PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เอ็กซ์เรย์ (หรือเรียกว่า การถ่ายภาพรังสี) เป็นการทดสอบชนิดไม่ก่อความเจ็บปวดเพื่อใช้ตรวจดูภายในร่างกายและความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่ออ่อนกับวัตถุที่มีความหนาแน่น (เช่น กระดูก) เอ็กซ์เรย์นั้นถูกใช้โดยทั่วไปสำหรับการระบุตำแหน่งอาการหักหรือติดเชื้อในกระดูกและตรวจหาเนื้องอกทั้งชนิดที่ไม่เป็นอันตรายและชนิดที่เป็นมะเร็ง โรคไขข้อ เส้นเลือดตีบหรืออุดตัน หรือกระทั่งฟันผุ มันยังสามารถนำมาใช้วินิจฉัยปัญหาระบบทางเดินอาหารหรือการกลืนวัตถุแปลกปลอม ถ้าคุณทราบล่วงหน้าว่าจะต้องเจออะไรและต้องเตรียมตัวอย่างไร คุณจะทำให้กระบวนการฉายรังสีเป็นไปโดยราบรื่นและตัวคุณเองก็จะลดความกังวลใจลง [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมตัวสำหรับการเอ็กซ์เรย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันเป็นจำเป็นที่คุณต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับการเอ็กซ์เรย์ โดยเฉพาะถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกน้อยหรือกำลังหรือคิดว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณอาจถูกรังสีปริมาณน้อยนิดแต่อาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ได้ [2]
    • ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะราย แต่การตรวจสอบภาพแบบอื่นอาจถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับรังสีได้
  2. แพทย์อาจสั่งให้คุณอดอาหารก่อนเข้ารับการเอ็กซ์เรย์ ขึ้นอยู่กับชนิดของการเอ็กซ์เรย์ที่คุณต้องทำ มันมักจะจำเป็นโดยเฉพาะการเอ็กซ์เรย์ระบบทางเดินอาหาร การอดอาหารปกติจะห้ามไม่ให้คุณดื่มกินก่อนเข้ารับการเอ็กซ์เรย์ 8 ถึง 12 ชั่วโมง
    • ถ้าคุณอยู่ระหว่างการต้องใช้ยาและจำต้องอดอาหารก่อนเข้าเอ็กซ์เรย์ ให้จิบน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรับประทานยา [3]
  3. แต่งตัวให้รู้สึกสบายกายสำหรับการเข้าเอ็กซ์เรย์เพราะคุณอาจต้องถอดเสื้อผ้าก่อนการตรวจและ/หรือต้องนั่งรอเป็นระยะเวลานาน [4]
    • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อจะถอดได้ง่าย อย่างเช่นเชิ้ตติดกระดุมและกระทั่งบราที่มีสลักถอดด้านหน้าสำหรับคุณผู้หญิง
    • ถ้าต้องรับการเอ็กซ์เรย์หน้าอก เป็นเรื่องปกติที่คุณต้องถอดเสื้อส่วนบนออก ในกรณีนี้ คุณจะได้เสื้อคลุมยาวมาสวมระหว่างการเอ็กซ์เรย์
  4. ถอดบรรดาเครื่องประดับ กระจก และโลหะทั้งหลายออก. ทางที่ดีทิ้งเครื่องประดับไว้ที่บ้านเพราะยังไงก็ต้องมาถอดออกอยู่ดี ถ้าคุณสวมแว่น ก็อาจจะต้องถอดมันออกเช่นกัน
  5. เผื่อคุณอาจจำเป็นต้องกรอกเอกสารเพิ่มเติม จึงควรมาถึงก่อนเวลานัด และคุณอาจจะถูกขอให้ฉีดสารทึบรังสีก่อนเอ็กซ์เรย์
    • อย่าลืมนำเอกสารที่ได้รับการลงชื่อจากแพทย์ (ถ้าคุณมี) เวลานำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ แบบฟอร์มนี้จะบอกเขาว่าต้องเอ็กซ์เรย์ส่วนใดของร่างกายและต้องเอ็กซ์เรย์แบบไหน
    • อย่าลืมบัตรประกันชีวิตหรือบัตรประกันสังคมของคุณ
  6. ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับเอ็กซ์เรย์ช่องท้อง. คุณไม่สามารถออกมานอกห้องถ่ายรังสีหลังจากที่เริ่มกระบวนการแล้ว ให้จัดการตนเองจนสบายตัวก่อนเอ็กซ์เรย์หรืออย่าดื่มน้ำมากเกินไปในตอนเช้าก่อนเข้ารับเอ็กซ์เรย์
  7. เตรียมตัวที่จะดื่มน้ำสารทึบรังสี (ตามความเหมาะสม). การเอ็กซ์เรย์บางครั้งจำเป็นต้องให้คุณดื่มน้ำสารทึบรังสีเพื่อช่วยเน้นลักษณะสัณฐานบริเวณจำเพาะของร่างกายบนภาพเอ็กซ์เรย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของการเอ็กซ์เรย์ที่คุณอาจถูกร้องขอให้: [5]
    • ดื่มสารละลายแบเรียมหรือไอโอดีน
    • กลืนเม็ดยา
    • ฉีดสี
  8. พึงตระหนักว่าคุณต้องกลั้นลมหายใจสักไม่กี่วินาทีระหว่างเอ็กซ์เรย์. การกลั้นลมหายใจจะช่วยให้หัวใจและปอดปรากฎได้อย่างเด่นชัดขึ้นบนฟิล์มเอ็กซ์เรย์ คุณอาจจำต้องอยู่นิ่งๆ และ/หรือขยับท่วงท่า ขึ้นอยู่กับชนิดของการเอ็กซ์เรย์ [6]
    • เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์จะจัดท่าตำแหน่งร่างกายคุณระหว่างเครื่องฉายรังสีกับแผ่นฟิล์มที่ภาพจะไปปรากฎ
    • บางครั้งอาจใช้กระสอบทรายหรือหมอนมาพยุงให้คุณค้างอยู่ในท่าที่ต้องการด้วยก็ได้
    • คุณอาจได้รับการร้องขอให้ขยับร่างกายเพื่อถ่ายภาพทั้งด้านหน้าและด้านข้าง
  9. ระหว่างการฉายรังสีจะไม่มีความรู้สึกใดเกิดขึ้น. เอ็กซ์เรย์นั้นเป็นกระบวนการที่ไม่เกิดอาการเจ็บปวดในขณะที่ลำแสงเอ็กซ์เรย์ผ่านทะลุร่างกายของเราไปฉายภาพบนแผ่นฟิล์ม กระบวนการนี้จะใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีสำหรับการเอ็กซ์เรย์กระดูก แต่อาจใช้เวลานานขึ้นหากต้องพึ่งการใช้สารทึบแสงเข้าช่วย [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เข้าใจเอ็กซ์เรย์ประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าจะเกิดอะไรระหว่างการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก. การเอ็กซ์เรย์ทรวงอกนั้นเป็นกระบวนการเอ็กซ์เรย์ที่พบได้บ่อยที่สุดและใช้ในการถ่ายภาพหัวใจ ปอด ทางเดินหายใจ หลอดเลือด และกระดูกสันหลังกับซี่โครง มันถูกใช้ประกอบการวินิจฉัยปัญหาดังต่อไปนี้: [8]
    • ลมหายใจติดขัด ไอรุนแรงหรือไอเรื้อรัง และเกิดอาการปวดหน้าอกหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอกมา
    • มันยังใช้เพื่อวินิจฉัยหรือตรวจดูอาการอย่าง โรคปอดบวม หัวใจวาย หนองในช่องปอด มะเร็งปอด และน้ำท่วมปอดหรือถุงลมโป่งพอง
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไรล่วงหน้า แค่ทำตามขั้นตอนที่บอกไว้แล้วข้างบน
    • การเอ็กซ์เรย์ทรวงอกจะใช้เวลาราว 15 นาทีและมักต้องถ่ายภาพทรวงอกสองด้าน
  2. รู้ว่าจะเกิดอะไรระหว่างการเอ็กซ์เรย์กระดูก. การเอ็กซ์เรย์กระดูกจะใช้เพื่อถ่ายภาพกระดูกในร่างกายเพื่อตรวจหาการหัก ข้อต่อหลุด อาการบาดเจ็บ อาการติดเชื้อ และการโตหรือการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอย่างผิดปกติ [9] ถ้าคุณมีอาการปวดจากการบาดเจ็บ ให้บอกแพทย์เพื่อจ่ายยาแก้ปวดก่อนทำการเอ็กซ์เรย์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์อาจต้องขยับกระดูกและข้อต่อเพื่อถ่ายภาพ
    • การเอ็กซ์เรย์กระดูกนั้นยังใช้เพื่อตรวจหามะเร็งกระดูกหรือเนื้องอกอื่นๆ หรือใช้ระบุตำแหน่งของวัตถุแปลกปลอมในเนื้อเยื่ออ่อนรอบๆ และ/หรือในกระดูก
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์กระดูก ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไรล่วงหน้า แค่ทำตามขั้นตอนที่บอกไว้แล้วข้างบน
    • การเอ็กซ์เรย์กระดูกมักกินเวลาราวห้าถึงสิบนาทีก็เสร็จ เวลาที่มีการเอ็กซ์เรย์กระดูก อาจมีการถ่ายภาพแขนขาข้างที่ไม่เป็นอะไรด้วยเพื่อนำไปเปรียบเทียบ
  3. รู้ว่าคุณต้องรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal (GI) tract). การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบนจะใช้ประกอบการวินิจฉัยอาการบาดเจ็บหรือปัญหาภายในหลอดอาหาร ท้องและลำไส้เล็ก [10] แพทย์อาจสั่งให้ทำเอ็กซ์เรย์ KUB ซึ่งเป็นการเอ็กซ์เรย์ช่องท้องแบบธรรมดาด้วย
    • กระบวนการเอ็กซ์เรย์ประเภทนี้ต้องใช้การเอ็กซ์เรย์พิเศษที่เรียกว่า ฟลูออโรสโคปี (fluoroscopy) ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพอวัยวะภายในกำลังทำงานได้ [11]
    • เตรียมตัวรับสารทึบรังสีแบเรียมก่อนทำการเอ็กซ์เรย์
    • ในบางกรณี คุณอาจจำเป็นต้องรับผลึกผงฟูเพื่อทำให้ภาพเอ็กซ์เรย์มีความชัดยิ่งขึ้น
    • การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบนช่วยวินิจฉัยอาการอย่าง การกลืนอาหารลำบาก การปวดทรวงอกและช่องท้อง กรดไหลย้อน อาเจียนโดยหาคำอธิบายไม่ได้ อาหารไม่ย่อยขั้นรุนแรง และการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด [12]
    • มันยังใช้ตามหาร่องรอยสภาวะอย่าง แผลเปื่อย เนื้องอก ไส้เลื่อน ลำไส้อุดตัน และแผลอักเสบในช่องท้องได้ [13]
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบน คุณจำเป็นต้องอดอาหารเป็นเวลา แปดถึงสิบสองชั่วโมงการรับการเอ็กซ์เรย์
    • และพึงเตือนตัวเองให้ปัสสาวะก่อนทำการเอ็กซ์เรย์ถ้าเป็นไปได้
    • การเอ็กซ์เรย์ประเภทนี้ใช้เวลาราว 20 นาทีก็เสร็จ การฉายรังสีแบบนี้อาจทำให้คุณรู้สึกท้องเฟ้อและคุณอาจมีอาการท้องผูกหรืออุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาวจากสารทึบแสงเป็นเวลา 48 ถึง 72 ชั่วโมงหลังการเอ็กซ์เรย์ [14]
  4. รู้ว่าคุณต้องรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่าง. การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างจะเป็นการตรวจลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง และอาจเป็นบางส่วนของลำไส้เล็ก การเอ็กซ์เรย์ประเภทนี้ก็ใช้วิธีฟลูออโรสโคปีและสารทึบรังสีแบเรียมเช่นเดียวกัน
    • การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างจะใช้เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างเช่น ท้องร่วงเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเลือดออกหรือมีอาการปวดในช่องท้อง
    • แพทย์สามารถใช้การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างตรวจหาเนื้องอกชนิดไม่อันตราย มะเร็ง โรคที่ทำให้ลำไส้อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือลำไส้ใหญ่อุดตัน
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่าง คุณจำเป็นต้องอดอาหารหลังเที่ยงคืนและจะดื่มได้เฉพาะของเหลวใสอย่างน้ำผลไม้ น้ำชา กาแฟดำ โคล่า หรือน้ำซุป
    • คุณอาจจำเป็นต้องรับยาถ่ายเพื่อล้างลำไส้ใหญ่ในคืนก่อนหน้าทำการเอ็กซ์เรย์
    • และพึงเตือนตัวเองให้ปัสสาวะก่อนทำการเอ็กซ์เรย์ถ้าเป็นไปได้
    • การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างใช้เวลาราว 30-60 นาทีถึงจะเสร็จ คุณอาจรู้สึกมีแรงดันในช่องท้องหรือปวดท้องเล็กน้อย หลังการเอ็กซ์เรย์คุณอาจได้รับยาถ่ายเพื่อชำระสารทึบรังสีแบเรียมออกไปจากระบบย่อยอาหาร [15]
  5. การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อ (arthrography) เป็นการเอ็กซ์เรย์แบบพิเศษที่ใช้เพื่อวินิจฉัยสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อไขข้อ การถ่ายภาพแบบนี้มีอยู่สองประเภทด้วยกัน: ทางอ้อมกับทางตรง [16]
    • การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อทางอ้อมต้องใช้วัตถุที่มีความตัดตรงข้ามกันมาฉีดเข้าสู่กระแสเลือด
    • การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อทางตรงต้องใช้วัตถุที่มีความตัดตรงข้ามกันฉีดเข้าข้อโดยตรง
    • กระบวนการนี้ทำไปเพื่อตรวจหาอาการผิดปกติ อาการปวด หรืออาการติดขัดในบริเวณข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย
    • การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อ ยังอาจทำได้โดยใช้การสแกนภาพตัดขวางคอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT) scanning) หรือ การสร้างภาพจากการสั่นพ้องของคลื่นแม่เหล็ก (magnetic resonance imaging (MRI))
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์จากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อ ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไรล่วงหน้า แค่ทำตามขั้นตอนที่บอกไว้แล้วในส่วนแรก
    • ในบางกรณีคุณอาจจำเป็นต้องอดอาหาร แต่ก็เฉพาะถ้าคุณใช้ยากล่อมประสาท
    • การเอ็กซ์เรย์จากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อมักใช้เวลาราว 30 นาที คุณจะรู้สึกจั๊กจี้และอาจรู้สึกปวดแสบถ้าหากมีการใช้ยาชาเพื่อทำให้ข้อต่อบริเวณนั้นไร้ความรู้สึกชั่วขณะ
    • คุณยังอาจรู้สึกมีแรงดันหรือปวดตอนที่มีการฉีดสารทึบแสงเข้าไปตรงข้อต่อ [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์เพื่อคำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้างก่อน ระหว่างและหลังการเอ็กซ์เรย์
  • พูดคุยกับกุมารแพทย์ถึงวิธีที่จะช่วยลูกคุณถ้าเขาต้องรับการเอ็กซ์เรย์ เป็นไปได้ว่าคุณอาจสามารถเข้าไปอยู่ในห้องถ่ายเอ็กซ์เรย์ร่วมกับลูกได้


โฆษณา

คำเตือน

  • เตือนแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรืออาจจะตั้งครรภ์
  • การเข้าเอ็กซ์เรย์บ่อยๆ ถือว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่แพทย์ส่วนมากจะแนะนำให้รออย่างน้อย 6 เดือนและบางครั้งอาจถึงหนึ่งปีเนื่องจากการได้รับรังสี เว้นเสียแต่ว่าคุณจำต้องรับการฉายรังสีเร็วกว่านั้น (อย่างที่คุณอาจต้องรับการ CXR ซ้ำ 1-2 สัปดาห์หลังจากเป็นโรคปอดบวม หรือตรวจฟิล์มซ้ำในกรณีกระดูกหัก) ถ้าคุณรู้สึกกังวลถึงความเสี่ยงการถูกรังสี ให้แน่ใจว่าได้แจ้งแพทย์ก่อนทำการเอ็กซ์เรย์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,761 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา