PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

มีคนบอกให้คุณเงียบตลอดเลยใช่ไหม คุณมักจะพูดไม่คิดแล้วเสียใจทีหลังหรือเปล่า คุณรู้สึกเหมือนมีเสียงต่างๆ ในหัวมากมายและไม่รู้จะเอามันออกไปได้ยังไงใช่ไหม ข่าวดีก็คือทุกคนน่ะเงียบได้อยู่แล้ว แค่ต้องอาศัยเวลาและความอดทนเท่านั้นเอง ถ้าคุณอยากรู้ว่าทำยังไงคุณถึงจะเงียบได้ แค่ทำตามนี้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เงียบระหว่างการสนทนา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่นึกอะไรได้ก็พูดโดยธรรมชาติแล้วจะไม่มีทักษะที่สำคัญนี้สักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นครั้งหน้าเมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่คุณอยากพูดสิ่งที่อยู่ในหัวออกมาใจจะขาด หยุดก่อน ใช้เวลาสักครู่ แล้วถามตัวเองว่าสิ่งที่คุณจะพูดออกไปนั้นมันช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือเปล่า ทำให้อีกฝ่ายได้ข้อมูลที่เขาต้องการ ทำให้เขาหัวเราะ ปลอบใจให้เขารู้สึกดีขึ้น หรือว่าคุณอยากพูดแค่เพราะอยากให้อีกฝ่ายได้ยินเฉยๆ ถ้าคุณคิดว่าไม่มีใครได้ประโยชน์จากสิ่งที่คุณพูด ก็ไม่ต้องพูดดีกว่า [1]
    • กฏข้อหนึ่งที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ก่อนจะเริ่มเปิดปากพูดก็คือ ให้พูดแค่หนึ่งอย่างจากสองอย่าง และพอคุณเริ่มจะเงียบลงบ้างได้แล้ว ก็ให้พูดหนึ่งอย่างจากสามอย่าง หรือหนึ่งอย่างจากสี่อย่าง
  2. อย่าพูดแทรกเวลาที่อีกฝ่ายพูดอยู่ ยกเว้นว่าคุณจะคิดว่าสิ่งที่คุณพูดมัน สำคัญอย่างยิ่งยวด ต่อการพูดคุยกันในครั้งนี้ (แต่มันมีด้วยเหรอ เอาดีๆ) เพราะการพูดแทรกคนอื่นนอกจากจะเสียมารยาทแล้ว ยังทำให้การสนทนาติดขัดและทำให้คุณดูเป็นคนปากมากด้วย ถ้าคุณอยากจะแสดงความคิดเห็นหรือถามคำถาม ให้ทดไว้ในใจก่อนแล้วรอจนกว่าอีกฝ่ายจะพูดจบ แล้วดูว่าสิ่งที่คุณจะพูดยังเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่ไหม [2]
    • แล้วคุณจะแปลกใจที่ได้รู้ว่า คำถามที่อยู่ในใจของคุณจะได้รับการตอบอยู่แล้วถ้าคุณปล่อยให้อีกฝ่ายพูดต่อ
  3. ถ้าคุณพยายามจะทำตัวให้เงียบลงกว่าเดิม ก็เป็นไปได้ว่าคุณมักจะพูดเรื่องตัวเองหรือสิ่งที่คุณสนใจไปเรื่อยเปื่อยแทนที่จะให้อีกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นบ้าง เพราะฉะนั้นครั้งถัดไปที่คุณคุยกับใคร พอถึงตาคุณพูด ให้ถามคำถามอีกฝ่ายเพื่อให้เข้าใจเรื่องที่คุณกำลังพูดคุยกันอยู่และได้เรียนรู้เกี่ยวกับอีกฝ่ายมากขึ้น ตั้งแต่งานอดิเรกของเขาไปจนถึงกิจกรรมสนุกๆ ที่เขาชอบทำ [3]
    • คุณไม่จำเป็นต้องถามซ้ำไปซ้ำมาราวกับว่ากำลังสอบสวน หรือถามคำถามที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัด รักษาบรรยากาศให้สบายๆ เป็นกันเอง และสุภาพ จำไว้ว่าการสนทนาหลักๆ แล้วคือการบอกว่าคุณสนใจและอยากรู้ความคิด ความรู้สึก และมุมมองของอีกฝ่าย มากกว่าการแสดง "ความคิดเห็นของคุณ" เอง
  4. ถ้าคุณเพิ่งจะนึกคำพูดแสดงความคิดเห็นที่ฟังแล้วเจ๋งสุดๆ ขึ้นมาได้ ให้เวลาสัก 10 วินาที นับจาก 10 ถึง 0 เพื่อดูว่าจู่ๆ ความคิดของคุณมันก็ไม่ได้น่าสนใจขนาดนั้นหรือเปล่า หรือเพื่อให้อีกฝ่ายมีเวลาได้พูดออกมาบ้างเพื่อไม่ให้คุณมีโอกาสได้พูดสิ่งที่คุณอยากจะพูด เทคนิคนี้ยังเหมาะนำไปใช้เวลาที่คุณโกรธหรือไม่พอใจและอยากระบายความคับข้องใจออกมาด้วย เพราะการให้เวลาตัวเองได้สงบสติอารมณ์สักครู่จะป้องกันไม่ให้คุณพูดในสิ่งที่คุณจะเสียใจทีหลัง ‌
    • พอคุณเงียบจนชินแล้ว คุณจะนับจากห้าก็ได้ เวลาแค่นิดเดียวก็ทำให้คุณตัดสินใจได้ว่าคุณควรเงียบไว้ดีกว่าหรือเปล่า
  5. ถ้าคุณอยากทำตัวเงียบลง ให้ฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี เวลาที่มีใครพูดอะไรกับคุณ ให้สบตา จับประเด็นสำคัญๆ และพยายามตีความสิ่งที่เขาพูดเพื่อให้รู้ว่าจริงๆ แล้วเขาต้องการจะสื่ออะไรและเขาหรือเธอรู้สึกยังไง ปล่อยให้เขาพูดไป อย่าหมดความอดทน และอย่าตกเป็นเหยื่อของสิ่งที่ทำให้สมาธิไขว้เขว เช่น ข้อความในโทรศัพท์ [4]
    • ถามคำถามที่ช่วยให้เขาอธิบายความคิดออกมา แต่อย่าถามอะไรที่มันนอกเรื่อง เพราะมันอาจจะทำให้อีกฝ่ายงงได้
    • ยิ่งคุณฝึกเป็นผู้ฟังที่ดีเท่าไหร่ คุณก็จะรู้สึกอยากเป็นฝ่ายควบคุมการสนทนาน้อยลงเท่านั้น หลักการทั่วไปก็คือ ให้รักษาสมดุลระหว่างการพูดและการฟังเพื่อให้สัดส่วนมันเท่าๆ กัน เพราะการสนทนาที่สมดุลคือการสนทนาที่มีประสิทธิภาพที่สุด
  6. ถ้าคุณรู้สึกได้ว่าตัวเองเอาแต่ร่ายยาวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คุณหงุดหงิดในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพการจราจรอันเลวร้ายเมื่อเช้านี้ อีเมลลามกที่เพื่อนส่งมาให้ อากาศร้อนที่ทำให้คุณใส่อะไรก็ไม่สวย ให้ลองคิดดูก่อนว่าอีกฝ่ายเขาจะตอบอะไรกลับมา "ได้บ้าง" จะให้พูดอะไรกลับมาล่ะ มันจะนำไปสู่อะไรที่ช่วยแก้ปัญหาได้หรือเปล่า อีกฝ่ายเขาจะคิดกับคุณและทัศนคติที่สะท้อนผ่านคำพูดของคุณอย่างไร‌
    • ถ้าการบ่นเรื่องต่างๆ ที่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้จริงๆ ล่ะก็ ลองเขียนระบายในสมุดบันทึกดูสิ คุณไม่จำเป็นต้องพูดออกมาก็ได้ ใช่ไหมล่ะ
    • ถ้าคุณมีปัญหาและจำเป็นต้องพูดออกมาจริงๆ อันนั้นก็ไม่เป็นไร แต่สิ่งที่เรากำลังพูดอยู่ตอนนี้คือการที่คุณแค่บ่นเพราะอยากหาเรื่องคุย
  7. ถ้าคุณคันปากมากจริงๆ และอยากจะพูดแบบไม่มีเหตุผล ให้กำหนดจิตไปที่ลมหายใจ สังเกตหน้าท้องที่พองขึ้นและยุบลงขณะหายใจ พยายามหายใจลึกๆ และสม่ำเสมอ เลิกงุ่นง่านและฟังดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นรอบตัวคุณบ้าง จดจ่อกับความคิดและความรู้สึกของตัวเอง แทนที่จะไปคิดถึงแต่สิ่งที่คุณอยากพูดออกมาใจจะขาด ‌
    • เทคนิคนี้จะช่วยให้ใจคุณสงบขึ้น และทำให้คุณรู้ว่าการพูดออกมามันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น
  8. คุณอาจจะเป็นคนที่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ ที่คุณได้ยินทันทีและอยากจะโพล่งทุกสิ่งที่คุณคิด/สงสัย/ตะหงิดออกมาเดี๋ยวนั้น แต่มันไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการตอบสนองต่อสถานการณ์ ถ้าคุณค่อยๆ ประมวลสิ่งที่เกิดขึ้นและเรียบเรียงคำถามหรือความคิดเห็นออกมาอย่างเป็นระบบ คุณจะไม่ต้องพูดเยอะ และถามคำถามหรือพูดในสิ่งที่ตรงประเด็นได้มากขึ้น [5]
    • วิธีนี้จะทำให้คุณได้เป็นบรรณาธิการของจิตใจตัวเอง และไม่พูดสิ่งที่ “ไม่เกี่ยวข้อง” ที่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับใครออกมา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เงียบตลอดทั้งวัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การฝึกเป็นคนเงียบๆ เวลาที่คุณอยู่คนเดียวจะช่วยให้คุณเงียบลงเวลาอยู่กับคนอื่น วิธีฝึกให้ตัวเองเงียบวิธีหนึ่งก็คือ หางานอดิเรกที่คุณจะต้องทำแบบเงียบๆ และทำคนเดียว ลองวาดภาพ เขียนเชิงสร้างสรรค์ เล่นโยคะ แต่งเพลง สะสมแสตมป์ ดูนก หรืออะไรก็ได้ที่คุณต้องทำเงียบๆ และไม่ได้พูดสิ่งที่คุณคิดออกมา‌
    • นอกจากนี้การอ่านหนังสือเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้คุณได้อยู่เงียบๆ ขณะที่คุณทำความเข้าใจคำที่อยู่ตรงหน้าด้วย
    • ขณะทำงานอดิเรก ลองไม่พูดอะไรเลยอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จากนั้นก็เพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง คุณคิดว่าคุณไม่พูดอะไรเลยทั้งวันได้หรือเปล่า
  2. คุณอาจจะเป็นคนพูดเก่ง หรือบางคนเขาก็ว่าพูดมาก เพราะคุณรู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานล้นเหลือและไม่รู้ว่าจะปลดปล่อยมันออกมายังไง เพราะฉะนั้นให้หาทางระบายสิ่งที่อยู่ในใจที่คุณอยากจะพูดออกมาให้หมด เพื่อช่วยให้คุณเอาสิ่งต่างๆ มากมายที่ผุดอยู่ในหัวออกมาได้ ‌
    • ออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกไปวิ่ง จะช่วยให้คุณได้ออกกำลังกายเพิ่มเติมและกำจัดพลังงานส่วนเกินออกไปด้วย ออกไปเดินเล่นนานๆ หรือทำอาหารก็ได้เหมือนกัน อะไรก็ได้ที่ทำแล้วได้ผล
  3. การพูดคุยผ่านทางออนไลน์มีแต่จะทำให้ชีวิตของคุณมีแต่เสียงรบกวน และสิ่งที่คุณจะพูดส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สำคัญขนาดนั้นหรอก ถ้าคุณอยากคุยกับเพื่อนจริงๆ คุณก็ต้องอยากคุยกันทางโทรศัพท์หรือคุยกันต่อหน้ามากกว่าจะพิมพ์ข้อความผ่านหน้าจอไม่หยุดหย่อนใช่ไหมล่ะ ครั้งหน้าถ้าคุณอยากทัก Facebook Chat หาเพื่อนสนิทลำดับที่ 28 เพื่อถามว่าเพื่อนทำอะไรอยู่ ให้ปิดคอมพิวเตอร์แล้วออกไปเดินเล่นแทน‌
  4. ถ้าจะให้ดีกว่านั้น งดเล่น Facebook, Instagram, Twitter และโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่คุณใช้บ่อยเกินไปให้หมด เพราะเว็บไซต์เหล่านี้มีแต่เสียงรบกวน เต็มไปด้วยคนที่อยากทำให้คนอื่นประทับใจ และคำพูดรกสมองที่คุณรู้สึกอยากตอบโต้ ถ้าคุณติดมากจริงๆ ให้เล่นโซเชียลมีเดียทุกช่องทางรวมกันวันละไม่เกิน 10-15 นาที แทนที่จะหยิบมาดูทุกครั้งที่มีโอกาส‌
    • คุณอยากฟังคนแปลกหน้าที่มาป่าวประกาศอะไรให้โลกรู้มากกว่าสิ่งที่เพื่อนสนิทของคุณกำลังพูดอยู่ตรงหน้าอย่างนั้นเหรอ ปิดเสียงรบกวนทั้งหมดที่คุณได้ยิน และกลับมาสนใจสิ่งที่สำคัญจริงๆ เท่านั้นพอ
  5. พอหมดวันหรือถึงช่วงปลายสัปดาห์ก็ให้เขียนบันทึกจนเป็นนิสัย วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้เขียนความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัวมากมาย ได้มีโอกาสอยู่เงียบๆ และรู้สึกเหมือนตัวเองได้ระบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมาโดยไม่ต้องเล่าให้เพื่อนสนิททั้ง 15 คนฟัง คุณอาจจะแค่เขียนสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างวัน ซึ่งจะนำไปสู่คำถามอื่นๆ และได้เขียนสิ่งที่อยู่ลึกลงไปในจิตใจด้วย‌
    • คุณอาจจะทึ่งว่าตัวเองเงียบลงแค่ไหนแค่คุณเขียนบันทึกวันละ 1 หน้า
  6. การฝึกสมาธิเป็นวิธีปิดการรับรู้ของจิตใจ ทำให้ร่างกายและการดำรงอยู่ของคุณเงียบสงัด แบ่งเวลาช่วงเช้าวันละ 10-20 นาทีไปหาที่นั่งสบายๆ ในห้องเงียบๆ หลับตา และกำหนดจิตไปที่ลมหายใจที่เข้าออกร่างกาย จดจ่ออยู่กับการผ่อนคลายร่างกายทีละส่วนและสังเกตว่าตัวเองได้ยิน ได้กลิ่น รู้สึก และสัมผัสอะไรบ้างระหว่างที่นั่งอยู่ตรงนั้น กำจัดความคิดเป็นเรื่องเป็นราวออกจากหัว กำหนดจิตให้อยู่กับปัจจุบัน ดื่มด่ำกับความเงียบ แล้วคุณจะได้พบกับวันที่เงียบและสงบมากขึ้น [6]
    • การฝึกสมาธิทำให้สิ่งต่างๆ ไม่มารบกวนจิตใจคุณมากจนเกินไปด้วยการทำให้คุณสามารถควบคุมจิตใจและร่างกายได้มากขึ้น
  7. ออกไปเดินเล่น ไปทะเล มองดูต้นไม้สวยๆ ในสวนที่อยู่อีกมุมเมือง ไปเที่ยวป่าในวันหยุดสุดสัปดาห์ ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น แล้วคุณจะตะลึงพรึงเพริดในความงามและพลังของสิ่งที่ยืนยาวกว่าตัวคุณ ความแคลงใจและคำพูดต่างๆ จะละลายหายไป คุณไม่มีอารมณ์จะพูดว่าสอบย่อยวิชาคณิตครั้งหน้าจะออกอะไรหรอก ถ้าคุณได้ยืนอยู่ตรงตีนเขาที่สวยงามที่ดำรงอยู่มาตั้งแต่ห้วงเวลาก่อกำเนิด [7]
    • กำหนดเวลาอยู่กับธรรมชาติลงไปในกิจวัตรประจำสัปดาห์ คุณอาจจะเอาสมุดบันทึกออกไปเขียนสิ่งที่คุณคิดท่ามกลางธรรมชาติด้วยก็ได้นะ
  8. แน่นอนว่าเสียงเพลงทำให้คุณสนุกขึ้นเวลาอ่านหนังสือเรียน ไปวิ่ง หรือเดินทางไปทำงาน แต่เสียงเพลงก็เป็นเสียงรบกวนที่ทำให้คุณอยากพูดคุย ตื่นเต้น และเร้าอารมณ์มากขึ้น เพลงคลาสสิกหรือเพลงแจ๊สก็อาจจะพอได้ แต่เพลงดังๆ ที่มีเนื้อร้องติดหูจะทำให้เกิดเสียงรบกวนที่วนอยู่ในหัวของคุณตลอดเวลา ทำให้คุณไม่สามารถสงบสติและควบคุมสิ่งต่างๆ ในวันนั้นได้ดีเท่าที่ควร ‌
  9. ถ้าธรรมชาติของคุณเป็นคนเสียงดังและพูดเป็นต่อยหอยอยู่แล้ว คุณคงไม่กลายเป็นคนพูดน้อยในชั่วข้ามคืน แต่ถ้าคุณพยายามที่จะพูดน้อยลงทุกวันๆ ทำงานอดิเรกและกิจกรรมที่ทำให้คุณได้อยู่เงียบๆ มากขึ้น และตั้งใจเป็นผู้ฟังที่ดีมากกว่าจะเป็นผู้พูดที่ดี เท่านี้คุณก็กลายเป็นคนที่เงียบลงกว่าที่คุณคิดแล้ว เพราะฉะนั้นใจเย็น อดทนไว้ และเพลิดเพลินไปกับการที่เสียงรบกวนต่างๆ ค่อยๆ ไหลออกจากหัว และเส้นเสียงของคุณ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,700 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา