PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คนส่วนมากจะไม่พอใจในชีวิตของตนเอง หรือชอบตัวเองในบางเรื่อง ซึ่งถ้ารู้สึกอยากเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่เริ่มเลย ก็ถือว่าโชคดีแล้ว เพราะสามารถเปลี่ยนได้ และแม้การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ จะดูน่ากลัว แต่มันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าตั้งใจที่จะตั้งเป้าหมายและไปให้ถึง โดยการเปลี่ยนสิ่งที่ทำก็สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนมุมมองต่อตัวเองได้ในที่สุด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เข้าถึงความต้องการ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนแล้ว แต่จะทำอย่างไร และทำไม โดยการแยกแยะปัญหา หรือมุมมองต่อตัวเองอย่างชัดเจน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ แล้วจะเกิดผลตามมา คือ
    • มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะเริ่มคิดในแง่บวก โดยจดสิ่งที่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง แต่ถ้ายากเกินไป ก็เขียนตามที่คนอื่นเคยบอกมา เพราะการรู้ข้อดีของตัวเอง จะทำให้ง่ายต่อการคิด เมื่อต้องการตัดนิสัยบางอย่างออก
    • กำหนดสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน โดยที่มันเป็นสิ่งที่ตัวเองต้องการจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นบอกว่าควร แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนจริงๆ มันก็จะไม่เกิดขึ้นหรอก
    • ขั้นต่อไป ให้ทำรายการเหตุผลว่าทำไมถึงอยากเปลี่ยน โดยการมองแรงผลักดันทั้งหมดที่เขียนลงตรงหน้า และพูดถึงมันทีหลัง จะช่วยให้ทำตามเส้นทางที่ถูกได้
  2. การปฏิญาณตนหรือการบอกตัวเองเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับตัวเองในแง่บวก ตั้งค่านิยมของตัวเองและพุ่งความสนใจไปยังคนที่อยากเป็น โดยการพูดกับตัวเองแบบเกินจริง (เช่น “ฉันยอมรับตัวเองได้ทุกเรื่อง”) อาจจะไม่ได้ผล เพราะอาจจะขัดแย้งกับตัวเองมากเกินไป [1] แต่คำพูดแง่บวกที่ดูสมจริง เช่น “ฉันเป็นคนที่มีค่าและขยัน” อาจจะช่วยให้มองโลกในแง่บวก หรือแม้กระทั่งกลายเป็นคนที่แก้ปัญหาได้ดีขึ้น [2] ซึ่งการปฏิญาณตนที่ได้ผล ให้ทำตามนี้ :
    • ใช้ประโยค “ฉันเป็น”
      • เช่น “ฉันเป็นคนดี” “ฉันเป็นคนขยัน” “ฉันเป็นคนสร้างสรรค์”
    • ใช้ประโยค “ฉันสามารถ”
      • เช่น “ฉันสามารถทำตามศักยภาพขั้นสูงสุดของตัวเองได้” “ฉันสามารถเป็นคนที่ต้องการได้” “ฉันสามารถทำตามเป้าหมายได้”
    • ใช้ประโยค “ฉันจะ”
      • เช่น “ฉันจะเป็นคนที่ต้องการ” “ฉันจะเอาชนะอุปสรรค” “ฉันจะพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถปรับปรุงชีวิตตัวเองได้”
  3. มโนทัศน์เป็นการฝึกฝนจิตใจที่ช่วยให้สามารถจินตนาการถึงสถานการณ์ที่แตกต่างได้ โดยอาจจะมีภาพที่ขัดแย้งกัน (ในความคิด) หรือภาพที่มีตัวตนขึ้น เช่น ภาพที่บอกว่ากำลังไปถึงจุดหมาย [3] ซึ่งภาพที่มีผลจะช่วยให้ตัดสินใจอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่าเป้าหมายคืออะไร และช่วยให้อยากไปถึงมันได้ นอกจากนี้ มโนทัศน์ยังช่วยให้มีสติในการควบคุมสถานการณ์หรือชีวิตดีขึ้น [4] โดยการจะวาดภาพความเปลี่ยนแปลงในอนาคตทำได้ ดังนี้ :
    • ปิดตา
    • วาดภาพอนาคตในอุดมคติ ว่าอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร มีสถานการณ์ที่แตกต่างไปอย่างไร ตัวเองดูเป็นยังไง มีอะไรที่เฉพาะเจาะจงในชีวิตที่เปลี่ยนไปที่ทำให้รู้สึกมีความสุข
    • ยอมให้ตัวเองวาดภาพและมองเข้าไปในรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตในอุดมคติ ว่ามันหน้าตาเป็นยังไง สร้างมอง เสียง กิน และรสชาติขึ้นมา เพราะรายละเอียดที่เป็นรูปธรรมจะทำให้ภาพที่สร้างสมจริงขึ้น
    • ใช้ภาพในแง่บวกเหล่านี้เพื่อจะช่วยให้ตั้งเป้าหมายได้ว่า จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร
  4. [5] เพราะเราไม่สามารถคาดถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้นได้ทั้งหมด โดยเส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงนี้จะถูกทำลายด้วยอุปสรรค และคนที่พยายามจะทำให้เราจมลง รวมทั้งการรู้ว่าหลุมพรางบนถนนนั้นเป็นความล้มเหลวเล็กน้อยเท่านั้น และสามารถเอาชนะได้ จะเป็นสิ่งสำคัญไปสู่ความสำเร็จ
    • การอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหาที่น่าหวาดหวั่นต่างๆ และห้ามตำหนิตัวเอง หรือคนอื่นที่ทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมาย เพราะความล้มเหลวทั้งหลายนั้นเป็นเรื่องปกติ และเกิดขึ้นเสมอ
  5. [6] โดยอาจมีประสบการณ์ที่รู้สึกถึงความผิดพลาด ที่ซึ่งไปไม่ถึงเป้าหมายหรือเหตุการณ์สำคัญ ทางที่เดินไปไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ หรือจบลงที่เปลี่ยนเป้าหมายจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ให้จำไว้ว่า ความล้มเหลวไม่ใช่ความผิดพลาด แต่มันเป็นโอกาส ซึ่งสามารถเรียนรู้บทเรียนที่มีค่าได้จากก้าวที่ผิดพลาดนี้ และอาจจะเรียนรู้ถึงความยืดหยุ่นเล็กน้อย เกี่ยวกับเป้าหมายในระยะยาว ที่จะทำให้มีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น [7]
  6. มันไม่มีค่าหรอก ถ้าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดได้ในข้ามคืน แม้อาจจะไม่เห็นผลทันทีที่วางแผนไว้ เพราะในบางครั้งมันก็ยาก ที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ในตัวเองเร็วหรือง่าย เท่ากับที่คนอื่นทำได้ แต่เราเปลี่ยนทุกวันอย่างละเล็กละน้อย และอาจจะยากที่จะสังเกตหรือมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง แต่มันเกิดขึ้นจริงๆ
    • ตั้งเป้าหมายหรือเหตุการณ์สำคัญเล็กๆ ในเป้าหมายใหญ่ๆ จะช่วยให้ประเมินได้ว่ามาถูกทางหรือยัง และการให้รางวัลตัวเองในการไปถึงเป้าหมาย จะช่วยให้มีแรงผลักดันที่จะทำต่อไปได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยการตั้งเป้าหมายนั้นเป็นศิลปะเล็กน้อยอย่างหนึ่ง และถ้าตั้งได้ดีก็จะช่วยให้มั่นใจในสิ่งที่ทำ และทำสำเร็จในที่สุด ซึ่งมันมีอักษรย่อที่สามารถใช้เพื่อไปสู่เป้าหมายที่มีประสิทธิภาพได้ และควรตรวจว่าเป้าหมายมีความ SMART แล้วหรือยัง โดยแบ่งออกเป็น : [8] [9]
    • Specific เฉพาะเจาะจง หรือ significant สำคัญ
    • Measurable พอประมาณ หรือ meaningful มีความหมาย
    • Achievable ทำสำเร็จได้ หรือ action-oriented เน้นการปฏิบัติ
    • Relevant สัมพันธ์กัน หรือ result-oriented เน้นผลลัพธ์
    • Time-bound มีกำหนดเวลาชัดเจน หรือ track able ติดตามผลได้
  2. [10] ซึ่งหมายถึงเป้าหมายจะแคบลงและมีรายละเอียดมากขึ้น เพราะการมีเป้าหมายที่กว้างเกินไป จะทำให้ยากที่จะวางแผนว่าจะทำอะไรเพื่อบรรลุผลได้ ดังนั้นต้องเจาะจงในแผนการที่จะพาไปสู่ความสำเร็จ
    • เช่น คำว่า “ประสบความสำเร็จ” มันกำกวมเกินไป เพราะความสำเร็จอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เฉพาะเจาะจงนัก และอาจจะนิยามได้แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล
    • เป้าหมายที่เจาะจงมากขึ้นอาจเป็น “จบปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยของรัฐ” ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากกว่ามาก
  3. [11] โดยควรบอกว่าเป้าหมายจะสำเร็จเมื่อไหร่ได้ ถ้าบอกไม่ได้ว่าจะไปถึง “ที่นั่น” หรือไม่ ก็หมายความว่าเป้าหมายนั้นมันมากเกินไป
    • เช่น “ประสบความสำเร็จ” นั้นถือว่าเกินตัว เพราะไม่รู้แน่ว่า เมื่อไหร่ที่ “ประสบความสำเร็จแล้ว” และความคิดต่อสิ่งที่ต้องการอาจเปลี่ยนไปทุกวัน (หรือแม้กระทั่งทุกชั่วโมง)
    • แต่ในทางกลับกัน “จบปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยของรัฐ” ถือว่าไม่เกินตัว ซึ่งจะรู้ได้เมื่อไปถึงเป้าหมายแล้ว เมื่อรับปริญญา หรือเมื่อได้ใบปริญญาทางกล่องจดหมาย
  4. [12] โดยเป้าหมายที่จะสำเร็จอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลาย ซึ่งบางอย่างอาจจะควบคุมไม่ได้ และวิธีหนึ่งที่จะรู้ได้ ก็คือ การถามตัวเองว่ามีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จะไปสู่เป้าหมายได้ [13] รวมทั้งอาจจะต้องประเมินว่าเป้าหมายนั้นเป็นไปได้ไหมด้วย
    • เช่น เป้าหมายที่อาจจะไม่สามารถสำเร็จได้ ก็คือ การกลายเป็นคนที่ฉลาดที่สุด รวยที่สุด หรือมีอำนาจที่สุดในโลก
    • ส่วนเป้าหมายที่เข้าถึงได้มากกว่าก็คือ การได้ปริญญาจากวิทยาลัย และสำหรับบางคนก็คือ การสอบเทียบ (GED) หรือการได้ประกาศนียบัตร HSED (high school equivalency diploma)
  5. [14] นี่คือความสำคัญของแต่ละส่วนของเป้าหมายระยะสั้น ที่จะมีผลต่อความก้าวหน้าของเป้าหมายระยะยาว โดยเป้าหมายควรจะมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อที่มันจะเข้ากับภาพที่ใหญ่ขึ้นของชีวิตตัวเอง แต่จะประสบความสำเร็จได้น้อย ถ้าเป้าหมายนั้นทำให้ชีวิตที่เหลืออยู่ยุ่งเหยิง
    • เช่น การตั้งเป้าหมายว่า “จบปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยของรัฐ” จะเกี่ยวข้องกับชีวิต ถ้าอยากเป็นนักสังคมสงเคราะห์ (หรือหาอาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง) เท่านั้น แต่ถ้าเป้าหมาย คือ การเป็นนักบิน วุฒิสังคมสงเคราะห์ดูจะช่วยให้ไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่าได้น้อย
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Shannon O'Brien, MA, EdM

    โค้ชชีวิตและอาชีพ
    แชนนอน โอเบรียนเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Whole U. (บริษัทให้คำปรึกษาด้านอาชีพและกลยุทธของชีวิตในบอสตัน) Whole U. ช่วยเสริมผู้คนให้มองหาความสมดุลระหว่างการงานกับชีวิตที่มีเป้าหมายผ่านทางการให้คำปรึกษา เวิร์คช็อปและการสอนออนไลน์ แชนนอนได้รับการจัดอันดับเป็นโค้ชอาชีพกับโค้ชชีวิตอันดับ 1 ในบอสตันจากสมาชิก Yelp งานถูกกล่าวถึงใน Boston.com, Boldfacers, และ UR Business Network เธอได้รับปริญญาโทด้านเทคโนโลยีและการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
    Shannon O'Brien, MA, EdM
    โค้ชชีวิตและอาชีพ

    ความผิดพลาดที่พบเห็นประจำเวลากำหนดเป้าหมายก็คือการเลือกสิ่งที่ผิด ผู้คนมักเลือกเป้าหมายชีวิตหรือหน้าที่การงานซึ่งไม่ใช่เป้าหมาย ที่แท้จริง ของพวกเขา การตั้งเป้าหมายคือสิ่งที่ควรทำ แต่หากคุณตั้งเป้าหมายเพื่อคนอื่นหรือเพื่อทำให้คนอื่นประทับใจ คุณก็ยากจะประสบคความสำเร็จหรือมีความสุข ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อตัวเองและเป็นเป้าหมายที่มาถูกที่ถูกเวลา

  6. [15] เพราะเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพควรจะมีเวลากำหนดชัดเจน ไม่อย่างนั้นก็จะสามารถทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้นได้ตลอดเวลา และไปไม่ถึงซักที
    • เช่น “จบปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ภายใน 5 ปี” นั้นมีเวลาที่กำหนดชัดเจน แม้ว่าการประเมินเวลาที่เป้าหมายนั้นใช้จะสำคัญ แต่ก็ต้องมีการจำกัดเวลา เพื่อผลักดันให้ไปสู่เป้าหมาย มากกว่าการมองว่ามันเป็นภาพที่จะเกิดขึ้น “ซักวัน” แบบเลือนราง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ทำตามเป้าหมาย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพูดว่าจะเริ่ม “พรุ่งนี้” ก็จะไม่เคยเริ่มทำเลยเหมือนเดิม แล้วพรุ่งนี้ก็คือวันถัดไปที่จะไม่มาถึงซักที โดยการจะเปลี่ยน ต้องไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่ได้อะไรเลยจากการเลื่อนไปเรื่อยๆ
  2. [16] เมื่อมีเป้าหมายหลักในใจแล้ว ก็ย่อยมันให้เล็กลง คือ เป้าหมายที่เป็น “เหตุการณ์สำคัญ” (บางคนเรียกว่าแผนการย่อย) ซึ่งจะทำให้เป้าหมายใหญ่ๆ ย่อยเล็กลงได้ และทำให้มีโอกาสในการฉลองที่ไปถึงเป้าหมายได้ตลอดทาง
    • ถ้าพบว่าตัวเองลังเลที่จะเดินหน้าเริ่มไปสู่เป้าหมาย เพราะเป้าหมายที่มีมันมากเกินไป ก็ต้องลองลืมมัน แล้วให้ความสนใจกับเป้าหมายของเหตุการณ์สำคัญๆ ตอนแรก
    • เช่น ถ้าอยากลดน้ำหนัก 45 ปอนด์ ภายใน 2 ปี ก็ไม่ต้องกังวลกับตัวเลขสุดท้ายที่ 45 แต่แค่เริ่มด้วยเป้าหมายแรก ซึ่งอาจจะเป็นการลด 5 ปอนด์ ก่อน
    • ลองทำปฏิทินนับถอยหลัง. [17] เพราะถ้าเริ่มต้นด้วยการจำกัดเวลาที่ชัดเจนในเป้าหมาย ก็จะสามารถนับถอยหลังไปได้ทันเวลา โดยการตั้ง “เหตุการณ์สำคัญ” หรือเป้าหมายที่สั้นลงเพื่อบรรลุเป้าหมายจนมันกลายเป็นจริง ซึ่งอาจจะต้องทบทวนปฏิทินบ่อยๆ เพื่อทำทุกสิ่งในเวลาที่มี (หรืออาจจะต้องประเมินเวลาการสิ้นสุดเป้าหมายใหม่)
    • ปฏิทินนับถอยหลังจะช่วยให้มีจุดเริ่มต้นที่เฉพาะเจาะจง และสามารถช่วยให้เริ่มขั้นแรกได้ ซึ่งมันมักเป็นสิ่งที่ยากที่สุด
  3. การรู้จักความก้าวหน้าด้วยอารมณ์แง่บวกและการปฏิบัติจากภายนอก จะช่วยให้ทำต่อไปได้ในระยะยาว โดยการชูกำหมัดขึ้นมา ดูทีวีได้เพิ่ม 30 นาที หรือ เลี้ยงอาหารเย็นตัวเองแพงๆ
    • พยายามอย่าให้รางวัลที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ทำ เช่น ถ้าตั้งเป้าที่จะลดน้ำหนัก ก็ให้รางวัลตัวเองด้วยเสื้อผ้าใหม่หรือการเดินทางเล็กๆ ไม่ใช่ไอศกรีม
  4. [18] โดยในขณะที่กำลังไปสู่เป้าหมาย ก็จะเกิดอารมณ์ที่หลากหลายมาก ซึ่งมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และถ้าพบว่าตัวเองมีอารมณ์ที่เกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมาย หรือการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ก็ลองใช้มันให้เป็นประโยชน์ดูด้วยการ : [19]
    • เมื่อไปถึงเหตุการณ์สำคัญ หรือเป้าหมาย “ย่อยๆ” ก็ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกสนุก แล้วใช้มันเป็นแรงจูงใจไปสู่เป้าหมายถัดไป
    • ถ้าเจอความยากลำบากหรืออุปสรรค ก็ปล่อยให้ความไม่พอใจนั้นเป็นตัวทำให้ความตั้งใจในเป้าหมายกลับมาอีกครั้ง
    • ถ้าใกล้เป้าหมายแล้ว แต่มีบางอย่างมาเบี่ยงเบนความสนใจ ก็ให้ใช้ความโกรธมาสร้างพลังความมุ่งมั่น เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคไปถึงจุดหมายให้ได้
  5. คนส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกับสิ่งที่ทำในชีวิตประจำวัน ซึ่งถ้าต้องการสร้างโอกาสก็ต้องทำให้ตัวเองไม่สบาย แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะความรู้สึกไม่สบายเหล่านี้จะช่วยให้โตขึ้นและพบเจอกับสิ่งต่างๆ นอกเหนือจากประสบการณ์ที่มี [20]
    • ซึ่งทำให้เป้าหมาย “ย่อยๆ” หรือที่เล็กลงมีประโยชน์ได้ โดยถ้าคิดจะก้าวจากสถานะที่เป็นอยู่ไปยังจุดหมาย มันอาจจะใหญ่ไป และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าหวาดหวั่น แต่หากคิดเป็นตรงที่อยู่ตอนนี้ไปยังเป้าหมาย “เหตุการณ์สำคัญ” แรกก่อน มันก็จะน่ากลัวน้อยลง
    • เช่น ลองคิดว่างานออฟฟิศที่ทำมันไม่มีความสุข แล้วตั้งเป้าหมายว่า “จะกลายเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานอยู่ในห้องฉุกเฉิน ในเวลา 3 ปี” การจะก้าวกระโดดไปตรงนั้นเลยมันก็ฟังดูน่ากลัว แต่การทำเพื่อไปถึงก้าวแรก หรือการสมัครเรียนพยาบาลก็จะเป็นการก้าวจากพื้นที่สายออกมาบ้าง
    • ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยเมื่อก้าวขึ้นไปอีกขั้นใหม่ หรือเป้าหมายอีกระดับหนึ่ง และเติบโตขึ้นจากความรู้สึกนั้น ซึ่งเมื่อได้รับประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ และเข้าใกล้เป้าหมาย ก็จะรู้สึกแปลกใจในตัวเองและรับรู้ถึงอารมณ์ในแง่บวกได้
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ดูความก้าวหน้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว ก็จะเจอกับความตกต่ำที่ทำให้เดินต่อไปยาก ดังนั้นต้องมีสติและจัดการกับมันได้อย่างสอดคล้อง
    • ทำตัวให้มีความรับผิดชอบ โดยการแสดงผลความก้าวหน้าต่อสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อน หรือเข้าร่วมกลุ่มออนไลน์
    • อย่าทำมากเกินไปในวันเดียว เพราะวันแรกอาจจะอยากวิ่ง 10 ไมล์ (16 กิโลเมตร) แต่ในวันถัดไปอาจจะเหนื่อยเกินไปที่จะขยับ ดังนั้นเป้าหมาย
    • สังเกตการณ์ความคิดของตัวเอง ถ้ามันไม่ดี ก็ให้หยุดซะ เอาความคิดแง่ลบออกไปแล้วเอาความคิดแง่บวกเข้ามาแทน หยุดความคิดนั้นไว้เลย
    • หาคนที่มีความคิดเหมือนกัน เพราะกลุ่มคนที่มีการเกื้อหนุนกัน จะทำให้ความพยายามทุกอย่างง่ายขึ้นอย่างมาก
  2. การจดบันทึกพฤติกรรมหรือมองหารูปแบบ จะช่วยให้เข้าถึงวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเข้าถึงเป้าหมาย
    • ถ้าพบว่าตัวเองกำลังพ่ายแพ้ให้กับนิสัยเดิมๆ ให้จดว่า เมื่อไหร่ อย่างไร และทำไม แล้ววิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะหิว เหนื่อย หรือท้อแท้จากงานในวันนั้น
    • จดความก้าวหน้า โดยถ้ามีวันที่ดี ให้จดมันลงไป เพราะการก้าวหน้ากว่าที่เคยจะเป็นแรงผลักดันให้ทำต่อไปได้
  3. ถ้ามีสุขภาพดี ทุกสิ่งก็สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น การมีสุขภาพดี นอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตทั้งหมดแล้ว มันยังทำให้รักษาทัศนคติด้านบวกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
    • การกินที่ดี การพักผ่อนยามดึกที่ดี และการทำตัวให้กระฉับกระเฉงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของวันที่ดี โดยการตั้งเป้าหมายที่น่า และยากที่จะสำเร็จนั้นยากพอแล้ว แต่ก็ต้องให้โอกาสตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นต้องดูแลรักษาร่างกายและจิตใจก่อนจะจัดการสู้กับปัญหาที่ใหญ่กว่าอย่างอื่น
    • ถ้ารู้สึกไม่ดีหลายๆ วันต้องระบุปัญหาที่ใหญ่ๆ ก่อน โดยการเล่นกลลวงจิต คิดในแง่บวก และตั้งเป้าหมายก็จะทำให้จัดการกับสุขภาพและความสุขได้
  4. โดยอาจจะอยากเปลี่ยนความต้องการ เพราะความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น ดังนั้นให้จดความก้าวหน้าและทำให้มันง่ายขึ้นหรือยากขึ้นเพื่อความเหมาะสมกับความสามารถ
    • ถ้าก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด ก็เยี่ยมไปเลย จากนั้นก็ท้าทายตัวเองและตั้งเป้าหมายใหม่ให้ยากขึ้น
    • อย่ารู้สึกผิดที่ไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ตอนแรก แต่ให้ลองดูใหม่และตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริง และสิ่งสุดท้ายที่ต้องการ ก็คือ การหมดกำลังใจและการเลิกล้ม
  5. เมื่อได้ตามผลที่ต้องการ ก็อย่าเพิ่งเลิก เพราะการทำเป็นนิสัยต้องใช้เวลา ดังนั้นต้องให้เวลาตัวเองคุ้นเคยกับกิจวัตรแบบใหม่ก่อน
    • นี่ควรเป็นการเปลี่ยนแบบตลอดชีวิต โดยที่ตอนเริ่มมันอาจต้องใช้ความพยายามการตั้งสติที่จะออกห่างจากคาร์โบไฮเดรต เริ่มบทสนทนา เก็บเงิน แต่เมื่อทำได้มันจะฝังลึกเข้าไปอยู่ในสมองอย่างอัตโนมัติ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ยิ้ม มันจะเป็นตัวหมุนวันที่สดใสอย่างอัตโนมัติเลย
  • การเปลี่ยนเพื่อคนอื่นจะไม่จบลงด้วยผลลัพธ์ที่ดี โดยเฉพาะเมื่อเขาออกไปจากชีวิต ดังนั้นเมื่อตัดสินใจจะเปลี่ยนก็ให้ทำเพื่อตัวเองจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
  • ไปเที่ยวที่ไหนซักแห่งเพื่อทำให้จิตใจโล่ง โดยอาจจะพบสิ่งใหม่ๆ หรือความคิดใหม่ๆ ที่อาจจะเปลี่ยนวิธีคิด และเพิ่มความเป็นตัวตนของตัวเองเข้าไปใหม่
  • จำไว้ว่ามันควรเป็นในสิ่งที่ทำให้มีความสุข เพราะการเปลี่ยนเพื่อคนอื่น มันจะไม่คงทน
  • การเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกเป็นวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงภายใน (เสื้อผ้าที่ดูเป็นมืออาชีพขึ้นจะเสริมให้ดูชำนาญขึ้น เป็นต้น) แต่ไม่ควรสับสนกับความเป็นจริง
  • คนอื่นอาจมองว่ามันไม่ใช่ปัญหา แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นทำเพื่อตัวเอง ไม่ใช่เพื่อพวกเขา
  • จากข้างต้นทั้งหมดนั้น การเปลี่ยนต้องเริ่มด้วยความมีสติ เพราะถ้าไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ก็จะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม
  • เราสามารถเปลี่ยนตัวเองกี่ครั้งก็ได้เท่าที่ต้องการ เพราะไม่มีอะไรที่คงทนถาวรหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • อดทน เพราะมันต้องทำซ้ำๆ อย่างน้อย 21 ครั้งเพื่อที่มันจะกลายเป็นนิสัย โดยวันแรกอาจจะยากมาก แต่มันจะง่ายขึ้นทุกวันหลังจากนั้น
  • เป็นตัวเองและอย่าคิดว่าคนอื่นทำได้ดีกว่า เพราะทุกคนมีความผิดพลาดกันทั้งนั้น


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,434 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา