ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์ของคอมโดยละเอียด

  1. ถ้าฮาร์ดไดรฟ์ยังทำงานได้อยู่ ให้สร้างแผ่น recovery หรือไฟล์ image ด้วย backup ข้อมูลหรือโปรแกรม recovery. แต่ถ้าไดรฟ์ล่มไปเรียบร้อยแล้ว หวังว่าคุณจะมีโอกาส backup ไฟล์สำคัญไว้ที่อื่นก่อนหน้านั้น
  2. ต้องเลือกฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้กับคอมของคุณได้ เพราะถ้า "แทนที่" ไดรฟ์เก่าด้วยไดรฟ์ใหม่ที่เหมือนหรือคล้ายกันที่สุดได้ ขั้นตอนต่างๆ ก็จะง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ถึงไดรฟ์ใหม่จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าไดรฟ์เก่าเยอะ ก็ต้องเลือกประเภทสาย data/power และขนาดเมนบอร์ดเท่ากันกับไดรฟ์เดิม แต่ถ้าไม่อยากใช้ฮาร์ดไดรฟ์ประเภทเดิม ก็ต้องศึกษาและวางแผนดีๆ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง
  3. ปกติ SATA จะมี 3 แบบด้วยกัน (SATA, SATA II และ SATA III) ต้องเช็คให้ดีว่าเมนบอร์ดของคุณใช้แบบไหน จะได้เปลี่ยนไดรฟ์ถูก นอกจากนี้ฮาร์ดไดรฟ์ยังมีให้เลือกหลายขนาดด้วยกัน เช่น 2.5 นิ้ว (ประมาณ 6.5 ซม.) หรือ 3.5 นิ้ว (ประมาณ 9 ซม.) ปกติไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้ว (ประมาณ 6.5 ซม.) จะใช้กับแล็ปท็อป ส่วนขนาด 3.5 นิ้ว (ประมาณ 9 ซม.) จะใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่เดี๋ยวนี้อุปกรณ์ที่ใช้ SSD (Solid State Drive) ขนาด 2.5 นิ้ว (ประมาณ 6.5 ซม.) กำลังเป็นที่นิยม เลยทำให้คนใช้คอมเริ่มหันมาใช้ฮาร์ดไดรฟ์ขนาดเดียวกันกันมากขึ้น เดี๋ยวนี้ยี่ห้อต่างๆ เลยผลิตเคสคอมรุ่นใหม่ๆ สำหรับใช้กับ cage ฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้วเหมือนกัน ถ้าคิดจะเปลี่ยนไดรฟ์แบบ 3.5 นิ้วเป็นแบบ 2.5 นิ้ว ก็ต้องเช็คก่อนว่าเข้าเคสคอมที่มีได้ไหม ไม่งั้นก็ต้องหาซื้อชุด adapter มาใช้
  4. ระวังให้มากเวลาแตะต้องชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. ถ้าไม่ระวัง ตอนประกอบชิ้นส่วนอาจทำคอมเจ๊งเพราะไฟฟ้าสถิต ป้องกันได้โดย ground หรือต่อสายดินให้ตัวเองทุกครั้งก่อนเริ่มซ่อมคอม หนึ่งในวิธีง่ายๆ คือหาสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ โดยจะมีทั้งแบบที่ปลายสายเป็นขั้วไว้เสียบกับปลั๊กที่ต่อสายดินแล้ว หรือแบบที่หนีบไว้หนีบกับอะไรที่เป็นโลหะ ถ้าไม่มีสายรัดนี้ ก็ให้แตะที่เคสคอมส่วนที่เป็นโลหะเอาไว้ ประจุจะได้ถ่ายเทไปยังเคสคอมแทน
  5. แยกผนังเคสทั้ง 2 ด้านออกมา โดยไขน็อตที่ด้านหลังแล้วเลื่อนแผ่นข้างออก เคสคอมบางแบบก็ไม่ได้ใช้น็อต ถ้าเคสคุณเป็นแบบนี้ ก็ต้องหาสลักหรือปุ่มไว้ปลดล็อคประตูหรือกรอบข้างของเคส แล้วถอดออกซะ
  6. ฮาร์ดไดรฟ์ของคอมส่วนใหญ่จะไขน็อตยึดไว้กับ cage ในเคสคอม ให้มองหาสาย data/power แล้วถอดซะ
  7. ปกติไดรฟ์จะถูกไขน็อตยึดไว้ทั้ง 2 ด้าน ให้ไขน็อตที่ว่า ถ้าเคสหรือ cage ไม่รองรับไดรฟ์ไว้ต้องใช้มือช่วยจับ พอไขน็อตเสร็จ ก็เลื่อนฮาร์ดไดรฟ์ออกมาจาก cage หรือเคสได้เลย
  8. ขยับ jumper ของไดรฟ์ใหม่ให้ตรงกับ settings ของไดรฟ์เก่า เช่น Master, Slave หรือ Cable Select ถ้าเป็นไดรฟ์ SATA จะไม่ต้องตั้ง jumper พอถอดฮาร์ดไดรฟ์เดิมแล้ว ให้สังเกตตำแหน่ง jumper ของไดรฟ์ ถ้าไม่เห็น ไดรฟ์ส่วนใหญ่จะมีแผนผังที่ฉลากฮาร์ดไดรฟ์ให้ดูตำแหน่ง jumper ปกติ jumper จะกำหนดไดรฟ์เป็น Master, Slave หรือ Cable Select ให้ปรับ settings ของไดรฟ์ใหม่ให้ตรงกับไดรฟ์เดิม
  9. ติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ โดยเลื่อนไดรฟ์เข้าไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง. หรือก็คือตำแหน่งเดิมของไดรฟ์เก่า จากนั้นค่อยๆ ไขน็อตยึด แล้วเสียบสาย data และ power ตามเดิม
  10. ถ้าจะเปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์หลัก ต้องลงระบบปฏิบัติการใหม่ หรือใช้แผ่น recovery. อาจจะต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการ เช่น Windows, Mac OS หรือ Linux ใหม่ ถ้าไม่ได้สร้างแผ่น recovery หรือไฟล์ image ไว้ ถ้าจะเปลี่ยนไดรฟ์รอง อาจจะต้องลงโปรแกรมใหม่ที่เคยติดตั้งไว้ก่อนหน้า หรือ copy ไฟล์ข้อมูลที่ backup ไว้กลับมา
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ไขควงปากแฉก (Phillips)
  • ฮาร์ดไดรฟ์
  • สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต (ไม่จำเป็น แต่ถ้ามีก็ควรใช้)
  • แผ่น CD ไว้ลงระบบปฏิบัติการ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,008 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา