ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณได้รับไฟเบอร์ (ไยอาหาร) ในอาหารเพียงพอหรือเปล่า คุณอาจแปลกใจถ้าได้รู้ว่าตัวเองต้องการไฟเบอร์มากแค่ไหนในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงจะต้องบริโภคไฟเบอร์ 25 กรัมต่อวัน ส่วนผู้ชายจะต้องบริโภคไฟเบอร์ราว 38 กรัมต่อวัน [1] การทานไฟเบอร์ให้ถึงเป้าหมายจะช่วยทำให้ทางเดินอาหารแข็งแรงดี ช่วยให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ดีและลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งบางประเภทได้ (เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก) โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน [2] อย่างไรก็ดี มันเป็นเรื่องท้าทายในการหาความหลากหลายของอาหารจนได้ไฟเบอร์ครบตามต้องการได้อย่างถูกต้อง ทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อช่วยให้ทำตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เลือกอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ธัญพืชเต็มเมล็ดเป็นกลุ่มอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอุดมด้วยไฟเบอร์ซึ่งจะช่วยทำให้ได้รับไฟเบอร์ตามที่ต้องการในแต่ละวันได้ ตั้งเป้าธัญพืชเต็มเมล็ด 100% ไว้ที่วันละ 3-5 หน่วยบริโภค [3]
    • ธัญพืชเต็มเมล็ดผ่านการแปรรูปมาน้อยที่สุดและยังมีส่วนประกอบธัญพืชอยู่ครบทั้ง 3 ส่วน: จมูกข้าว (germ), คัพภาหาร (endosperm) และรำข้าว (bran) รำข้าวเป็นส่วนที่มีไฟเบอร์อยู่สูงที่สุด [4]
    • ธัญพืชหนึ่งหน่วยบริโภคเท่ากับ 1 ออนซ์ ตั้งเป้าให้มีธัญพืชอยู่ในอาหารส่วนใหญ่ของคุณ
    • ตัวอย่างของอาหารธัญพืชเต็มเมล็ดได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว โอ๊ตมีล ข้าวฟ่าง และข้าวโพด [5]
  2. โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญ นอกเหนือจากแหล่งโปรตีนที่ได้จากสัตว์ (เช่น ไก่ นมหรือเนื้อ) แล้ว ยังมีอาหารอีกหลากหลายที่อุดมด้วยโปรตีนและยังมีไฟเบอร์สูงด้วยคือพวกถั่วตระกูลฝัก (legumes) พวกมันจะช่วยให้ได้รับไฟเบอร์ตามเป้าได้ ถั่วชนิดฝักนี้เป็นพืชที่มีไฟเบอร์ค่อนข้างสูง ได้แก่ เล็นทิล ถั่วรูปไตทั้งหลาย และถั่วลันเตา
    • ถั่วตระกูลฝักที่ระบุชนิดลงไปก็มีอาทิเช่น ถั่วดำ ถั่วลูกไก่ ถั่วสปลิต ถั่วขาวทหารเรือ ถั่วแระ ถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า ถั่วแดง และถั่วตาดำ
    • ถั่วตระกูลฝักเป็นตัวเสริมในอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนกับไฟเบอร์แล้ว มันยังมีโฟเลต โปตัสเซียม แมกนีเซียม และเหล็กอยู่สูงด้วย [6]
    • ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ไม่มีส่วนผสมของไฟเบอร์ [7]
  3. ผักผลไม้สามารถช่วยให้ทานไฟเบอร์ได้ถึงเป้า พยายามให้มีผักหรือผลไม้ในทุกมื้อหรือในของว่าง
  4. ทานเมล็ดพืช ถั่วเปลือกแข็ง และถั่วตระกูลฝักให้มากขึ้น. ก็เหมือนพวกถั่วรูปไต ถั่วเปลือกแข็งนั้นเป็นวิธีเสริมไฟเบอร์ให้ร่างกายที่อร่อยมาก ตั้งเป้าว่าจะทานถั่วเปลือกแข็งสองสามครั้งต่อสัปดาห์
  5. การทานไฟเบอร์ให้ถึง 25 หรือ 38 กรัมตามคำแนะนำนั้นเป็นความท้าทาย ถ้าคุณมีปัญหาที่จะทานให้ถึงตามปกติแล้ว คุณอาจต้องลองพิจารณาการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดู
    • มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไฟเบอร์วางขายแตกต่างกันหลายแบบ โดยทั่วไปแล้วพวกมันล้วนเป็นไฟเบอร์ฟังก์ชัน อันเป็นไฟเบอร์ชนิดที่สกัดมาจากพืชและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ [11]
    • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจมาในรูปแบบของแป้ง น้ำมัน แคปซูล หรือเม็ดยาที่เคี้ยวได้ นอกจากนั้น อาหารแปรรูปหลายชนิดมีการเสริมไฟเบอร์เข้าไป เช่น นมถั่วเหลืองหรือน้ำส้มเสริมไฟเบอร์ [12]
    • โปรดสังเกตว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคนจะแนะนำให้ทานไฟเบอร์มากเท่าที่จะทำได้จากแหล่งที่เป็นธรรมชาติ (เช่นธัญพืชเต็มเมล็ดหรือผัก) [13] โปรดตรวจกับหมอก่อนจะเพิ่มอาหารเสริมลงไปในการทานอาหาร
  6. น้ำไม่ได้มีไฟเบอร์แต่อย่างใด กระนั้น การที่ทานอาหารเพิ่มไฟเบอร์เข้าไปมันจำเป็นต้องดื่มน้ำในปริมาณที่ทัดเทียมกันด้วย การดื่มน้ำไม่เพียงพอเวลาเพิ่มไฟเบอร์จะทำให้ท้องผูก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เตรียมอาหารและของว่างที่อุดมด้วยไฟเบอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งเป้าว่าจะเติมไฟเบอร์วันละประมาณ 5 กรัมจนกว่าคุณจะได้ตามเป้า [16] การเติมไฟเบอร์มากเกินไปในเวลาอันรวดเร็วจะทำให้ท้องไส้เกิดเครียด เช่น อุจจาระขัด ท้องผูก ปวดท้องเวลาย่อย มีแก๊สในท้อง [17]
    • ทำการบันทึกว่าคุณทานไฟเบอร์ไปเท่าไรและต้องทานเพิ่มอีกแค่ไหนโดยการทำบันทึกอาหารหรือใช้แอพบันทึกอาหาร มันจะช่วยรวมปริมาณไฟเบอร์ที่ได้รับตลอดทั้งวัน
  2. การเพิ่มผักผลไม้เข้ามาในอาหารจะเพิ่มไฟเบอร์ แต่ถ้าคุณทานมันทั้งเปลือก คุณจะได้รับไฟเบอร์สูงสุดจากอาหารชนิดนั้นๆ
    • เช่น อย่าปอกเปลือกแอปเปิ้ล หรือเวลาจะทานมันฝรั่งในอาหาร พยายามไม่ปอกเปลือก (เช่นถ้าจะทำมันฝรั่งอบหรือมันบด)
    • การทานผลไม้ทั้งเมล็ดเป็นอีกวิธีที่เพิ่มไฟเบอร์ เบอร์รี่เป็นหนึ่งในพืชที่มีไฟเบอร์สูงด้วยความที่เราได้บริโภคเมล็ดเล็กๆ เวลาทานมันทั้งลูก
  3. ทานผลิตภัณฑ์ธัญพืชเต็มเมล็ดแทนธัญพืชที่ผ่านการขัดสีแปรรูป. ธัญพืชเต็มเมล็ดให้ไฟเบอร์สูงกว่า ค่อยๆ เปลี่ยนธัญพืชที่ผ่านการขัดสีมาเป็นธัญพืชเต็มเมล็ด 100%
    • ลองพาสต้าธัญพืชเต็มเมล็ด 100% หรือพาสต้าที่ทำจากข้าวกล้องหรือควินัว ถ้าคุณไม่ชอบรสชาติ ให้ผสมกับเส้นพาสต้าปกติ
    • ทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว อีกทางเลือกก็ลองข้าวบาร์เลย์ ควินัวหรือข้าวฟ่าง
    • แทนที่จะใช้ขนมปังขาว ให้ใช้ขนมปังธัญพืช 100% แทน ถ้าชอบทานขนมปังปิ้งทุกเช้า ให้ใช้ขนมปังธัญพืชเต็มเมล็ดแทน อีกทางเลือกก็ใช้ขนมปังหรือมัฟฟิ่นยี่ห้อที่มีไฟเบอร์มากกว่า 5 กรัมขึ้นไปต่อขนมปังหนึ่งแผ่น
    • ตรวจให้แน่ใจว่าอาหารแปรรูปอย่างขนมปังกับพาสต้านั้นเป็นธัญพืช 100% เต็มโดยการอ่านที่ฉลากกำกับอาหาร ส่วนผสมแรกควรเป็นแป้งธัญพืชเต็มเมล็ด 100% ในฉลากไม่ควรมีแป้งชนิดที่ขัดสีหรือเสริมอะไรอีก
  4. ทานซีเรียลธัญพืชหรือชนิดที่มีไฟเบอร์สูงเป็นอาหารเช้า. ถ้าคุณสามารถทำให้มื้อเช้าอุดมไปด้วยไฟเบอร์ได้ มันจะทำให้คุณถึงเป้าหมายการได้รับไฟเบอร์ในแต่ละวันได้ง่าย ถ้าไม่ชอบรสชาติอะไรแบบนี้ก็ไม่ต้องห่วง คุณสามารถผสมซีเรียลรำข้าวครึ่งถ้วยลงในซีเรียลแบบที่ชอบได้
    • ทานซีเรียลที่มีไฟเบอร์ 5 กรัมขึ้นไปต่อหนึ่งหน่วยบริโภค [18] อ่านฉลากกำกับอาหารเพื่อดูว่ามีไฟเบอร์เท่าใดในหนึ่งหน่วยบริโภค (หรือคุณจะทานกี่หน่วยบริโภค)
    • ซีเรียลอย่างโอ๊ตมีลหรือแบบรำข้าวเป็นทางเลือกที่ดีในการเริ่มต้น
    • ใช้ข้าวโอ๊ตเต็มเม็ดแบบดั้งเดิมแทนที่ข้าวโอ๊ตสำเร็จรูปที่ทำเพื่อไมโครเวฟ จะทำให้ได้ไฟเบอร์เพิ่มขึ้นอีก 2-4 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค [19]
    • ถ้าคุณมีซีเรียลรสโปรดที่ไม่อยากเลิกทานมันไป ให้เติมรำข้าวสาลีชนิดไม่ผ่านการแปรรูปสักสองสามช้อนโต๊ะหรือผสมกับซีเรียลชนิดที่มีไฟเบอร์สูงก็ได้
    • ให้แน่ใจว่าอาหารเช้าของคุณยังประกอบด้วยโปรตีนเพื่อความมั่นใจว่าค่าคาร์บที่สูงในอาหารที่เปี่ยมไฟเบอร์นี้ไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงหรือตกลงและทำให้เกิดอาการโหยอาหารในระหว่างวัน
  5. ลองปรับเปลี่ยนสูตรอาหารหรืออาหารที่ทานให้มีธัญพืชเต็มเมล็ดหรืออาหารที่มีไฟเบอร์สูงเข้ามาผสมมากขึ้น
    • ทำมัฟฟิ่นที่ผสมซีเรียลรำข้าวบดหรือรำข้าวสาลีที่ไม่ผ่านการแปรรูปเข้าไปด้วย
    • เติมผลไม้เช่น เบอร์รี่ ลูกเกด หรือกล้วยลงไปในซีเรียลหรือโยเกิร์ตเพื่อเพิ่มไฟเบอร์อีก 1-2 กรัม
    • ใช้แป้งข้าวโอ๊ต แฟล็กซ์ หรือแป้งสาลีเต็มเมล็ดแทนแป้งขนมปังขาวในการทำอาหารแบบอบเพื่อเพิ่มไฟเบอร์อีก 1-2 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
    • ถ้าคุณทำแพนเค้กหรือวาฟเฟิลเองทั้งหมด ให้ใช้รำข้าวสาลีลงไปผสมหนึ่งส่วนสามของแป้งอเนกประสงค์ทั้งหมด
    • เติมซีเรียลรำข้าวบดหรือรำข้าวสาลีที่ไม่ผ่านการแปรรูปในแคสเซอโรล สลัด ผักปรุงสุก และอาหารอบ (มีทโลฟ ขนมปัง มัฟฟิ่น แคสเซอโรล เค้ก คุกกี้)
    • เติมถั่วกับเล็นทิลลงไปในสลัด ซุป หรือสตู เพื่อเพิ่มไฟเบอร์
  6. การทานของว่างที่มีไฟเบอร์สูงจะช่วยทำให้ได้รับไฟเบอร์ได้ตามเป้า
    • ของว่างที่มีไฟเบอร์สูงได้แก่ แครอท ฮุมมุส ถั่วแระ ลูกเกด และถั่วเปลือกแข็ง หรือป๊อปคอร์น
    • คุณสามารถลองอาหารบรรจุเสร็จที่มีไฟเบอร์สูงได้เช่นกัน กราโนล่าแท่งกับซีเรียลแห้งเป็นของว่างไฟเบอร์สูงที่เหมาะมาก
  7. อาหารจากหลากหลายประเทศที่เน้นธัญพืชเต็มเมล็ดและถั่วตระกูลฝัก ซึ่งทั้งคู่ล้วนมีไฟเบอร์สูง อาหารอินเดีย เลบานอน หรือเม็กซิโกมีถั่ว ถั่วตระกูลฝักและข้าวผสมอยู่
    • ลองหาสูตรอาหารตามอินเทอร์เน็ตหรือซื้อตำราอาหารมาไว้ที่บ้าน
    • เวลาทำอาหารสูตรสากล ให้เลือกธัญพืชเต็มเมล็ดเสมอ สูตรอาจบอกให้ใช้ข้าวขาว แต่ให้ใช้ข้าวกล้องแทน
  8. วิธีเพิ่มไฟเบอร์ที่เร็วและดีคือเติมผักแช่แข็งลงในซุป วิธีนี้ไม่เพิ่มแคลอรี่มากแถมเพิ่มปริมาณและยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย
    • ใส่บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก แครอท หรือถั่วลันเตาแช่แข็งลงไปสักไม่กี่นาทีก่อนซุปจะปรุงเสร็จ แล้วคุณจะได้รับสารอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำในเวลาชั่วไม่กี่นาที
  9. อีกวิธีเพิ่มไฟเบอร์คือเริ่มเติมเมล็ดแฟล็กซ์ลงในโยเกิร์ตหรือซีเรียลในมื้อเช้า เมล็ดแฟล็กซ์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ทั้งยังมีกรดไขมันสำคัญที่ดีต่อสุขภาพด้วย
    • เมล็ดแฟล็กซ์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเช่นกัน คุณจึงไม่รู้สึกเพลียขาดพลังงานหลังจากทานไปไม่นาน
    • เติมเมล็ดแฟล็กซ์ลงในสมูทตี้เพื่อเพิ่มไฟเบอร์
  10. โดยเฉพาะแบล็คเบอร์รี่ที่มีไฟเบอร์สูง ฉะนั้นถ้าคุณเติมมันสักครึ่งถ้วยลงไปในผงโปรตีน นมพร่องมันเนย โยเกิร์ตและน้ำแข็งสักสองสามก้อน คุณจะได้เครื่องดื่มเชคเข้มข้นที่แน่นด้วยสารอาหารในเวลาไม่กี่นาทีซึ่งมีทั้งโปรตีนกับไฟเบอร์สูง
    • ผลเบอร์รี่ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งดีต่อสุขภาพโดยรวม
    • เติมเมล็ดเจียเพื่อเพิ่มไฟเบอร์กับกรดไขมันโอเมก้า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตั้งเป้าที่จะมีอาหารไฟเบอร์สูงในอาหารหรืออาหารว่างทุกมื้อ นี่จะช่วยให้มั่นใจว่าได้ทานไฟเบอร์อย่างต่อเนื่องตลอดวันไม่ใช่ในคราวเดียว
  • ไฟเบอร์มีสองชนิดแตกต่างกัน: ชนิดละลายได้ หมายถึงมันจะละลายในน้ำและดูดซึม กับชนิดไม่ละลายซึ่งจะไม่ละลายในน้ำ คุณต้องการไฟเบอร์ผสมกันทั้งสองชนิด เพราะมันจะช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้นทั้งคู่ในแบบที่ต่างกันไป รำข้าวสาลีเป็นตัวอย่างของไฟเบอร์ชนิดไม่ละลาย และถั่วรูปไตเป็นตัวอย่างของชนิดละลายได้ ฉลากกำกับอาหารบางยี่ห้อจะระบุไว้ชัดเจนด้วยว่าไฟเบอร์ในนั้นเป็นชนิดละลายหรือไม่ละลายน้ำ [20]
  • ตั้งเป้าที่จะบริโภคให้ถึงตามปริมาณน้อยที่สุดที่ได้รับการแนะนำไว้ อย่างไรก็ดี อย่าพยายามทานจนมากเกินไป ไฟเบอร์ที่มากเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพคุณ ไฟเบอร์ที่มีมากเกินจะไปสกัดการดูดซึมธาตุเหล็ก สังกะสี แคลเซียม และแมกนีเซียม [21]
โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาหมอก่อนเปลี่ยนแปลงอาหารหรือก่อนจะคิดใช้อาหารเสริม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,449 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา