ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Terminal ของ Apple จะมี UNIX command ใน OS X environment คุณป้อนคำสั่งเพื่อเปิดแอพ หรือเปิดไฟล์ด้วยแอพที่ต้องการได้เลย คุณประยุกต์ใช้คำสั่งนี้ได้หลายวิธี รวมถึงการ host หรือเปิดแอพในหน้าต่าง Terminal ด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เปิดแอพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณเปิด Terminal ได้โดยเข้า Applications Utilities Terminal หรือเปิด Terminal ด้วย spotlight ที่มุมขวาบน
  2. คำสั่ง open ปกติต้องระบุ path เต็มๆ ของไฟล์ในโฟลเดอร์ปัจจุบัน แต่ถ้าพิมพ์ -a ตามด้วยชื่อแอพ ก็สั่งให้ Terminal เปิดแอพนั้นได้ ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน เช่น
    • ถ้าจะเปิด iTunes ให้พิมพ์
      open -a iTunes
    • ถ้าชื่อแอพมีเว้นวรรค ให้คร่อมด้วยเครื่องหมายคำพูด ก็ให้พิมพ์
      open -a "App Store"
  3. นอกจากนี้ยังใช้คำสั่งนี้ override หรือแทนที่แอพตามค่า default ของไฟล์ชนิดนั้นๆ ได้ด้วย ให้พิมพ์ path ของไฟล์แล้วตามด้วย -a และชื่อแอพ ถ้าไม่แน่ใจว่าต้องใส่ path ของไฟล์ยังไง ให้เลื่อนลงไปอ่านส่วน "แก้ปัญหาที่พบบ่อย" ด้านล่างเลย
    • เช่น เปิดไฟล์ .doc ด้วย TextEdit ก็ให้พิมพ์
      open Downloads/Instructions.doc -a TextEdit
  4. ให้พิมพ์ info open ถ้าอยากดูรายชื่อตัวเลือกเต็มๆ สำหรับปรับแต่งคำสั่ง open (เสร็จแล้วให้กด Control C เพื่อกลับไปที่ command line) ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น
    • ใช้ -e เพื่อเลือก TextEdit หรือ -t เพื่อกำหนด text editor หลัก
      open Downloads/Instructions.doc -e
    • พิมพ์ -g เพื่อให้แอพทำงานในเบื้องหลัง จะได้ยังอยู่ใน Terminal
      open -g -a iTunes
  5. ถ้าไม่ได้เซฟงานไว้ ก็จะหายไป แต่ใช้แก้ปัญหาเอกสารค้างจนทำแอพล่มได้
    • open -F -a TextEdit
  6. สะดวกเวลาจะเปรียบเทียบการใช้งานแอพในหลายระดับผู้ใช้ หรือกรณีที่แอพยอมให้เปิดแค่ทีละหน้าต่าง เช่น พิมพ์คำสั่งนี้ซ้ำ เพื่อเปิดโปรแกรม alarm clock (นาฬิกาปลุก) หลายหน้าต่าง
    • open -n -a "Wake Up Time" (หมายเหตุ: ปกติไม่ใช่โปรแกรมตั้งต้นของ OS X)
    • ระวังแอพ error เวลาใช้งานร่วมกับแอพเดียวกันที่เปิดเพิ่มมา
  7. แทนที่จะเปิดแอพตามปกติ คุณสามารถ host หรือเปิดแอพในหน้าต่าง Terminal ได้ด้วย สะดวกเวลาจะ debug เพราะข้อความ error และการแสดงผลทางจอภาพ (console output) ก็จะมาโผล่ในหน้าต่าง Terminal แทน ขั้นตอนก็คือ [1]
    • หาแอพใน Finder
    • คลิกขวาที่แอพ แล้วเลือก "Show Package Contents"
    • หาไฟล์ executable (.exe) ปกติจะอยู่ใน Contents MacOS โดยชื่อเดียวกับแอพ
    • ลากไฟล์ไปใส่ในหน้าต่าง Terminal โล่งๆ จากนั้นกด Enter เพื่อเปิดโปรแกรม
    • เปิดหน้าต่าง Terminal ทิ้งไว้ตอนใช้แอพ จากนั้น quit (ปิด) แอพเพื่อกลับมาใช้งานหน้าต่าง Terminal ตามปกติ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

แก้ปัญหาที่พบบ่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้า Terminal ขึ้นข้อความ error ว่า "Unable to find application named..." ให้หาชื่อแอพที่ตรงกันเป๊ะๆ ในรายชื่อที่เรียงตามลำดับตัวอักษร [2]
    • คลิกสัญลักษณ์  ของ apple ที่มุมซ้ายบนของหน้าจอ
    • กด Option ค้างไว้ แล้วคลิก System Information ในเมนูที่ขยายลงมา
    • ในแถบข้างทางซ้ายของหน้าต่าง System Information ให้คลิก Software Applications แล้วรอรายชื่อโหลดประมาณ 1 - 2 นาที
  2. ถ้าใน Terminal ขึ้นว่า "the file ... does not exist" แสดงว่าพิมพ์ path ของไฟล์ไม่ถูก คุณป้องกันได้ง่ายๆ โดยลากไฟล์จาก Finder ไปใส่ในหน้าต่าง Terminal โดยตรงเลย (หลังพิมพ์ "open" แต่ก่อนกด Enter) ก็จะได้ path เต็มๆ ของไฟล์ ไปถึงไฟล์นั้นแน่นอน
    • absolute file path ต้องเริ่มด้วยเครื่องหมาย / เสมอ ใช้ระบุ path ของไฟล์โดยเริ่มที่ root directory (ปกติคือ "Macintosh HD")
  3. ที่ต้นหน้าต่าง Terminal จะมีตำแหน่งโฟลเดอร์ปัจจุบันเสมอ ตามค่า default นี่แหละ Home directory ของคุณ โดยจะมีชื่อเดียวกับ username ของคุณ relative file path จะเริ่มด้วย ./ หรือโดยไม่มีสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ จะใช้บอกตำแหน่งไฟล์โดยอ้างอิงจากโฟลเดอร์ปัจจุบัน [3] ถ้าหา path นี้ไม่เจอ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • พิมพ์ pwd เพื่อหาตำแหน่งโฟลเดอร์ปัจจุบัน โดยไฟล์ที่จะเปิด ต้องอยู่ในโฟลเดอร์ที่ว่านี้ ไม่ใช่ระดับอื่นที่สูงขึ้นไป
    • หาโฟลเดอร์ปัจจุบันใน Finder. เปิดโฟลเดอร์เข้าไปเรื่อยๆ ทีละชั้น จนเจอไฟล์ที่จะเปิด
    • พิมพ์แต่ละชื่อโฟลเดอร์ที่เปิดเข้าไปตามลำดับ คั่นด้วย / แล้วปิดท้ายด้วยชื่อไฟล์ เช่น open Documents/Writing/Novel/ch3.pdf (อาจจะเริ่มจาก ./ หน้า Documents ก็ได้ ผลจะออกมาเหมือนกัน)
  4. คุณกลับไปที่ Home directory ได้ โดยพิมพ์ cd ~/ หรือสลับไปที่โฟลเดอร์ระดับต่ำกว่า โดยพิมพ์ cd ตามด้วยชื่อโฟลเดอร์ เช่น cd Documents/Finances ย้ำว่าไฟล์ที่จะเปิดต้องอยู่ในโฟลเดอร์ปัจจุบัน แต่จะเปิดในแอพไหนก็แล้วแต่ ไม่เกี่ยงตำแหน่ง
  5. ชื่อไฟล์ต้องมี extension หรือนามสกุลไฟล์ต่อท้าย ถ้า extension ถูกซ่อนไว้ ให้หาด้วยวิธีต่อไปนี้
    • เลือกไฟล์ใน Finder กด Command + I ในหน้าต่าง Info ให้หา "file name & extension" เพื่อดูชื่อไฟล์เต็มๆ
    • หรือ สลับไปโฟลเดอร์ที่มีไฟล์ แล้วพิมพ์ ls ในหน้าต่าง Terminal เพื่อดูรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์
    • หรือ ลากไฟล์ไปใส่ในหน้าต่าง Terminal
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณอาจจะใช้ * เป็น wildcard หรืออักขระพิเศษแทนตัวอักษรอื่น หรือใช้ ? แทนตัวอักษรเดียว [4] โดยใช้ในชื่อไฟล์ได้ แต่ใช้ในชื่อแอพไม่ได้ เช่น open budget* ใช้เปิดไฟล์แรกในโฟลเดอร์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วย "budget" ขึ้นมา ส่วน open budget?.pdf ใช้เปิด "budget1.pdf" แต่เปิด "budget2015.pdf" ไม่ได้ เพราะ ? แทนตัวอักษรเดียว
โฆษณา

คำเตือน

  • บางคำสั่งใช้กับ OS X เวอร์ชั่นเก่าๆ ไม่ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,682 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา