ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณต้องใช้งานและการเตรียมตัวมากมายในการเขียนสุนทรพจน์ ถ้าหากคุณเขียนสุนทรพจน์เกี่ยวกับตัวเอง คุณก็ต้องพิจารณาหลายปัจจัยรวมไปถึงผู้ฟังสุนทรพจน์ จุดประสงค์และความยาวของสุนทรพจน์ คุณสามารถร่างสุนทรพจน์ที่แนะนำตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าบันเทิงด้วยการเตรียมตัว วางแผนและปรับปรุงที่ดีพอ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเตรียมตัวเขียนสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จุดประสงค์คือเพื่ออธิบายว่าทำไมคุณเข้าร่วมชั้นเรียนเกี่ยวกับการทำงานด้านโลหะหรือเปล่า? จุดประสงค์เพื่อแนะนำสถานที่และประวัติของคุณกับบริษัทเพื่อดำเนินการสัมมนาหรือไม่? ก่อนที่คุณจะเขียนอะไรก็ตาม คุณต้องมีแนวคิดที่ชัดเจนว่าสุนทรพจน์นี้มีจุดประสงค์อย่างไร เขียนจุดประสงค์ของสุนทรพจน์ด้านบนของหน้ากระดาษ [1]
  2. ถ้าหากสุนทรพจน์มีไว้สำหรับแนะนำตัวเองโดยทั่วไปรวมไปถึงสถานที่ที่คุณมาจาก ทำไมคุณถึงเข้าร่วมกลุ่มนี้ ความชอบและความสนใจของคุณคืออะไรและคุณคาดหวังอะไรเกี่ยวกับงานหรือกลุ่มนี้ ถ้าหากสุนทรพจน์นี้เกี่ยวกับการทำงาน คุณอาจจะต้องใส่คุณสมบัติและทักษะสำคัญ สิ่งที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของคุณและเหตุผลของคุณที่มาอยู่ในจุดนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับคุณในการตัดสินใจว่าสุนทรพจน์ของคุณจะมีหัวข้อและแนวคิดอะไร [2]
    • อีกวิธีในการรวบรวมความคิดคือการสร้างแผนภูมิความคิด คุณสามารถทำสิ่งนี้ด้วยกระดาษและดินสอโดยเริ่มจากการเขียนแนวคิดหรือธีมหลักตรงกลางของหน้ากระดาษ จากนั้นใช้เส้นเพื่อเชื่อมต่อแนวคิดและลากมันออกมาจากแนวคิดหลัก สำหรับสุนทรพจน์ที่เกี่ยวกับตัวเอง คุณสามารถใส่แนวคิดตรงกลางว่า “ฉัน” จากนั้นคุณสามารถเชื่อม 3 หรือ 4 จุดกลับแนวคิดตรงกลางที่เขียนว่า “ความสนใจ” “แรงบันดาลใจ” และอื่นๆ จากนั้นคุณสามารถเชื่อมแต่ละจุดออกมาเพื่อลงรายละเอียดมากกว่าเดิม [3]
    • มีวิธีรวบรวมความคิดที่อาจจะเป็นประโยชน์มากมาย คุณสามารถใช้วิธีตัวอักษรซึ่งคุณเขียนสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของสุนทรพจน์สำหรับแต่ละตัวอักษรโดยเริ่มจากก.ไก่ลงมาจนถึงฮ.นกฮูก [4]
    • อีกหนึ่งวิธีในการรวบรวมความคิดคือวิธี 3 มุมมอง นึกถึงหัวข้อของสุนทรพจน์ใน 3 มุมมอง อย่างแรกคืออธิบายหัวข้อซึ่งในกรณีนี้คือตัวของคุณ จากนั้นสืบย้อนกลับไปยังประวัติ สถานที่ที่คุณมาจาก สถานที่ที่คุณมาสู่และคุณได้เปลี่ยนแปลงการเดินทางอย่างไร สุดท้ายคุณต้องวาดแผนภูมิ นึกถึงบุคคลหรือสิ่งที่มีอิทธิพลสำหรับคุณและวิธีที่มันมีอิทธิพลต่อคุณ คุณมีบทบาทในภาพรวมอย่างไร [5]
  3. ปรับแต่งเนื้อหาให้เข้ากับผู้ฟังและจุดประสงค์. อย่างแรกคุณต้องระบุว่าผู้รับฟังของคุณคือใคร มันอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมชั้นเรียน คนในกลุ่มที่มีงานอดิเรกแบบเดียวกันและอื่นๆ นึกถึงจำนวนของผู้ฟัง ช่วงอายุของผู้ฟังคือเท่าไหร่และทำไมผู้ฟังถึงรวมตัวกัน จากนั้นนึกถึงสิ่งที่ผู้ฟังของคุณสนใจ อะไรคือสิ่งที่ผู้คนต้องการรู้เกี่ยวกับคุณ? พวกเขาคาดหวังข้อมูลประเภทไหน? ถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองและตัดสินใจว่าคำตอบจะปรากฏอยู่ในเนื้อหาของสุนทรพจน์ของคุณอย่างไร [6]
    • มันคุ้มค่าที่จะคิดถึงด้านต่างๆ ของผู้ฟังเพราะสิ่งนี้จะสามารถระบุด้านต่างๆ ของสุนทรพจน์ของคุณได้ เช่น ความยาว อารมณ์ของสุนทรพจน์ เป็นต้น
    • เช่น ถ้าหากผู้ฟังของคุณคือผู้มางานแต่งงานและสุนทรพจน์นี้มีไว้สำหรับเพื่อนเจ้าบ่าว ผู้ฟังของคุณก็น่าจะสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์และประวัติของคุณกับเจ้าบ่าว คุณคงไม่อยากทำให้สุนทรพจน์นานเกินไปเพราะเพื่อนเจ้าบ่าวไม่ใช่จุดสนใจหลักของงาน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเขียนสุนทรพจน์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะเขียนอะไรก็ตาม คุณต้องเข้าใจเนื้อหาอย่างเต็มที่ ตรวจสอบแนวทางและจุดประสงค์ของเนื้อหา 4 นี้น่าจะสามารถบอกคุณได้ว่าสุนทรพจน์ควรมีความยาวเท่าไหร่ ควรใส่แนวคิดอะไร เป็นต้น เช่น คุณจะต้องเขียนสุนทรพจน์ที่มีความยาว 2 นาทีให้แตกต่างจากสุนทรพจน์ที่มีความยาว 10 นาที เพราะฉะนั้นการรู้ว่าแนวทางคืออะไรจะมีผลต่อกระบวนการเขียนสุนทรพจน์ที่เหลือ [7]
    • ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างสุนทรพจน์ยาวและสุนทรพจน์สั้นคือปริมาณของรายละเอียด สุนทรพจน์ที่มีความยาว 2 นาทีซึ่งคุณแนะนำตัวเองให้ชั้นเรียนจะมีย่อหน้าแนะนำตัวที่สั้นซึ่งอาจจะเป็นการกล่าวเปิดตัว คุณอาจจะเขียนเนื้อหา 1 หรือ 2 ย่อหน้าและมีบทสรุปเพียงหนึ่งหรือสองประโยค
    • สุนทรพจน์ที่มีความยาว 10-15 นาทีจะมีย่อหน้าแนะนำซึ่งมีประโยคเปิด เนื้อหา ประโยคจบและการกล่าวเปิดตัว การแนะนำจุดประสงค์หลักของสุนทรพจน์และบทสรุปของธีมหลักรวมอยู่ เนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วย 4-6 ย่อหน้าและแต่ละย่อหน้าจะให้คำอธิบายของแต่ละจุดประสงค์เช่นเดียวกับตัวอย่าง ย่อหน้าสรุปคือข้อความสรุปที่ยาวขึ้นและอาจจะมี 1 หรือ 2 ประโยคซึ่งเกี่ยวข้องกับธีมของสุนทรพจน์ในบริบทที่กว้างขึ้น
  2. ก่อนที่คุณจะเริ่มเขียนเนื้อหาหลักของสุนทรพจน์ คุณจะต้องวาดโครงร่างก่อน คุณสามารถใช้โปรแกรม Word หรือกระดาษและดินสอเพื่อเขียน “บทแนะนำ” “เนื้อหา” และ “บทสรุป” จากนั้นจึงรวบรวมประเด็นสำคัญในแต่ละส่วนเป็นข้อๆ คุณไม่จำเป็นต้องใช้ประโยคเต็ม เพียงสรุปอย่างรวดเร็วว่าจะเขียนอะไรในแต่ละส่วนของสุนทรพจน์ [8]
    • คุณสามารถแบ่งส่วนของเนื้อหาเป็นหลายย่อหน้า เช่น “ย่อหน้าที่ 1” “ย่อหน้าที่ 2” เป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับความยาวของสุนทรพจน์
    • สุนทรพจน์ที่มีความยาว 2 นาทีหรือสั้นกว่าควรมี 1 หรือ 2 ประเด็นหลักซึ่งสามารถใส่ลงในเนื้อหา 1 ย่อหน้าได้
    • สุนทรพจน์ที่มีความยาวระหว่าง 2 และ 5 นาทีควรมี 2-3 ประเด็นหลักโดยเขียน 1 ย่อหน้าต่อ 1 ประเด็น
    • สุนทรพจน์ที่มีความยาวมากกว่า 5 นาทีควรมี 5 ประเด็นหลักโดยเขียน 1 ย่อหน้าต่อ 1 ประเด็น
    • ในขั้นตอนนี้คุณควรเริ่มคิดวิธีการจัดเรียงเนื้อหา สำหรับสุนทรพจน์ที่เกี่ยวกับตัวเอง คุณสามารถจัดเรียงเนื้อหาตามช่วงเวลาโดยแต่ละประเด็นหลักอยู่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันหรือจัดเรียงตามหัวข้อซึ่งแต่ละประเด็นหลักเกี่ยวข้องกับแต่ละหัวข้อของคุณ [9]
  3. คุณสามารถเริ่มสุนทรพจน์ในวิธีที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับว่าสุนทรพจน์นี้มีสำหรับใครและผู้ฟังของคุณคือใคร
    • ถ้าหากมันเป็นสุนทรพจน์ที่เรียบง่าย ได้ใจความและมีไว้สำหรับแนะนำตัวคุณให้ชั้นเรียนหรือกลุ่มคน คุณสามารถเริ่มด้วยการแนะนำตัวแบบธรรมดาซึ่งรวมถึงการทักทาย ชื่อของคุณและจุดประสงค์ของสุนทรพจน์ คุณสามารถเขียนว่า “สวัสดีตอนเช้าทุกๆ คน ฉันชื่อ...และฉันอยากใช้โอกาสนี้เพื่อนแนะนําตัวเองให้กับทุกคนได้รู้จัก”
    • ถ้าหากสุนทรพจน์เกี่ยวกับตัวเองนี้มีจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าการแนะนำตัวเอง คุณสามารถทำบทแนะนำตัวให้น่าฟังและน่าสนใจมากกว่าเดิม คุณสามารถเริ่มด้วยคำถามที่กวนอารมณ์ ข้อเท็จจริงที่น่าตกใจ มุขตลกหรือแม้แต่รูปภาพจากอดีต เช่น ถ้าหากสุนทรพจน์ของคุณเกี่ยวกับด้านที่น่าสนใจในชีวิต เช่น อาชีพที่ไม่เหมือนใคร คุณสามารถเริ่มด้วย “ลองจินตนาการตัวเองตื่นขึ้นมาทุกเช้าแล้วได้ยินเสียงสัตว์ป่าซาฟารีอยู่รอบตัวคุณ”
  4. บทแนะนำของคุณควรระบุเค้าโครงของสุนทรพจน์ คุณควรสรุปว่าเนื้อหาของสุนทรพจน์จะมีอะไรบ้างและทำไมคุณถึงกล่าวสุนทรพจน์นี้
    • เช่น ถ้าหากคุณพูดสุนทรพจน์สั้นๆ เกี่ยวกับตัวเองให้ชั้นเรียนฟัง คุณสามารถพูดว่า “ก่อนอื่นฉันจะบอกทุกคนเกี่ยวกับอดีตเล็กน้อยและจะบอกถึงสิ่งที่ฉันสนใจและเป็นแรงบันดาลใจของฉัน จากนั้นจะจบด้วยแผนการสำหรับการงานอาชีพ"
  5. เนื้อหาอาจจะมีจำนวน 1 ย่อหน้าหรือมากกว่านั้นโดยขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของสุนทรพจน์ ถ้าหากคุณเขียนหลายย่อหน้า คุณต้องทำให้มั่นใจว่าแต่ละย่อหน้ามีประโยคแนะนำ เนื้อหาและบทสรุปของตัวเอง คุณต้องเขียน 1 ย่อหน้าสำหรับแต่ละแนวคิดหลักของสุนทรพจน์ และย่อหน้าที่เป็นเนื้อหาเหล่านี้ควรเริ่มด้วยประโยคแนะนำจุดประสงค์ของย่อหน้า เนื้อหาและบทสรุปของย่อหน้าและความเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาโดยรวม [10]
    • เช่น ถ้าคุณกำลังเขียนสุนทรพจน์ที่แนะนำตัวให้กับองค์กรของมหาวิทยาลัย เช่น ชมรมถ่ายภาพ คุณสามารถเริ่มเนื้อหาด้วยย่อหน้าที่เขียนว่าอะไรที่ทำให้คุณสนใจการถ่ายภาพ ประโยคแนะนำอาจจะเป็น “ฉันสนใจการถ่ายภาพมาตั้งแต่เด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการเก็บและรักษาช่วงเวลาที่สำคัญของชีวิตของมัน” ประโยคปิดควรจะเป็น “ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ฉันพยายามหาความรู้เกี่ยวกับวิธีที่สามารถทำให้รูปภาพออกมาดูสวยงาม"
  6. อย่าคิดมากเกินไป บทสรุปคือย่อหน้าที่สรุปสุนทรพจน์ทั้งหมด สรุปประเด็นหลักของสุนทรพจน์และตอบคำถามจากบทนำของคุณแต่ทำสิ่งนี้ด้วยวิธีที่สร้างความประทับใจ บทสรุปควรสรุปอย่างและทำให้สุนทรพจน์ของคุณเป็นสากลมากขึ้น [11]
    • เช่น ถ้าหากสุนทรพจน์ของคุณเกี่ยวกับความสนใจและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ คุณสามารถผูกประสบการณ์เข้ากับแนวคิดของภาพยนตร์ในบทบัญญัติรวม บทสรุปของคุณควรจดจ่อกับการหาความสำคัญของหัวข้อของสุนทรพจน์
    • ถ้าสุนทรพจน์ของคุณคือการแนะนำตัว คุณสามารถจบด้วยบทสรุปที่ยิ่งใหญ่น้อยกว่านั้น บทสรุปของสุนทรพจน์แนะนำตัวควรกล่าวซ้ำและสรุปส่วนที่สำคัญของสุนทรพจน์ รายละเอียดหลักเกี่ยวกับตัวเองที่คุณได้แบ่งปันกับผู้อื่น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การปรับปรุงสุนทรพจน์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากตัวอย่าง การมองหาตัวอย่างจากสุนทรพจน์ของคนอื่นก่อนที่จะเริ่มสุนทรพจน์ของตัวเองอาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ค้นหา “ตัวอย่างของสุนทรพจน์แนะนำตัว” เพื่อหาตัวอย่างของสุนทรพจน์เกี่ยวกับตัวตนใครคนหนึ่ง
  2. ผู้คนรับฟังสุนทรพจน์ ไม่ได้อ่านสุนทรพจน์ เพราะฉะนั้นการพิสูจน์อักษรสำหรับตัวหนังสือและรูปแบบไม่ใช้สิ่งที่สำคัญแต่มันไม่ได้แปลว่าคุณไม่ควรปรับแต่งสุนทรพจน์ อ่านสุนทรพจน์ของคุณหลังจากที่คุณเขียนเสร็จ ทำเครื่องหมายที่ประโยคและคำที่คุณคิดว่าคุณสามารถปรับปรุงได้ อย่าคิดว่าการเขียนฉบับแรกคือฉบับสุดท้ายแต่มันคือโครงร่างที่เกือบสมบูรณ์ [12]
    • อ่านสุนทรพจน์ของคุณออกเสียง ช่วยคุณได้ยินทำนองของสุนทรพจน์และปรับปรุงความไหลลื่นของมัน การแบ่งประโยคสามารถใช้ได้ตราบใดที่ไม่ถี่เกินไป ใช่กิริยาการกระทำแทนที่กิริยาถูกกระทำ
    • เมื่อคุณอ่านสุนทรพจน์ของตัวเองออกเสียง สังเกตประโยคที่ยาวเกินไปที่จะพูดด้วยลมหายใจครั้งเดียว แบ่งประโยคเหล่านี้เมื่อคุณปรับแต่ง
  3. คำบอกแนวทางในสุนทรพจน์ทำให้ผู้ฟังติดตามแนวคิดและความเคลื่อนไหวของสุนทรพจน์ของคุณได้อย่างง่ายดาย มันส่งสัญญาณเมื่อคุณพูดถึงหัวข้อใหม่ ตำแหน่งของคุณในสุนทรพจน์ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่ม ช่วงกลางหรือช่วงจบและวิธีที่แต่ละแนวคิดเกี่ยวข้องกัน
    • เมื่อคุณอ่านผ่านแนวคิดต่างๆ ใช้คำบอกแนวทางที่เป็นตัวเลข เช่น “ที่ 1” “ที่ 2” และ “ที่ 3” หรือ “อันดับแรก” “อันดับที่ 2” และ “อันดับที่ 3”
    • คำบอกแนวทางที่แสดงว่าแต่ละแนวคิดเกี่ยวข้องกันอย่างไร ได้แก่ “ยิ่งไปกว่านั้น” “นอกเหนือจากนั้น” “ไม่ว่าจะอย่างไร” “อย่างไรก็ตาม” “เป็นผลทำให้” และ “ได้แก่”
    • คำบอกแนวทางหลักบอกผู้ฟังว่าคุณอยู่ในช่วงไหนของสุนทรพจน์ เช่น ย่อหน้าแรกมักจะเริ่มด้วย “ฉันอยากเริ่มด้วย…” และย่อหน้าสุดท้ายมักจะเริ่มด้วย “เพื่อสรุป…”
  4. เช่น อย่าพูดว่า “ในบทสรุป…” หรือ “ขอบคุณ” ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ เพียงแค่สรุปสุนทรพจน์ อย่าเริ่มด้วย “วันนี้ฉันอยากจะพูดกับทุกคนเกี่ยวกับ…” หาวิธีที่น่าสนใจกว่านั้นในการแนะนำหัวข้อให้กับผู้คน ประโยคที่ใช้บ่อยเหล่านี้จะไม่เพิ่มคุณค่าให้กับสุนทรพจน์ของคุณ [13]
    • คุณสามารถใช้คำอะไรแทนคำที่ใช้บ่อย? ก่อนอื่นคุณต้องหาความหมายพื้นฐานของคำที่ใช้บ่อย จากนั้นคุณจะสามารถนึกถึงวิธีที่น่าสนใจในการพูดสิ่งเดียวกันหรือคุณสามารถละทิ้งประโยคทั้งหมด
    • เช่น คำพูดที่ว่า “ในบทสรุป…” แปลว่าคุณกำลังส่งสัญญาณว่าคุณจะสรุปแนวคิดทั้งหมดที่คุณได้กล่าวไปข้างต้น คำนี้สามารถแทนที่ด้วย “เพราะฉะนั้นมันแปลว่าอะไร?” หรือ “ฉันได้เล่าให้ทุกคนฟังเยอะแยะเกี่ยวกับตัวเองและนี่ก็คือเหตุผล”
    • หลายครั้งที่คำที่ถูกใช้บ่อยเป็นเพียงคำเติมแต่งที่ไม่ได้เพิ่มอะไรสำคัญให้กับสุนทรพจน์ แทนที่จะพูดว่า “วันนี้ฉันอยากจะพูดกับทุกคนเกี่ยวกับ…” คุณสามารถเริ่มพูดได้เลย
  5. การพูดเกี่ยวกับตัวเองอาจจะรู้สึกอึดอัดในบางครั้ง คุณต้องพูดด้วยความมั่นใจแบบถ่อมตนเพื่อทำให้ผู้ฟังสนใจและยอมรับฟังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อ่านสุนทรพจน์อย่างระมัดระวัง สังเกตประโยคที่ฟังดูยะโสโอหังหรือทำร้ายตัวเองและเปลี่ยนแปลงให้มันฟังดูมั่นใจแบบถ่อมตน
    • หลีกเลี่ยงการพูดเยินยอตัวเอง เช่น การพูดว่า “ทุกคนรู้ว่าฉันเป็นนักฟุตบอลที่เก่งที่สุดในทีม” เมื่อคุณได้รับตำแหน่งกัปตันทีมต่อหน้าผู้เล่นในทีมทุกคนอาจจะไปไม่สวยเท่าไหร่
    • ถ้าหากคุณเป็นนักฟุตบอลที่เก่งที่สุดในทีม คุณสามารถเน้นความสำเร็จอย่างถ่อมตนด้วยการพูดว่า “ฉันได้ทำลายสถิติของตัวเองในฤดูกาลนี้และทำประตูได้ทั้งหมด 12 ประตู ถึงแม้ว่าฉันรู้สึกดีที่ได้สร้างสถิตินี้แต่ฉันรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากความพยายามและการช่วยเหลือของทุกคนในทีม"
    • ถ้าหากคุณรู้สึกไม่สบายใจ คุณสามารถใส่อารมณ์ขันหรือการยอมรับเล็กน้อยว่าคุณรู้สึกประหม่าเกี่ยวกับการพูดถึงตัวเอง วิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังของคุณรู้สึกว่าพวกเขาเข้าถึงคุณได้ดีกว่าเดิม
  6. นอกเหนือจากการอ่านสุนทรพจน์ด้วยตัวเองและแก้ไขสิ่งที่จำเป็นแล้ว คุณควรหาใครบางคนเพื่ออ่านสุนทรพจน์และแก้ไขให้กับคุณ คุณสามารถหาใครคนอื่นเพื่อช่วยตรวจทานสุนทรพจน์และหาจุดที่สามารถปรับปรุงได้ อาจจะเป็นเพื่อน เพื่อนร่วมงาน คุณครูหรือคนทั่วไปที่จะสามารถสังเกตเห็นสิ่งที่คุณอาจมองไม่เห็น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อคุณเขียนสุนทรพจน์เสร็จแล้ว คุณต้องฝึกซ้อมจนกว่าคุณจะรู้สึกสบายใจ
  • อย่าเขียนสุนทรพจน์ออกนอกประเด็น
  • ทำการ์ดคำใบ้ สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์เพราะถ้าหากคุณได้ฝึกซ้อมมากพอ คุณจะสามารถจำได้ว่าคุณกำลังพูดเรื่องอะไรโดยการมองคำที่อยู่บนการ์ด สุนทรพจน์ของคุณจะฟังดูไหลลื่นเป็นธรรมชาติมากกว่าและคุณสามารถพูดกลอนสด (ถ้าทำได้) หลีกเลี่ยงการอ่านการ์ดโดยตรง
  • จดจำประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของสุนทรพจน์ได้เสมอ
  • ทำตัวเองให้พิเศษระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ บ่งชี้ความแตกต่างของตัวเอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 53,751 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา