ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผ่อนคลายเข้าไว้ คุณอยากจะเผชิญหน้าความไม่แน่นอนของชีวิตให้ได้อย่างเข้มแข็งและสง่างามหรือเปล่า การทำอารมณ์และจิตใจให้เข้มแข็งไม่สามารถสำเร็จได้ในชั่วข้ามคืนหรอก ทั้งนี้ หากคุณเริ่มมองสถานการณ์ผันผวนในชีวิตให้เป็นบททดสอบความเข้มแข็งได้เมื่อไร เมื่อนั้น สติปัญญาและหนทางแก้ไขปัญหาก็จะเริ่มสั่งสมในตัวคุณมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถนำมาใช้รับมือกับวิกฤติการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกคราวไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ระบุปัญหาและวางเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีสภาวะจิตและอารมณ์ที่เข้มแข็งหรือมั่นคงนั้น หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวได้ดีต่อความเครียด อาการเจ็บปวด ความทุกข์ยาก และโศกนาฎกรรมต่างๆ ในชีวิต [1] ซึ่งความมั่นคงที่อยู่ภายในนี้ไม่ได้ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่มันเป็นกระบวนการที่สามารถเรียนรู้กันได้ และพบได้ในคนธรรมดาสามัญทั่วไป [2]
    • การมีอารมณ์เข้มแข็ง ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือเป็นทุกข์ ทั้งนี้ ความมั่นคงภายในใจมักพัฒนาขึ้นมาในเวลาที่คนเราเผชิญกับเหตุการณ์ที่สุดแสนเจ็บปวด ดังนั้น การมีอารมณ์ที่เข้มแข็งจึงหมายถึงการที่คุณสามารถฟื้นตัวและกลับมาตั้งตัวได้ใหม่ หลังจากเผชิญเหตุการณ์เลวร้ายนั่นเอง [3]
    • การจะพัฒนาความมั่นคงภายในใจได้นั้น คุณจะต้องเน้นการฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตด้วย เช่น การวางแผนและดำเนินตามแผนนั้น พัฒนาความมั่นใจและการมองตัวเองในแง่บวก รู้จักจัดการกับอารมณ์และความวู่วาม รวมถึงสามารถสื่อสารและแก้ปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ [4]
  2. การบริหารอารมณ์ของตนเองเป็นอีกสิ่งที่สำคัญต่อการมีสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง คุณอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในชีวิตได้ทั้งหมด แต่คุณสามารถเลือกวิธีการที่จะตอบสนองต่อทุกๆ เหตุการณ์ได้ [5] เช่นเดียวกัน ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับทักษะนี้ แต่เราสามารถฝึกฝนเพื่อบริหารอารมณ์ให้รับมือกับปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้ [6]
  3. ก่อนที่คุณจะสามารถสร้างสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง คุณจำเป็นต้องค้นหาจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวเอง เพื่อหาจุดที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ลองลิสต์รายการจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองออกมาให้มากที่สุด จากนั้นก็มาลองดูว่า มีจุดอ่อนใดบ้างที่คุณอยากนำมาเป็นเป้าหมายในการพัฒนาให้สำเร็จ
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจเขียนจุดอ่อนของตัวเองออกมา เป็นเรื่องที่คุณมักไม่กล้ายืนหยัดเพื่อความต้องการของตนเอง ดังนั้น คุณก็สามารถตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเองว่า คุณอยากจะกลายมาเป็นคนที่กล้ายืนหยัดเพื่อตนเองให้ได้ [7]
  4. นอกเหนือจากการระบุจุดที่ต้องการพัฒนาตนเองแล้ว อย่าลืมที่จะฉลองให้ตนเองในจุดแข็งที่มีอยู่ด้วย ลองหาเวลาอ่านลักษณะของจุดแข็งทั้งหมดที่คุณมี และจงแสดงความยินดีกับตัวเองที่มีคุณลักษณะเชิงบวกเหล่านี้ด้วย การแสดงความยินดีกับตนเองอยู่เป็นประจำจะช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับคุณลักษณะด้านบวกของตนเอง และจะช่วยเสริมสร้างสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็งต่อไป [8]
  5. สาเหตุที่คุณขาดสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็งในตอนนี้ อาจเป็นผลมาจากบางเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าเรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่กี่เดือนก่อนหรือเกิดตั้งแต่สมัยคุณยังเด็กก็ตาม ย่อมมีผลต่อสภาวะจิตใจและอารมณ์ด้วยกันทั้งสิ้น ผลการศึกษาพบว่า เด็กๆ ที่ประสบความทารุณกรรม ทอดทิ้ง และทำอันตราย มักจะโตขึ้นมาโดยขาดสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง ซึ่งส่งผลให้พวกเขาหันหน้าไปหายาเสพติดและมีความคิดฆ่าตัวตาย [9]
    • พยายามครุ่นคิดว่า เหตุการณ์ทางลบในวัยเด็กมีผลต่อสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็งจริงหรือเปล่า ลองนึกดูดีๆ ว่า ทำไมประสบการณ์ดังกล่าวจึงมีผลกระทบต่อคุณ และผลกระทบนั้นเป็นอย่างไร
    • คุณอาจจำเป็นต้องพูดคุยปรึกษานักบำบัด เพื่อที่จะสะสางปมในวัยเด็ก ก่อนที่จะสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้
  6. สำรวจตัวเองว่า คุณเสพติดสิ่งใดที่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดหรือเปล่า. การติดเหล้า เซ็กส์ ยาเสพติด หรือเรื่องใดๆ ก็ตาม อาจกำลังทำลายสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็งของคุณอยู่ หากคุณรู้ตัวว่ากำลังติดสิ่งใด พยายามหาทางออกและกำจัดพฤติกรรมดังกล่าวออกไปเสีย หากมีอาการติดขั้นรุนแรง คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วย จงรีบไปพบแพทย์หรือนักบำบัดทันที กรณีที่คุณคิดว่าอาการเสพติดที่มีอยู่ ส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็งของคุณ
  7. บันทึกสภาวะอารมณ์และความคิดลงในสมุดบันทึกส่วนตัว. การจดบันทึกรายวันจะสามารถช่วยให้เข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้คุณประสบปัญหาที่เผชิญอยู่นี้ แถมยังช่วยลดอาการเครียดของคุณได้ด้วย [10] การจะเริ่มต้นเขียนบันทึกส่วนตัวนั้น พยายามหาสถานที่เหมาะและใช้เวลาสัก 20 นาทีในแต่ละวันให้กับกิจกรรมดังกล่าว คุณอาจเริ่มลงมือเขียนว่าตนเองรู้สึกอย่างไร และมีความคิดแบบไหนผุดขึ้นมาในหัวสมองบ้าง หรือคุณอาจใช้เทคนิคประโยคนำทาง ซึ่งตัวอย่างประโยคนำทางก็มีดังต่อไปนี้:
    • ”ฉันรู้สึกท้อแท้ใจ เวลาที่……”
    • “ความท้าทายของฉัน คือ……”
    • “หากฉันสามารถพูดอะไรกับตัวเองในวัยเด็กได้ ฉันจะพูดว่า…”
    • “เวลาที่ฉันท้อใจ สิ่งที่ดีที่สุด ที่ฉันสามารถพูดหรือทำให้แก่ตัวเองได้ คือ …”
  8. หากปราศจากการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ มันก็ยากที่จะรู้สาเหตุว่า ทำไมคุณถึงกำลังรู้สึกว่า ตนเองถูกปัญหารุมเร้า รวมถึงจะทำอย่างไรจึงสามารถจัดการกับความรู้สึกดังกล่าวออกไปด้วย ผู้ให้การรักษาบำบัดจิตใจที่มีคุณวุฒิและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ย่อมสามารถทำให้คุณเข้าใจตนเองและจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้
    • จงตระหนักว่า สาเหตุของการมีจิตใจและอารมณ์เปราะบาง ส่วนหนึ่งอาจเกิดได้จากอาการทางจิตบางประเภทด้วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ การพูดคุยกับนักบำบัดจะช่วยให้คุณเจอสาเหตุและวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาต่อไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ประคองจิตให้สมดุล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงเรื่องทุศีลที่เป็นอุปสรรคต่อความสงบในใจ. หากคุณกำลังเสี่ยงกับสุขภาพจิตของตัวเอง ด้วยการดื่มเหล้าเมายา ลักขโมย ชอบโกหกหลอกลวงผู้อื่น หรือสิ่งใดๆ ในทำนองนั้นก็ตาม คุณก็เท่ากับกำลังบั่นทอนความสามารถในการมีสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง พยายามถอยให้ห่างจากพฤติกรรมให้โทษเหล่านั้น หรือพยายามลดละให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้มันมาส่งผลกระทบต่ออารมณ์และวิถีชีวิตของคุณได้ หากคุณกำลังเสพติดสิ่งใดก็จงหาทางรักษาเสีย
  2. ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักคลายเครียดบ้าง จะช่วยเสริมสร้างและประคองสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็งของคุณได้ การเริ่มต้นดูแลตัวเอง ยังเป็นการส่งสาส์นไปยังจิตใต้สำนึกว่า คุณมีค่าคู่ควรกับการทะนุถนอม พยายามจัดสรรเวลาในแต่ละวันให้แน่ใจว่า คุณได้รับการออกกำลังกาย อาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อน และการคลายเครียดอย่างเพียงพอ [11]
    • ออกกำลังให้สม่ำเสมอ สักประมาณ 30 นาทีต่อวัน
    • บริโภคสารอาหารตามโภชนาการที่สมดุลจากอาหารทุกหมู่ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และลีนโปรตีน
    • นอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อคืน
    • หาเวลาสัก 15 นาทีต่อวัน ลองเล่นโยคะ ฝึกเทคนิคการหายใจทั่วท้อง หรือฝึกสมาธิก็ได้
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 8 แก้วต่อวัน ยิ่งหากมีการออกกำลังกายหรือได้เหงื่อ ยิ่งต้องดื่มเพิ่มมากกว่านั้น
  3. กระตุ้นตัวเองให้หมั่นเรียนรู้ตลอดเวลา ยิ่งมีความรู้มากเท่าไร จิตใจคุณก็ยิ่งเข้มแข็งและหลักแหลมขึ้น อย่าปล่อยให้ตัวเองดักดานอยู่กับที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรางกายหรือจิตใจ จงขวนขวาย รอบรู้ และทันโลก
    • อ่านหนังสือ ดูหนังคุณภาพ ไปชมคอนเสิร์ต บัลเล่ต์ ละครเวที ฯลฯ หรือเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะสักแขนงก็ได้
    • สร้างสรรค์งานศิลปะของตนเอง เช่น การเขียน วาดภาพระบายสี แต่งเพลง ปั้นหุ่น ถักนิตติ้ง หรืออะไรก็ได้ที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
    • เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ บ้าง หัดทำอาหาร ประดิษฐ์ของใช้ในบ้าน ทำสวน หัดขับรถเกียร์ธรรมดา หัดตกปลา ฝึกวิ่งมาราธอน ฯลฯ
    • พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ้าง พยายามคุยต่อยอดความสัมพันธ์ ไม่ใช่แค่คุยแบบสั้นๆ ศึกษาที่มาของแต่ละคนและเล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเองให้ผู้อื่นฟัง
  4. หลายคนสามารถพัฒนาความเข้มแข็งขึ้นมาจากการใช้เวลาฝึกฝนด้านจิตวิญญาณ การรู้สึกเชื่อมต่อกับพลังอำนาจเบื้องสูงหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือ จะช่วยให้คุณมีจิตวิญาณที่เข้มแข็งและเห็นเป้าหมายชีวิตชัดเจนมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การฝึกปฏิบัติด้านจิตวิญญาณและการสวดมนต์ส่งผลให้ความเครียดบรรเทาลงได้ และยังช่วยย่นระยะเวลาฟื้นตัวเมื่อเจ็บป่วย [12] เรื่องทางจิตวิญญาณสามารถแตกออกไปได้หลายแขนง คุณควรหาแนวทางที่เหมาะกับจริตของตนเองมากที่สุด ไม่มีใครตัดสินได้ว่าแนวทางใดดีที่สุด
    • ลองไปสถานที่ทางศาสนาเพื่อร่วมสวดมนต์กับผู้อื่นดูก็ได้
    • ลองฝึกทำสมาธิหรือเล่นโยคะด้วยก็ดี
    • พยายามใช้เวลาออกไปชื่นชมความงดงามตามธรรมชาติบ้าง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

การเสริมสร้างสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วางเป้าหมายอย่างเหมาะสมและดำเนินตามแผนที่วางไว้. [13] คุณสามารถฝึกฝนความแกร่งของจิตใจด้วยการลองตั้งเป้าหมายและทำให้สำเร็จ ตามขั้นตอน การดำเนินตามแผนการที่วางไว้ย่อมหมายถึงการปรับตัว กระตุ้นตัวเองให้ก้าวผ่านความเบื่อและความเจ็บปวด และไม่ละสายตาจากเป้าหมายจนกว่าจะบรรลุผลตามเป้า เรื่องแบบนี้ไม่มีทางลัด และยิ่งคุณฝึกฝนมากเท่าไร คุณก็ยิ่งทำเป้าหมายให้สำเร็จได้มากเท่านั้น
    • หากคุณตั้งเป้าหมายใหญ่เกินไปจนไม่สามารถทำสำเร็จได้ พยายามแตกออกมาเป็นเป้าหมายรองๆ ก่อน เพื่อให้ทำได้ทีละขั้นตอน [14] ตัวอย่างเช่น หากคุณตั้งเป้าว่า ต้องการเป็นคนที่กล้าแสดงจุดยืนมากขึ้น คุณก็ควรตั้งเป้าหมายว่า จะพยายามหาโอกาสยืนหยัดเพื่อตนเองในสถานการณ์ต่างๆ สักประมาณ 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ซึ่งอาจจะเป็นการชักนำแฟนของคุณให้ไปทานอาหารค่ำในสถานที่ๆ คุณต้องการ ไม่ใช่ยอมไปร้านอาหารที่แฟนคุณเป็นคนเลือกเหมือนที่ผ่านมา
    • ถือคติไว้ว่า “อย่าล้มเลิก” ตั้งสัจจะไว้ว่า หากคุณต้องเผชิญกับอุปสรรค คุณจะพยายามต่อไปเรื่อยๆ ไม่ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะเป็นการอดทนทำงานที่เดิมต่อไป หรือการทำโครงงานบางอย่าง หรือบริหารเงินเก็บให้ดีกว่านี้ เป็นต้น
    • มองความล้มเหลว เป็นโอกาสในการเรียนรู้ ความล้มเหลวเป็นเพียงการสะดุดชั่วคราว เพื่อให้โอกาสเราในการเรียนรู้บทเรียนบางอย่าง
  2. พัฒนาความเข็มแข็งให้รับมือกับเหตุการณ์ทางลบได้. เหตุการณ์ทางลบสามารถเข้าหาคุณได้ในหลายรูปแบบ มันอาจจู่โจมจากภายใน ในรูปแบบของความคิดด้านลบ การตำหนิตัวเอง หรืออาจจะมาจากปัจจัยภายนอก เช่น คำวิจารณ์ด้านลบและการดูถูกจากผู้อื่น แม้ว่าเราไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดเรื่องทางลบเหล่านี้ได้โดยเบ็ดเสร็จ แต่ก็พอมีทางจัดการกับมันได้บ้าง เช่น:
    • จัดการความคิดเชิงลบด้วยการรู้ทันและท้าทายมัน
    • คุณอาจจะรู้วิธีจำกัดเวลาในการสุงสิงกับพวกที่ชอบคิดลบหรือดึงคุณให้ตกต่ำแล้ว แต่จะดีกว่าไหม หากคุณสามารถเลิกยุ่งเกี่ยวกับพวกเขาไปได้อย่างสิ้นเชิงเลย บางทีพวกเขาอาจเป็นสมาชิกในครอบครัวคุณเอง เพื่อนร่วมงาน หรือใครก็ตามที่คุณต้องพบปะเป็นประจำ แทนที่จะรับเอาพลังงานด้านลบมาไว้กับตัว คุณสามารถเลือกที่จะตัดขาดและสร้างกำแพงขึ้นมาป้องกันคนเหล่านั้นได้
  3. ใช้การคุยเชิงบวกกับตัวเอง เสริมสร้างสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง. [15] การกล่าวคำยืนยันเชิงบวกกับตัวเองทุกวัน จะช่วยเสริมสร้างสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง หาเวลาสักสองสามนาทีตอนเช้า ยืนมองตัวเองในกระจกเพื่อพูดให้กำลังใจตนเอง โดยคุณจะพูดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเชื่อมั่นในตนเอง หรือสิ่งที่คุณอยากจะให้ตัวเองเชื่อมั่นก็ได้ [16] ตัวอย่างคำยืนยันเชิงบวก มีดังนี้:
    • “ฉันกำลังพัฒนาอารมณ์ให้เข้มแข็งมากขึ้นๆ ทุกวัน”
    • “ฉันกำลังเรียนรู้วิธีการที่สร้างสรรค์ในการจัดการกับความเครียดและอ่อนโยนต่อตนเอง”
    • “ฉันมั่นใจว่า ถ้าฉันค่อยๆ ก้าวไปทีละขั้นเช่นนี้ทุกวันๆ ฉันจะมีสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็งได้”
  4. เวลาที่สถานการณ์เริ่มกดดัน คุณอาจจะรู้สึกได้ถึงอารมณ์ที่กำลังพลุ่งพล่าน พร้อมระเบิดออกมาเสมอ แต่คุณสามารถฝึกฝนการยับยั้งตัวเองอีกสักนิด แทนที่จะวู่วามหรือทำตามสัญชาติญาณตอบสนองเดิมๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีเวลาชั่งน้ำหนักและเลือกทางที่ดีที่สุดในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
    • ลองนับ 1 ถึง 10 ในใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ใครๆ มักใช้กันมานานแล้ว แต่มันก็ได้ผลดีเชียวล่ะ ก่อนที่คุณจะวู่วามทำตามอารมณ์ พยายามสูดลมหายใจลึกๆ และคิดใคร่ครวญให้ดีก่อน [17]
    • การฝึกสมาธิสามารถช่วยให้คุณสงบใจได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นการฝึกในแบบที่ช่วยให้คุณเห็นอารมณ์และความคิดตัวเองอย่างเป็นกลาง ไม่ปรุงแต่งใดๆ ดังนั้น แทนที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ตามปกติทั่วไป คุณจะสามารถบอกตัวเองได้ว่า “เอาล่ะ ฉันรู้ว่าตัวเองกำลังโกรธ” จากนั้น ก็แค่ปล่อยวางมันและหาทางตอบสนองในแบบที่สร้างสรรค์ต่อไป [18]
  5. หากคุณเป็นคนประเภทอ่อนไหวต่อคำพูดคนอื่นหรือสิ่งรบกวนใจเล็กน้อยๆ ล่ะก็ นอกจากคุณจะต้องเสียพลังงานและเวลาไปกับสิ่งที่ในท้ายที่สุดแล้ว อาจไม่มีความหมายอะไรเลย เวลาที่คุณจมอยู่กับเรื่องหยุมหยิมเช่นนั้น และใส่ใจมันเหมือนกับว่าเป็นปัญหาใหญ่ ไม่เพียงคุณจะทำให้ตัวเองเกิดอาการเครียดเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นการบั่นทอนพลังชีวิตในระยะยาวด้วย [19] พยายามเรียนรู้ที่จะปรับทัศนคติของตัวเองในเรื่องดังกล่าว กำจัดมันทิ้งไปเพื่อลดการหลั่งสารเครียดหรือฮอร์โมนคอติซอลในร่างกาย ซึ่งจะไปกระทบต่อภูมิคุ้มกัน เพิ่มความดันโลหิต และเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคหัวใจด้วย [20]
    • แทนที่จะเครียด พยายามฝึกการยั้งคิดถึงสิ่งที่กำลังรบกวนคุณ และฝึกสงบจิตใจ เพื่อค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการตอบสนองอย่างสร้างสรรค์และดีต่อสุขภาพกายและจิตใจมากที่สุด
    • ตัวอย่างเช่น หากสามีของคุณลืมปิดฝาหลอดยาสีฟัน พยายามเตือนตัวเองว่า สามีคุณอาจไม่ได้มองมันเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกับที่คุณคิด คุณสามารถเลือกที่จะปิดฝาลงด้วยตนเองและพยายามนึกถึงเรื่องดีๆ ที่เขาเคยทำไว้ในบ้าน หรือไม่ก็อาจจะเขียนโน้ตเตือนความจำแปะไว้ให้เขาก็ได้
    • ระวังการยึดติดในความสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีความคาดหวังสูงแต่เป็นไปได้ยากเกินสำเร็จเกี่ยวกับตัวเองและเป้าหมายในแต่ละวัน โดยลืมนึกปัจจัยที่คนเราไม่สามารถควบคุมได้ในแต่ละวันด้วย
    • พยายามฝึกจินตภาพว่าคุณได้ปล่อยทิ้งสิ่งรบกวนในใจออกไปหมดแล้ว ลองนึกภาพว่าตนเองกำลังกำก้อนหินไว้ในมือ ซึ่งก้อนหินก็หมายถึงสิ่งรบกวนจิตใจ จากนั้น ลองตั้งใจจดจ่อกับเรื่องรบกวนจิตใจดังกล่าวพร้อมกับกำมือบีบหินให้แน่น จากนั้น เมื่อคุณหนำใจแล้ว ก็นึกภาพว่าตนเองเขวี้ยงมันทิ้งไป โดยปลดปล่อยพลังงานทางลบในใจทิ้งไปกับมันด้วย [21]
  6. หากคุณมักจะติดอยู่ในปัญหาของตัวเอง พยายามหามุมมองใหม่ให้กับชีวิต รวมถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ด้วย คนเราย่อมพบทางตันบ้างในบางช่วงของชีวิต แต่ผู้ที่มีสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง จะสามารถหาหนทางอื่นในการก้าวต่อไปยังเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ หากคุณไม่รู้จะแก้อาการจมปลักในความคิดเดิมๆ ได้อย่างไร ก็ลองทำสิ่งต่อไปนี้:
    • อ่านให้มากขึ้น การอ่านข่าวหรือแม้แต่นิยาย จะช่วยเปิดประตูไปสู่โลกอื่นๆ ให้แก่คุณ เป็นการเตือนตัวเองว่า โลกนี้ช่างกว้างใหญ่นัก ปัญหาของเรามันก็แค่หยดน้ำในมหาสมุทร
    • เข้าร่วมอาสาสมัคร ออกไปพบปะคนที่ด้อยโอกาส ผลการศึกษาพบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร มีประโยชน์หลายด้านต่อการพัฒนาสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง [22]
    • รับฟังเพื่อนๆ บ้าง พยายามรับฟังปัญหาและสอบถามเผื่อมีใครต้องการคำแนะนำจากคุณ ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราและให้คำแนะนำที่ดีที่สุดและจริงใจที่สุดเท่าที่คุณจะมี
    • ท่องเที่ยว การพาตัวเองออกจากความเคยชินเดิมๆ จะช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้สถานการณ์ที่คุณเผชิญอยู่ ลองไปในสถานที่ใหม่ๆ อาจจะแค่ต่างจังหวัดใกล้ๆ ก็ยังดี
  7. ผู้ที่มีสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง มักจะไม่ชอบบ่น พวกเขาก็เจอปัญหาเหมือนคนอื่นทั่วไปแหละ แต่พวกเขารู้จักเขี่ยมันให้พ้นทางและมองทุกอย่างในภาพรวม การพยายามรู้สึกในเชิงบวกกับสิ่งดีๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิต รวมถึงอนาคตอันสดใสที่อาจกำลังรอคุณอยู่ จะช่วยเสริมสร้างให้คุณมีสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง เพื่อต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิตต่อไป ผลการศึกษายังพบด้วยว่า การมีทัศนคติที่ดีส่งผลดีต่อสุขภาพกายอีกด้วย [23]
    • จงมีความสุขกับเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เวลาที่คุณเล่นกับสัตว์เลี้ยง สังสรรค์กับเพื่อนและคนในครอบครัว เป็นต้น
    • มองหาข้อดีในแต่ละสถานการณ์ ทุกเหตุการณ์ย่อมมีอะไรให้เรียนรู้เสมอ
  8. การกล้าเผชิญหน้ากับความเป็นจริง อาจเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดที่แสดงถึงสภาวะจิตใจและอารมณ์อันเข้มแข็ง หากคุณต้องการจะเอาชนะอุปสรรค คุณจำเป็นต้องเผชิญหน้ามันตรงๆ หากมัวแต่หลอกตัวเองถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น จะยิ่งทำให้คุณเจ็บปวดมากขึ้นในระยะยาว [24]
    • หากคุณมีแนวโน้มชอบหลบหนีปัญหา เช่น การดูทีวีเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจตนเองจากปัญหา พยายามรู้ทันตัวเองและแก้ไขนิสัยดังกล่าวให้ได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รับมือสถานการณ์ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อพบกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก พยายามใช้เวลามากเท่าที่ต้องการในการค้นหาทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้คุณควบคุมอารมณ์ได้และมีโอกาสชั่งน้ำหนักทางเลือก ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นในทุกๆ สถานการณ์ [25]
    • หากเป็นไปได้ ลองหาเวลาทบทวนสถานการณ์และเขียนบรรยายความรู้สึกออกมา [26] พยายามมองหาช้อดีของสถานการณ์นั้นๆ ออกมาอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กแค่ไหนก็ตาม [27] การเปลี่ยนมุมมองแม้เพียงน้อยนิด สามารถสร้างผลลัพธ์อันแตกต่างอย่าใหญ่หลวงได้
    • พยายามรอสักอย่างน้อย 10 วินาที เพื่อให้สถานการณ์สุกงอมก่อนที่จะพูดหรือทำอะไรลงไป เช่น หากแฟนคุณมาขอเลิกกับคุณ คุณก็ควรให้เวลาตัวเองสัก 10 วินาทีเพื่อควบคุมอารมณ์ไว้ ก่อนที่จะตอบสนองใดๆ ออกไป ซึ่งในภายหลัง คุณจะรู้สึกดีใจที่ทำเช่นนั้น
  2. ขณะที่คุณกำลังประคองอารมณ์ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป พยายามคิดถึงสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าว่า มันกำลังเกิดอะไรขึ้นกันแน่ มีหนทางใดบ้างที่จะตอบสนองต่อเรื่องนี้ได้ ซึ่งในทุกปัญหามักจะมีทางออกมากกว่าหนึ่งทางเสมอ [28]
    • สมมติว่า เพื่อนคุณมาชวนคุณทำบางสิ่งที่ผิดกฎหมาย และคุณลังเลระหว่างการทำตามใจเพื่อนกับการเคารพกฎหมาย คุณควรชั่งน้ำหนักดูว่าผลดีและผลเสียของการกระทำทั้งสองอย่างจะเป็นอย่างไรบ้าง หากเขาเป็นเพื่อนคุณจริง ทำไมจึงชักชวนให้คุณทำแบบนี้ หรือกฎหมายมีช่องโหว่ที่ทำให้เพื่อนคุณไม่ได้รับความยุติธรรม
  3. ใช้สามัญสำนึกเป็นตัวนำทาง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ตัดสินใจทำตามสัญชาตญาณของตัวเอง มักจะมีความพึงพอใจมากกว่าผู้ที่เอาแต่ชั่งน้ำหนักทางเลือก [29] บางครั้งคำตอบก็ชัดเจน ในขณะที่บางครั้ง มันก็ยากที่จะเลือกหนทางที่ถูกต้องที่สุดในสถานการณ์ดังกล่าว อย่าปล่อยให้ปัญหาลุกลามไปใหญ่ รีบตัดสินใจสักอย่างและก้าวต่อไป
    • ปรึกษากับคนที่คุณไว้ใจ มันย่อมเป็นการดีที่จะถามความเห็นคนอื่น หากคุณไม่มั่นใจว่าจะเลือกทางใด ขอแค่อย่าทำตามคำแนะนำให้ทำสิ่งที่ผิด
    • ลองจินตนาการว่า ไอดอลของคุณ จะตัดสินใจอย่างไรเมื่อเผชิญปัญหาเดียวกับคุณ หรือเป็นใครก็ได้ที่มีระดับทางปัญญา ศีลธรรม และความซื่อสัตย์เสมอเหมือนกับคุณ พวกเขาจะทำอย่างไร
    • ท้ายที่สุดแล้ว คุณก็จำต้องรับผิดชอบผลของการกระทำทุกอย่าง ดังนั้น เลือกให้ดีที่สุด เลือกทางที่คุณจะไม่เสียใจภายหลัง และอยู่กับมันได้ในช่วงที่เหลือของชีวิต
  4. หลังจากผ่านอุปสรรคมามากมาย ลองคิดดูว่า มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง คุณรับมือมันได้อย่างไร และผลของมันออกมาเช่นไร คุณภูมิใจกับทางเลือกของตัวเองมั้ย หากเป็นไปได้ คุณอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง พยายามเรียนรู้ให้ครบทุกแง่มุมจากประสบการณ์ของตนเอง พยายามสำรวจทุกสิ่งที่ผ่านมา ดีกว่าปล่อยให้มันเลือนรางไปตามกาลเวลา แล้วคุณจะได้ปัญญาอันล้ำค่าเป็นผลพลอยได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้ว่าควรแก้ปัญหาอย่างไรในอนาคต [30]
    • หากทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่คุณคาดไว้ ก็ไม่เห็นเป็นไร พยายามเตือนตัวเองว่า ไม่มีอะไรเป็นไปดั่งใจเราทุกเรื่องหรอก และคนเราย่อมไม่สามารถได้ทุกสิ่งที่ต้องการ อันเป็นสัจธรรมที่ทุกคนต้องเผชิญ ไม่ว่าชีวิตพวกเขาจะดูสวยหรูเพียงใดก็ตาม [31]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถอยให้ห่างจากคนที่ไม่ให้เกียรติคุณและทำให้คุณรู้สึกอ่อนแอ
  • ลองฝึกทำสมาธิเพื่อให้จิตมีความแน่วแน่และสงบนิ่ง
  • พยายามฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบัน คิดเรื่องกวนใจในอดีตและเรื่องที่คุณกังวลเกี่ยวกับอนาคตให้น้อยลง
โฆษณา
  1. http://psychcentral.com/lib/the-health-benefits-of-journaling/721/
  2. http://psychcentral.com/lib/how-to-raise-your-self-esteem/
  3. http://psychcentral.com/blog/archives/2010/03/21/spirituality-and-prayer-relieve-stress/
  4. http://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/coaching-and-parenting-young-athletes/201311/keys-effective-goal-setting
  6. http://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx
  7. http://www.webmd.com/mental-health/tc/building-self-esteem-topic-overview
  8. http://www.webmd.com/sex-relationships/features/anger-management-counting-to-ten
  9. http://www.health.harvard.edu/blog/mindfulness-meditation-may-ease-anxiety-mental-stress-201401086967
  10. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0531556514002058
  11. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0531556514002058
  12. https://www.psychologytoday.com/blog/your-wise-brain/201403/let-it-go
  13. https://www.psychologytoday.com/blog/the-empathy-gap/201308/the-caring-cure-can-helping-others-help-yourself
  14. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/03/11/positive-psychology-the-benefits-of-living-positively/
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/pathological-relationships/201211/telling-yourself-the-truth
  16. http://www.mindtools.com/pages/article/newCDV_59.htm
  17. https://www.mindtools.com/pages/article/newCDV_41.htm
  18. https://www.mindtools.com/pages/article/newCDV_41.htm
  19. http://advancedlifeskills.com/blog/emotionally-strong-during-adversity/
  20. http://www.lifehack.org/articles/featured/how-to-make-the-right-choice.html
  21. https://www.psychologytoday.com/blog/the-social-self/201009/reflection-critical-self-improvement
  22. https://www.mindtools.com/pages/article/newCDV_41.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 41,574 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา