PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ในขณะที่หูที่เจาะออกมาเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นดูเก๋ไม่หยอก แต่จริงๆ การเจาะหูนั้นมันอาจยาก และอาจจะพ่วงความเสี่ยงอีกนิดหน่อย อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณชื่นชอบตัวละครฝาแฝดในเรื่อง แฝดจุ้นลุ้นรัก หรือชอบตัวละครที่เจาะหู และอยากจะเจาะหูบ้าง (ไม่ว่าจะเพื่อปลอมตัวเป็นฝาแฝดตามในภาพยนตร์ หรือจะชอบเองเป็นการส่วนตัวก็เถอะ) ให้ทำตามวิธีเหล่านี้ เพื่อจัดความสวยให้กับใบหูของคุณด้วยวิธีที่ปลอดภัย ถ้าคุณยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็อย่าลืมขอพ่อแม่ผู้ปกครองก่อนแล้วกันนะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเตรียมพร้อมสำหรับการเจาะหู

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สำลีชุบไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ 70% ที่บรรจุห่ออยู่แล้วเช็ดหูของคุณ. ต้องทำเพื่อฆ่าแบคทีเรียที่อาจติดเชื้อกับการเจาะหูให้หมด รอจนกว่าหูจะแห้งเพื่อเริ่มเจาะหู [1]
    • จะใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์ล้างแผลฆ่าเชื้อที่หูแทนก็ได้
  2. ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องวางแผนไว้ก่อนว่าอยากจะเจาะส่วนไหน ไม่อย่างนั้นอาจพังได้ เพราะอาจเจาะสูงไป หรือต่ำกว่าที่ต้องการ ถ้าจะเจาะหูทั้งสองข้าง ให้มองที่กระจก และให้แน่ใจว่าได้ทำรอยเอาไว้เท่ากันดีแล้ว
    • ถ้าคุณมีรอยเจาะที่หูอยู่แล้ว และครั้งนี้เป็นการเจาะหูครั้งที่สองหรือสาม ขอให้เจาะโดยเว้นระยะห่างระหว่างกัน เพื่อที่จะได้ใส่ตุ้มหูทั้งสองรูได้โดยไม่เกยกัน แล้วก็อย่าเจาะให้ห่างกันมากเกินจนดูแปลก
  3. เข็มสำหรับเจาะอวัยวะนั้นจะมีช่องว่างอยู่ตรงกลางด้านในเข็ม ซึ่งทำให้คุณสามารถสอดต่างหูผ่านรูหูได้ เมื่อคุณทำการเจาะหูด้วยเข็มเป็นที่เรียบร้อย ห้ามใช้เข็มนี้ร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ สามารถหาซื้อเข็มสำหรับเจาะอวัยวะในราคาถูกได้ตามช่องทางออนไลน์ หรือจะตามร้านรับเจาะอวัยวะก็ได้เช่นกัน [2]
    • ดูให้แน่ใจว่าเบอร์ g ของเข็มนั้นใหญ่กว่าขนาดของตุ้มหูที่ต้องการจะใส่หนึ่งเบอร์ เช่น ถ้าตุ้มหูมีแกนขนาด 16g ก็จะควรใช้เข็มขนาด 15g ในการเจาะ (ยิ่งขนาด g น้อย แกนตุ้มหูจะยิ่งใหญ่ขึ้น)
    • หรือจะเลือกที่จะซื้อชุดอุปกรณ์ในการเจาะ ซึ่งจะประกอบไปด้วยตุ้มหูแบบเจาะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วสองข้าง ซึ่งถูใส่ไว้ในที่เจาะแบบสปริง คุณสามารถหาซื้อของเหล่านี้ได้ตามร้านขายของเกี่ยวกับความสวยความงาม และต้องทำตามคำแนะนำที่ให้มาอย่างเคร่งครัด
  4. สำหรับผู้ที่เจาะหูใหม่ๆ ไม่ว่าจะเจาะตรงติ่งหูหรือส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนของใบหู ก็ควรใช้ตุ้มหูแบบเม็ดกลมเล็กๆ (Stud) ขนาดที่พอเหมาะคือขนาด 16g และยาวสัก 10 มิลลิเมตร (3/8 นิ้ว) ที่ควรยาวเท่านี้ เพราะการเจาะหูจะทำให้เกิดอาการบวมได้ ซึ่งจะทำให้หูคุณหนาขึ้นเป็นสองเท่า
    • ร้านขายเครื่องประดับเพชรพลอยบางแห่งก็จำหน่ายตุ้มหูแบบเจาะเช่นกัน ตุ้มหูเหล่านั้นจะมีปลายแหลมคล้ายเข็ม ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะใส่มัน เพราะมันจะเหมือนเป็นการเจาะย้ำหูของคุณอีกที เพื่อให้ก้านเสียบเข้าไปในรูที่ใช้เข็มเจาะอยู่แล้ว
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้ซื้อตุ้มหูที่ทำจากวัสดุโลหะคุณภาพสูง อย่าง เงินแท้ หรือไททาเนียม โลหะที่มีคุณภาพสูงกว่าก็ย่อมทำให้อาการติดเชื้อในหูหรืออาการแพ้เกิดขึ้นน้อยกว่า สำหรับผู้ที่แพ้โลหะคุณภาพไม่สูงนักอย่างโลหะชุบทองก็ควรระมัดระวัง
  5. ห้ามใช้เข็มของคนอื่นเด็ดขาด ต้องใช้เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วบรรจุหีบห่อมาเท่านั้น จุดไฟเผาจนกว่าปลายเข็มจะร้อนจนเป็นสีแดง โดยควรสวมถุงมือยางปลอดเชื้อขณะที่จุดไฟเผาเข็มอยู่ เพื่อไม่ให้แบคทีเรียบนมือเข้าไปในเข็มได้ จากนั้นให้แน่ใจว่ากำจัดเศษเขม่าออกจนหมด แล้วเช็ดเข็มให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล 10% ขึ้นไป หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซน์ ขอเตือนไว้ก่อนว่า การทำเช่นนี้เป็นเพียงการฆ่าเชื้อบางส่วน ไม่ได้ฆ่าพวกจุลินทรีย์บางส่วนที่อาจอยู่บนเข็ม มีวิธีเดียวที่จะฆ่าเชื้อทั้งหมดคือการใช้ตู้ออโต้เคลฟ (เครื่องอบความร้อนสูงด้วยไอน้ำที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ) [3]
    • หรือคุณอาจฆ่าเชื้อเข็มด้วยน้ำต้มเดือดก็ได้ วิธีคือ เมื่อน้ำเดือดแล้ว วางเข็มลงไปในน้ำแล้วทิ้งเอาไว้ประมาณ 5 ถึง 10 นาที แล้วใช้ที่คีบคีบขึ้นมา โดยต้องสวมถุงมือยางปลอดเชื้ออยู่ตลอด จากนั้นนำมาเช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล [4]
  6. การทำเช่นนี้จะช่วยลดอัตราการแพร่เชื้อของแอคทีเรีย หลังจากล้างมือเสร็จแล้วก็ให้สวมถุงมือยาง [5]
  7. เพราะผมอาจไปติดระหว่างหูกับตุ้มหูได้ หรือไม่ก็อาจถูกสอดเข้าไปในรูหูที่เจาะด้วยเข็มด้วยก็เป็นได้ ถ้าเป็นไปได้ ให้มัดผมให้ห่างจากหู
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเจาะหู

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องมีอะไรบางอย่างมาแนบหูไว้เพื่อที่จะได้เสียบเข็มเข้าไปในหูแล้วไม่พลาดไปโดนคอเข้า สบู่ก้อนสะอาดๆ เย็นๆ สักก้อนหรือจุกก๊อกก็เป็นตัวเลือกที่ดีเหมือนกัน อย่าใช้แอปเปิลหรือมันฝรั่งที่เห็นตามในภาพยนตร์บ่อยๆ เพราะแอปเปิล มันฝรั่ง หรืออาหารอื่นๆ อาจมีแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้หูติดเชื้อตอนเจาะได้ [6]
    • ถ้าเป็นไปได้ ขอให้เพื่อนสักคน (หรือหลายคน) ช่วยในการเจาะหูก็ดีนะ เพราะจะได้ให้เพื่อนช่วยถือจุกก๊อกแนบไว้หลังหู หรือถ้าไว้ใจเพื่อนพอ ก็ให้เพื่อนเป็นคนเจาะหูให้เลยก็ดี ขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้นเป็นกองถ้ามีผู้ช่วยมาช่วยสักหน่อย
  2. เข็มควรจะตั้งฉากกับติ่งหูของคุณ หมายถึงควรตั้งเข็มไว้ 90 องศาโดยประมาณกับจุดที่ทำเครื่องหมายเอาไว้บนหู การเล็งเอาไว้แบบนี้จะทำให้เข็มเจาะเข้าผ่านหูได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ดูให้แน่ใจว่าเข็มได้เจาะเข้าไปยังเครื่องหมายที่ทำเอาไว้ก่อนหน้านี้ คุณอาจได้ยินเสียง ป๊อบ! ตอนที่เข็มถูกเจาะเข้าไปแล้ว อย่าตกใจไป! ให้ค่อยๆ ขยับเข็ม แล้วโค้งกลับมายังองศาเดิม ถ้าคุณใช้เข็มเจาะแบบที่มีรูกลวงอยู่ข้างใน ให้สอดตุ้มหูผ่านรูข้างในของเข็มต่อเลย [7]
  4. หลังจากที่เจาะหูแล้ว และยังมีเข็มเจาะคาหูอยู่นั้น ให้สอดส่วนที่เป็นก้านของตุ้มหูเข้าไปในรูที่อยู่ในเข็ม จากนั้นดันให้ผ่านหูไป มันจะช่วยให้ตุ้มหูติดอยู่กับรูเจาะใหม่ได้สบายๆ เลยล่ะ
  5. ค่อยๆ ดึงเข็มออกจากหู โดยให้ตุ้มหูอยู่กับที่ ระวังหน่อยนะ มันอาจจะเจ็บบ้าง แต่อย่ารีบร้อน ไม่อย่างนั้นตุ้มหูอาจหลุดออกมาได้ แล้วคุณก็ต้องกลับไปเริ่มขั้นตอนการเจาะหูใหม่อีกครั้ง
    • ระวังให้ดี ถ้าเกิดว่าทิ้งรูหูเอาไว้โดยยังไม่ใส่ตุ้มหู รูอาจจะปิดเองได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ถ้าตุ้มหูไหลหลุดออกมา ให้ฆ่าเชื้อใหม่อย่างรวดเร็วแล้วรีบใส่กลับเข้าไปในรูที่เจาะ ถ้ามันไม่ยอมเข้าไปดีๆ คุณอาจต้องเจาะหูใหม่อีกครั้ง
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การดูแลหูหลังเจาะแล้ว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณไม่ควรถอดตุ้มหูออกเลย หลังจากผ่านไปหกสัปดาห์ถึงจะสามารถเปลี่ยนตุ้มหูได้ แต่คุณต้องรีบใส่ตุ้มหูอันอื่นเข้าไปแทนที่ในทันที ปกติแล้วจะใช้เวลาสักหกเดือนหรือทั้งปีเพื่อให้รูปรับสภาพอย่างสมบูรณ์ และไม่ปิดตัวแม้คุณจะไม่ได้ใส่ต่างหูตลอดเวลาก็ตาม [8]
  2. ล้างหูด้วยน้ำอุ่นๆ ละลายกับเกลือ โดยใช้เกลือทะเลหรือดีเกลือแทนเกลือแกงธรรมดา เกลือจะทำความสะอาดรอยที่เจาะไว้และป้องกันไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำความสะอาดรอยที่เจาะจนกว่าแผลจะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ (ประมาณหกสัปดาห์ขึ้นไป) อย่าใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลในการล้าง หลังจากที่หูโดนเจาะแล้ว [9]
    • วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยทำความสะอาดหูได้ คือให้หาถ้วยเล็กๆ ขนาดเท่าหูคุณ แล้วใส่น้ำเกลือลงไปในถ้วย รองผ้าขนหนูลงไว้ใต้ถ้วย (เพื่อซับน้ำที่ล้นออกมา) จากนั้นนอนลงบนโซฟาแล้วค่อยๆ เอียงหูลงไปจุ่มในน้ำเกลืออุ่นๆ หลังจากผ่านไป 5 นาที คุณจะรู้สึกดีเหมือนได้หูใหม่มาเลยล่ะ! ถ้วยที่มีปริมาตรการตวง "1 ถ้วย/250 มิลลิลิตร" ถือเป็นที่แนะนำ
    • จะใช้สำลีจุ่มน้ำเกลืออุ่นแล้วนำมาถูบริเวณรอบๆ รอยเจาะและที่รอยเจาะก็ได้เช่นกัน
    • มีน้ำยาฆ่าเชื้อที่ทำมาเฉพาะฆ่าเชื้อรอยเจาะหูใหม่วางขายเช่นกัน โดยคุณสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของเกี่ยวกับความสวยความงาม และวิธีใช้ก็เหมือนกัน จุ่มแผ่นสำลีลงในน้ำยา จากนั้นนำมาถูรอบๆ และในรอยเจาะหนึ่งครั้งต่อวัน
  3. จับส่วนที่เป็นแป้นของตุ้มหูเอาไว้ (ส่วนที่อยู่ข้างหน้าของใบหู) จากนั้นบิดให้มันหมุนอยู่ในรูที่เจาะ มันจะช่วยขยายรูและไม่ทำให้รูปิดเข้ามาจนแน่นเกินไปรอบๆ ตุ้มหูนั่นเอง [10]
  4. ทำเช่นนี้หลังจากที่ผ่านหกสัปดาห์ไปแล้ว โดยใส่ตุ้มหูอันใหม่เข้าไปทันทีหลังจากที่ถอดอันเก่าและล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย
    • จะดีที่สุด ถ้าตุ้มหูของคุณทำมาจากโลหะที่ใช้ในเครื่องมือการแพทย์ ไททาเนียม หรือไนโอเบียม วัสดุเหล่านี้จะไม่มีแนวโน้มที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อเหมือนวัสดุที่ราคาต่ำกว่า

เคล็ดลับ

  • ขอให้แน่ใจว่าคุณนอนหนุนหมอนที่ไม่มีรอยขาดของผ้าที่หลุดลุ่ย ถ้ามีด้ายผ้าที่หลุดออกมา ตุ้มหูของคุณอาจไปเกี่ยวเข้าได้ ซึ่งมันจะเจ็บมาก
  • กินยาแก้ปวดสักครึ่งชั่วโมงก่อนที่จะเจาะหู เพื่อที่จะได้ลดความปวดที่จะเกิดขึ้นหลังเจาะ บางคนก็เชื่อว่าการกินยาแก้ปวดก่อนเจาะหูจะทำให้ไปยับยั้งความสามารถของการสร้างลิ่มเลือดในร่างกายตรงบริเวณที่เจาะ ขอให้คุณตัดสินใจยอมรับความเสี่ยงนี้เอง
  • หมุนตุ้มหูอย่างน้อยสองครั้งต่อวัน ถ้าคุณไม่ทำ รูที่เจาะอาจปิดตัวมาชนกับตุ้มหู ซึ่งจะทำให้ถอดไม่สะดวกเอาเลย
  • ห้าม หมุนตุ้มหูตอนที่แผลเจาะยังไม่หาย ไม่งั้นมันจะไปขยายแผลเจาะทุกครั้งที่คุณหมุนมัน ทำให้แผลไม่หายสักที นั่นหมายถึงแผลเจาะจะใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัว และเพิ่มแนวโน้มการติดเชื้อขึ้นอีก ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญส่วนมากจะบอกให้คุณหมุนตุ้มหู แต่จริงๆ แล้วนั่นเป็นเรื่องที่ ผิด
  • ตอนกำลังเจาะหู อย่าไปคิดว่าเรากำลังเจาะหู เพราะมันอาจทำให้รู้สึกเจ็บกว่าเดิม
  • ใช้ก้อนน้ำแข็งนำให้หูชาก่อนเจาะสัก 5 นาที มันจะช่วยให้ความเจ็บลดลง

คำเตือน

  • การให้ผู้เชี่ยวชาญเจาะหูให้นั้นย่อมใช้เวลาน้อยกว่าเจาะเอง
  • อย่าปล่อยให้รูที่เจาะติดเชื้อล่ะ! เมื่อไรที่มันติดเชื้อ อย่าเอาตุ้มหูออกนะ! ถ้าถอดตุ้มหูออก จะเป็นการเลี้ยงเชื้อไว้ในติ่งหู ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาอีกหลายประการ สิ่งที่ควรทำคือล้างหูเรื่อยๆ ด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ ถ้ายังไม่หาย ก็ควรไปพบแพทย์
  • ถ้าคุณไม่ได้รู้ขั้นตอนการเจาะหูอย่างแท้จริง ไปหาผู้เชี่ยวชาญเถอะ!
  • ห้าม เจาะหูด้วยปืนเจาะหู เข็มกลัด หรือตุ้มหูอันเก่าเด็ดขาด เข็มกลัดไม่ใช่วัสดุที่ถูกต้อง (หรือปลอดภัย) ในการนำมาเจาะหู ปืนเจาะหูนั้นอาจไม่ได้รับการฆ่าเชื้อที่ดีพอ ส่วนตุ้มหูอันเก่าที่ผ่านการใช้แล้วอาจมีปลายทู่ ซึ่งอาจไปทำลายเนื้อเยื่อในหูคุณได้

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 87,136 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม