ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การผูกมิตรกับคนอื่นไม่ใช่เรื่องยากหากคุณมีทัศนคติที่ถูกต้อง โดยปกติแล้ว คนเรามักชอบคนที่ร่าเริง เป็นมิตร และสนุกสนาน ดังนั้น การพยายามดึงนิสัยเหล่านั้นออกมาจากบุคลิกภาพของคุณเพื่อให้คนอื่นเห็นนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพียงแค่รู้จักวางตัวให้เหมาะ คุณก็จะมีเพื่อนเยอะขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัวเลยล่ะ!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปล่อยให้บุคลิกภาพของคุณได้เฉิดฉาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แค่ เป็นตัวของตัวเอง . อย่ากลัวที่จะแสดงความเห็นส่วนตัว “อย่าแสร้งเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเอง”​ หากใครมาพูดอะไรไม่ดีใส่ก็แค่ทำเฉยไว้ จำนวนคนที่อิจฉาและเกลียดคุณนั้นจะเทียบไม่ได้เลยกับจำนวนคนที่รักคุณที่เป็นตัวของตัวเอง รักษาจุดแข็งของตัวเองเอาไว้นะ
    • หากปกติแล้วคุณเป็นคนขี้อายหรือเก็บตัว ลองใช้ด้านลึกลับของตัวเองให้เกิดประโยชน์ดูสิ เช่น คุณอาจจะทำตัวเป็นมิตรและเปิดเผยกับคนอื่นแต่ไม่เปิดจนเผยตัวตนไปจนหมด หากคนสนใจคุณเพราะมีบางอย่างที่เข้ากันได้ เดี๋ยวเขาก็พยายามเข้าใกล้เพื่อทำความรู้จักคุณให้ดีขึ้นเองแหละ
    • หากคุณสนใจการเล่นกีฬา ใช้ทักษะทางกีฬาของคุณเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง แค่อย่าอวดตัวก็พอ คนที่เล่นกีฬาเก่งแต่ยังรู้จักถ่อมตัวนั้นจะได้รับความสนใจจากคนอื่น ทำตัวเป็นคนแบบนั้นดีกว่า อย่าทำตัวเป็นพวกงั่งที่ชอบดูถูกเด็กเนิร์ดเพียงเพราะขาดความภาคภูมิใจในตัวเองเลยนะ
    • หากคุณเป็นคนฉลาดหลักแหลม ลองพยายามทำตัวให้เข้าถึงง่ายขึ้นดู สิ่งที่คนฉลาดไม่สมควรทำที่สุดก็คือการทำให้คนอื่นรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้องการเพราะยังฉลาดไม่พอ พยายามทำความเข้าใจคนอื่นและตระหนักไว้ว่าคนอื่นๆ อาจจะรู้สึกว่าไม่ควรไว้ใจคุณหากลึกๆ แล้วพวกเขานึกอิจฉาคุณอยู่ ดังนั้น พยายามเลือกคุยเรื่องยากๆ เฉพาะกับเพื่อนที่เก่งพอๆ กับคุณดีกว่า
  2. ไม่ใช่ว่าทุกคนเกิดมาแล้วจะเข้าสังคมเก่งกันหมด แต่คนเรานั้นสามารถพัฒนาได้ ขอเพียงแค่ได้รับการฝึกฝนและฝึกปฏิบัติที่เพียงพอ คุณก็จะสามารถเพิ่มความมั่นใจและสร้างความประทับใจต่อคนอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วเลยล่ะ
    • อดทนเข้าไว้ การพูดคุยกับคนแปลกหน้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ยิ่งคุณฝึกฝน คุณก็จะยิ่งเก่งขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาค่อยๆ พูดคุยกับคนอื่น ลองใช้เวลาร่วมกับคนอื่นสักพักแล้วเดี๋ยวก็มีเรื่องคุยกันเองแหละ
    • สบตาอีกฝ่าย การสบตากับอีกฝ่ายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะดวงตาจะช่วยถ่ายทอดสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อสาร และการที่คุณไม่สบตาคนอื่นจะสื่อให้เห็นว่าคุณกำลังโกหกหรือไม่สนใจอีกฝ่าย “มีการพิสูจน์ทางจิตวิทยาแล้วว่า การสบตาคู่สนทนาเป็นทักษะการเข้าสังคมที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะช่วยให้คุณพัฒนาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับคนอื่นๆ ได้”
    • รู้จักให้อภัยคนอื่น เพื่อนและเพื่อนร่วมชั้นของคุณอาจจะทำผิดพลาดได้ อย่าไปเก็บทุกความผิดพลาดของคนอื่นมาใส่ใจ ให้อภัยเพื่อนเมื่ออีกฝ่ายเข้ามาขอโทษคุณ
    • เป็นคนคงเส้นคงวา เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องสำคัญนะ เช่น หากคุณนัดใครไว้ก็ไปให้ตรงเวลา หากคุณนัดคนไว้หลายคน ไปถึงก่อนเวลาและพยายามอยู่นานๆ (แม้ว่าคุณไม่มีอะไรจะพูดตอนนั้นก็เถอะ)
      • คอยอยู่เคียงข้างเพื่อน หากเพื่อนคนใดคนนึงมีเรื่องทะเลาะกับคนอื่น พยายามเข้าไปห้ามปรามให้เหตุการณ์สงบ อย่าปล่อยให้คนอื่นพูดเรื่องโง่ๆ หรือไม่ดีเกี่ยวกับเพื่อนคุณแล้วทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
      • อย่าขี้นินทา . การนินทาก็เหมือนบูมเมอแรงที่สุดท้ายแล้วจะเหวี่ยงกลับมาทำร้ายคุณเอง อย่าทำให้คนอื่นจดจำว่าคุณเป็นคนขี้นินทา พูดถึงคนอื่นแต่เรื่องที่คุณจะกล้าพูดต่อหน้าคนๆ นั้นพอ
  3. มองโลกในแง่ดี . แม้ว่าคุณจะรู้สึกแย่มาก จำไว้ว่าโลกนี้มีเรื่องที่ทำให้ ยิ้ม ได้เสมอ การที่คุณมองโลกในแง่ดีจะทำให้คนอยากรู้ใกล้คุณมากขึ้น อย่างไรก็ดี คุณต้องรู้จักระมัดระวัง เพราะหากมองโลกในแง่ดีเกินไปก็อาจจะทำให้คนรำคาญได้ อย่าทำตัว “โลกสวย”​ เกินไป
    • ให้ความสำคัญกับเรื่องดีๆ มากกว่าเรื่องแย่ๆ ทุกเรื่องมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีเสมอแต่ก็ลองพยายามมองทุกอย่างในแง่ดีเข้าไว้ เช่น การเลิกรานั้นคือการเปิดโอกาสให้เราได้พบเจอคนใหม่ๆ การสอบตกคือการมีโอกาสเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง ส่วนการทำพลาดเมื่อต้องเข้าสังคมก็คือโอกาสให้คุณได้พัฒนาทักษะการเข้าหาคนอื่นไงล่ะ
    • คุณต้องเชื่อว่าสุดท้ายแล้วปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลายลงเอง คนบางคนเชื่อเรื่องกรรม ส่วนบางคนเชื่อว่าเรื่องดีๆ จะเกิดขึ้นกับคนดีๆ ไม่ว่าคุณจะเชื่ออย่างไร การเชื่อว่าทำสิ่งใดจะได้สิ่งนั้นเป็นความคิดที่ดีเสมอนะ
    • ให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณสามารถแก้ไขได้และอย่าพยายามแก้ไขสิ่งที่แก้ไม่ได้ คุณไม่สามารถเปลี่ยนให้คนมาชอบหรือคิดว่าคุณตลกได้ แต่คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการเข้าหาคนเหล่านั้นได้ อย่าพยายามทำเรื่องใหญ่เกินตัวและให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำได้ในตอนนี้ก่อน
  4. รักตัวเอง . การชอบคนอื่นเป็นเรื่องยากหากคุณยังไม่รู้จักคุณค่าของตัวเอง พยายามฝึกรักตัวเองเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง เริ่มต้นการเดินทางเพื่อ “ค้นพบตัวเอง”​ เสียตั้งแต่ตอนนี้เลย
    • เขียนรายการสิ่งที่คุณต้องทำในแต่ละสัปดาห์และตรวจดูว่าทำอะไรสำเร็จไปแล้วบ้าง เมื่อจบสัปดาห์นั้นๆ คุณจะรู้สึกดีกับสิ่งที่คุณทำสำเร็จ
    • หาเรื่องที่ทำให้ขำออก กลับไปดูหนังตลกเรื่องโปรด ไปหาเพื่อนที่เฮฮาและทำให้คุณหัวเราะได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร อย่าลืมที่จะหัวเราะ เพราะการหัวเราะจะทำให้คุณมีความสุขขึ้น ต่อจากนี้ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรพลาดต่อหน้าคนอื่นก็เล่นมุกทำเป็นฮาไปเลย การทำเช่นนี้ไม่ใช่แค่จะทำให้คุณจะรู้สึกอายน้อยลง แต่ยังจะทำให้คุณเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วยนะ
    • เปิดโอกาสให้คนเข้าหา เปิดโอกาสให้กับคนทุกคนได้เข้ามาทำความรู้จักคุณเพราะหากคุณเมินใครบางคนไป สุดท้ายแล้วคุณจะมีปัญหาในการเข้าหาคนอื่นๆ ด้วย และอาจจะลงท้ายด้วยการที่คุณเมินคนทุกคนไปเลยก็ได้
    • ดูแลตัวเองดีๆ บางทีโลกก็ยุ่งเหยิงวุ่นวายจนพลอยทำให้เราเครียด ดังนั้น การรู้จักถอยหลังออกมาและใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นั้นเป็นเรื่องสำคัญ อย่าไปคิดมากหากคุณนึกอยากดูแลตัวเองบ้าง
    • อย่าโทษตัวเองมากเกินไปเมื่อทำพลาด ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นบทเรียนใหม่ๆ สำหรับตัวคุณเอง อย่าโกรธหรือหงุดหงิดตัวเองเมื่อทำพลาด คิดเสียว่าความผิดพลาดเป็นโอกาสในการพัฒนานะ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ดึงดูดความสนใจจากคนอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แต่งตัวดีๆ จริงๆ แล้วรูปลักษณ์ภายนอกไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้คนชอบคุณหรอกแต่ก็ถือว่าช่วยได้นิดหน่อย พยายามสื่อสารภาษากายที่น่ามองต่อคนอื่นๆ และทำตัวไม่เหมือนใครด้วยการเป็นตัวของตัวเอง
    • อาบน้ำเป็นประจำ รักษากลิ่นกายให้หอมและแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำอย่างน้อยวันละครั้ง (และสระผมอย่างน้อยวันเว้นวัน) ใช้น้ำยาระงับกลิ่นกลายกลิ่นสะอาดๆ และฉีดน้ำหอมนิดหน่อยหากคุณเป็นผู้หญิง แปรงฟันอย่างน้อยสองครั้งต่อวันและขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง
    • ยิ้ม ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้! รอยยิ้มคือสิ่งที่ช่วยยืนยันให้คนอื่นรู้ว่าคุณสนใจสิ่งที่อีกฝ่ายพูด รอยยิ้มยังเป็นสิ่งที่บอกให้คนรอบตัวคุณรู้ว่า คุณมีความสุขและคนเราก็อยากอยู่ใกล้คนที่มีความสุขกันทั้งนั้นแหละ
    • ให้ความสำคัญกับภาษากายที่คุณสื่อสารออกไปหาคนอื่น การกอดอก ขยับเท้าไปมา กรอกตาหรือถอนหายใจล้วนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความเบื่อหน่าย ความฉุนเฉียวและความผิดหวัง ดังนั้น คุณต้องสื่อสารผ่านภาษากายให้เหมาะสมด้วย
  2. หากคุณเป็นคนเก็บตัว เริ่มทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก่อน. เช่น เมื่อคุณไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปงานเลี้ยง ลองทักทายใครซักคนและคุยกันเป็นการส่วนตัวดู ลองฝึกทักษะการเข้าสังคมง่ายๆ ก่อนที่จะลองทำอะไรยากๆ เมื่อได้ทำแล้ว ความสำเร็จจากสิ่งเล็กๆ จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้คุณลองทำสิ่งอื่นๆ ต่อไป
    • ทักทายบรรดาคนที่ไม่ค่อยพูดด้วยคำว่า "สวัสดี" อย่างสดใส เล่าเรื่องของตัวเองให้อีกฝ่ายฟัง เช่น คุณกำลังจะไปไหนหรือคุณมาทำอะไรที่นั่น แค่ทำตัวเป็นมิตรเข้าไว้ หลีกเลี่ยงไม่พูดถึงสภาพอากาศ เพราะอย่างที่ทอม เวตส์ว่าไว้ "มีแต่คนแปลกหน้าเท่านั้นที่คุยกันแต่เรื่องสภาพอากาศ" ลองถามคำถามและเรียนรู้เรื่องราวของอีกฝ่ายหากคุณไม่รู้ว่าควรจะพูดคุยกันเรื่องอะไร
    • ฟังมากกว่าพูด แทนที่จะเอาแต่พยักหน้า ยิ้มและเช็ดน้ำลายแตกฟองที่ลอยมากระทบหน้า ลองตั้งใจฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูดและผสมโรงไปด้วย สอดแทรกความคิดส่วนบุคคลเข้าไปในบทสนทนา แต่อย่าไปแย่งเป็นผู้นำการสนทนาเสียแทน เพราะการสนทนานั้นคือการแสดงความคิดเห็นร่วมกันของสองฝ่ายนะ
    • อย่าคาดหวังความสมบูรณ์แบบจากใคร โดยเฉพาะจากตัวเอง ตัวอย่างเช่น หากคุณเกิดลืมชื่อตัวเองตอนกำลังแนะนำตัว (ซึ่งคงไม่เกิดขึ้นหรอก) ก็แค่ทำเป็นขำๆ กับสถานการณ์นั้นไป ใครๆ ก็ทำพลาดบ้างทั้งนั้น วิธีการรับมือกับความผิดพลาดต่างหากที่จะทำให้คุณเป็นคนที่น่าชื่นชมหรือเป็นคนที่ดูงุ่มง่าม
    • กล้าแสดงความเห็นที่น่าสนใจหรือตลกๆ ความคิดเห็นของคุณอาจจะช่วยเปิดประตูหลายบานซึ่งนำไปสู่มิตรภาพได้ คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าสิ่งที่คุณพูดออกไปจะช่วยกระตุ้นให้คนอื่นไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง หัวเราะ หรือมองคุณต่างไปจากเดิมอย่างไรบ้าง และไม่ว่าอย่างไร ความคิดเห็นก็คือความคิดเห็น ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก
  3. คนที่เป็นที่นิยมอาจจะไม่ใช่คนที่ฉลาดหลักแหลมที่สุด แต่คือคนที่รู้ว่าจะเข้าหากคนและทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกได้อย่างไร การให้ความสำคัญกับการสร้างความนิยมนั้นไม่มีคำว่าสายไปหรอกนะ
    • พูดคุยกับคนที่อายุมากกว่าหรือจะเป็นคนในครอบครัวก็ได้ หากคุณแสดงออกว่าให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่อายุมากกว่าก็จะให้เกียรติคุณกลับเช่นกัน พวกเขาจะไม่ทำให้คุณรู้สึกอับอาย ด้อยกว่า หรือหัวเราะคุณหรอก การได้รับการยอมรับจากคนที่โตกว่าอาจจะทำให้คุณรู้สึกสบายใจมากขึ้น เมื่อต้องพูดคุยกับคนที่อายุเท่ากันก็ได้นะ
    • ลองคบกับเพื่อนที่เด็กกว่าหากคุณยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น การออกไปเที่ยวเล่นกับเด็กที่อายุน้อยกว่าหนึ่งถึงสองปี อาจจะช่วยสร้างความมั่นใจให้คุณได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้ากับเด็กวัยเดียวกันได้มากขึ้น เด็กสิบขวบข้างบ้านของคุณอาจจะคุยด้วยง่ายมากจนทำให้ระดับความมั่นใจของคุณพุ่งพรวดก็เป็นได้
    • จัดกิจกรรม ร่วมกับเพื่อนๆ ลองเป็นตัวตั้งตัวตีจัดงานอะไรที่เหมาะกับวัยของคุณร่วมกับเพื่อนและให้เพื่อนชวนคนอื่นๆ มาร่วมงานดูสิ เช่น อาจจะลองระดมคนมาเล่นฟุตบอลกัน จัดปาร์ตี้ริมสระ หรือจัดปาร์ตี้หลังเลิกงาน ลองพยายามชวนคนใหม่ๆ มาเข้าร่วมงานดู!
  4. ชมคนอื่นเสมอแต่อย่าพยายามมากเกินไป หากคุณรู้สึกเขินอาย สูดหายใจลึกๆ และลองเสี่ยงดูเลย คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากจริงๆ แล้วภายนอกคุณดูเป็นคนขี้อายแต่ลึกๆ แล้วมีด้านบ้าๆ ซ่อนอยู่ก็ปลดปล่อยออกมาบ้างก็ได้ ลองรวบผมขึ้นสูงและโยกย้ายไปมาหรือเต้นดู คนอื่นจะได้ขำและคิดว่าคุณเป็นคนตลกและรู้สึกสนุกเมื่ออยู่ใกล้
    • อย่าพยายามปกป้องตัวเองจากสิ่งที่สร้างปัญหาแต่กับคุณ ตัวอย่างเช่น อย่าตะโกนโวยวายว่า “ทำไมคุณถึงมีอคติแบบนี้ฮะ?” หรือ “ทำไมคุณไม่ชอบผู้หญิงล่ะ?” เพราะเรื่องราวในอดีตที่ทำให้คุณอ่อนไหวต่อประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษ พยายามมองทุกคนในแง่ดีและเลือกที่จะเชื่อว่าอีกฝ่ายเป็นคนดีไว้ก่อนเมื่อไม่แน่ใจ
      • หากคุณถกเถียงกับใครด้วยเรื่องไม่สลักสำคัญเช่น เรื่องรองเท้า ก็ยอมๆ ไปเถอะ พยายามอย่าไปเสียเวลาถกเถียงเรื่องไร้สาระ แต่ถ้าคุณเถียงกับอีกฝ่ายเพราะต้องการจะเข้าข้างเพื่อนหลังจากอีกฝ่ายมาล้อเลียนเพื่อนของคุณ และคุณต้องการจะสนับสนุนเพื่อน เรื่องแบบนี้ก็เป็นสิ่งที่พอจะเข้าใจได้
    • อย่าพูดเรื่องแย่ๆ หรือสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกไม่ดี พยายามหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงประเด็นที่อ่อนไหว เช่น เรื่องการเมือง ศาสนา หรือเพศ​เพราะคนมักจะรู้สึกไม่ดีได้ง่ายๆ เมื่อพูดคุยเรื่องเหล่านี้ หากมีคนถามความเห็นคุณเกี่ยวกับเรื่องพูดนี้ก็พูดไป แต่ต้องเข้าใจว่าคนอื่นอาจมีมุมมองที่ต่างไปในเรื่องเดียวกัน
    • เคารพทุกคน ไม่ว่าฝ่ายนั้นจะคิดหรือพูดอะไร คนเหล่านั้นเป็นมนุษย์เหมือนกับเราและควรได้รับความเคารพ คุณทำตัวอย่างไรกับใครคุณก็จะได้รับการปฏิบัติเช่นนั้นกลับมา อย่าไม่พอใจอะไรง่ายๆ หรือทำเป็นเท่หรือไม่ใส่ใจ เพราะคุณกำลังเสี่ยงที่จะปลีกตัวออกจากคนอื่น และทำให้คนรู้สึกว่าคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจุดยืนของคุณอยู่ตรงไหน
  5. ลุกขึ้นมาซะ และขยับไปพูดคุยกับเพื่อนในห้องที่มีความสนใจใกล้เคียงกันตอนกินอาหารกลางวันหรือตอนอยู่ในปาร์ตี้ เพราะในสภาพแวดล้อมแบบนี้ การพบปะผู้คนและผูกมิตรจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า และถึงแม้ว่าเพื่อนเหล่านั้นจะไม่ได้มีอะไรที่ใกล้เคียงกับคุณก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ตราบใดที่พวกคุณรู้สึกมีความสุขและสบายใจเมื่อได้พูดคุยกัน
    • หากเพื่อนของคุณตัดสินคุณหรือไม่พอใจในสิ่งที่คุณทำ คนพวกนั้นก็ไม่ใช่เพื่อนแท้เสียแล้วล่ะ เพื่อนที่แท้จริงควรจะปกป้องคุณและให้ความสำคัญกับสุขภาพของคุณ (ดังนั้น พวกเขาไม่ควรคิดว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องเท่) แต่นอกจากเรื่องนี้ เพื่อนควรจะสนับสนุนคุณในสิ่งที่คุณทำ
    • เข้าร่วมชมรมหรือกิจกรรมนอกห้องเรียนที่คุณสนใจ หากคุณชอบวาดรูป ลองเข้าชมรมศิลปะ หากคุณชอบโต้วาที ลองเข้าชมรมโต้วาที อย่ากังวลว่าใครจะพูดถึงคุณอย่างไร หากคุณมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองทำ คนที่มาล้อเลียนคุณก็จะดูงั่งเองแหละ
    • อย่าไปกังวลว่าตัวเองคุณจะอยู่กลุ่มไหน คุณไม่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความกับตัวเองตามที่คนอื่นมองคุณ หากคุณอยากจะไปเข้าร่วมกับกลุ่มที่เล่นสเก็ตบอร์ด ก็หัดเล่นสเก็ตบอร์ดเลย อย่าไปฟังคนที่บอกว่าคุณไม่เหมาะจะเล่นสเก็ตบอร์ดล่ะ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำตัวสนุกสนาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับใครหลายคน การทำตัวตลกคือการชี้ให้คนอื่นเห็นอะไรที่แปลกหรือไม่คาดคิด แต่จะทำอย่างไรกันล่ะ? อันดับแรก คุณต้องเชื่อมั่นก่อนว่าคุณรู้ว่าอะไรตลก ลองนึกถึงตอนที่คุณทำอะไรตลกๆ และเรียกความมั่นใจว่าคุณสามารถทำตัวตลกแบบนั้นได้อีกครั้ง
    • ลองนึกถึงเรื่องที่ทำให้คุณหัวเราะเพราะเรื่องนี้อาจจะทำให้คนอื่นหัวเราะได้เช่นกัน ลองจดโน้ตสรุปเรื่องตลกๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับคุณหรืออะไรฮาๆ ที่คนอื่นเคยเล่าให้ฟัง แล้วคุณจะเคยชินกับการเล่นมุกตลกเอง
    • ลองนึกดูว่าทำไมบางสิ่งถึงเรียกเสียงหัวเราะจากคุณ การปล่อยมุกนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณหาต้นตอความฮาจากเรื่องใดได้ เมื่อมีคนพูดหรือทำอะไรฮาๆ ก็ลองถามตัวเองดูว่า “ทำไมเรื่องนี้ถึงฮา”​ และค่อยๆ เรียนรู้วิธีการเป็นคนตลกดู
    • พยายามอยู่ใกล้ๆ คนตลก. โดยคนเหล่านั้นอาจะเป็นเพื่อนของคุณหรืออาจจะดูนักแสดงตลกในทีวีก็ได้ ไม่ว่าคนๆ นั้นเป็นใคร พยายามขยับตัวเองไปใกล้คนเหล่านั้นแล้วความฮาของพวกเขาจะซึมซับเข้าหาตัวคุณเอง
  2. การมีอารมณ์ขันนั้นมาจากความสามารถในการแซวตัวเอง ลองดูพวกนักแสดงตลกเดี่ยวไมโครโฟนดูสิ เขาก็จิกกัดเรื่องที่ตัวเองทำหรือเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเองทั้งนั้น หากคุณสามารถแซวตัวเอง (ได้อย่างมั่นใจ) คนก็จะรู้เองว่าจริงๆ แล้วคุณเคารพตัวเองแค่ไหน
    • ลองฝึกมุกตลกสไตล์จิกกัดตัวเอง มุกตลกจิกกัดตัวเองคือการแซวตัวเองเอาฮา และการที่คุณไม่กลัวที่จะทำพลาด คนอื่นๆ ก็จะหายกลัวว่าคุณจะวิพากษ์วิจารณ์พวกเขาไปเอง ลองอ่านตัวอย่างมุกตลกจิกกัดตัวเองด้านล่างดู จำไว้ว่ามุกพวกนี้เป็นมุกที่ค่อนข้างเป็นทางการ ดังนั้นหากเล่นกับเพื่อน ลองเล่นมุกที่สบายๆ กว่านี้ที่ชี้ให้คนฟังเห็นเรื่องตลกๆ เกี่ยวกับตัวคุณดู
      • "ฉันไปหาจิตแพทย์มา แล้วหมอก็บอกว่า "คุณเป็นบ้า"​ ฉันเลยให้หมอแสดงความเห็นเพิ่มเติม หมอก็เลยบอกว่า "โอเค นอกจากนี้คุณน่าตาอุบาทว์ด้วย! '"
      • "ผมล่ะสงสารคนที่ไม่ดื่มหรือเล่นยาจริงๆ เพราะสักวันคนพวกนี้ต้องไปนอนเดี้ยงใกล้ตายที่โรงพยาบาล แต่ดันไม่รู้ว่าอะไรทำให้ตัวเองป่วย”
      • "ตอนเกิดมาฉันน่าตาน่าเกลียดมากจนหมอขอตบหน้าแม่เลยอะ"
  3. ทำความเข้าใจว่าแต่ละสถานการณ์นั้นมีความฮาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน. มุกตลกนั้นมีหลากหลายและการเรียนรู้ถึงความหลากหลายของเรื่องตลกก็คือ การทำความเข้าใจว่าความตลกนั้นมีที่มาอย่างไร ลองอ่านคำอธิบายถึงมุกตลกประเภทต่างๆ ด้านล่างดูสิ
    • ความคาดหวัง v. ความเป็นจริง เวลาเราคาดหวังถึงอะไรสักอย่างแล้วดันได้อีกอย่างที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง เราก็จะรู้สึกประหลาดใจ เช่น: "เมื่อคืนนี้ผมจะไปดูมวย แต่พอถึงเวลากลายเป็นว่าเค้าแข่งฮอกกี้กัน"
    • เล่นคำและยิงมุก ลองเล่นกับการใช้ภาษาเพื่อสร้างมุกตลกที่ต่างไปจากที่คนคาดว่าจะได้ยิน เช่น “เคยเห็นไก่ข้ามถนนป่ะ อย่างกับไก่ใส่สเก็ต”
    • ยิงมุกใส่สิ่งที่คนพูด ลองเล่นมุกด้วยการการพูดคำหรือประโยคสวนกลับสิ่งที่คนอื่นพูด เช่น เพื่อนคนหนึ่งของคุณพูดว่า “ตลกดีป่ะที่เรามีผมแค่บนหัวและส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่เปิดให้คนเห็น?” เพื่อนคนนั้นแค่พูดลอยๆ ไม่ได้คาดว่าใครจะตอบอะไร คุณอาจจะสวนกลับไปว่า “อันนี้คือพูดถึงตัวเองเหรอ”
  4. ความตลกเป็นศิลปะไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ว่าคุณจะไปอ่านตำราและทำตามได้ ดังนั้น คุณต้องพยายามฝึกฝนและเรียนรู้วิธีการปล่อยความฮาด้วยการทดลองและเรียนรู้จากบทเรียน
    • อ่านหนังสือหรือดูหนังตลก คุณสามารถหาบทความรวบรวมหนังสือหรือหนังตลกได้บนอินเตอร์เน็ต หรืออาจจะลองขอคำแนะนำจากเพื่อนดูก็ได้
    • ฝึกเล่นตลกด้วยตัวเอง หากคุณไม่เคยฝึกเล่นมุกมาก่อนก็ลองหัดดูเลย: ไม่ต้องถึงขั้นยิงมุกรัวๆ ใส่เพื่อนร่วมห้องหรือเพื่อนสนิท ลองเล่นมุกนี้บ้าง มุกนั้นบ้าง และจำดูว่าอะไรที่เล่นแล้วฮา หากไม่ฮาก็ถามตัวเองดูว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะฮา
    • ลุกขึ้นมาเมื่อเล่นมุกพลาด คนตลกทุกคนล้วนเคยเล่นมุกที่ไม่ตลกมาบ้าง หลายครั้งคุณสามารถนำความผิดพลาดนี้มาเล่นเป็นมุกจิกกัดตัวเองได้ภายหลัง ดังนั้น อย่ากลัวที่จะทำผิดพลาด ข่าวดีก็คือถ้ามุกไม่ฮา เดี๋ยวคนลืมไปเองแหละ!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คนเรามักจะมองข้ามว่าคนอื่นๆ ระมัดระวังตัวแค่ไหน เมื่อคุณเข้าหาคนอื่น จำไว้ว่าความรู้สึกอัดอัดตอนพูดคุยกันอาจเกิดขึ้นได้เพราะคนๆ นั้นอาจจะรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือการมั่นใจในตัวเองเข้าไว้ ความมั่นใจจะทำให้คุณยืนอยู่ในจุดที่ดีกว่าและทำให้คุณมองเห็นจุดอ่อนทางสังคมของคนอื่นๆ ด้วย
  • เป็นคนซื่อสัตย์ การโกหกจะทำให้คนอื่นๆ ไม่อยากคบหาสมาคมกับคุณอีกต่อไปเพราะพวกเขาไม่เชื่อใจคุณนั่นเอง
  • ตั้งเป้าว่าตัวเองควรได้รับความเคารพจากคนอื่นมากกว่าการยอมรับ คนเรามักอยากเข้าหาคนที่รู้คุณค่าของตัวเอง หากคุณต้องการแค่การยอมรับจากคนอื่น ก็เหมือนกับคุณบอกคนอื่นอย่างอ้อมๆ ว่า “ฉันให้ค่ากับความเห็นของคนๆ นี้ที่มีต่อตัวฉันและการที่คนเหล่านั้นเห็นค่าในตัวฉันทำให้ฉันรู้สึกมีค่า” คุณควรจะให้คุณค่ากับตัวเองแทนที่จะไปถามหาคุณค่าผ่านสายตาคนอื่นนะ
  • เริ่มเข้าหาคนอื่นๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการถามคำถามปลายเปิด เช่น “ช่วงนี้เป็นไงบ้าง?” และให้คนๆ นั้นเป็นฝ่ายนำการสนทนา ประเมินอีกฝ่ายจากคำตอบแรกที่ทางนั้นตอบเพื่อดูว่าทางนั้นมีทีท่าตอบรับการพูดคุยกันมากแค่ไหน
  • อย่ามีอคติแม้แต่เรื่องอายุ ใช่ว่าคนอายุยี่สิบจะเป็นเพื่อนกับคนอายุเจ็ดสิบไม่ได้ อย่าจำกัดความเป็นไปได้ขึ้นมาเอง
  • อย่าพยายามพูดอะไรเพียงเพราะอยากดูเป็นคนฉลาดหรือตลก คนส่วนใหญ่มักอยากจะเป็นเพื่อนกับคนที่ดูจริงใจมากกว่าคนที่ชอบโอ้อวด ปล่อยความฮาออกมาอย่างเป็นธรรมชาติดีกว่าฝืนตัวเองนะ
  • พยายามใช้เวลาร่วมกับคนอื่นเยอะๆ แล้วคุณจะดึงดูดคนเข้ามาหาเพิ่มขึ้นเอง คนเรามักชอบใช้ทางลัด และหากไม่เคยใช้เวลาร่วมกันเพื่อนทำความรู้จักกันมาก่อน คนอื่นๆ มักจะใช้วิธีสังเกตดูว่าคุณเป็นที่ชื่นชอบหรือไม่ (ซึ่งเรียกว่าหลักฐานทางสังคม) ผลก็จะนำมาซึ่งข้อสรุปที่ว่า “หากคนอื่นชอบคุณ ดังนั้นฉันก็คงชอบคุณเหมือนกัน”
  • ใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณต้องการจะเป็นแบบนั้น
  • บางครั้งคนเราก็ต้องการเวลา เช่น คุณอาจจะต้องถามอีกฝ่ายว่า "สบายดีไหม?" และ "ช่วงนี้ทำอะไรอยู่บ้าง?" ต่อกันเพื่อที่จะได้คำตอบที่ลึกซึ้งมากพอที่จะนำไปสู่การพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องได้
  • อย่าลืมคิดถึงเพื่อนคนอื่นๆ! แนะนำให้เพื่อนของคุณให้รู้จักกันไว้ คุณจะได้มีเรื่องไว้พูดคุยเยอะขึ้นแล้วเพื่อนของคุณก็จะได้มีเพื่อนเพิ่มขึ้นด้วย
  • ลองหางานทำ การทำงานจะเปิดโอกาสให้คุณได้ออกไปข้างนอกและทำอะไรมากขึ้น และเมื่อคุณมีงานทำ คุณก็จะได้พบคนที่มีประสบการณ์คล้ายเคียงกันกับคุณมากขึ้นเอง
  • ตั้งใจฟังและเปิดใจทำความเข้าใจคนอื่นๆ
  • ใครๆ ก็ต้องการความใส่ใจทั้งนั้น ใส่ใจคนอันสักหน่อยแล้วอีกฝ่ายก็จะตอบรับความรู้สึกคุณกลับมาอย่างอบอุ่นเอง ความใส่ใจไม่ได้ต้องลงแรงอะไรมากเลย
  • ไม่จำเป็นที่คุณต้องคบคนแรกที่เข้ามาพูดคุยกับคุณเป็นเพื่อน จงตัดสินคนจากความดี ไม่ใช่เพียงหน้าตา
  • หนึ่งในวิธีการเริ่มคุยกับคนที่ดีคือการขอคำแนะนำจากอีกฝ่าย คนเรามักจะอยากอวดภูมิอยู่หน่อยๆ และมักยินดีจะให้ความช่วยเหลือคุณอยู่แล้ว
  • การพูดคุยกับคนจะเป็นเรื่องง่ายขึ้นหากคุณและอีกฝ่ายมีประสบกาณร์คล้ายๆ กัน
  • อย่ากลัวที่จะขอ Facebook, Myspace, ชื่อ AIM, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ หากคุณอยากมีเพื่อนเพิ่มก็ต้องมีช่องทางติดต่อกันไว้
  • เข้าร่วมกลุ่มต่างๆ ที่มักจัดกิจกรรมต่างๆ อย่าสม่ำเสมอ
  • ระวังไม่ทำตัวร้ายใส่คนอื่นขณะพยายามทำตัวตลก! การนินทา แม้แต่จะนินทากับเพื่อนก็เป็นเรื่องเสี่ยง และยังทำให้คุณดูเป็นคนใจร้ายและเป็นการทำร้ายคนอื่นแม้ว่าตอนนินทาจะฟังดูตลกดีก็เถอะ
  • คนที่รู้สึกเขินอายอาจจะแค่ต้องการใครสักคนมาเริ่มพูดคุยด้วย ไม่ใช่ว่าคนขี้อายทุกคนจะอยากอยู่คนเดียว ถ้าคนที่คุณคุยด้วยไม่มีท่าทีตอบรับหรือดูไม่ค่อยสนใจคุณก็อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ
  • พยายามมองโลกในแง่ดี มีความสุขและคิดบวกเข้าไว้แทนที่จะทำตัวน่าเบื่อเพื่อที่ตัวเองจะได้ “ดูเท่”​ หรือทำตัวน่าหดหู่อยู่อย่างนั้น ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้คนที่ดูหม่นหมองอยู่ตลอดเวลาหรอกนะ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าทำตัวบ้าบอมากเกินไปหรือพูดอะไรมั่วๆ แปลกๆ ซึ่งไม่เข้ากับบทสนทนา ทำใจเย็นๆ เข้าไว้และพูดตามจังหวะปกตินะ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 99,560 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา