ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ใครก็ตามที่มีเรื่องเล่าย่อมเขียนหนังสือได้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเพื่อความเพลิดเพลินส่วนตัวหรือตีพิมพ์เพื่อให้ทุกคนได้อ่านก็ตาม แต่ส่วนที่ยากที่สุดมักเป็นการเริ่มเขียน เพราะฉะนั้นคุณจึงควรจัดสรรพื้นที่สำหรับการทำงานให้ดี กำหนดตารางการเขียนที่สม่ำเสมอ และกระตือรือร้นที่จะเขียนทุกวัน ให้ความสำคัญกับการขยาย “ไอเดียใหญ่ๆ” ที่ดำเนินเรื่องเล่า รวมถึงตัวละครที่ลืมไม่ลงอย่างน้อยหนึ่งตัวและปมขัดแย้งที่สมจริง เมื่อคุณเขียนและแก้ไขต้นฉบับแล้ว คุณก็อาจพิจารณาช่องทางการตีพิมพ์เพื่อให้ผลงานของคุณไปสู่มือผู้อ่าน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

มุ่งมั่นและทำให้สำเร็จ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนเริ่มเขียนหรือเอาแต่คิดถึงหนังสือของตัวเอง ตอบตัวเองตรงๆ ว่าทำไมคุณถึงเขียน คุณหวังจะรวยและมีชื่อเสียงหรือเปล่า การเขียนหนังสือจำเป็นต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานหรือไม่ คุณฝันที่จะได้เห็นชื่อตัวเองบนปกหนังสือ หรือคุณแค่มีเรื่องเล่าเจ๋งๆ ที่อยากเล่าให้โลกใบนี้ฟัง [1]
    • การเขียนหนังสือเป็นทั้งอาชีพและงานอดิเรก หมายความว่ามันเป็นทั้งงานและความหลงใหล ค้นหาว่าทำไมคุณจึงต้องเขียน และเพราะอะไรคุณถึงอยากเขียน
    • ตั้งเป้าหมายไม่ว่าจะข้อเดียวหรือหลายข้อไว้เป็นแรงบันดาลใจ แต่จำไว้ว่าต้องตั้งเป้าหมายบนพื้นฐานความจริง คุณอาจจะไม่ได้เป็นเจ.เค. โรว์ลิงคนต่อไปตั้งแต่นิยามเล่มแรกหรอก
  2. พื้นที่ทำงานในอุดมคติที่เหมาะกับนักเขียนทุกคนนั้นไม่มีอยู่จริง เพราะบางคนก็ชอบเขียนหนังสือบนโต๊ะทำงานเงียบๆ ในห้องคนเดียว แต่บางคนก็ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุดท่ามกลางเสียงบรรยากาศในร้านกาแฟ แต่นักเขียนส่วนใหญ่มักจะทำงานได้ดีที่สุดในที่ที่แทบไม่มีสิ่งรบกวนและสามารถหยิบอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ต่างๆ ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้คุณก็ต้องดูด้วยว่าสถานที่ที่คุณเลือกนั้นเหมาะกับสื่อที่ใช้ในการเขียน ถ้าคุณชอบเขียนบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คุณก็ต้องมีโต๊ะทำงานและจุดเสียบปลั๊กอยู่ใกล้ๆ! [2]
    • แม้ว่าการย้ายจากคาเฟ่ไปที่ม้านั่งในสวนสาธารณะ จากนั้นก็ย้ายไปเขียนต่อที่ห้องสมุดอาจเหมาะกับคุณ แต่คุณก็อาจจะกำหนดพื้นที่ที่คุณจะใช้เขียนหนังสือเป็นประจำและใช้สำหรับเขียนหนังสือเท่านั้นขึ้นมาด้วย
    • จัดพื้นที่สำหรับเขียนเพื่อให้คุณมีอุปกรณ์หรือข้อมูลอ้างอิงที่คุณต้องใช้ใกล้มือ วิธีนี้ช่วยให้คุณไม่ต้องเสียสมาธิไปกับการหาปากกา ตลับหมึก หรืออรรถาภิธาน
    • เลือกเก้าอี้ที่แข็งแรงและนั่งสบาย เพราะคุณจะเสียสมาธิได้ง่ายถ้าปวดหลัง!
  3. เรามักจะพูดกันว่าคนเราจะเขียนงานได้ก็ต่อเมื่อเกิดแรงบันดาลใจ เพราะฉะนั้นคุณก็แค่เตรียมตัวให้พร้อมที่จะหยุดทุกอย่างและลงมือเขียนเมื่อมีประกายความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นในตัว แต่ถ้าใช้วิธีนี้ละก็รับรองว่าเขียนไม่เสร็จแน่ เพราะฉะนั้นลองกำหนดเวลาเขียนที่เจาะจงลงในตารางประจำวันจะดีกว่า [3]
    • นักเขียนทั่วไปควรแบ่งเวลาประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงสำหรับเขียนงานอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรเขียนทุกวัน
    • กำหนดช่วงเวลาที่คุณมักจะตื่นตัวและทำงานลื่นไหลมากที่สุด เช่น ตอน 10.30-11.45 น. ทุกวัน
    • การกำหนดช่วงเวลาสำหรับเขียนอาจทำให้คุณต้องตัดอย่างอื่นออกไปจากชีวิต คุณต้องคิดดูเอาเองว่ามันคุ้มค่าหรือเปล่า
  4. กำหนดเป้าหมายการเขียนประจำวันและประจำสัปดาห์. แทนที่จะหวังให้ตัวเองจะเขียนได้ครั้งละ 10 หน้าในช่วงเวลาที่ความคิดสร้างสรรค์พลุ่งพล่านแต่ว่าจะมาตอนไหนไม่รู้ ลองตั้งเป้าหมายว่าจะเขียนให้ได้วันละ 1 หน้า กำหนดเป้าหมายจากความเร็วในการเขียนและกำหนดส่ง และพยายามอย่าปรับเปลี่ยนหลังจากตั้งเป้าหมายไปแล้ว [4]
    • เช่น ถ้าคุณกำหนดเวลาให้ตัวเองว่าจะต้องเขียนร่างนิยายฉบับแรกจำนวน 100,000 คำให้เสร็จภายใน 1 ปี คุณก็ต้องเขียนวันละ 300 คำ (ประมาณ 1 หน้าคอมพิวเตอร์)
    • หรือถ้าคุณต้องส่งร่างดุษฎีนิพนธ์ประมาณ 350 หน้าภายใน 1 ปี คุณก็ต้องเขียนวันละประมาณ 1 หน้าเช่นเดียวกัน
  5. ขั้นตอนนี้เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของการเขียนตามตารางที่กำหนด คือตอนนี้แค่เขียนลงไป แล้วค่อยไปดูอีกทีว่ามันดีไหมหรือว่าต้องแก้ไขอย่างไรในภายหลัง ในการเขียนหนังสือให้จบนั้น คุณต้องท่องไว้ “เขียนเร็ว แต่ค่อยๆ แก้” [5]
    • เวลาที่ใช้ในการแก้งานน่าจะพอๆ กับเวลาที่ใช้ในการเขียนครั้งแรกเป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นค่อยกังวลเรื่องแก้งานทีหลัง ตอนนี้เอาเป็นว่าแค่เขียนอะไรลงไปสักอย่างให้มีแก้ อย่าเพิ่งกังวลว่าจะสะกดคำผิด!
    • ถ้าคุณอดแก้งานระหว่างเขียนไม่ได้จริงๆ ให้แบ่งเวลาในช่วงท้ายของการเขียนไว้สำหรับแก้งานเล็กน้อย เช่น ถ้าคุณกำหนดเวลาเขียนงานไว้ 90 นาที ช่วง 15 นาทีสุดท้ายคุณก็อาจจะแก้งานของวันนั้นนิดๆ หน่อยๆ
  6. อย่ารอจนกระทั่งเขียนร่างหนังสือจบทั้งเล่มแล้วค่อยเอาไปให้คนอื่นอ่าน ขอให้คนที่คุณไว้ใจช่วยตรวจทานแต่ละบทอย่างละเอียดและติชม “ภาพรวม” เป็นหลัก ซึ่งก็คือความคิดทั่วไป ความชัดเจน และคุณภาพของงานเขียน แต่ไม่ได้เป็นการแก้ไขสไตล์และไวยากรณ์อย่างละเอียด [6]
    • คุณอาจจะทำงานร่วมกับบรรณาธิการ มีคณะกรรมการที่คุณสามารถส่งร่างสักบทให้อ่าน หรือมีกลุ่มเพื่อนนักเขียนที่คุณสามารถผลัดกันติชมงานที่กำลังเขียนให้กันได้ ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ของคุณเป็นอย่างไร หรือไม่อย่างนั้นคุณจะให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวอ่านก็ได้
    • คุณจะเจอคำติชมและการแก้ไขงานหลายรอบกว่าจะได้ตีพิมพ์หนังสือ อย่าเพิ่งท้อ ทั้งหมดนี้คือกระบวนการของการเขียนหนังสือให้ออกมาดีที่สุด!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สร้างสรรค์เรื่องราวที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แน่นอนว่าขั้นตอนนี้พูดง่ายกว่าทำ แต่มันสำคัญต่อการเขียนหนังสือให้ดี ไม่ว่าคุณจะเขียนงานบันเทิงคดีหรือสารคดี คุณจะต้องมีแนวคิดที่สามารถตรึงความหลงใหลของคุณเอาไว้ได้ตลอดกระบวนการเขียนและการแก้ไขที่แสนยาวนาน และยังต้องดึงดูดใจผู้อ่านด้วย [7]
    • เริ่มจาก “ภาพใหญ่” ก่อน แล้วค่อยกังวลเรื่องการเพิ่มเติมรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทีหลัง
    • ระดมความคิดเกี่ยวกับแก่นเรื่อง เรื่องราว หรือไอเดียที่คุณสนใจ จดลงไป คิดกลับไปกลับมาสักพัก และค้นหาว่าตัวเลือกไหนที่ใช่ที่สุด
    • เช่น “จะเป็นยังไงถ้าผู้ชายคนหนึ่งเดินทางไปยังเกาะที่มีแต่คนตัวจิ๋วและเขากลายเป็นยักษ์ จากนั้นก็เดินทางไปอีกเกาะที่มีแต่ยักษ์และเขากลายเป็นคนตัวจิ๋ว”
  2. ค้นข้อมูลเกี่ยวกับไอเดียใหญ่ๆ เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ. ถ้าคุณเขียนหนังสือสารคดี แน่นอนว่าคุณจะต้องค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่จะเขียนอย่างลึกซึ้งเพื่อให้ผลงานออกมาดี หรือแม้แต่งานบันเทิงคดีเองก็ยังต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงประมาณนึง [8]
    • เช่น เรื่องราวผจญภัยวิทยาศาสตร์ที่มีฉากอยู่ในอวกาศจะน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเทคโนโลยีที่ยกมาตรงกับความจริงอยู่บ้าง
    • หรือถ้าคุณเขียนหนังสือชีวิตแนวอาชญากรรม คุณอาจจะต้องค้นข้อมูลวิธีที่ตำรวจมักใช้ในการสืบสวนคดีอาชญากรรมประเภทที่คุณเขียน
  3. แบ่งไอเดียใหญ่ๆ ออกเป็นงานย่อยๆ ที่จัดการง่ายขึ้น. ถ้าสิ่งสำคัญในแต่ละวันคือการเขียนเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองอเมริกาหรือเรื่องราวสุดแฟนตาซีใน “มิดเดิลเอิร์ธ” ความใหญ่โตมโหฬารของงานอาจทำให้คุณเขียนไม่ออก เพราะฉะนั้นให้แบ่งแนวคิดใหญ่ๆ ออกเป็นองค์ประกอบเล็กๆ ที่คุณรู้สึกว่าสามารถจัดการได้ง่ายกว่า [9]
    • เช่น แทนที่จะตื่นมาแล้วคิดว่า “ฉันต้องเขียนเรื่องสงครามกลางเมือง” คุณอาจจะบอกว่า “วันนี้ฉันจะเขียนเรื่องกลยุทธ์ทางทหารของนายพลแกรนต์”
    • “งานย่อยๆ ที่จัดการได้” เหล่านี้สุดท้ายอาจกลายเป็นบทนึงในหนังสือก็ได้ แต่ก็อาจจะไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Lucy V. Hay

    นักเขียน นักเขียนบทและนักปรับแก้บท
    ลูซี่ วี. เฮย์เป็นนักเขียน นักเขียนบทและนักเขียนบล็อกที่ช่วยเพื่อนนักเขียนโดยการจัดเวิร์กช็อป เปิดคอร์สสอนและบล็อก Bang2Write ลูซี่เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แนวระทึกขวัญของอังกฤษสองเรื่องและยังเป็นผู้ดูแลปรับแก้บทภาพยนตร์มากมาย เธอเป็นผู้เขียนหนังสือ 'Writing & Selling Thriller Screenplays' ให้ซีรี่ส์หนังสือ Creative Essentials ของสำนักพิมพ์ Kamera Books และตามมาด้วยหนังสือภาคต่อเรื่อง 'Drama Screenplays' และ 'Diverse Characters' นวนิยายแนวอาชญากรรมเล่มแรกของเธอที่ชื่อ 'The Other Twin' กำลังจะถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยทีมผู้สร้างที่เคยเข้าชิงรางวัลเอ็มมี่จากเรื่อง 'Agatha Raisin' ที่ออกอากาศทาง Free@Last TV
    Lucy V. Hay
    นักเขียน นักเขียนบทและนักปรับแก้บท

    วิเคราะห์การแตกประเด็นพล็อตภาพยนตร์เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จโดยทั่วไป มีแหล่งข้อมูลดีๆ มากมาย เช่น Script Lab หรือ TV Tropes ที่คุณจะได้อ่านการแตกประเด็นพล็อตของภาพยนตร์ดังมากมาย อ่านเรื่องย่อและดูหนัง จากนั้นลองคิดดูว่าคุณจะลองเขียนเค้าโครงแบบเดียวกับภาพยนตร์ที่คุณชอบมากๆ ได้อย่างไร

  4. สร้าง ตัวละคร ที่ลืมไม่ลงอย่างน้อยหนึ่งตัว. ขั้นตอนนี้เป็นอีกกระบวนการหนึ่งในการเขียนที่ “พูดง่ายกว่าทำ” พยายามสร้างตัวละครอย่างน้อยหนึ่งตัวที่มีความซับซ้อนและมีมิติ ไม่ใช่ตัวละครที่เป็น “พระเอก” หรือ “ตัวร้าย” ที่เรียบแบน คุณต้องทำให้คนอ่านสามารถเชื่อมโยงกับตัวละครได้และอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา [10]
    • ลองนึกถึงตัวละครจากหนังสือที่คุณชอบมากๆ เขียนบุคลิกลักษณะของตัวละครเหล่านั้นลงไปและใช้ข้อมูลเหล่านี้สร้างตัวละครใหม่ของตัวเองขึ้นมา
    • ถ้าคุณเขียนบันเทิงคดี ให้เจาะลึกลงไปที่ความซับซ้อนและความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ของบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงที่คุณกำลังเขียนถึง ทำให้คนเหล่านั้นมีชีวิตจิตใจในความรู้สึกของคนอ่าน
  5. เกริ่นถึงความท้าทายและอุปสรรคตั้งแต่หน้าแรกๆ และนำพาตัวละครสู่การต่อสู้ดิ้นรน ชัยชนะ และความพ่ายแพ้ ปมขัดแย้งและความตึงเครียดอาจมาจากภายนอก (เช่น ศัตรูจอมเจ้าเล่ห์) และภายใน (ปีศาจร้ายในตัวละครหลักที่เกิดจากโศกนาฏกรรมในอดีต) เอาให้คนอ่านวางไม่ลงเลย! [11]
    • เช่น ความหมกมุ่นของกัปตันอาฮับที่มีต่อวาฬสีขาวที่เป็นปมขัดแย้งหลักในเรื่อง โมบิดิก นั้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของปมขัดแย้งภายนอกและภายในอื่นๆ อีกมากมาย
    • อย่าด้อยค่าปมขัดแย้งและความตึงเครียดในงานเขียนสารดคี เพราะมันช่วยให้คุณวางรากฐานงานเขียนบนความเป็นจริงได้
  6. ดูให้ดีว่าทุกอย่างที่ใส่ลงไปมีผลต่อการดำเนินเรื่อง. การนึกถึงข้อนี้ไว้ระหว่างเขียนร่างฉบับแรกนั้นเป็นความคิดที่ดี แต่ขั้นตอนนี้สำคัญมากในระหว่างที่คุณตรวจแก้หนังสือ คุณต้องดูให้ดีว่าทุกบท ทุกหน้า ทุกประโยค และแม้แต่ทุกคำนั้นมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อดำเนินเรื่องต่อไปข้างหน้า แต่ถ้าไม่ใช่ ให้หาวิธีแก้ไขหรือไม่ก็ปรับแก้งานเขียนให้ดีขึ้น [12]
    • เป้าหมายคือคุณต้องไม่ให้คนอ่านอยากวางหนังสือลงเด็ดขาด ดึงดูดความสนใจของพวกเขาไว้ให้เปิดหน้าต่อไปเรื่อยๆ!
    • แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่สามารถเขียนประโยคยาวๆ บทพรรณนา หรือแม้แต่สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงเรื่องหลักได้เลย เพียงแต่คุณต้องแน่ใจว่าองค์ประกอบเหล่านี้ส่งผลต่อเรื่องราวในภาพใหญ่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ตีพิมพ์หนังสือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจแก้ หนังสือไปเรื่อยๆ แต่อย่าเอามาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ส่งผลงาน. พูดอีกอย่างก็คือตั้งเป้าหมายที่จะเผยแพร่หนังสือให้คนได้อ่าน และอย่าใช้คำพูดว่า “มันยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่” เป็นข้ออ้างตลอดกาล การปรับปรุง ขัดเกลา และตรวจแก้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเขียนหนังสือดีๆ สักเล่ม แต่พอถึงจุดนึงคุณก็ต้องกล้าพอที่จะตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมา [13]
    • การพยายามทำให้หนังสือได้รับการตีพิมพ์นั้นอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนตัวเองไม่สามารถควบคุมต้นฉบับได้มากเท่าไหร่แม้ว่าคุณจะใช้เวลาเขียนงานและปรับแก้มากมายก็ตาม บอกตัวเองเสมอว่าควรมีคนได้เห็นและอ่านหนังสือของคุณ!
    • ถ้าจำเป็นให้กำหนดวันส่งงานให้ตัวเอง “ฉันจะส่งงานนี้ให้สำนักพิมพ์ภายในวันที่ 15 มกราคม เป็นไงเป็นกัน!”
  2. จ้างตัวแทนนักเขียนหากคุณต้องการตีพิมพ์ผลงานด้วยวิธีดั้งเดิม. คุณจะส่งต้นฉบับไปที่สำนักพิมพ์เองเลยก็ได้ แต่การทำงานร่วมกับตัวแทนนักเขียนจะช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จ พวกเขามีประสบการณ์และเครือข่ายในวงการมากมายที่จะทำให้คุณมีโอกาสเจอสำนักพิมพ์ที่เหมาะสมมากกว่า ถ้าคุณไม่ได้อยู่ใกล้แหล่งที่สำนักพิมพ์เฟื่องฟู วิธีที่ดีที่สุดก็คือค้นหาตัวแทนนักเขียนทางออนไลน์ [14]
    • ประเมินว่าที่ตัวแทนและค้นหาตัวแทนที่เหมาะกับต้นฉบับของคุณมากที่สุด ถ้าคุณรู้จักนักเขียนที่มีผลงานตีพิมพ์ ให้สอบถามเคล็ดลับและข้อมูลเกี่ยวกับตัวแทนนักเขียน
    • โดยทั่วไปคุณจะต้องส่งบทคัดย่อหรือต้นฉบับทั้งหมดให้ตัวแทนนักเขียนก่อน จากนั้นเขาก็จะตัดสินใจว่าจะรับคุณเป็นลูกค้าหรือเปล่า และคุณต้องเข้าใจแนวทางในการส่งผลงานก่อนเริ่มกระบวนการ
  3. ค้นหาช่องทางการตีพิมพ์หนังสือด้วยตัวเองหากวิธีการดั้งเดิมไม่เหมาะนัก. ถ้ากลุ่มเป้าหมายของหนังสือมีขนาดเล็กเพราะตัวประเด็นของหนังสือ คุณก็อาจจะหาสำนักพิมพ์ตีพิมพ์หนังสือของคุณได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นนักเขียนหน้าใหม่ แต่โชคดีที่คุณก็มีทางเลือกในการตีพิมพ์หนังสือด้วยตัวเอง
    • คุณสามารถตีพิมพ์หนังสือได้ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจช่วยประหยัดเงินแต่ว่าเสียเวลามาก คุณจะต้องรับผิดชอบทุกอย่างเองตั้งแต่การขอลิขสิทธิ์ ออกแบบปก ไปจนถึงการพิมพ์หนังสือจริงเป็นเล่ม
    • คุณจะตีพิมพ์กับโรงพิมพ์เองก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วค่าใช้จ่ายสำหรับการตีพิมพ์หนังสือนั้นจะมากกว่าเงินที่คุณได้จากการขายหนังสือเสียอีก
    • การเผยแพร่หนังสือด้วยตัวเองผ่านอีบุ๊กอาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ เพราะมีต้นทุนในการเผยแพร่ต่ำและหนังสือของคุณก็ได้ออกสู่สายตาผู้อ่านมากมายทันที ประเมินสำนักพิมพ์อีบุ๊กให้รอบคอบก่อนเลือกสำนักพิมพ์ที่เหมาะกับคุณ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วางสมุดกับปากกาไว้ข้างเตียงและเขียนบันทึกความฝัน ความฝันของคุณอาจกลายเป็นแรงบันดาลใจหรือเรื่องราวให้คุณนำไปเขียนก็ได้ ใครจะไปรู้!
  • ถ้าคุณจะใส่ข้อเท็จจริงลงในเรื่อง ต้องค้นคว้าข้อมูลก่อน
  • ขอเคล็ดลับจากนักเขียนคนอื่นๆ และจดลงไป
  • บางครั้งคุณก็อาจจะรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองเขียนลงไปมันปัญญาอ่านมากจนคุณอยากเลิกเขียน อย่าเลิก วางทิ้งไว้ก่อนสัก 2-3 วัน (หรือ 2-3 สัปดาห์) แล้วลองเขียนใหม่
  • บางครั้งสิ่งที่คุณควรทำก็คือแค่เริ่มเขียน และในที่สุดเรื่องราวก็จะผุดขึ้นมาในหัวเอง
  • จำไว้ว่าอย่าลอกใคร!
  • ค้นหาช่วงเวลาที่คุณสามารถทำงานได้มากที่สุด และกำหนดช่วงเวลานั้นให้เป็นเวลาเขียนงาน
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าขโมยความคิดคนอื่น (ลอกผลงานของนักเขียนคนอื่น) เพราะถึงคุณจะคัดลอกได้แนบเนียนสักแค่ไหน สุดท้ายแล้วก็จะมีคนแกะรายละเอียดและปะติดปะต่อส่วนที่คัดลอกมาทั้งหมดได้อยู่ดี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 22,599 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา