ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเช็ค ว่ามือถือของคุณใช้เครือข่าย CDMA หรือ GSM ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในกรณีที่ซื้อมือถือมาจากต่างประเทศ แล้วอยากปลดล็อคค่ายมือถือเดิม ไปใช้ค่ายใหม่ หรืออยากใช้ซิมของค่ายใหม่ในมือถือที่ไม่ได้ล็อคค่าย

  1. ถ้าไม่ได้ซื้อมือถือมาจากอเมริกาหรือรัสเซีย ส่วนใหญ่ก็เป็นเครือข่าย GSM ทั้งนั้น ถ้าซื้อเครื่องในไทย ก็แน่ใจได้เลยว่าเป็น GSM [1]
    • ถึงมือถือในอเมริกาจะใช้ CDMA ก็มีสัญญาณมือถือ 2 เครือข่ายหลักๆ ด้วยกัน จริงๆ แล้วมีเครือข่ายมือถือแค่ 18 เปอร์เซ็นต์ในโลกเท่านั้นที่ใช้ CDMA
  2. CDMA กับ GSM นั้นเป็นเครือข่าย 3G แต่ทั้งมือถือที่ใช้เครือข่าย CDMA และ GSM นั้นสามารถใช้ 4G (LTE) ได้ ขอแค่สมาร์ทโฟนเครื่องนั้นรองรับการใช้งานซิม 4G แปลว่าคุณไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่าง CDMA กับ GSM เลย ถ้าไม่ได้จะเปลี่ยนเครือข่ายในอนาคต [2]
    • แปลว่าถึงมือถือจะมีซิม ก็ฟันธงไม่ได้ว่าใช้ CDMA หรือ GSM
  3. อยากที่บอกว่าเครื่องในไทย จะเป็น GSM ทั้งหมด แต่ถ้าใครหิ้วเครื่องมาจากอเมริกา ตามค่า default ค่าย Sprint, US Cellular และ Verizon จะเป็น CDMA ส่วน AT&T, Virgin Mobile และ T-Mobile จะเป็น GSM ถ้าซื้อมือถือจากค่ายไหนในอเมริกา แค่เช็คจากชื่อค่าย ก็รู้แล้วว่าเครื่องนั้นใช้เครือข่ายอะไร
    • เครื่องของ Verizon จะมาพร้อม CDMA แต่จริงๆ ก็รองรับ GSM ด้วย
    • ถ้าซื้อเครื่องแบบ "ไม่ได้ล็อคค่าย" มา แปลว่าไม่ได้บังคับว่าต้องใช้แพ็คเกจหรือซิมของค่ายไหนโดยเฉพาะ ขั้นตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์
  4. ถ้ามีหมวดหมู่ MEID หรือ ESN แสดงว่ามือถือเป็น CDMA ถ้าเห็นหมวดหมู่ IMEI แสดงว่าใช้ GSM ถ้ามีทั้ง 2 อย่าง (เช่น มือถือจากค่าย Verizon ของอเมริกา) แสดงว่ามือถือใช้ได้ทั้ง CDMA และ GSM ส่วนจะใช้อันไหนอยู่ต้องเช็คอีกที [3]
    • iPhone — เปิด Settings แตะ General แตะ About แล้วเลื่อนลงไปที่หมายเลข MEID (หรือ ESN ) หรือ IMEI
    • Android — เปิด Settings เลื่อนลงไปแตะ System (เฉพาะ Android Oreo) แตะ About phone แตะ Status แล้วมองหาเลข MEID (หรือ ESN ) หรือ IMEI
  5. ถ้ายังเช็คไม่ได้ว่ามือถือเป็น CDMA หรือ GSM ให้เช็คเลขรุ่นของมือถือก่อน ปกติจะอยู่ในคู่มือของมือถือ หรือเข้าไปเช็คที่ About settings ของเครื่อง ถ้าค้นในเน็ต ก็จะเจอประเภทเครือข่ายที่มือถือรุ่นนั้นใช้ได้ด้วย
    • ถ้าใช้ iPhone ให้เปิด Settings > General > About แล้วหาเลขทางขวาของหัวข้อ "Model" ส่วนใครใช้ Android ให้เปิด Settings > System (เฉพาะ Oreo) > About phone แล้วหาชื่อและเลขรุ่น
    • iPhone จะมีเลขรุ่นที่ด้านหลังตัวเครื่อง แต่อาจจะอ่านยากหน่อย ถ้าใครใช้เครื่องสีดำหรือ space-grey
    • ถ้าหารุ่นมือถือไม่เจอจริงๆ ให้เข้าเว็บของยี่ห้อมือถือที่ใช้ แล้วหาประเภทของมือถือที่ใช้ (เช่น iPhone 7, jet black, 128 GB) แล้วตีวงเข้ามาจากข้อมูลนั้น
  6. ถ้าเป็น GSM กับเครือข่าย LTE ทั้งหมด ต้องใช้ซิม แต่ถ้าเป็น CDMA ไม่ต้องใส่ซิมก็ใช้ได้ ถ้ามือถือคุณไม่ใส่ซิมแต่ใช้งานได้ แสดงว่าเป็น CDMA
    • ระหว่างนั้นมือถือจะใช้ 3G
    • คุณถอดซิมได้ทั้ง iPhone และ Android เลย
  7. ถ้ามีค่ายมือถือที่ใช้งานอยู่ ก็ติดต่อ call center เพื่อสอบถามได้เลย ว่ามือถือคุณเป็น CDMA หรือ GSM ส่วนมากจะต้องบอกเลข IMEI หรือ MEID ของมือถือ รวมถึงชื่อและข้อมูลอื่นๆ ของบัญชีผู้ใช้
    • ย้ำว่าถ้ามือถือไม่ได้ล็อคค่ายไว้ และยังไม่เคยใช้งานค่ายมือถือไหน ให้ค้นเลขรุ่นมือถือก่อน เพราะสอบถาม call center ไปก็ไม่ได้ผล
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มือถือ GSM ส่วนใหญ่จะใช้กันในแถบยุโรปและเอเชีย ในไทยก็เช่นกัน เป็นเครือข่ายที่เหมาะจะใช้งานเวลาเดินทาง เพราะครอบคลุมกว่า
  • ถ้าเอามือถือไปที่ช้อปของค่ายมือถือที่ใช้ เจ้าหน้าที่จะเช็คให้ได้ว่ารองรับทั้ง 2 เครือข่ายหรือเปล่า มือถือบางเครื่อง เช่น ของค่าย Verizon ในอเมริกา จะรองรับทั้ง CDMA และ GSM เพราะใส่ซิมได้หลาย slot
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าหาทุกที่แล้วไม่เจอเลขรุ่นมือถือ อาจจะต้องเอามือถือไปที่ช้อปของยี่ห้อที่ใช้ (เช่น iPhone ก็เอาไป Apple store และ Samsung Galaxy ก็ไปร้านตัวแทนของ Samsung) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยเช็ครุ่นมือถือและประเภทเครือข่ายที่ใช้ได้แบบฟรีๆ ไม่เสียเงิน
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

แก้ไขเมื่อมือถือขึ้นข้อความเตือนว่าไม่มีซิม
ใช้งาน WeChat
กำจัดฟองอากาศบนฟิล์มกันรอย
หา PUK Code ของมือถือ
ปลดล็อคซิมโดยไม่ใช้รหัส PUK
โทรออกแบบไม่โชว์เบอร์
เช็คเบอร์มือถือตัวเองจากซิม
แก้ไขเมื่อมือถือขึ้นว่าโทรฉุกเฉินเท่านั้น
โทรเข้าเบอร์ต่อ (extension)
ค้นหา Apple Watch ที่หายไปอย่างไรเมื่อแบตเตอรี่หมด
เช็คว่ามือถือปลดล็อคเครือข่ายหรือยัง
หาเบอร์มือถือสำหรับใช้ชั่วคราว
โกงจำนวนนับก้าวในมือถือแบบไม่ต้องเดิน
เช็คผ่าน iPhone หรือ iPad ว่าอีกฝ่ายอ่านข้อความของคุณหรือยัง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,639 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา