ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตลอดชีวิตนักศึกษา คุณจำเป็นต้องเขียนเรียงความหรือ Essay อยู่เป็นประจำ โดยอาจจะเป็นการบ้านในชั้นเรียน เขียนส่งเข้าประกวดเพื่อแข่งชิงทุนฯ หรือเขียนเพื่อสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย บทความนี้จะแสดงให้คุณกระบวนการเขียนและแก้ไขเรียงความแต่ละประเภท รวมถึงเรียงความเชิงโน้มน้าว (Persuasive) เชิงอธิบาย (Expository) และเชิงเล่าเรื่อง (Narrative) ตามลำดับต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

การเขียนเรียงความ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยอาศัยอินเตอร์เน็ท ห้องสมุด หรือสืบค้นจากฐานข้อมูลด้านการศึกษา รวมถึงค้นคว้าจากหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งคุณสามารถปรึกษาบรรณารักษ์ในเรื่องนี้ได้
    • ตรวจสอบว่าแหล่งข้อมูลใดที่อาจารย์อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้
      • ถามอาจารย์ดูด้วยว่า กำหนดจำนวนแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิและทุติยภูมิหรือไม่?
      • อาจารย์อนุญาตให้ใช้วิกีพีเดียไหม? วิกิพีเดียเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่จะเขียน แต่อาจารย์ส่วนใหญ่มักไม่ให้นำมาอ้างอิง เพราะพวกเขาต้องการแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการมากกว่า
    • จดโน้ตรายละเอียดต่างๆ บันทึกไว้ว่าส่วนไหนอ้างอิงมาจากแหล่งไหน และเขียนแหล่งอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบมาตรฐาน เพื่อที่คุณจะได้กลับมาตรวจทานดูได้ง่ายๆ
    • อย่ามองข้ามการกล่าวอ้างและข้อเท็จจริง ที่ขัดแย้งกับแนวคิดหรือข้ออ้างเดิมที่คุณหามาได้ นักเขียนเรียงความที่ดีต้องนำหลักฐานที่แย้งกันมาแสดงไว้ในเรียงความด้วย หรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนความเห็นไปตามหลักฐานที่เชื่อถือได้มากกว่า
  2. ในระหว่างที่คุณกำลังค้นหาข้อมูลอยู่นั้น คุณอาจจะบังเอิญได้เจอเรียงความที่เขียนได้ดี (และบางอันก็ไม่ดี) เกี่ยวกับหัวข้อที่คุณกำลังจะเขียน ลองนำงานเหล่านั้นมาวิเคราะห์ดูว่า เหตุใดมันจึงออกมาดี
    • ผู้แต่งกล่าวอ้างถึงประเด็นใดบ้าง?
      • ทำไมข้อกล่าวอ้างดังกล่าวถึงฟังดูดี? มันอยู่ที่ตรรกะ แหล่งอ้างอิง เทคนิคการเขียน โครงสร้าง หรืออยู่ที่ปัจจัยตัวไหน?
    • ผู้แต่งมีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนหรือไม่?
      • เพราะเหตุใดหลักฐานนั้นถึงดูน่าเชื่อถือ? ผู้แต่งมีวิธีการอย่างไรในการนำเสนอข้อเท็จจริง และมีการเล่าเรื่องราวประกอบอย่างไร?
    • ตรรกะของเขาหรือเธอมันถูกต้องเหมาะสมหรือมีข้อผิดพลาดหรือไม่ อย่างไร?
      • ทำไมตรรกะของผู้แต่งจึงถูกต้องเหมาะสม? ผู้แต่งยกตัวอย่างที่เราสามารถสืบค้นได้ มาประกอบคำกล่าวอ้างของตัวเองด้วยหรือไม่?
  3. แน่นอนว่า คุณอาจจะใช้คำกล่าวของผู้อื่นในการมาสนับสนุนแนวคิดตัวเองได้ อย่างไรก็ดี คุณควรมีไอเดียดั้งเดิมของตัวเองประกอบด้วย เพื่อให้งานชิ้นนั้นมีเอกลักษณ์ของคุณเอง
    • ลิสท์ไอเดียต่างๆ ออกมา หรืออาจจะทำเป็น Mind Map ก็ได้
    • ให้เวลากับมันสักหน่อย ออกไปเดินเล่นที่ไหนสักแห่ง และคิดถึงหัวข้อที่คุณจะเขียนไปพลางๆ ก่อน พยายามสังเกตไอเดียดีๆ ที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด
    • ดูจากแนวคิดที่คุณเขียนออกมา เลือกมาสักสองสามประเด็นที่สามารถสนับสนุนหัวข้อที่คุณเขียนได้ คุณควรหาหลักฐานมาสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวด้วย
    • เขียนหัวเรื่องสมมุติฐานที่เป็นการสรุปรวบยอดไอเดียที่คุณกำลังจะนำเสนอ ที่สำคัญคือ ต้องทำให้ผู้อ่านรู้ได้ทันทีว่าคุณกำลังจะเขียนเกี่ยวกับอะไร และเพราะเหตุใด
      • หัวเรื่องสมมุติฐาน ควร จะกระชับ โดยเน้นหัวข้อและประเด็นที่คุณจะนำเสนอ ตัวอย่างเช่น "ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ยังมีพื้นที่ห่างไกลความเจริญอีกมาก ที่เทคโนโลยียังไปไม่ถึง ซึ่งจะยิ่งก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้านโอกาสในการสร้างฐานะและระดับการศึกษา"
      • หัวเรื่องสมมุติฐาน ไม่ควร เขียนเป็นเชิงตั้งคำถาม หรือเขียนด้วยสรรพนามบุรุษที่ 1 ("ฉัน") รวมถึงเขียนนอกเรื่องหรือใส่ข้อโต้แย้งใดๆ
  4. เอาแนวคิดต่างๆ ที่คุณระดมสมองเขียนออกมาทั้งหมด นำมาเขียนเป็นโครงร่างคร่าวๆ ก่อน เสร็จแล้วก็เขียนประโยคนำของแต่ละแนวคิดไว้ จากนั้น ทำเครื่องหมายเอาไว้ข้างล่างพร้อมลิสท์หลักฐานต่างๆ ที่จะนำมาสนับสนุนแต่ละแนวคิด โดยทั่วไปแล้ว คุณควรมีข้อโต้แย้งหรือหลักฐานประกอบสักสองสามชิ้น ในการสนับสนุนแต่ละแนวคิด
    • ประโยคนำ (Topic Sentence): "เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า กลับกลายเป็นดาบสองคมต่อสังคมไทย"
      • ตย: "ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี ยังคงทำให้สังคมชนบทห่างไกลถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะสังคมเมืองเจริญก้าวหน้าด้วยอัตราเร่งที่เร็วกว่ามาก"
      • ตย: "ผู้คนตามชนบทยังคงต้องเข้ามาศึกษาและหางานทำเพื่อความก้าวหน้าในกรุงเทพมหานคร แม้ว่าจะอยู่ในยุคดิจิตอลแล้วก็ตาม"
      • ตย: "เมื่อกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ระดับฐานะและการศึกษาของคนเมืองนั้น ห่างกันเพียงเล็กน้อย แต่พอถึงทศวรรษนี้ ระยะห่างกลับมากขึ้นกว่าเดิม"
  5. คุณจำเป็นต้องกำหนดความยาวของเรียงความไว้ก่อน อย่าเอาแต่เขียนมากไป หากอาจารย์มอบหมายให้เขียนเพียง 5 หน้ากระดาษ อย่างไรก็ตาม ในขั้นแรกคุณสามารถเขียนไปให้เต็มที่ ตามที่ความคิดโลดแล่น และค่อยมาปรับให้กระชับในภายหลังก็ได้
    • หลีกเลี่ยงการเขียนแบบสรุปในตัวเอง ประโยคเช่น "______ นับเป็นปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดในสังคมทุกวันนี้" อาจจะทำให้ผู้อ่านเกิดอาการไม่เห็นด้วย และมีอคติต่องานของคุณขึ้นมาทันที ดังนั้น คุณอาจเปลี่ยนเป็น "______ เป็นปัญหาที่มีนัยยะสำคัญต่อสังคมทุกวันนี้" ซึ่งฟังดูเจาะจงกว่า
    • อย่าใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 เช่น "กระผม/ดิฉัน/ข้าพเจ้า คิดว่า" รวมถึงพวกสรรพนามที่แสดงความเป็นส่วนตัวเช่น "คุณ" "เรา" "ของผม/ของดิฉัน" "ของคุณ" หรือ "ของพวกเรา" พยายามเขียนข้อโต้แย้งพร้อมข้อสนับสนุนเท่านั้น มันจะช่วยให้ข้อเขียนดูมีพลังและน่าเชื่อถือมากกว่า แทนที่จะเขียนว่า "ดิฉันพบว่า รัฐบาลยังไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้" ให้เขียนชี้แจงไปเลยว่า: "รัฐบาลยังไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยดูได้จากการที่…"
  6. ชื่อเรียงความและบทนำจะเป็นตัวช่วยให้คนอื่นอยากอ่านเรียงความของคุณ แน่นอนว่า หากส่งงานอาจารย์ เขาหรือเธอย่อมต้องอ่านจนหมดทั้งเอกสาร แต่หากเป็นเรียงความเพื่อการสอบเข้าสถานศึกษา ชื่อเรียงความและบทนำจะเป็นตัวตัดสินว่า ผู้อ่านอยากจะคล้อยตามวัตถุประสงค์ของคุณหรือไม่
    • หลีกเลี่ยงการเขียนแบบตรงเกินไป เช่น "เรียงความนี้เกี่ยวกับ… " หรือ "ผมจะชี้ให้เห็นเดี๋ยวนี้เลยว่า…"
    • ใช้สูตร ปิรามิดกลับหัว เริ่มต้นบทนำด้วยรายละเอียดคร่าวๆ ของหัวข้อที่จะเขียน จากนั้น ค่อยๆ โฟกัสให้แคบลงมาสู่หัวเรื่องสมมุติฐาน สำหรับเรียงความสั้น ควรเขียน 3-5ประโยค ส่วนเรียงความยาว ควรเขียนประมาณไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ
    • ตัวอย่างเรียงความสั้น: ในแต่ละปี มีสัตว์ที่ถูกทอดทิ้งและทารุณกรรมนับพันตัว ต้องถูกนำไปพึ่งพาหรือฝากไว้กับสถานสงเคราะห์สัตว์แห่งต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำร้ายจิตใจพวกมันแล้ว ยังเป็นการทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาล เราสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยให้การศึกษาและคำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ที่ต้องการซื้อสัตว์ไปเลี้ยง แม้ว่าคนบางกลุ่มอาจไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ แต่ในระยะยาวแล้ว พวกเขาจะพบว่า ประโยชน์ของการได้รับความรู้ในการเลี้ยงสัตว์อย่างถูกวิธีนั้น คุ้มค่ากว่าต้นทุนของการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างมหาศาล"
  7. สรุปรวมประเด็นที่ต้องการชี้แจงทั้งหมด พร้อมข้อแนะนำในการให้ผู้อ่านไปพิจารณาเพิ่มเติม
    • ตอบคำถามในจุดที่ว่า "หากสมมุติฐานของคุณเป็นจริง มันจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง?" "ขั้นตอนต่อไปคืออะไร?" "ยังมีอะไรที่ต้องค้นหาคำตอบอีกหรือไม่?"
    • ข้อโต้แย้งของคุณควรนำผู้อ่านไปสู่บทสรุปที่สมเหตุสมผลในตัวมันเอง พูดง่ายๆ ก็คือ ในบทสรุปนั้น คุณต้องเรียบเรียงเนื้อหาจากหัวเรื่องสมมุติฐาน ด้วยการสะกิดให้ผู้อ่านได้ครุ่นคิดจนกระทั่งคล้อยตามคุณด้วย
    • จบประโยคอย่างโดนใจ ในขณะที่ชื่อเรียงความและบทนำ สามารถทำให้ผู้อ่านอยากเปิดอ่านต่อจนจบ ประโยคจบท้ายจะช่วยให้พวกเขาจดจำคุณไปอีกนาน ลองนึกภาพว่า หากนักยิมนาสติกอุตส่าห์แสดงได้ดีมาตลอด แต่กลับพลาดเอาตอนท่าสุดท้ายก่อนจบ ผู้ชมก็มักจะลืมการแสดงก่อนหน้าไปหมด นักยิมนาสติกควรจะปิดท้ายให้สวยงาม และนักเขียนเรียงความก็เช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

การปรับแก้เรียงความ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามเขียนให้เสร็จก่อนถึงกำหนดส่งสักสองสามวัน เพื่อที่จะได้มีเวลานำมาอ่านและปรับแก้ให้ดียิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการส่งงานทันทีโดยไม่ได้เช็ครอบสองก่อน
  2. แก้ไขทั้งในส่วนของไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน และตัวสะกด. หาข้อมูลจากคู่มือการเขียน หากคุณไม่แน่ใจว่าจะใช้เครื่องหมายต่างๆ ได้ถูกต้องเหมาะสมหรือยัง เช่น เครื่องหมายคำพูด จุลภาค ยัติภังค์ โคลอน เซมิโคลอน ฯลฯ ทั้งนี้ ไม่ควรใช้เครื่องหมายตกใจหรือ อัศเจรีย์ ในการเขียนเรียงความ
    • พยายามหาคำรวมถึงตัวย่อต่างๆที่มักใช้หรือพิมพ์ผิด เช่น “ดร.” กับ “ด.ร” ดูให้แน่ใจว่าใส่เครื่องหมายจุดถูกตำแหน่ง
    • ตรวจเช็คข้อผิดพลาดอันเกี่ยวเนื่องกับเครื่องหมายคำพูด และประโยคต่อเนื่อง เครื่องหมายจุลภาค และเครื่องหมายอื่นๆ ที่แฝงอยู่ในเครื่องหมายคำพูด รวมถึงเครื่องหมายที่อาจมีการใช้ในบางตอนอย่างยัติภังค์ โคลอน และเซมิโคลอน
  3. ใช้คำให้หลากหลายโดยอาจเปิดพจนานุกรมดู รวมถึงตรวจดูคำที่ไม่ค่อยแน่ใจในตัวสะกดด้วย
    • ในขณะเดียวกัน พยายามใช้คำให้กระชับ น่าฟัง และตรงประเด็น อย่าใช้คำที่เลิศหรูตามพจนานุกรมบางคำ เรียงความที่ดีจะต้องชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่ายสำหรับผู้อ่านทั่วไป
    • พยายามใช้คำกริยาให้โดนใจ คำกริยาทำหน้าที่แสดงการกระทำในประโยค คำกริยาที่เหมาะสมสามารถทำให้ประโยคดูสวยงาม และแตกต่างจากประโยคธรรมดาๆ ทั่วไปได้
    • ใช้คำคุณศัพท์อย่างพอเหมาะ คำคุณศัพท์หรือคำขยายนั้น หากใช้แต่พอเหมาะจะเป็นประโยชน์อย่างสูง แต่หากใช้เกินพอดีจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกปวดหัว พยายามอย่าใช้คำคุณศัพท์อีก ถ้านามหรือกริยานั้นๆ มันมีความหมายชัดจนดีอยู่แล้ว
  4. หากไม่จำเป็น อย่าใช้ตัวย่อหรืออักษรย่อ เรียงความควรจะมีความน่าเชื่อถือและเป็นทางการ แม้ว่าอาจจะเขียนออกมาอย่างเข้าใจง่ายหรือมีศิลปะในการใช้คำก็ตาม
  5. แต่ละประโยคต่อเนื่องกันดีหรือไม่ แต่ละย่อหน้าสอดรับกันอย่างลงตัวไหม การใช้คำหรือเครื่องหมายเชื่อมอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เรียงความของคุณไหลลื่นน่าอ่าน:
    • ตัวอย่างประโยคเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน: ฉันเพิ่งตระหนักว่าฉันเป็นชนกลุ่มน้อย ตอนสมัยเรียนประถม…และมันถูกย้ำเตือนอีกครั้งตอนที่ฉันขึ้นชั้นมัธยม
    • ตัวอย่างประโยคสอดรับกัน: ต้นไม้ต้องการน้ำในการดำรงชีวิต...ความสามารถในการกักเก็บน้ำของต้นไม้ ขึ้นอยู่กับสารอาหารในชั้นดินด้วย
    • ตัวอย่างประเด็นขัดแย้งกันระหว่างประโยค: นักมังสวิรัติ กล่าวว่า พื้นที่บนโลกนี้ต้องสูญประโยชน์ไป เพียงเพราะการนำสัตว์มาเลี้ยงเพื่อกินเป็นอาหาร…แต่ฝ่ายตรงข้ามแย้งว่า พื้นที่ๆ ใช้ปศุสัตว์ อย่างไรเสียก็ไม่สามารถใช้ผลิตอาหารประเภทใดได้อยู่ดี
    • กรณีต้องการสลับผลลัพธ์ขึ้นมาไว้ข้างหน้า: ฉันจะเป็นคนแรกในครอบครัวที่เรียนจบมหาวิทยาลัย…ฉันมีแรงบันดาลใจในการสานต่อความสำเร็จของครอบครัว จากรุ่นสู่รุ่น
    • กรณีต้องการเชื่อมแนวคิดไว้ด้วยกัน: กล่าวกันว่า อาหารออร์แกนิคส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า . . . อาหารท้องถิ่นก็เช่นกัน
  6. อย่าให้เรียงความของคุณออกนอกประเด็น รายละเอียดส่วนใดที่ไม่เกี่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือไม่สนับสนุนสมมุติฐานของคุณ ให้ตัดออกไปดีกว่า
  7. หาใครสักคนมาอ่านให้คุณฟังดังๆ หรืออัดเสียงอ่านของตัวเองไว้และเปิดฟัง. บางทีหูของคุณอาจจับผิดได้ดีกว่าการอ่าน เรียงความควรจะฟังดูไหลลื่นและใช้คำที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย
  8. หากจำเป็น ให้เรียบเรียงย่อหน้าหรือประโยคใหม่ในส่วนเนื้อหาทั้งหมด จากนั้น ตรวจดูว่าบทนำและบทสรุปของคุณเข้ากับส่วนเนื้อหาที่มีการปรับแก้หรือยัง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

การเขียนเรียงความเชิงโน้มน้าว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียงความเชิงโน้มน้าวถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ผู้อ่านคล้อยตามกับข้อเขียนและความเห็นของคุณ ซึ่งคุณอาจใช้ตัวอย่างหัวข้อเหล่านี้ในการเขียน:
    • รัฐบาลควรให้เงินสนับสนุนการวิจัยด้านการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนหรือไม่
    • ความรักเป็นเรื่องทรงคุณค่าหรือเป็นเพียงตัณหาของมนุษย์
    • เพราะเหตุใด ภาพยนตร์เรื่อง ครูบ้านนอก จึงควรได้รับการสนับสนุนจากคนไทย
    • เพราะเหตุใด จึงควรออกกฎหมายเพื่อใช้บังคับให้ประชาชนไปเลือกตั้งทุกคน
  2. เขียนบทความให้เหมือนกับว่าคุณกำลังจะเปิดการอภิปราย. เวลาที่คุณพูดอภิปราย คุณต้องเสนอหัวข้อก่อน จากนั้นก็นำหลักฐานมาสนับสนุนและกล่าวสรุปให้ผู้ฟังเห็นด้วย การเขียนเรียงความเชิงโน้มน้าวก็คล้ายๆ กัน
  3. รวบรวมข้อเท็จจริงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ข้อคิดเห็นของคุณ. หนุนข้อโต้แย้งของคุณด้วยข้อเท็จจริงที่ถูกตรรกะ เรียงความที่เขียนได้ดี นับว่ายอดเยี่ยมแล้ว แต่เรียงความที่โต้แย้งได้ดี ถือว่าสุดยอดกว่า
    • นอกจากการค้นคว้าแล้ว คุณยังสามารถทำการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงด้วยการทำแบบสำรวจ สัมภาษณ์ หรือปฏิบัติการทดลองบางอย่าง ผลการสำรวจและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นบทนำเรียงความได้ดีทีเดียว
    • เล่าเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริง. อย่าเอาแต่ระบุข้อเท็จจริง พยายามเล่าเรื่องประกอบด้วย! ตัวอย่างเช่น: ตั้งแต่มีการนำโทษประหารชีวิตกลับมาบังคับใช้ใหม่ นักโทษมากกว่า 140 คนได้ถูกปล่อยตัวทันทีที่มีการพิสูจน์ว่า พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ลองถามตัวเองดูสิว่า ” คุณ อยากลองเป็นนักโทษที่ถูกพิพากษาอย่างไม่ยุติธรรมดูบ้างไหม?"
  4. นำเสนอข้อโต้แย้งจากด้านตรงข้ามมาค้านตัวเอง และค่อยๆ ใช้ตรรกะข้อเท็จจริงในการพิสูจน์ให้เห็นว่า เหตุใดข้อโต้แย้งนั้นจึงไม่ถูกต้องหรือล้าสมัยไปแล้ว [1]
    • ตัวอย่างเช่น: "บางคนกล่าวว่า โทษประหารชีวิตช่วยยับยั้งเหตุอาชญากรรมได้ แต่วันแล้ววันเล่า หลักฐานได้ปรากฏว่า ทฤษฎีดังกล่าวไม่เป็นความจริง ที่จริงแล้ว โทษประหารชีวิตไม่สามารถช่วยยับยั้งเหตุอาชญากรรมได้เลย ในพื้นที่ๆ มีการประหารนักโทษกว่า 80% ของนักโทษทั้งหมด กลับกลายเป็นพื้นที่ๆ มีอัตราก่อเหตุฆาตกรรมสูงที่สุด"
  5. พยายามเน้นย้ำสมมุติฐานของคุณ หรือสิ่งที่คุณโต้แย้งหรือสนับสนุนอีกครั้ง ใช้ข้อมูลที่คุณเพิ่งถกประเด็นไป รวมถึงเรื่องเล่าบางอย่างที่คุณเก็บเอาไว้ มาใช้หลอมรวมกันให้บทสรุปมีสีสันมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

การเขียนเรียงความเชิงอธิบาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะต้องตรวจสอบหัวข้อและนำเสนอข้อโต้แย้งเกี่ยวกับหัวข้อนั้น โดยใช้หลักฐานต่างๆ ที่มี
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจเขียนเรียงความเชิงอธิบายว่า การวิจัยเรื่องการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน สามารถนำไปพัฒนาเป็นยารักษาอาการบาดเจ็บไขสันหลัง รวมถึงโรคบางชนิดอย่างพาร์กินสันและเบาหวานได้ด้วย
    • เรียงความประเภทนี้ ต่างจากเรียงความเชิงโน้มน้าวตรงที่คุณไม่ได้แสดงความเห็นลงไป คุณเอาเฉพาะข้อเท็จจริงที่มีผลการวิจัยมาสนับสนุน
  2. โครงสร้างและกลยุทธ์การนำเสนอ มีหลายรูปแบบ เช่น:
    • คำจำกัดความ เรียงความแบบจำกัดความ จะช่วยอธิบายความหมายของคำศัพท์เฉพาะและแนวคิดต่างๆ
    • แบ่งแยกประเภท เรียงความแบ่งแยกประเภท จะช่วยจัดวางหัวข้อเป็นหมวดๆ โดยเริ่มจากหมวดทั่วไปก่อน และค่อยๆ โฟกัสลงมาถึงหมวดที่เป็นหัวข้อจำเพาะ
    • เปรียบเทียบและคัดค้าน เรียงความรูปแบบนี้ คุณต้องอธิบายจุดเหมือนหรือจุดต่าง ระหว่างสองแนวคิด
    • เหตุและผล เรียงความรูปแบบนี้ ชี้ให้เห็นว่าแต่ละหัวข้อมีผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างไร หรือมีความเป็นอิสระจากกันอย่างไร
    • แนะแนวทาง เรียงความแบบแนะแนวทางจะช่วยอธิบายขั้นตอนที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมาย หรือระเบียบการเพื่อแนะแนวทางให้แก่ผู้อ่าน
  3. เรียงความเชิงอธิบายไม่ได้เกี่ยวกับความเห็นของคุณ มันเป็นการนำบทสรุปมานำเสนอ โดยมีหลักฐานสนับสนุน [2] นั่นหมายความว่า คุณต้องมึมุมมองเป็นกลางและเน้นการนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา
    • คุณอาจพบด้วยว่า การได้รับข้อมูลใหม่ๆ มาเพิ่ม อาจทำให้คุณต้องปรับแก้เรียงความตามไปด้วย หากคุณเริ่มเขียนเรียงความเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ด้วยข้อมูลที่มีจำกัด คุณก็ควรจะปรับแก้เพิ่มเติมในภายหลังด้วย
  4. ข้อเท็จจริงส่วนใหญ่สามารถเล่าเรื่องในตัวมันเองได้อยู่แล้ว ขอแค่พยายามคิดให้เหมือนกับนักหนังสือพิมพ์ กล่าวคือ คุณแค่นำข้อเท็จจริงต่างๆ มาวางกองเอาไว้ เดี๋ยวมันก็เล่าเรื่องในตัวมันเอง
    • อย่าปรับแต่งโครงสร้างในเรียงความเชิงอธิบาย มันไม่เหมือนกับเรียงความเชิงเล่าเรื่องที่คุณสามารถพลิกแพลงไปมาได้ แต่ในเรียงความประเภทนี้ คุณควรปล่อยให้มันเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านปะติดปะต่อข้อเท็จจริงได้ง่ายกว่า
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

การเขียนเรียงความเชิงเล่าเรื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียงความเชิงเล่าเรื่องเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่คุณหรือผู้อื่นได้เคยประสบพบพานมา เช่น คุณอาจเล่าเรื่องว่า การวิจัยทดลองด้านการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน จะมีส่วนช่วยเหลือคุณหรือคนรอบข้างให้หายป่วยจากอาการบางอย่างไดอย่างไร
  2. การเล่าเรื่องที่ดี ต้องมีทั้งบทนำ ฉากหลัง พล็อตเรื่อง ตัวละคร จุดไคลแม็กซ์ และบทสรุปครบถ้วน
    • บทนำ : หรือส่วนเริ่มต้น คุณจะเริ่มเรื่องราวอย่างไร? มีข้อมูลใดที่เป็นประโยชน์หรือสำคัญซึ่งจะนำไปกล่าวถึงต่อไปหรือไม่?
    • ฉากหลัง : เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน? คุณควรใช้คำศัพท์ใด ที่จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพตามได้บ้าง?
    • พล็อตเรื่อง : เกิดอะไรขึ้น. นี่คือส่วนที่เล่าเนื้อหาใจความของเหตุการณ์ทั้งหมด คุณเล่าเรื่องนี้เพราะเหตุใด?
    • ตัวละคร : ใครมีส่วนร่วมบ้าง. ตัวละครบอกอะไรกับเราเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น? เหตุการณ์นั้นล่ะ บอกอะไรเกี่ยวกับตัวละครให้เรารู้บ้าง?
    • ไคลแม็กซ์ : จุดพีคก่อนที่ประเด็นเนื้อหาจะได้รับการคลี่คลาย เราถูกชักนำให้ร่วมติดตามเรื่องนี้หรือไม่? เราอยากรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นต่อไปหรือไม่?
    • บทสรุป : ทุกอย่างคลี่คลายหรือลงเอยอย่างไร เรื่องนี้มีความหมายอะไรกับเราบ้าง? ถึงจุดนี้แล้ว สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงผู้คนและแนวคิดที่มี เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง?
  3. เรียงความเชิงเล่าเรื่องส่วนใหญ่ เขียนจากมุมมองของผู้แต่ง แต่คุณสามารถนำความเห็นผู้อื่นมากล่าวอ้างได้ ตราบใดที่มันสอดคล้องกัน
    • ใช้สรรพนามแทนตัวเองได้ ในกรณีที่คุณกำลังเล่าเรื่อง ในเรียงความเชิงเล่าเรื่อง คุณสามารถใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ได้ แต่อย่าใช้บ่อยนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นเรียงความประเภทใด ข้อเขียนจะมีนำหนักมากกว่า หากเขียนแบบใช้สรรพนามบุรุษที่ 3
  4. คุณกำลังจะเล่าเรื่อง แต่จุดประสงค์ของมันคือการนำเข้าประเด็น โดยระบุแนวคิดของคุณในหัวเรื่องสมมุติฐาน และใช้การเล่าเรื่องทั้งหมดโยงกลับไปที่หัวเรื่องสมมุติฐานดังกล่าว
    • คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง? เรียงความชิ้นนี้ถ่ายทอดสิ่งที่คุณเรียนรู้อย่างไร?
    • คุณเปลี่ยนไปในทิศทางใดบ้าง? “คุณ" ในตอนนี้ ต่างกับ “คุณ” คนที่เริ่มต้นเขียนเรียงความอย่างไร มันคล้ายๆ แต่ไม่เหมือนกับคำถามก่อนหน้าที่ว่า "คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
  5. ข้อเขียนของคุณจะไปกระตุ้นอารมณ์บางอย่างของผู้อ่าน ดังนั้น ระมัดระวังการเลือกใช้คำให้ดีด้วย [3]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเร่งรีบ แต่ก็อย่าลังเลเกินไป เวลาที่คิดจะลงมือเขียนเรียงความสักชิ้น หาแนวคิดหลักให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปจัดการส่วนอื่นๆ ทีหลัง
  • อย่าสนใจสิ่งอื่นๆ เวลาที่กำลังตั้งใจเขียนเรียงความ
  • พยายามเขียนให้น่าสนใจ เพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจและพยายามตั้งใจอ่าน
  • จำไว้ว่า: อย่ารอถึงนาทีสุดท้ายก่อนแล้วค่อยเขียน! ขั้นตอนต่างๆ ที่คุณเพิ่งอ่านมานั้น ต้องใช้เวลาพอสมควร มิฉะนั้น คุณจะไปเร่งกดดันตัวเองเพื่อให้เขียนเสร็จ ซึ่งผลก็คือ การเขียนออกมาแย่ๆ
  • พยายามมองหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆ มาเขียนเพิ่มเติม โดยอาจเริ่มจากกูเกิ้ลนี่ล่ะ
  • ระบุภาพประกอบ (ทุกประเภท) หรือแผนผังใดๆ ด้วยการใช้คำว่า ภาพประกอบที่ 1, 2, 3 ฯลฯ ส่วนตารางก็ใช้คำว่า ตารางที่ 1, 2, 3 ฯลฯ อย่าใส่ตัวเลขลงไป หากคุณไม่ได้ระบุในเนื้อหา
  • ถามผู้รู้ หากคุณไม่รู้จะเริ่มอย่างไร อย่ารอจนวินาทีสุดท้าย
  • อย่าทำเรื่องต่อไปนี้:
    • สร้างคอลัมน์สำหรับหัวข้อย่อย
    • ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นประโยค ในย่อหน้าใดๆ
    • ใช้เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ในข้อย่อยสุดท้าย เพราะอาจารย์มักตีความหมายว่า เธอไม่รู้จะเขียนอะไรเพิ่มแล้วล่ะสิ
    • ทำเครื่องหมายเอาไว้ สำหรับทุกแนวคิดที่คุณมี ก่อนที่จะเขียนแต่ละส่วนในเรียงความ เพื่อช่วยให้คุณกลับมาทวนได้ง่ายขึ้น ดีกว่าใช้การจำซึ่งอาจทำให้ข้อมูลดีๆ หลงหายไปได้
  • บทนำและบทสรุปเป็นตัวช่วยสำคัญที่สุด พยายามเขียนมันออกมาในแบบที่ แม้แต่คุณเองอ่านแล้วก็ยังประทับใจ
  • ระวังอย่าให้มีข้อผิดพลาดเรื่องไวยากรณ์
โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานผู้อื่น นำข้อความ ข้อเท็จจริง และแนวคิดใดๆ ก็ตามที่คุณยืมมาจากผู้อื่น ไปใส่ไว้ในแหล่งอ้างอิงหรือเชิงอรรถด้วย สถาบันการศึกษาสมัยนี้ สามารถเช็คได้ว่าคุณคัดลอกข้อเขียนมาจากที่ไหนหรือเปล่า โดยใช้ซอฟแวร์และเสิร์ชเอนจิ้น หรือโปรแกรมช่วยค้นหาต่างๆ ซึ่งหากพบว่าคุณเขียนซ้ำซ้อนข้อความเดิม คุณก็อาจถูกลงโทษด้วยเช่นกัน เพราะคุณควรจะเขียนเนื้อหาใหม่ทุกครั้ง การคัดลอกงานผู้อื่นถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงในสถาบันการศึกษา และคุณอาจถูกไล่ออกได้หากพบว่ามีความผิด อย่าเสี่ยงเลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,030 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา