้วยคำถามหรือคำพูดอ้างอิง หรืออาจจะโยงเกร็ดเรื่องราวที่น่าสงสัยที่สุดท้ายแล้วจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวในบริบทของข้อสันนิษฐาน
    • I ntroduce (แนะนำ) แนะนำหัวข้อ เขียนให้กระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น
    • T hesis statement (ใจความสำคัญ) ขั้นตอนก่อนหน้าได้อธิบายเรื่องใจความสำคัญไว้แล้ว
      • อย่าลืมนิยามคำที่คุณอภิปรายด้วย! เช่นคำว่า "โลกาภิวัฒน์" นั้นมีหลายความหมาย และในบทนำคุณต้องกล่าวให้ชัดเจนว่าคุณจะใช้ความหมายไหน
  6. ใช้ ย่อหน้าเนื้อหา โน้มน้าวใจผู้อ่าน. ย่อหน้าเนื้อหาแต่ละย่อหน้าต้องสนับสนุนข้อโต้แย้งในด้านใหม่ๆ ไม่แน่ใจว่าเนื้อหาสนับสนุนข้อโต้แย้งหรือยังใช่ไหม ถ้างั้นลองแยกประโยคแรกของแต่ละย่อหน้าออกมา เมื่อรวมกันแล้วมันควรจะออกมาเหมือนกับรายการหลักฐานที่พิสูจน์ว่าสมมุติฐานของคุณเป็นจริง
    • พยายามเชื่อมโยงประเด็นที่แท้จริงของเรียงความ (สมมุติว่าเป็นเรื่องปรัชญาความรักของเพลโต) กับประเด็นที่เกี่ยวข้องกันแบบอ้อมๆ ที่คุณดันไปรู้มา (เช่น แนวโน้มของการร่วมเพศที่ผิดจากขนบในปาร์ตี้สมาคมนักศึกษาชาย) ค่อยๆ ดึงประเด็นนั้นเข้าสู่ประเด็นที่แท้จริงของเรียงความ และพูดคร่าวๆ ว่าทำไมแง่มุมนี้ของหนังสือ/ประเด็นนี้จึงน่าสนใจและควรค่าแก่การศึกษา (เช่น ความคาดหวังในเรื่องความใกล้ชิดทางกายในสมัยนั้นแตกต่างจากสมัยนี้อย่างไร)
  7. ลองใช้วิธีการ ROCC: [8]
    • R estate (กล่าวซ้ำ) กล่าวใจความสำคัญของคุณซ้ำ
    • O ne (หนึ่ง) กล่าวรายละเอียดที่สำคัญที่มักจะอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายมา 1 ข้อ
    • C onclude (สรุป) ขมวดปมทั้งหมด
    • C lincher (ข้อคิดเห็นที่ยุติการอภิปราย) ซึ่งเป็นจุดที่คุณจะให้ผู้อ่านกลับไปคิดต่อทีหลัง
  8. ใช้แหล่งข้อมูลอื่นๆ เหรอ ดูว่าอาจารย์สั่งให้เขียนบรรณานุกรมแบบไหน อาจจะเป็น MLA หรือ APA (หรือการเขียนอ้างอิงตามหลักภาษาไทย) หลักการเขียนอ้างอิงแต่ละประเภทมีรูปแบบการเขียนที่ตายตัว เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่แน่ ให้กลับไปดูคู่มือ (ถ้าเป็นการเขียนอ้างอิงภาษาอังกฤษ สามารถดูคู่มือการเขียนออนไลน์ได้ที่ owl.English.Purdue.EU) การใส่คำพูดอ้างอิงตลอดทั้งรายงานเป็นวิธีที่ช่วยขยายความประเด็นของคุณให้กระจ่างขึ้น แต่ก็ระวังอย่าใส่คำพูดอ้างอิงในรายงานมากเกินไปจนกลายเป็นว่ามันอธิบายประเด็นนั้นแทนคุณ เพราะถ้าอย่างนั้นมันจะกลายเป็นว่าคนที่สร้างประเด็นนี้ขึ้นมาคือนักเขียนคนอื่นๆ และเขาก็เป็นคนเขียนรายงานแทนคุณ
    • อย่าตัดแปะข้อโต้แย้งของคนอื่น คุณสามารถนำความคิดของนักคิดดังๆ ในสาขานั้นมาสนับสนุนการคิดของคุณได้ตามสบาย แต่อย่าพูดแค่ว่า "A กล่าวว่า... B กล่าวว่า..." เพราะสุดท้ายแล้วคนอ่านเขาอยากรู้ว่า คุณ กล่าวว่าอะไร
    • คุณควรเขียนบรรณานุกรมตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปปั่นเอาในนาทีสุดท้าย: วิธีการ เขียนบรรณานุกรม
  9. จำนวนหน้ารายงานที่ต้องส่งอาจารย์มักจะมีพื้นที่น้อยมาก เพราะฉะนั้นการลดทอนคำจึงเป็นวิธีที่ช่วยได้ โครงสร้างประโยคที่คุณใช้ดีพอแล้วหรือยัง ไล่ดูที่ละประโยคและดูว่าคุณใช้คำน้อยที่สุดแต่ยังคงรักษาความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อไว้ได้หรือเปล่า
    • เปลี่ยนจากการใช้คำฟุ่มเฟือยมาเป็นประโยคที่กระชับขึ้น เช่น "ข้าพเจ้าได้ดำเนินการเขียนรายงาน" ก็ให้เปลี่ยนเป็น "ข้าพเจ้าเขียนรายงาน"
  10. การ ตรวจการสะกดคำ เป็นเพียงขั้นแรกของการตรวจทานรายงานเท่านั้น! ถ้าเป็นรายงานภาษาอังกฤษคุณก็สามารถใช้ spell-check ได้ แต่กระนั้นมันก็ไม่สามารถตรวจจับการสะกดคำผิดจาก "how" เป็น "show" ได้ และไม่สามารถตรวจการพิมพ์คำซ้ำ ("the the") หรือความผิดพลาดด้านไวยากรณ์ได้ (ยกเว้นว่าคุณจะใช้ MS Word ที่สามารถตรวจความถูกต้องของไวยากรณ์ได้ประมาณหนึ่ง และสามารถตรวจจับการพิมพ์คำซ้ำได้) แต่ถ้าเป็นรายงานภาษาไทยจะยิ่งยากกว่าเดิมเพราะเราพึ่งพา spell-check ไม่ค่อยได้ และอาจารย์ก็ไม่น่าจะพอใจความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดจากความไม่ใส่ใจแบบนี้เท่าไหร่ เพราะถ้าขนาดตรวจทานรายงานคุณยังสะเพร่า ก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะไม่ได้ตั้งใจเขียนรายงานฉบับนี้เลยด้วยซ้ำ การแก้ปัญหาให้ตรงจุดคือขอให้เพื่อนอ่านรายงานและทำเครื่องหมายตรงจุดที่ต้องแก้ไขไว้ให้
    • รายงานของคุณควรถูกต้องตามหลักภาษา คุณควรโน้มน้าวให้อาจารย์ยอมรับข้อโต้แย้งของคุณ ไม่ใช่เสียเวลาไปกับการแก้หลักภาษา ถ้างานเขียนของคุณผิดหลักภาษามากเกินไป สิ่งที่คุณต้องการจะสื่อก็จะกลืนหายไปกับความรำคาญที่เกิดจากการอ่านงานสะดุด
  11. คิดชื่อเรื่องดีๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน แต่ก็อย่าให้สั้นหรือยาวเกินไป! สำหรับ นักเขียนเรียงความมือฉมัง ชื่อเรื่องเจ๋งๆ ก็อาจจะแวบเข้ามาในหัวตั้งแต่ตอนเริ่มเขียน ในขณะที่บางคนกว่าจะนึกชื่อเรื่องได้ชัดเจนก็หลังจากที่เขียนเสร็จหมดแล้ว ถ้าคุณยังคิดไม่ออก ขอให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวมาช่วยคิด แล้วคุณจะประหลาดใจว่า คนที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องที่คุณเขียนมาก่อนสามารถคิดชื่อเรื่องที่คมคายได้ภายในพริบตาเดียว!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เผื่อเวลาการเขียนรายงานประจำภาคเรียนให้เพียงพอ แน่นอนว่ายิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ถ้าคุณเริ่มช้ากว่าที่ควร คุณก็จะไม่มีเวลาเขียนมากนัก ระยะเวลาขั้นต่ำที่ควรเผื่อไว้ในการเขียนงานคือ:
    • อย่างน้อย 2 ชั่วโมงสำหรับรายงาน 3-5 หน้า
    • อย่างน้อย 4 ชั่วโมงสำหรับรายงาน 8-10 หน้า
    • อย่างน้อย 6 ชั่วโมงสำหรับรายงาน 12-15 หน้า
    • เพิ่มเวลาเป็นสองเท่าถ้าคุณยังไม่ได้ทำการบ้านมาเลยและยังไม่ได้เข้าเรียน
    • สำหรับรายงานที่อาศัยการวิจัยเป็นหลัก ให้เพิ่มไปอีก 2 ชั่วโมง (แต่คุณต้องรู้วิธีการทำวิจัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่นอกเหนือไปจากแนวทางสั้นๆ ในบทความนี้)
  • เรียงความที่ดีที่สุดก็เหมือนกับการเล่นเทนนิสในสนามหญ้า ข้อโต้แย้งควรจะลื่นไหนในแบบที่มี "การตีโต้" ค่อยๆ ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างอย่างเป็นเหตุเป็นผลไปจนถึงบทสรุป
  • ถ้าคุณติดปัญหา ให้ไปพบอาจารย์ ไม่ว่าคุณจะยังตั้งข้อสันนิษฐานขึ้นมาไม่ได้หรืออยากจะให้อาจารย์ช่วยดูบทสรุปให้ อาจารย์ส่วนใหญ่เต็มใจที่จะช่วยอยู่แล้ว และพอถึงเวลาให้คะแนนอาจารย์ก็จะจำได้ว่าคุณเคยเข้ามาพบ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณใช้แหล่งข้อมูลจากที่อื่นและไม่ใส่ไว้ในแหล่งข้อมูลอ้างอิง ก็เท่ากับว่าคุณทุจริต (ขโมยคัดลอกผลงาน) คุณจะสอบตกและอาจถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยได้ อย่าทุจริต เพราะมันไม่คุ้มกันเลยเมื่อคิดว่าคุณจะต้องเสียโอกาสในการศึกษาต่อ และมันก็แทบจะไม่มีประโยชน์ในการรักษาความรู้หรือพัฒนาความเข้าใจเชิงวิเคราะห์และความเข้าใจเชิงลึกที่คุณจะต้องนำไปปรับใช้ตลอดเส้นทางการทำงานของคุณเลย พยายามทำให้สำเร็จตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อที่จะได้ไปต่อยอดความรู้ที่เหลือได้ง่ายขึ้นในภายภาคหน้า
  • อย่าเอารายงานวิชาหนึ่งไปส่งอีกวิชาหนึ่ง คุณจะทำอย่างนี้ได้ก็ต่อเมื่อคุณได้รับอนุญาตและรู้แน่ชัดว่าทำได้ อย่าลืมว่าพวกอาจารย์เขาคุยกันอยู่แล้ว และเขาก็รู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร
  • จำไว้ว่าการเขียนรายงานประจำภาคเรียนเป็นส่วนสำคัญของเส้นทางวิชาการ เพราะฉะนั้นอย่าลืมใส่หน้าปกใน สารบัญ เนื้อหารายงาน และหน้าบรรณานุกรม
  • อย่าลืมตรวจร่างสุดท้ายเพื่อหาจุดผิดและสิ่งที่ยังไม่ได้ใส่ลงไป เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้คนให้คะแนนรำคาญจนถึงขึ้นหักคะแนนโดยรวมของคุณได้ถ้ามันมีจุดผิดมากเกินไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,456 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา