ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

HTML (Hypertext Markup Language) เป็นภาษาเขียนสคริปต์สำหรับเว็บไซต์ ใช้ออกแบบหน้าตาและฟังก์ชั่นการใช้งานของเว็บเป็นหลัก ถ้าไฟล์ไหนมีโค้ด HTML ก็ต้องเซฟเป็นไฟล์ ".HTML" เบราว์เซอร์รุ่นใหม่อย่าง Google Chrome, Safari และ Mozilla Firefox จะอ่านและเปิดไฟล์นี้ได้ เพราะงั้นให้เปิดไฟล์ HTML ในเบราว์เซอร์ที่ถนัดได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เซฟไฟล์ HTML

ดาวน์โหลดบทความ
  1. HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language ไฟล์ HTML ก็คือไฟล์ text ที่มีโค้ดของเนื้อหาและโครงร่าง (layout) ของหน้าเว็บอยู่ ถ้าอยากเปิดดูโค้ดในไฟล์ HTML ต้องเปิดในโปรแกรม text editor (เช่น notepad, notepad++ หรือ HTML editor ต่างๆ) แต่ถ้าอยากรู้ว่าโปรแกรมที่สร้างจากโค้ดนั้นหน้าตาเป็นยังไง ต้องเปิดในเบราว์เซอร์ เพราะเอาไว้อ่านและ render ไฟล์ HTML โดยเฉพาะ
  2. พอเริ่มเขียนโค้ดเชี่ยวแล้ว ก็ค่อยใช้โปรแกรม HTML editor เช่น Adobe Dreamweaver, Microsoft Expression Web หรือ Coffee cup HTML Editor แต่ถ้าขั้นพื้นฐาน เปิดในโปรแกรมทั่วไปก็พอ เช่น Notepad (Windows) หรือ TextEdit (Mac)
  3. ถ้าสร้างไฟล์ HTML ด้วย Notepad, TextEdit หรือ text editor อื่นๆ อย่าลืมเซฟให้ถูกชนิดไฟล์ ก่อนเซฟต้องเช็คก่อนว่าเปลี่ยน "Save as type" เป็น "All files" (ถ้าจำเป็น) แล้ว จากนั้นคลิก "Save"
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปิดไฟล์ HTML

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าจะเปิดไฟล์ HTML ในคอม ต้องมีเบราว์เซอร์ซะก่อน
  2. ถ้ารู้ว่าไฟล์อยู่ในโฟลเดอร์ไหนสักโฟลเดอร์ แต่หาไม่เจอ ให้ลองค้นหาไฟล์ในคอม โดยพิมพ์ "ชื่อไฟล์.html" ช่องค้นหาท้ายเมนู Start (ถ้าใช้ Windows) หรือช่องค้นหาในโปรแกรม Finder (ถ้าใช้ Mac)
    • ปกติไฟล์ HTML จะอยู่ในโฟลเดอร์ชื่อเดียวกับไฟล์ แค่ไม่ได้ลงท้ายด้วย .html ในโฟลเดอร์เดียวอาจจะมีหลายชนิดไฟล์ เช่น .js .css ไฟล์รูป และอื่นๆ พวกนี้เป็นไฟล์สำคัญสำหรับ layout และฟังก์ชั่นของหน้าเว็บทั้งนั้น ห้ามลบเด็ดขาด ให้ปล่อยไว้ใน directory (โฟลเดอร์) เดียวกับไฟล์ html ถ้าเผลอไปลบ ระวังหน้าเว็บไม่ขึ้น แต่ถ้าอยากปรับแต่งไฟล์ html ต้องหัดเขียนโค้ดด้วยภาษา html หรือภาษาเขียนสคริปต์อื่นๆ
  3. คลิกขวา (Windows) หรือดับเบิลคลิก (Mac) ไฟล์ แล้วเลือก "Open with" จากในเมนู. จะมีให้เลือกเบราว์เซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ในคอม โดยมีเบราว์เซอร์ตั้งต้นของคอมอยู่บนสุด จะเปิดไฟล์ด้วยเบราว์เซอร์ไหนก็ได้ เช่น Google Chrome, Mozilla Firefox, Safari และอื่นๆ
    • คอมส่วนใหญ่จะตั้งค่าให้เปิดไฟล์ .html ด้วยเบราว์เซอร์หลัก (ตามค่าตั้งต้น) เพราะงั้นก็ไม่ต้องหาเบราว์เซอร์เพื่อเปิดไฟล์ แค่ดับเบิลคลิกไฟล์แล้วคอมจะเปิดขึ้นมาในเบราว์เซอร์ตามค่า default ให้เอง
    • ถ้าคอมงง เปิดไฟล์นั้นไม่ได้ Windows จะถามว่าจะเปิดไฟล์ด้วยโปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องแล้วไหม หรือจะค้นหา extension ในเน็ต ให้เลือก "open using already installed applications" จะได้เลือกจากรายชื่อเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งไว้ในคอมแล้ว
  4. เบราว์เซอร์จะแปลงโค้ดเป็นภาพที่คุณเห็นโดยอัตโนมัติ ตำแหน่งไฟล์จะขึ้นในแถบ address ใช้ยืนยันได้ว่าเปิดไฟล์ HTML เรียบร้อย และถูกไฟล์แล้ว
  5. เพื่อเปิดเมนู "Open" หาไฟล์ ดับเบิลคลิก แล้วดูโปรแกรมที่เปิดมาใน tab ของเบราว์เซอร์ แต่ละเบราว์เซอร์ก็มีคีย์ลัด "Open" ต่างกันไป ลองเช็ค settings ของเบราว์เซอร์ดู
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เปิดไฟล์ HTML ของเว็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้า host มี FTP ในตัว ก็ให้ใช้ได้เลย จะง่ายขึ้นอีกเยอะ แต่ถ้าไม่มี ให้ใช้ FTP host อื่น เช่น FileZilla
  2. ถ้าใช้ built-in platform ก็สบาย จะเห็น 2 ช่องทางซ้าย กับ 2 ช่องทางขวา ก็ไม่ต้องไปสนใจช่องซ้ายหรือขวาบน ให้ดูที่ช่องขวาล่าง
  3. จะเริ่มอัพโหลดทันที ถ้าใช้ built-in platform ให้หาโฟลเดอร์ "htdocs" (หรือ default HTML) แล้วกด "Upload" จากนั้นจะมีตัวเลือกเพิ่มเติม
    • อย่าใช้ shortcut! เพราะจะกลายเป็นอัพโหลดไฟล์ LNK Mirror ที่ไม่จำเป็น
  4. ต่อไป ถ้าลบหน้า default ไปแล้ว ให้ไปดูเว็บไซต์ ถ้าอยากเห็นไฟล์ HTML! ถ้าเห็นรายชื่อ directory ให้คลิกไฟล์ .html ดูได้เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากทำงานสะดวกรวดเร็ว เต็มประสิทธิภาพ ให้ใช้เบราว์เซอร์อื่นที่ไม่ใช่ Internet Explorer 7


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 31,937 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา