PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

หูฟังบลูทูธถือเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่ขาดไม่ได้ในสังคมไร้สายสมัยนี้ พอใช้หูฟังบลูทูธคู่กับมือถือแล้ว คุณสามารถโทรและรับสายได้โดยไม่ต้องแตะต้องหรือหยิบจับมือถือเลย ไม่ว่าจะขับรถลงเรือ ช้อปปิ้ง หรือจ็อกกิ้งตอนเช้าๆ ก็คุยต่อเนื่องได้ไม่ขาดตอน ขอแค่มือถือของคุณใช้บลูทูธได้ ก็เชื่อมต่อแล้วใช้หูฟังบลูทูธได้ง่ายนิดเดียว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมหูฟังบลูทูธ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ชาร์จทั้ง 2 อุปกรณ์จนเต็มก่อน เพราะถ้าอยู่ๆ แบตหมดตอนเชื่อมต่อจะวุ่นวาย
  2. วิธีตั้งส่วนใหญ่จะเหมือนๆ กัน อาจมีแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามรุ่นและยี่ห้อ
    • ส่วนใหญ่ทำได้โดยปิดหูฟังก่อน แล้วกดปุ่มอเนกประสงค์ค้างไว้ (ปุ่มที่เอาไว้กดตอนรับสายน่ะ) ประมาณ 2 - 3 วินาที ตอนแรกไฟจะกะพริบให้รู้ว่าเปิดอยู่ (ก็ให้กดค้างต่อไป) หลังจากนั้น 2 - 3 วินาที ไฟ LED ที่หูฟังจะกะพริบสลับสี (ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง-ฟ้า แต่ก็แล้วแต่ยี่ห้อและรุ่น) ไฟกะพริบบอกให้รู้ว่าหูฟังเปิดโหมดการเชื่อมต่อแล้ว
    • ถ้าหูฟังของคุณมีสวิตช์ปิดเปิด ให้เลื่อนไปที่ “on” แล้วค่อยกดปุ่มอเนกประสงค์ค้างไว้ [1]
  3. ทั้ง 2 อุปกรณ์ต้องอยู่ใกล้กันมากพอที่จะเชื่อมต่อได้ ระยะห่างที่แนะนำก็แตกต่างกันออกไป แต่ควรอยู่ในระยะ 5 ฟุต (ประมาณเมตรครึ่ง) จะดีที่สุด [2]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เตรียมมือถือ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. บลูทูธนี่ตัวกินแบตเลย เพราะงั้นต้องชาร์จให้เต็ม
  2. ถ้ามือถือคุณเป็นรุ่นหลังปี 2007 (พ.ศ. 2550) ก็น่าจะมีบลูทูธในตัว ถ้าเห็นเมนู “Bluetooth” ในระบบปฏิบัติการต่อไปนี้ละก็ แสดงว่าใช้ได้แน่นอน [3]
    • ถ้าคุณใช้ iPhone ให้แตะไอคอน Settings แล้วมองหาเมนู Bluetooth ถ้ามี แสดงว่าเครื่องคุณใช้บลูทูธได้ ถ้าข้างคำว่า Bluetooth เขียนว่า “off” ให้แตะเปลี่ยนเป็น on [4]
    • ถ้าคุณใช้ Android ให้แตะไอคอน Settings ในเมนู app แล้วมองหาเมนู Bluetooth ถ้ามี แสดงว่าเครื่องคุณใช้บลูทูธได้ ก็แตะเพื่อเปิดบลูทูธเลย แล้วเลื่อนสวิตช์ไปที่ “on” [5]
    • ถ้าคุณใช้ Windows Phone ให้เข้า app list แล้วเลือก Settings แล้วมองหาเมนู Bluetooth ถ้ามี แสดงว่าเครื่องคุณใช้บลูทูธได้ ให้เปิดเมนูไปเลื่อนสวิตช์เป็น on [6]
    • ถ้ามือถือคุณใช้บลูทูธได้แต่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน ให้เข้าเมนู settings แล้วมองหาเมนู Bluetooth จากนั้นก็เปิดบลูทูธได้เลย
  3. พอเปิดบลูทูธแล้ว มือถือก็จะสแกนหาอุปกรณ์ที่ใช้บลูทูธเพื่อเชื่อมต่อ พอเจอแล้วจะมีรายชื่ออุปกรณ์ที่คุณสามารถเชื่อมต่อได้โผล่ขึ้นมาในจอ
    • ถ้าคุณใช้มือถือทั่วไป (ที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน) กับมือถือ Android รุ่นเก่าๆ อาจต้องสแกนหาอุปกรณ์เอง ถ้าในเมนูบลูทูธมีตัวเลือกที่เขียนว่า “Scan for devices” หรืออะไรที่ใกล้เคียง ก็ให้แตะเพื่อสแกนเลย
    • ถ้าสแกนไม่เจออุปกรณ์ไหนเลยทั้งๆ ที่เปิดบลูทูธแล้ว แสดงว่าหูฟังของคุณอาจจะยังไม่ได้เปิดโหมดเชื่อมต่อ ให้รีสตาร์ทหูฟังใหม่ แล้วเปิดโหมดเชื่อมต่ออีกรอบ หรืออ่านคู่มือหูฟังบลูทูธดูว่าต้องทำขั้นตอนไหนเพิ่มเติมหรือเปล่า
  4. ในรายการอุปกรณ์บลูทูธที่เชื่อมต่ออยู่ ให้แตะชื่อหูฟังที่จะใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อยี่ห้อ (เช่น Jabra หรือ Plantronics) แต่บางทีก็ขึ้นตรงๆ ว่า “Headset” หรือหูฟังเลย
  5. ตอนมือถือจะ "สแกนหา" หูฟัง มักถามหา PIN code ก็ให้ใส่ไปแล้วคลิก “Pair”
    • หูฟังส่วนใหญ่จะใช้ PIN code "0000”, “1234”, “9999” หรือ “0001” แต่ถ้าไม่ใช่สักอัน ก็ให้ลองเลข 4 ตัวสุดท้ายของ serial number ของหูฟัง (จะอยู่ใต้แบตเตอรี่ เขียนว่า “s/n” หรือ “serial number”) [7]
    • ถ้าเชื่อมต่อหูฟังได้เลยไม่ต้องใช้ PIN code ก็แสดงว่าเป็นแบบไม่ต้องใส่รหัสอะไร
  6. พอหูฟังเชื่อมต่อกับมือถือเรียบร้อยแล้ว ในมือถือจะมีข้อความยืนยันขึ้นมา ประมาณว่า "Connection Established” คือเชื่อมต่อเรียบร้อย (ข้อความนี้จะแตกต่างกันไปตามอุปกรณ์ที่คุณใช้)
  7. พอเชื่อมต่อ 2 อุปกรณ์เรียบร้อย หูฟังคุณจะใช้งานอะไรได้บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมและระบบปฏิบัติการในมือถือ แต่ปกติแค่เอาเสียบหู จัดตำแหน่งให้ใส่แล้วไม่เจ็บ เท่านี้ก็โทรออกและรับสายได้เลยโดยไม่ต้องแตะต้องมือถือให้วุ่นวาย
    โฆษณา

คำเตือน

  • กฎหมายในเมืองไทยห้ามคุณขับไปคุยมือถือไป แต่ถ้าสวมใส่หูฟังบลูทูธก็ถือว่าได้ไม่เป็นไร
  • ถึงหูฟังบลูทูธจะทำให้คุณมือว่าง ขับรถได้ตามปกติ แต่จริงๆ ก็ไม่ควรคุยนานเกินไป เพราะอาจทำให้วอกแวก ไม่มีสมาธิจดจ่อกับการขับรถได้ [8]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 181,191 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา