ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากใช้ MacBook Air แบบหน้าจอใหญ่สะใจ ก็เสียบหน้าจอแยกที่พอร์ท USB-C (Thunderbolt 3 หรือ 4) ของแล็ปท็อปได้ทันที ถึงหน้าจอนั้นจะไม่มี USB-C input ก็เชื่อมต่อ MacBook Air โดยใช้ adapter ได้ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเชื่อมต่อหน้าจอส่วนขยายให้ MacBook Air ด้วยสาย USB-C หรือ adapter ให้คุณเอง

  1. MacBook Air ทุกรุ่นตั้งแต่ปี 2018 (2561) เป็นต้นมา จะมีพอร์ท USB-C ที่ถ่ายทอดสัญญาณทั้งวิดีโอและเสียง ไปยังหน้าจอหรือ HDTV ได้ [1] ถ้าหน้าจอก็มีพอร์ท USB-C ก็เชื่อมต่อกับ MacBook Air โดยใช้สาย USB-C ได้เลย ไม่ต้องหา adapter พิเศษมาใช้
    • ถ้าเป็น M1 2020 MacBook Air พอร์ท USB-C จะรองรับ Thunderbolt / USB 4 ด้วย ส่วน MacBook Air 13" รุ่น 2018, 2019 และ 2020 (2561 - 2563) พอร์ท USB-C จะรองรับ Thunderbolt 3
    • ถ้าใช้ MacBook Air รุ่น 2017 (2560) หรือเก่ากว่า จะไม่มีพอร์ท USB-C แต่ก็เชื่อมต่อ MacBook Air กับหน้าจอที่ใช้ USB-C ได้ โดยใช้ adapter แปลง Thunderbolt 2 เป็น USB-C
  2. ถ้าทั้งหน้าจอและ MacBook Air มีพอร์ท USB-C ก็ใช้แค่สาย USB-C มาตรฐานเวลาเชื่อมต่อ แต่ถ้าพอร์ทไม่ตรงกัน ต้องมี adapter ด้วย [2]
    • เดี๋ยวนี้มี USB-C adapter ขายทุกแบบ ทุกร้านคอม เช่น USB-C เป็น HDMI, USB-C เป็น DisplayPort, USB-C เป็น DVI และ USB-C เป็น VGA ถ้าเป็น USB-C Digital AV Multiport Adapter ของ Apple ก็ใช้เชื่อมต่อพอร์ท HDMI ได้เป็นต้น เป็นพอร์ทยอดนิยมของ HDTV และหน้าจอส่วนใหญ่ [3]
  3. ต้องเสียบปลั๊กไฟและกดปุ่ม power แล้ว หน้าจอถึงจะเปิดขึ้นมา
  4. จะเป็นพอร์ทวงรีเล็กๆ ทางด้านข้างของ MacBook Air
    • ถ้าใช้ MacBook Air รุ่นเก่าๆ จะไม่มีพอร์ท USB-C ให้เสียบ adapter แปลง Thunderbolt 2 เป็น USB-C ที่พอร์ท Thunderbolt แล้วเสียบสาย USB-C ที่ adapter
  5. ถ้าทั้งหน้าจอและ MacBook Air เปิดอยู่ จะเห็นหน้าจอ MacBook Air โผล่มาในหน้าจอทันทีหลังเชื่อมต่อ
    • ถ้าใช้ adapter แปลง USB-C เป็น HDMI (หรือ adapter ประเภทอื่น) ให้เสียบด้าน USB-C กับสายที่เสียบ MacBook Air ไว้ แล้วเสียบอีกด้านของ adapter ที่พอร์ท video input ของหน้าจอ (เช่น HDMI, DVI เป็นต้น)
    • ถ้าหน้าจอ Mac ไม่ขึ้นในหน้าจอต่อขยาย ให้ปิดหน้าจอก่อน แล้วเปิดกลับมา [4]
  6. พอเชื่อมต่อหน้าจอแล้ว ก็เลือกได้ว่าจะ mirror (แสดงภาพเดียวกัน) หรือใช้เป็นหน้าจอต่อขยาย [5] ปกติ System Preferences จะอยู่ในเมนู Apple มุมซ้ายบนของหน้าจอ
  7. ที่ไอคอนเป็นหน้าจอคอมสีฟ้า ด้านล่างของหน้าต่าง
  8. เป็น tab ด้านบนของหน้าต่าง เท่านี้จะมีสี่เหลี่ยม 2 อันโผล่มา แทนหน้าจอ Macbook กับหน้าจอต่อขยาย
  9. ถ้าจะใช้หน้าจอต่อขยายเป็นจอเดียว ให้ติ๊กช่องข้าง "Mirror Displays" ถ้าอยากใช้ขยายหน้าจอ ใช้สองจอไปพร้อมกัน ก็ไม่ต้องติ๊ก
  10. เลือกว่าจะให้จอไหนเป็นหน้าจอหลัก (ถ้าเลือกใช้เป็นหน้าจอต่อขยาย). หน้าจอที่เลือกเป็นหน้าจอหลัก จะมีแถบขาวด้านบน ใน tab Arrangement ตามค่า default จะเป็นจอของ MacBook Air แต่แรก ถ้าจะใช้หน้าจอต่อขยายเป็นหน้าจอหลัก ให้ลากแถบขาวไปที่สี่เหลี่ยมนั้น ถ้าไม่ ก็ไม่ต้องปรับอะไร
  11. ลากจอปรับตำแหน่งตามต้องการ (ถ้าใช้เป็นหน้าจอต่อขยาย). ถ้าใช้หน้าจอที่สองเป็นหน้าจอต่อขยาย ให้ลากสี่เหลี่ยมของจอที่สอง ไปไว้ตำแหน่งที่วางจอจริงๆ
    • เช่น ถ้าหน้าจอต่อขยายอยู่ทางขวาของหน้าจอ MacBook Air ให้ลากสี่เหลี่ยมที่ใหญ่กว่า ไปทางขวาของสี่เหลี่ยมเล็ก แบบนี้ก็จะลากหน้าต่างไปในทิศทางนั้น แล้วไปโผล่ในหน้าจอต่อขยายได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,139 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา