ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เรื่องเล่าส่วนบุคคลเน้นไปที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตจริงที่เป็นสาระหรือสำคัญต่อผู้เขียน คุณอาจจะต้องเขียนเรื่องเล่าส่วนบุคคลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสมัครเรียนมหาวิทยาลัยหรือเป็นชิ้นงานที่ต้องส่งในวิชาเรียน ในการเขียนเรื่องเล่าส่วนบุคคลที่แข็งแกร่งนั้นต้องเริ่มจากการมีความคิดที่น่าสนใจเสียก่อน จากนั้นจึงเขียนเรื่องที่มีการเปิดเรื่องที่ดึงดูดใจผู้อ่านและมีโครงสร้างเรื่องเล่าที่มีรายละเอียดและเป็นระบบ ทบทวนและแก้ไขเรื่องเล่าส่วนบุคคลก่อนส่งเสมอเพื่อให้งานเขียนออกมาดีที่สุด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ระดมความคิดสำหรับเขียนเรื่องเล่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เน้นเหตุการณ์หรือช่วงเวลาในชีวิตที่น่าจดจำ. เรื่องเล่าส่วนบุคคลควรเน้นไปที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่น่าจดจำหรือสร้างความประทับใจครั้งใหญ่ให้แก่คุณ ซึ่งมันจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นเหตุการณ์ที่น่าจดจำและสำคัญกับคุณ เหตุการณ์นั้นอาจเป็นเรื่องเล็กน้อยในตอนแรก แต่กลายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคุณไปเลย [1]
    • เช่น คุณอาจจะเขียนถึงความพยายามที่จะยอมรับกับรูปร่างของตนเองในช่วงมัธยมและการที่คุณสามารถเอาชนะมันได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ หรือคุณอาจจะเขียนถึงปาร์ตี้วันเกิดปีที่ 15 ที่เป็นเหมือนหายนะสำหรับคุณ และเขียนว่ามันส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคุณกับแม่อย่างไร
  2. ปมขัดแย้งส่วนบุคคลเป็นเชื้อไฟที่ดีในการเขียนเรื่องเล่าส่วนบุคคล คิดถึงความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดในชีวิตหรือช่วงเวลาในชีวิตที่คุณต้องประสบกับความขัดแย้งใหญ่ๆ สำรวจปมขัดแย้งอย่างละเอียดในเรื่องเล่าของคุณ [2]
    • เช่น คุณอาจจะเขียนเรื่องเล่าส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างคุณกับแม่ผู้ให้กำเนิด หรือคุณอาจจะเขียนถึงปมขัดแย้งที่คุณมีกับกีฬาที่คุณเล่นหรือชมรมที่คุณเข้าร่วม
  3. คิดถึงประเด็นหรือความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. ใช้ประเด็นเป็นจุดเริ่มต้นในการเล่าเรื่อง สำรวจประเด็นหรือความคิดจากมุมมองของคุณ พิจารณาว่าประเด็นนี้เกี่ยวพันกับชีวิตของคุณและส่งผลต่อประสบการณ์ของคุณอย่างไร ประเด็นเช่นความยากจน ความโดดเดี่ยว การเสียสละ และพรสวรรค์ล้วนเป็นประเด็นที่ดีสำหรับเรื่องเล่าส่วนบุคคล [3]
    • เช่น คุณอาจจะสำรวจประเด็นเรื่องความยากจนด้วยการเขียนเกี่ยวกับความพยายามในการจัดการเรื่องเงินและการเงินของครอบครัว คุณอาจจะเขียนถึงการที่คุณต้องเลื่อนการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยไปก่อนเพื่อมาทำธุรกิจที่บ้านเพื่อให้ที่บ้านมีกินมีใช้
  4. เรียนรู้จากตัวอย่างที่ดีของงานเขียนประเภทนี้ทั้งในรูปแบบออนไลน์และหนังสือ ค้นหาเรื่องเล่าส่วนบุคคลในอินเทอร์เน็ตเพื่อดูว่าเรื่องเล่าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างไร อ่านและเรียนรู้จากตัวอย่างนั้นๆ คุณอาจจะลองอ่านงานเขียนที่เป็นเรื่องเล่าส่วนบุคคลของนักเขียนร่วมสมัยต่อไปนี้ :
    • โตเกียวไม่มีขา โดย นิ้วกลม
    • หยดน้ำหวานในหยาดน้ำตา โดย อุรุดา โควินท์
    • ตื่นบนเตียงอื่น โดย ปราบดา หยุ่น
    • คอลัมน์บันเทิงเชิงร้ายใน THE MATTER
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เขียนเรื่องเล่าส่วนบุคคล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มงานเขียนเรื่องเล่าส่วนบุคคลด้วยการดึงดูดใจผู้อ่านด้วยประโยคเปิดเรื่องที่เข้มข้น ใช้การบรรยายอย่างรุ่มรวยและลงรายละเอียดในตอนเปิดเรื่อง เริ่มเรื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อมัดใจผู้อ่านในทันทีและทำให้ผู้อ่านอ่านต่อ [4]
    • เช่น บรรทัดแรกของหนังสือหากความเข้าใจยังมีอยู่จริงของนิ้วกลมดึงความสนใจของผู้อ่านได้ดีทีเดียว “รายชื่อผู้ตายเรียงรายอยู่บนเสาหลายสิบต้น” [5]
  2. ดึงผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่องด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละครหลักและปมขัดแย้งหรือประเด็นหลัก บอกผู้อ่านว่าเรื่องเล่านี้เกิดขึ้นที่ไหนและเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อธิบายว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณและ/หรือคุณกับความสัมพันธ์ที่มีต่อคนอื่นๆ ในชีวิต [6]
    • เช่น ในงานเขียนของนิ้วกลม เขาได้กำหนดฉากขึ้นมาด้วยการบอกฉากท้องเรื่อง ตัวละคร และเสียงบรรยาย “ผมเดินอ่านรายชื่อ รวมถึงไล่ดูอายุของผู้คนนับร้อยที่ถูกพิพากษาว่าเป็น ‘แม่มด’ ในพิพิธภัณฑ์ล่าแม่มดในยุคกลาง ณ เมือง Zugarramurdi ประเทศสเปน”
  3. อย่ากระโดดไปกระโดดมาระหว่างช่วงเวลาต่างๆ หรือเล่าเหตุการณ์ในอดีตมาถึงปัจจุบันแล้วกลับไปอดีตใหม่ในย่อหน้าเดียวกัน เล่าเรื่องตามลำดับเวลาจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งหรือจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วงเวลาหนึ่ง วิธีนี้จะทำให้ผู้อ่านปะติดปะต่อเรื่องไปตามเรื่องเล่าได้ [7]
    • เช่น คุณอาจจะเริ่มจากเหตุการณ์ในวัยเด็กกับพี่สาวของคุณ จากนั้นก็เล่าต่อไปถึงปัจจุบัน เน้นไปที่ตัวคุณกับพี่สาวในวัยผู้ใหญ่
  4. เน้นการบรรยายว่าสิ่งนั้นมีกลิ่น มีเสียง มีรสชาติ ให้ความรู้สึก และดูเป็นอย่างไรในฉากนั้น ให้ภาพที่ชัดเจนแก่ผู้อ่านเพื่อให้ผู้อ่านซึมซาบเข้าไปอยู่ในเรื่องเล่า พยายามอธิบายช่วงเวลาในเรื่องเล่าจากมุมมองของผู้พูด [8]
    • เช่น คุณอาจจะบรรยายความรู้สึกของคุณต่อต้มข่าทะเลของแม่ว่า “เข้มข้นและจัดจ้านด้วยวัตถุดิบพิเศษที่จนถึงวันนี้ฉันก็ยังบอกไม่ได้ว่ามันคืออะไร”
  5. เรื่องเล่าส่วนบุคคลส่วนใหญ่จบด้วยการคิดทบทวนหรือการวิเคราะห์เหตุการณ์ในเรื่อง คุณอาจจะปิดเรื่องด้วยข้อคิดจากประสบการณ์ที่คุณแบ่งปันให้กับผู้อ่าน หรือคุณอาจจะทิ้งผู้อ่านไว้กับความคิดสำคัญที่อธิบายสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณ [9]
    • เช่น คุณอาจจะปิดเรื่องเล่าส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของคุณกับพี่สาวเจ้าปัญหาด้วยความทรงจำเมื่อไม่นานมานี้ ตอนที่คุณทั้งคู่มีความสุขที่ได้อยู่ด้วยกัน คุณอาจจะทิ้งผู้อ่านไว้กับบทเรียนที่คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักใครสักคน ไม่ว่าเขาจะมีความยุ่งเหยิงและทัศนคติที่ติดตัวมาแบบไหนก็ตาม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ขัดเกลาเรื่องเล่าส่วนบุคคล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณเขียนร่างเรื่องเล่าส่วนบุคคลเสร็จแล้ว ให้อ่านออกเสียงให้ตัวเองฟัง ฟังว่าเรื่องเล่าฟังดูเป็นอย่างไรเวลาที่คุณอ่านออกเสียง สังเกตว่ามีช่วงเวลาที่ฟังดูแปลกๆ หรือมีประโยคไหนที่ไม่ชัดเจนบ้าง วงกลมหรือขีดเส้นใต้เอาไว้เพื่อที่คุณจะได้กลับมาแก้ไขทีหลังได้
    • นอกจากนี้คุณอาจจะอ่านเรื่องเล่าให้อีกคนฟังเพื่อที่พวกเขาจะได้รู้ว่ามันฟังดูเป็นอย่างไร วิธีนี้จะทำให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นต่องานของคุณได้ง่ายขึ้น
  2. ขอให้เพื่อน เพื่อนในกลุ่ม เพื่อนร่วมชั้น หรือคนในครอบครัวอ่านเรื่องเล่าของคุณ ขอให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นที่มีต่อสไตล์การเขียน น้ำเสียง และความลื่นไหลของเรื่องเล่า ถามพวกเขาว่าเรื่องเล่ามันฟังดูเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีรายละเอียด และดึงดูดใจให้อ่านไหม [10]
    • เต็มใจน้อมรับความคิดเห็นจากผู้อื่น เปิดใจให้กับคำติเพื่อก่อเพราะมันจะทำให้เรื่องเล่าของคุณแข็งแกร่งขึ้น
  3. แก้ไขเรื่องเล่าในส่วนของความชัดเจนและความยาว. อ่านเรื่องเล่าอีกครั้งเพื่อดูการสะกดหรือการเว้นวรรคตอนอื่นๆ ทวนเรื่องเล่าเพื่อให้แน่ใจว่ามันไม่ยาวเกินไป เพราะตามปกติเรื่องเล่าส่วนบุคคลจะสั้น อยู่ระหว่าง 1 – 5 หน้า นอกจากนี้คุณอาจจะต้องเขียนความยาวตามที่กำหนดถ้าหากคุณเขียนเรื่องเล่าส่วนบุคคลเพื่อส่งงานในวิชาเรียน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,920 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา