PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเพิ่มเราเตอร์เครื่องที่ 2 ในเครือข่ายที่ใช้กันในบ้านหรือออฟฟิศเล็กๆ ถ้าอยากเพิ่มคอมหรืออุปกรณ์เครื่องอื่นในเครือข่ายที่ว่า แต่ไม่มีพอร์ทว่าง ก็ต้องเพิ่มเราเตอร์เครื่องที่ 2 นอกจากช่วยขยายเครือข่ายแล้ว เราเตอร์เครื่องที่ 2 ยังช่วยครอบคลุม “จุดอับสัญญาณ Wi-Fi” ที่เน็ตอ่อนหรือต่อไม่ติดด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ตั้งค่าเราเตอร์เครื่องแรก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสียบสาย Ethernet ที่พอร์ท WAN ของเราเตอร์ กับพอร์ท WAN/Internet ของโมเด็ม high-speed เพื่อความสะดวก ต่อไปในบทความวิกิฮาวนี้เราจะเรียกเราเตอร์ที่ต่อไว้กับโมเด็มว่า "Router 1"
    • เราเตอร์บางเครื่องทำหน้าที่ทั้งโมเด็ม high-speed และเราเตอร์ ถ้า Router 1 เป็นแบบที่ว่า ก็เสียบสายสัญญาณอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว
    • พอร์ท WAN บางทีก็เขียนว่า “Internet”
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Spike Baron

    วิศวกรเครือข่ายและดูแลคอมพิวเตอร์
    สไปค์ บาร์รอนเป็นเจ้าของ Spike's Computer Repair ซึ่งด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปีในด้านเทคโนโลยีของเขา ทำให้ร้านมีความเชี่ยวชาญในการซ่อมดูแลคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบ PC และ Mac การกำจัดไวรัส การกู้คืนข้อมูล การอัพเกรดทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ และการขายคอมพิวเตอร์มือสอง เขาได้รับประกาศนียบัตร CompTIA A+ และเป็นช่างซ่อมที่ทาง Microsoft ให้การรับรอง
    Spike Baron
    วิศวกรเครือข่ายและดูแลคอมพิวเตอร์

    ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจำกัดความเร็วอินเทอร์เน็ตของคุณ ดังนั้น การเชื่อมเราเตร์ที่สองจึงอาจไม่ช่วยอะไร ให้คุยกับผู้ให้บริการก่อนว่าการเพิ่มเราเตอร์ตัวที่สองเข้าไปจะเพิ่มความเร็วของเน็ตได้จริง หรือเผื่อพวกเขาอาจเพิ่มลิมิตความเร็วให้ได้

  2. เสียบสาย Ethernet ที่พอร์ท LAN ของ Router 1 กับพอร์ท Ethernet ของคอม
    • คุณเชื่อมต่อกับเราเตอร์แบบไร้สายได้ด้วย โดยใช้ชื่อกับรหัส Wi-Fi
  3. รอสักพักจนบูทเครื่องเสร็จ
  4. ต้องเปิดหน้า admin user ของ Router 1 ขึ้นมาในเบราว์เซอร์
  5. พิมพ์ IP address ของ Router 1 ในแถบ address ทางด้านบนของเบราว์เซอร์ เพื่อเปิดหน้าล็อกอินแอดมินของเราเตอร์ [1] ลองอ่านคู่มือหรือเข้าเว็บยี่ห้อเราเตอร์ดู ถ้าไม่รู้ default IP address ของ Router 1
    • default IP address ของเราเตอร์ยี่ห้อยอดนิยมก็คือ
      • 2Wire: 192.168.1.1, 192.168.0.1, 192.168.1.254, 10.0.0.138
      • Apple: 10.0.0.1
      • Belkin: 192.168.1.1, 192.168.2.1, 10.0.0.2, 10.1.1.1
      • Dlink: 192.168.1.1, 192.168.0.1, 192.168.0.101, 192.168.0.30, 192.168.0.50, 192.168.15.1, 192.168.254.254, 192.168.1.254, 192.168.0.10, 192.168.15.1, 10.0.0.1, 10.0.0.2, 10.1.1.1, 10.90.90.90
      • Netgear: 192.168.0.1, 192.168.0.227 [2]
  6. เพื่อเปิดหน้า admin ของ Router 1 ถ้าหา default username และรหัสผ่านของ Router 1 ไม่เจอ ให้อ่านคู่มือหรือเข้าเว็บยี่ห้อเราเตอร์
    • เราเตอร์ส่วนใหญ่ทั้ง username และรหัสผ่านให้ใส่ "admin" หรือลองใส่รหัสผ่านว่า "Password" ไม่ก็ "12345678" บางเราเตอร์ก็แค่ปล่อย username และรหัสผ่านว่างไว้ [3]
    • ถ้าใส่รหัสผ่านถูกแล้วแต่ยังเชื่อมต่อไม่ได้ ให้อ่านคู่มือหรือเข้าเว็บยี่ห้อเราเตอร์ เพื่ออ่านวิธีรีเซ็ตเราเตอร์กลับค่าโรงงาน (factory settings) [4]
  7. [5] เพื่อให้ Router 1 กำหนด IP address ทั้งหมดในเครือข่าย
    • ปกติ settings พวกนี้จะอยู่ใน “Network settings” หรือ “LAN settings” หน้าแอดมินจะต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นที่ใช้
    • ส่วนใหญ่ตามค่า default จะเปิดเซิร์ฟเวอร์ DHCP ไว้
  8. ทดสอบเครือข่ายและการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต. เข้าเว็บ (เช่น https://th.wikihow.com/ ) เพื่อเช็คว่าต่อเน็ตได้แล้ว ตอนตั้งค่าเสียบสายสร้างเครือข่าย อย่าลืมเหลือพอร์ท LAN ไว้ให้ Router 1 ด้วย
  9. ถอดสาย Ethernet ที่เชื่อม Router 1 กับคอม โดยที่ยังเสียบปลั๊กและสายอื่นๆ ไว้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตั้งค่าเราเตอร์เครื่องที่ 2

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสียบปลั๊กเราเตอร์เครื่องที่ 2 แล้วเปิดเครื่อง. ต้องมีปลั๊กไฟว่างและคอมอยู่ใกล้ๆ เราเตอร์เครื่องที่ 2 เสียบปลั๊กแล้วก็เปิดเครื่องได้เลย เพื่อความสะดวก ต่อไปในบทความวิกิฮาวนี้เราจะเรียกเราเตอร์เครื่องที่ 2 ว่า "Router 2"
  2. เสียบสาย Ethernet ที่พอร์ท LAN ของ Router 2 กับพอร์ท Ethernet ของคอม [6]
  3. ให้ล็อกอินด้วย username และรหัสผ่านตามค่า default ในหน้าแอดมินของ Router 2 เหมือนที่ทำใน Router 1 ถ้าไม่รู้ username และรหัสผ่านตามค่า default ให้อ่านคู่มือหรือเข้าเว็บยี่ห้อเราเตอร์
    • เราเตอร์ส่วนใหญ่ทั้ง username และรหัสผ่านให้ใส่ "admin"
  4. เพื่อเปิดหน้าล็อกอินแอดมินของ Router 2
    • IP address ของเราเตอร์ส่วนใหญ่คือ 192.168.0.1, 192.168.1.1 และ 10.0.0.1
  5. [7] ปกติ Router 1 จะเปิด DHCP ไว้ เพราะงั้นให้ปิดของ Router 2 เพื่อป้องกัน IP ขัดกัน ปกติ DHCP settings จะอยู่ในหน้าแอดมิน ให้เลื่อนสวิตช์ DHCP server ไปที่ “Off”
  6. ตอนนี้เป็นไปได้มากว่า Routers 1 กับ 2 จะใช้ default IP address เดียวกันอยู่ คุณป้องกัน IP ซ้ำกันได้ โดย Router 2 ต้องเปลี่ยนไปใช้ IP address อื่นที่ไม่เหมือน Router 1
    • หาส่วนของหน้าแอดมินเราเตอร์ ที่เขียนว่า “LAN” หรือ “Local Network” โดยจะมีช่องแสดง IP address ปัจจุบัน
    • พิมพ์ IP address ใหม่แทนอันเดิม. IP address ใหม่ของ Router 2 ต้องเป็น subnet เดียวกับ Router 1 แปลว่าเลข 3 ชุดแรกของ IP address ต้องเหมือนของ Router 1 ให้เปลี่ยนหมายเลขหลังจุดที่ 4 ของ IP address ไปเป็นอะไรที่ต่างจากของ Router 1 และห้ามเป็น IP ของเครื่องอื่น
  7. ให้เหมือนกับ Router 1 เด๊ะ [8]
    • ปกติจะเจอ settings พวกนี้ในเมนู “Wireless”, “Wi-Fi setup” หรืออะไรที่ใกล้เคียง
    • ถ้าไม่แน่ใจว่า SSID และรหัสผ่านของ Router 1 คืออะไร ให้ลองดูที่เขียนไว้ที่ตัวเครื่อง
    • ถ้า Router 2 ไม่ใช่เราเตอร์ Wi-Fi ก็ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำให้เครือข่ายกลับมาออนไลน์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอตั้งค่า Router 2 เรียบร้อยแล้ว ให้รีสตาร์ท แต่ตอนนี้ให้ถอดปลั๊กก่อน อย่าเพิ่งเปิดเครื่องกลับมา
  2. เสียบสาย Ethernet ที่พอร์ท LAN ของ Router 1 กับพอร์ท LAN แรกของ Router 2
    • ระวังอย่าเสียบพอร์ท WAN เพราะหน้าตาคล้ายกัน
  3. พอเราเตอร์เปิดขึ้นมา ก็จะมี IP address ตามที่คุณกำหนด ถ้า Router 1 มีสัญญาณเน็ต Router 2 ก็จะออนไลน์ด้วย
  4. ทุกครั้งที่คอมเชื่อมต่อกับ network device ใหม่ แนะนำให้รีสตาร์ทคอมก่อน
  5. เชื่อมต่อแบบไร้สายหรือเสียบสาย Ethernet ที่พอร์ท LAN ว่างของเราเตอร์ก็ได้ DHCP server ของ Router 1 จะกำหนด IP address ใน subnet เดียวกัน ให้กับแต่ละอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ เท่านี้ก็ขยายเครือข่ายเรียบร้อย!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สงสัยตรงไหนให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เดี๋ยวนี้มีเว็บบอร์ดและเพจต่างๆ เยอะแยะ ที่มีเพื่อนสมาชิกหรือลูกเพจเป็นช่างและผู้เชี่ยวชาญ มีทั้งแบบให้คำแนะนำคำปรึกษา และให้บริการซ่อมเลย
  • ให้จด IP address ของโมเด็ม เราเตอร์ และคอมทุกเครื่องที่เชื่อมต่อไว้ เผื่อต้องแก้ปัญหาการเชื่อมต่อ จะสะดวกขึ้นอีกเยอะ
  • เพื่อความปลอดภัยเพิ่มเติม แนะนำให้ใช้เราเตอร์เครื่องที่ 3 (NAT) ด้วย ถ้าเพิ่มเราเตอร์เครื่องที่ 3 (Router 3) เข้าไป โดยเสียบสาย Ethernet กับพอร์ท WAN และพอร์ท LAN ของ Router 1 หรือ 2 แล้วเปิดใช้ DHCP ใน Router 2 จากนั้นกำหนด subnet ให้ต่างจากที่มีในเครือข่าย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ายอมให้คนอื่นใช้ Wi-Fi ด้วย ระวังเขาจะเข้าไปดูไฟล์ในคอมเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 186,057 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา