ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
เชื่อมต่อเราเตอร์กับโมเด็มแล้ว จะต่อเน็ตได้ในหลายๆ อุปกรณ์ที่มีในบ้าน แถมเพิ่มความปลอดภัย ป้องกันการถูกแฮก ข้อมูลไม่รั่วไหลให้ใคร คุณติดตั้งเราเตอร์และโมเด็มได้ด้วย Ethernet 2 สาย, สาย coaxial และสายไฟของทั้ง 2 อุปกรณ์ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเชื่อมต่อเราเตอร์กับโมเด็มให้คุณเอง
ขั้นตอน
-
เสียบสายอินเทอร์เน็ตที่กำแพง. ถ้าสายเน็ตเป็นเคเบิลหรือไฟเบอร์ออพติก ก็ให้เสียบสาย coaxial ที่กำแพง ตรงจุดที่สัญญาณเน็ตผ่าน ถ้าใช้โมเด็ม DSL ให้เสียบสายโทรศัพท์กับพอร์ทที่กำแพง
-
เสียบสายเน็ตอีกข้างที่โมเด็ม. ให้เสียบสาย coaxial หรือสายโทรศัพท์อีกข้าง ที่พอร์ทของโมเด็ม เพื่อให้สัญญาณเน็ตเข้าโมเด็ม
-
เสียบสายไฟที่โมเด็ม. หาพอร์ท AC adapter ที่โมเด็ม แล้วเสียบ AC adapter กับโมเด็ม
-
เสียบปลั๊กโมเด็มที่กำแพง. เพื่อให้ไฟเข้าโมเด็ม
-
เปิดเครื่อง. ถ้าโมเด็มไม่ติดอัตโนมัติ ให้หาสวิตช์แล้วเปิดโมเด็มขึ้นมา
-
เสียบสาย Ethernet ที่พอร์ท "Ethernet" ของโมเด็ม. พอร์ทนี้ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นเข้ากับโมเด็ม
-
เสียบสายอีกด้านที่เราเตอร์. ให้เสียบปลายสาย Ethernet อีกข้าง ที่พอร์ท "WAN", "Internet" หรืออะไรที่ใกล้เคียง ปกติจะอยู่ข้างพอร์ท "LAN" 4 สีของเราเตอร์
-
เสียบสายไฟที่เราเตอร์. หาพอร์ท AC adapter ที่เราเตอร์ แล้วเสียบ AC adapter กับเราเตอร์
-
เสียบปลั๊กเราเตอร์ที่กำแพง. ปกติเราเตอร์จะติดขึ้นมาเอง ให้รอบูทเครื่องเสร็จสัก 2 - 3 นาที
-
เสียบสาย Ethernet เส้นที่ 2 กับเราเตอร์. เสียบสาย Ethernet ที่หนึ่งในพอร์ท "LAN"
-
เสียบสาย Ethernet ที่คอม. หาพอร์ท LAN ว่างที่แล็ปท็อปหรือคอมตั้งโต๊ะ แล้วเสียบสาย Ethernet อีกข้างที่คอม
-
เช็คว่าไฟทุกดวงของโมเด็มกับเราเตอร์ติดนิ่ง. แปลว่าเชื่อมต่อ 2 อุปกรณ์เข้ากันเรียบร้อยแล้ว ลักษณะการติดของไฟ จะต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นเราเตอร์ที่ใช้ ถ้าสงสัยตรงไหน ให้อ่านคู่มือหรือเข้าเว็บของผู้ผลิต [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เปิดเบราว์เซอร์. ถ้าเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มท่องเน็ตผ่านเบราว์เซอร์ได้เลย
-
พิมพ์ IP address ของเราเตอร์ในแถบ address. เพื่อเข้าหน้าสำหรับปรับแต่งเบราว์เซอร์ ปกติ IP address ตามค่า default ของเราเตอร์ จะต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของเราเตอร์ที่ใช้ สงสัยตรงไหนให้อ่านคู่มือหรือเข้าเว็บผู้ผลิต น่าจะมี default IP address ของเราเตอร์บอกไว้
- default IP address ที่พบบ่อย คือ 192.168.0.1, 192.168.1.1 และ 10.0.0.1
-
ใส่ username และรหัสผ่านตั้งต้น. ต้องล็อกอินเข้าเราเตอร์ด้วย username และรหัสผ่านตามค่า default ถ้าหาไม่เจอ ลองอ่านคู่มือ หรือเข้าเว็บของผู้ผลิตดู
-
อัพเดท Firmware ของเราเตอร์ . เวลาเชื่อมต่อเราเตอร์ใหม่ ส่วนใหญ่จะต้องอัพเดทเราเตอร์ด้วย ให้ดูตัวเลือกในหน้าปรับแต่งเราเตอร์ แล้วคลิกปุ่มอัพเดทเราเตอร์ ขั้นตอนการอัพเดท firmware ของเราเตอร์ จะต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นเราเตอร์ที่ใช้
- คุณตั้งค่า port forwarding และบล็อกเว็บไซต์ในหน้าปรับแต่งเราเตอร์ได้ด้วย
โฆษณา
-
เปิดเบราว์เซอร์. ถ้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มท่องเน็ตผ่านเบราว์เซอร์ได้เลย
-
พิมพ์ IP address ของเราเตอร์ในแถบ address. เพื่อเปิดหน้าปรับแต่งของเราเตอร์ ปกติ IP address ตามค่า default ของเราเตอร์ จะต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของเราเตอร์ที่ใช้ สงสัยตรงไหนให้อ่านคู่มือหรือเข้าเว็บผู้ผลิต น่าจะมี default IP address ของเราเตอร์บอกไว้
- default IP address ที่พบบ่อย คือ 192.168.0.1, 192.168.1.1 และ 10.0.0.1
-
ใส่ username และรหัสผ่านตั้งต้น. ต้องล็อกอินเข้าเราเตอร์ด้วย username และรหัสผ่านตามค่า default ถ้าหาไม่เจอ ลองอ่านคู่มือ หรือเข้าเว็บของผู้ผลิตดู
- username กับรหัสผ่านยอดนิยมคือ "admin" และ "password" ตามลำดับ
-
หา wireless settings. หน้าปรับแต่งของเราเตอร์แต่ละยี่ห้อและรุ่น จะมีรูปแบบแตกต่างกันไป ให้หา wireless settings ของเราเตอร์ที่ใช้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในหัวข้อ "System", "Settings", "Configuration" หรืออะไรที่ใกล้เคียง
-
ตั้งชื่อสัญญาณ Wi-Fi. หา SSID settings ในหน้าปรับแต่งเราเตอร์ แล้วพิมพ์ชื่อสัญญาณ Wi-Fi ในช่อง SSID
-
เลือกเข้ารหัส (encryption key) แบบ "WPA/WPA2". ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้ารหัสที่ปลอดภัยที่สุด สำหรับรหัสผ่าน Wi-Fi
-
พิมพ์รหัสผ่าน Wi-Fi. ส่วนใหญ่จะเป็น "key", "wireless key" หรือ "pass key" นี่คือรหัสผ่านที่ต้องใส่เวลาจะต่อเน็ต Wi-Fi ในอุปกรณ์ต่างๆ
- รหัสผ่านที่แนะนำ คือมีอย่างน้อย 8 อักขระ ผสมกันทั้งตัวเลขและตัวอักษร
- ถ้าเป็น Wi-Fi ที่ให้คนอื่นใช้ได้ ก็อย่าตั้งรหัสแปลกๆ หรือน่าอาย ที่สำคัญคืออย่าใช้รหัสผ่านเดียวกับบัญชีส่วนตัวอื่นๆ
-
เซฟค่าใหม่ในระบบ. หาตัวเลือกเซฟค่าใหม่ของเราเตอร์ ซึ่งจะต่างกันไปตามเราเตอร์แต่ละยี่ห้อและรุ่นโฆษณา
-
ลองถอดปลั๊กโมเด็มสัก 15 วินาที. ถ้าอยู่ๆ สัญญาณเน็ตหาย เชื่อมต่อไม่ได้ ให้ถอดปลั๊กสักหลายๆ วินาทีหน่อย แล้วเสียบปลั๊กอีกที โมเด็มจะได้ปิดสนิท ก่อนจะเปิดใหม่พร้อมสัญญาณที่แรงกว่า พอครบ 15 วินาทีแล้ว ให้เสียบปลั๊กโมเด็มแล้วรอ 2 นาทีขึ้นไป ค่อยต่อเน็ต [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ลองรีสตาร์ททั้งโมเด็มและเราเตอร์. ถ้ามีปัญหาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ ให้ลองปิดเครื่อง ถอดปลั๊กทุกอุปกรณ์ แล้วค่อยรีสตาร์ทแต่ละอุปกรณ์กลับมา จะช่วยรีเฟรชอุปกรณ์ให้ต่อเน็ตได้แรงและเสถียรกว่าเดิม ไม่หลุดง่าย
- ปิดคอมแล้วถอดปลั๊กโมเด็ม
- ถอดปลั๊กเราเตอร์ แล้วเช็คว่าทั้งสาย Ethernet และสาย coaxial เสียบกับอุปกรณ์แน่นหนาดีแล้ว
- เสียบปลั๊กโมเดมกลับคืน จากนั้นเสียบปลั๊กเราเตอร์บ้าง
- รอสัก 2 - 3 นาที ค่อยเปิดคอมกลับมา เท่านี้ก็น่าจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว
-
ลองสลับสาย Ethernet กับ coaxial ดู. จะได้ค่อยๆ ตัดสาเหตุของปัญหาไป รู้ได้ว่าอะไรเสียจนต่อเน็ตไม่ได้ ส่วนใหญ่สายชำรุดหรือขาด มักเป็นสาเหตุเวลาต่อเน็ตไม่ได้
-
เช็คว่ามีไฟตกหรือไฟดับแถวบ้านหรือไม่. ถ้าอยู่ๆ ก็สัญญาณเน็ตขาดหาย ให้ลองโทรหา call center ของค่ายเน็ตที่ใช้ดู หรือบางทีที่ต่อเน็ตไม่ติด ก็เพราะไฟตกหรือไฟดับแถวบ้าน บางทีก็อยู่ในระหว่างซ่อมบำรุง
-
เช็คว่าโมเด็มใช้กับเราเตอร์ที่มีได้ไหม. ถ้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ ให้เช็คกับค่ายเน็ตที่ใช้ ว่าเราเตอร์กับโมเด็มที่มี ใช้ด้วยกันได้หรือเปล่า บางทีโมเด็มก็ตกรุ่น หรือไม่รองรับเราเตอร์ที่ค่ายเน็ตให้มา
-
เช็คว่าต้องปรับแต่งโมเด็มเพิ่มเติมหรือเปล่า. ถ้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ ให้ลองติดต่อค่ายเน็ตที่ใช้ก่อน ว่าต้องปรับแต่งโมเด็มเพิ่มเติมหรือเปล่า โมเด็มเคเบิลบางรุ่นต้องปรับแต่งพอร์ท Ethernet ก่อน ถึงจะใช้กับเราเตอร์อินเทอร์เน็ตได้ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- เราเตอร์
- โมเด็ม
- Ethernet 2 สาย
- สาย Coaxial
- สายไฟของเราเตอร์
- สายไฟของโมเด็ม
ข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา