PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณเป็นคนมีของ อัดอั้นตันใจอยากปล่อยของใช่หรือเปล่า? มาเขียน webcomic อวดความคิดสร้างสรรค์อันบรรเจิดของคุณกันดีกว่า! เราพร้อมแนะแนวทางง่ายๆ ที่จะพาคุณไปสู่เส้นทางนักวาด webcomic ผู้โด่งดัง ไม่มีอะไรยากเกินฝันหรอกนะ!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวออกเดินทางสู่ความสำเร็จ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในกรณีของ webcomic ก็คือต้องมีพล็อตเจ๋งๆ ไงล่ะ จริงๆ webcomic ของคุณจะไม่มีพล็อตก็ได้ แต่ถ้ามีแล้วเวลาระดมสมองหาไอเดียต่อยอดก็จะง่ายขึ้น แถมทำให้มีเป้าหมายอีกต่างหาก ลองใช้หลัก Monomyth หรือ Act Structure ดู เรื่องของคุณจะได้ดำเนินไปอย่างมีจังหวะจะโคน ที่สำคัญคือคนอ่านเขาจะได้เข้าใจติดตามง่าย เริ่มจากการกำหนดธีมและปมปัญหาก็ดีเหมือนกัน
    • อย่ามองข้ามหลักการเขียนอมตะนิรันดร์กาลอย่าง "เขียนเรื่องที่รู้!" บอกเลยว่าเรื่องจริง! แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องขลุกอยู่แต่เรื่องที่คุณรู้เท่านั้น อย่างการเขียนเรื่องในชีวิตประจำวันหรือจริงจังซะจนน่าเบื่อ ก็แค่คุณจะเขียนได้สมจริงกว่าถ้าเขียนจากประสบการณ์หรืออารมณ์ต่างๆ ที่เคยประสบพบเจอมา
  2. ต้องมีทั้งตัวละครหลักและตัวละครรองถ้าคุณคิดจะให้ตัวละครเหล่านั้นออกมาเป็นประจำ วาด character sheet ไว้ด้วยก็ได้ จะได้วาดออกมาหน้าตาเหมือนเดิมทุกครั้ง แล้วเขียน "cheat sheet" บอกประวัติ บุคลิก ข้อเสีย และอื่นๆ ของตัวละครไว้ด้วยก็ดี
    • ถ้าตัวละครเอนเอียงมาทางฝั่งร้าย คุณก็จะทำงานหนักหน่อยในฐานะนักเขียน และตัวละครพวกนี้ก็มักเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ถึงจะบอกว่าไม่ควรเน้นหนักไปทางไหนเป็นพิเศษ แต่ก็อย่าไปตีกรอบให้ตัวเองเลย!
  3. สัก 3 ตอนเป็นอย่างน้อย โชว์ตัวละครหลักหน่อย (ถ้ากำหนดเรียบร้อยหมดแล้วนะ) วาดออกมาในสไตล์ที่คุณอยากให้ webcomic ของคุณเป็นนั่นแหละ ต่อไปจะวาดแบบเร็วๆ เส้นไม่เนี้ยบมาก หรือจะเน้นแบบเส้นคมๆ ค่อยๆ วาด ก็ต้องเลือกกันตั้งแต่ตอนนี้เลย เพราะที่ลองวาดก็อยากให้คุณพอจับทางได้นั่นแหละ ว่าตอนนึงต้องใช้เวลาประมาณไหน แล้วจะทำให้เสร็จไวขึ้นได้ยังไง สุดท้ายคุณอาจปรับสไตล์ให้วาดง่ายขึ้น ลงสีน้อยลง หรืออื่นๆ อีกมากมาย
  4. เอาไปให้เพื่อนอ่านแล้วขอรีวิวเลย แต่ถ้าไม่เชื่อใจเพื่อน จะไปลงในห้องแชทหรือเพื่อนที่รู้จักกันตามเน็ตของคุณดูก็ได้ จะได้รู้ว่าการ์ตูนของคุณมีดียังไง ต้องพัฒนาตรงไหนอีก ลองขอ feedback แบบละเอียดๆ ดู ที่นอกเหนือจาก "ชอบอะ!" หรือ "ฮาดี!"
    • อย่าคิดจะเอาใจคนอ่านทุกคน ให้หาจุดร่วมที่เขาแนะนำติชมมาคล้ายๆ กันจะดีกว่า
    • คนเกลียดตัวละครหลักของคุณหรือเปล่า? มุขฮาพอไหม? ลายเส้นลวกไปหรือเปล่า? เรื่องพวกนี้แหละที่ต้องเก็บมาคิดและพัฒนาก่อนจะเปิดตัวชิ้นงานจริง
  5. คุณต้องมีตารางการอัพตอนใหม่ที่แน่ชัด แล้วก็ใช้ตารางนั้นกำหนดเดดไลน์ คนอ่านเขาจะได้รู้ว่าต้องแวะเวียนมาอ่านตอนใหม่เมื่อไหร่ ถ้าอัพไม่เป็นเวล่ำเวลาก็เตรียมตัวเสียคนอ่านทั้งใหม่และเก่าได้เลย ที่สำคัญการมีตารางอัพเดทจะช่วยกระตุ้นเตือนให้คุณขยันวาด จะได้ติดเป็นนิสัย ไม่ขี้เกียจ ผัดวันประกันพรุ่งไงล่ะ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปิดตัว Webcomic ของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรเริ่มวาดไว้หลายๆ ตอนเท่าที่ทำได้ อัพเรื่องใหม่ครั้งแรกต้องมีมากกว่า 1 ตอน คนอ่านเขาจะได้พอจับแนวถูกว่าการ์ตูนของคุณเกี่ยวกับอะไร จากนั้นก็ให้วาดตุนไว้ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วอาทิตย์นั้นไม่มีโอกาสวาดขึ้นมา (แล้วแต่ว่าจะอัพเป็นอาทิตย์ เป็นวัน หรือเป็นเดือน) ถ้ารู้สึกฝืนที่ต้องวาดเยอะขนาดนี้ อาจแปลว่าควรหยุดคิดดูสักหน่อย อย่างน้อยคุณก็มีไอเดียที่จะวาดบ้างแล้ว แค่วาดตุนไว้ตอนแรกเท่านั้น อีกหน่อยก็ค่อยเป็นค่อยไปแบบสบายขึ้นเองแหละ
    • น่าจะเริ่มตุนให้พออัพได้สัก 1 - 3 เดือน หรือจะมากกว่านั้นก็ตามศรัทธา ในกรณีที่กลัวตัวเองไม่มีเวลาวาด หรือเป็นพวกผัดวันประกันพรุ่งน่ะ
    • จะใช้เส้นเรื่องเดียวกับที่ใช้วาด 3 ตอนแรกก็ได้ไม่ว่ากัน แค่เอามาปัดฝุ่นใหม่จาก feedback ใหม่ที่ได้มา
  2. จะลงฟรีตามเว็บดังๆ อย่าง Line Webtoon หรือ Minimore ก็ได้ แต่รายได้ก็จะถูกหักเปอร์เซ็นต์ตามธรรมดา แถมจะว่าเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพมันก็ไม่ใช่ซะทีเดียว แต่ถ้าชอบ มันก็สะดวกดี! ไม่งั้นก็มีอีกทางคือคุณต้องหาเว็บพร้อม domain name ของตัวเอง คุณหาเว็บไซต์ได้ในราคาแสนถูก รวมถึง web host ที่ใช้ง่ายนิดเดียว ลองคิดหาชื่อง่ายๆ แต่โดนๆ ให้เว็บของคุณ หรือจะตั้งตามชื่อการ์ตูนไปเลยก็ยิ่งดี
  3. ถ้าออกแบบเว็บไม่ค่อยจะเป็น อาจจะต้องจ้างมืออาชีพหรือหาเพื่อนที่มีหัวหน่อยมาช่วยเรื่องนี้ แต่บางเว็บที่คุณได้ domain name มา เขาก็อาจมีบริการเหมือนกัน! ลอง Google ดูจะรู้ว่ามีหลายเว็บที่ช่วยได้หากคุณมีประสบการณ์น้อยนิดเรื่องสร้างเว็บไซต์ แถมมีเทมเพลตและเครื่องมือสำเร็จรูปต่างๆ ให้เลือกใช้อีกต่างหาก ที่คุณต้องการก็แค่ layout เรียบๆ สีสันไม่ต้องเยอะแยะ และอย่าประดับประดาเยอะจนตาลาย อย่าลืมว่าการ์ตูนของคุณคือดาวเด่นของเว็บไซต์ พอได้รูปแบบเว็บไซต์ที่ต้องการแล้ว ก็ถึงเวลาทำเรื่องต่อไปนี้
    • จัดวางการ์ตูนของคุณไว้ตรงกลางหน้าเลย แต่อย่ารูปใหญ่หรือเล็กไป
    • ต้องเปลี่ยนไปหน้าถัดไปหรือย้อนกลับมาหน้าเดิมได้ง่ายๆ ใส่ลิงค์รวมการ์ตูนทั้งหมดไว้ด้วย ถ้าแบ่งตามแนวเรื่องหรือแบ่งเป็นตอนๆ ไปจะดีกว่าแบ่งตามวันที่ลง แต่ต้องมีเส้นเรื่องแน่นๆ ก่อนนะ นอกจากนี้ก็ควรมีปุ่ม "ตอนแรกสุด", "ตอนก่อนหน้า", "ตอนถัดไป" และ "ตอนล่าสุด" เขียนไว้ชัดๆ ที่ด้านล่าง
    • ชื่อของ webcomic ต้องเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านบนสุดของหน้า รวมถึงตารางการอัพเดทด้วย
    • แนะนำตัวเองให้คนอ่าน "รู้จัก" หน่อย ต้องมีหน้า Contact ด้วยนะ คนเขาจะได้อีเมลมาถามไถ่เรื่องการ์ตูน เรื่องโฆษณา เสนอโปรเจ็คต์ร่วมกัน หรือส่งคำแนะนำติชมทั้งหลาย เป็นต้น มีส่วนของบล็อกไว้ด้วยก็ดี ติดไว้ที่ด้านล่างของการ์ตูนก็ได้ อาจจะลงเรื่องแรงบันดาลใจของตอนนั้นหรืออะไรไปเรื่อยเปื่อย คนอ่านเขาจะได้รู้จักทั้งคุณและการ์ตูนของคุณดีขึ้นยังไงล่ะ
    • มีช่องทางให้คนอ่านแสดงความคิดเห็นหน่อย พวกช่องคอมเม้นท์ที่ด้านล่างการ์ตูนแต่ละตอนก็ได้ ก็ไม่ใช่ทุกคนหรอกที่อ่านแล้วจะคอมเม้นท์ แต่อย่างน้อยก็ทำให้คนอ่านส่วนใหญ่รู้สึกดีและมีส่วนร่วมกับเรื่องราวของคุณมากขึ้น อีกหน่อยจะขยับขยายไปเป็นเว็บบอร์ดด้วยก็ได้ ถ้าคนพากันมาคอมเม้นท์เยอะซะจนล้นน่ะ
    • มีส่วนให้แปะหรือแลกลิงค์กันก็มีประโยชน์เหมือนกัน เว็บอื่นๆ เขาก็จะได้เอาลิงค์ของคุณไปแปะที่เขาบ้าง ช่วยเพิ่มยอดวิวให้เว็บคุณได้ดีเลยแหละ สมาคมกับนักเขียนด้วยกันไว้บ้าง!
  4. เปิดตัวการ์ตูนเรื่องใหม่ของคุณให้คนเขารู้จักทั่วถึงกัน จะอัพทีเดียวทั้งเรื่องเลยก็ได้ หรือจะทยอยอัพไปเรื่อยๆ ทีละตอน หลายเว็บมีฟังก์ชั่นกำหนดคิวการอัพเดทได้ พอถึงเวลาที่คุณตั้ง การ์ตูนก็จะถูกอัพขึ้นเว็บเอง กระทั่งตอนที่คุณไม่ว่างมาดู แต่อย่าชะล่าใจ วาดตอนต่อไปเรื่อยๆ ด้วย ห้ามลืมสต็อกตอนใหม่ๆ ไว้เด็ดขาด!
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำยังไงให้ Webcomic ของคุณเด่นดัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆ แล้วคนจะแห่มาเข้าเว็บคุณเองหรอกนะ อาจจะเลียบๆ เคียงๆ ให้เว็บการ์ตูนอื่นเขาช่วยเขียนบล็อกเรื่องเว็บใหม่ของคุณก็ได้ หรือช่วยแปะลิงค์ก็ยังดี ตามไปลงโฆษณาตามเว็บการ์ตูนต่างๆ แปะลิงค์ตามเว็บบอร์ด หรือจะตั้งกระทู้เกี่ยวกับเว็บของคุณก็ได้ ที่สำคัญคือลงใน Instagram, Twitter หรือ Facebook ด้วย และอย่าลืมแปะลิงค์เป็นลายเซ็นเวลาคุณโพสต์อะไรในกระทู้ต่างๆ ถ้าเพื่อนเยอะหน่อยก็เกณฑ์กันมาให้หมด ทั้งบอกต่อกันปากต่อปากและกระจายข่าวตามเว็บหรือบล็อกของแต่ละคน
  2. ทำความรู้จักกับนักเขียนคนอื่นๆ ในแวดวง webcomic ไว้บ้าง ก็เหมือนการสร้างเส้นสายให้ตัวเองได้ก้าวไกลในเส้นทาง webcomic นั่นแหละ เพราะอาจได้ทั้งคำแนะนำดีๆ กำลังใจ และช่วยโปรโมทให้กันและกันด้วยอีกต่างหาก คนที่รักในการ์ตูนเหมือนกันยังไงก็ไม่ทิ้งกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอย่ากลัว ชวนคุยเลย ใช้เวลาทำความรู้จักและสนับสนุนกันและกัน ที่สำคัญห้ามล้ำเส้นและอย่าก่อดราม่า เดี๋ยวจะพาลถูกแบนเอา!
  3. เป็นเจ้าของเว็บเองก็มีค่าใช้จ่ายน่าดู โดยเฉพาะถ้าเป็นคนอ่านกลุ่มใหญ่เข้า แถมยังต้องใช้เวลาบริหารจัดการอีกต่างหาก ถ้าอยากเอาเวลาไปวาดการ์ตูนมากกว่า ก็ต้องหารายได้เสริม จะได้ไม่ต้องโหมงานหนัก อาจหารายได้เล็กๆ น้อยๆ โดยติดโฆษณาไว้ในเว็บ (Google Ads นี่แหละง่ายสุด) แต่จริงๆ แล้วนักเขียน webcomic ทั้งหลายมักมีรายได้พิเศษเพิ่มมาจากการพ่วงสินค้าเข้าไปต่างหาก (หรือที่ฝรั่งเขาเรียกกันว่า "merch" น่ะ) เตรียมตัวออกหนังสือ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และอื่นๆ ไว้ได้เลย แล้วอย่าลืมแวะเวียนไปตามงาน comiccon ทั้งหลายด้วยล่ะ ถ้าบังเอิญว่าไม่ค่อยถูกโรคกับเรื่องพวกนี้ ก็อาจจะเหนื่อยหน่อยถึงจะทำอาชีพนี้รอดในระยะยาว
  4. อย่าติดนิสัยดองการ์ตูน แค่เพราะความนิยมตกฮวบใน 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ใช้เป็นข้ออ้างว่าหมดกำลังใจอัพไม่ได้หรอกนะ! ถ้าเรื่องคุณดีพอ เดี๋ยวคนก็มาอ่าน การจะวาด webcomic ให้ได้เด่นดังนั้น ก็เหมือนกับคุณอยากเป็นดารา มันต้องใช้ทั้งเวลาและแรงกายแรงใจ ไม่มีใครดังง่ายๆ ในชั่วข้ามคืนหรอก อย่าเพิ่งถอดใจสิ!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อ่าน webcomic ของคนอื่นบ้าง จะได้เห็นไอเดียใหม่ๆ
  • อย่ากลัวถ้าบางครั้งเรื่องอาจออกทะเลบ้าง
  • หาไอเดียใหม่ๆ ที่แปลกแหวกแนว
  • DeviantART นี่แหละสุดยอดเว็บสำหรับนักวาดที่ไม่ได้หวังเงินทองมากนัก อย่างน้อยๆ งานของคุณก็จะได้ผ่านตาคนหมู่มาก แถมยังได้อ่านคอมเม้นท์ต่างๆ ในแต่ละหน้า
  • การ์ตูนต้องมีฮาบ้าง ถ้าหลายตอนเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกัน ใส่ใจหน่อย อย่าสักแต่เขียนเพื่อให้เรื่องมันดำเนินต่อไป
  • อย่าหยุดเขียน! ไม่ใช่ว่าเขียนตอนใหม่เสร็จแล้วจะหยุดเขียนได้ มีตอนใหม่ๆ ไว้ในมือตลอดนั่นแหละดี เพราะถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นมาจนต้องหยุดเขียนไป (เช่น อยากพักร้อน แขนหัก หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ) คุณจะได้มีแผนสำรองไง และระหว่างที่หยุดเขียนไปนั้น ให้พยายามคิดหาไอเดียใหม่ไปพลางๆ ด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • อยู่ๆ ฉีกแนวจากตลกโปกฮา ไปเป็นดราม่าเคล้าน้ำตา ก็อาจจะแป้กได้ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปจะดีกว่า เดี๋ยวคนอ่านตามไม่ทันเอา
  • มันต้องมีบ้างแหละ คนที่มาป่วนด้วยคอมเม้นท์แรงๆ ทำร้ายจิตใจ คิดซะว่าพวกนี้ว่างจัดก็แล้วกัน อย่าเก็บไปใส่ใจให้มากเลย
    • แต่มองอีกมุมก็อย่าปิดหูปิดตาไม่ยอมรับความคิดเห็นคนอื่นท่าเดียว แน่นอนว่าบางคนก็จ้องจะวิจารณ์กันเสียๆ หายๆ แต่หลายคนเขาก็อยากเห็นคุณทำได้ดีกว่านี้จริงๆ นะ อย่าลืมว่าต่อให้ตอนนี้คุณเก่งแค่ไหน ถ้ามีทางจะเก่งขึ้นได้อีกก็น่าสนใจใช่ไหมล่ะ
  • เรื่องรักๆ ใคร่ๆ นี่บางครั้งก็สุ่มเสี่ยงนะ! หาข้อมูลให้ดีๆ ก่อนเขียน แล้วอย่าไปพาดพิงใครเขาล่ะ ไอ้พวกความรักเชิงชู้สาวระหว่างพี่น้อง หรือความรักผิดศีลธรรมทั้งหลาย ถ้าเลี่ยงได้อย่าไปเขียนเลย
  • อย่าหมกมุ่นกับการวาดการ์ตูนจนไม่เป็นอันทำอะไรล่ะ!
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • คอมพิวเตอร์
  • เครื่องสแกน (ถ้าวาดลงในคอมเลยก็ไม่ต้องใช้)
  • กระดาษ/ดินสอ/ดินสอสี (ถ้าวาดลงในคอมเลยก็ไม่ต้องใช้)
  • ค่า domain name และค่าโฆษณา (ข้อนี้แล้วแต่คุณ แต่ถ้ามีก็ดี)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,673 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา