PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เวลาใช้ Linux บัญชีผู้ใช้แบบ root user คือบัญชีที่มีสิทธิ์ใช้คำสั่งทั้งหมดใน Terminal และไฟล์ทั้งหมดในระบบ โดย root user สามารถปรับแต่งระบบ Linux เป็นอะไรแบบไหนก็ได้ตามต้องการ ใน Linux แทบทุกเวอร์ชั่น รวมถึงเวอร์ชั่นล่าสุดอย่าง Kali Linux จะปิดการใช้งานบัญชี root user ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ทั่วไปที่อาจมีความชำนาญไม่มากพอ เข้าไปปรับแต่งจนระบบเสียหายได้ แต่ถ้าอยากปลดล็อคบัญชี root user ใน Kali Linux ก็ทำได้ง่ายนิดเดียว โดยใช้ Terminal คำเตือน: ล็อกอินเป็น root user แล้ว ขอให้ปรับแต่งระบบด้วยความระมัดระวัง เพราะผิดพลาดแค่นิดเดียวอาจทำให้ระบบล่มถาวรได้เลย แนะนำให้ล็อกอิน root user เฉพาะกรณีที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจริงๆ เท่านั้น [1]

  1. ล็อกอินใน Kali Linux ด้วย username กับรหัสผ่านปกติได้เลย พอตั้งรหัสผ่านบัญชี root แล้วค่อยล็อกอินด้วยบัญชี root
  2. ใน Linux แทบทุกเวอร์ชั่น จะเปิด Terminal ได้โดยคลิกไอคอน Terminal ในเมนู Apps ไอคอนจะเป็นหน้าจอสีดำ มีเคอร์เซอร์สีขาว หรือกดคีย์ลัด Ctrl + Alt + T ที่คีย์บอร์ด เพื่อเปิด Terminal แทนก็ได้
  3. เป็นคำสั่งอัปเดต package manager ใน Kali Linux
  4. เพื่อติดตั้ง root login package ใน Kali Linux ถ้ายังไม่เคยติดตั้ง [2]
  5. เป็นคำสั่งให้บัญชีผู้ใช้ปัจจุบัน สามารถใช้ Terminal ในฐานะ root user ได้ [3]
    • ถ้าแอดมินเจ้าของเครื่องบล็อก root access ไว้ จะอนุญาตสิทธิ์ root access ใน Terminal เองไม่ได้
  6. ต้องใส่รหัสผ่านผู้ใช้ เพื่อสลับไปใช้ root access ถ้าสำเร็จ เคอร์เซอร์เวลาพิมพ์จะขึ้นว่า "root@computername:~#" ใน Terminal แทน "username@computername:~$" ตามปกติ
  7. จะมีให้พิมพ์รหัสผ่านใหม่ สำหรับล็อกอินแบบ root user
  8. เป็นรหัสผ่านสำหรับใช้ล็อกอินบัญชี root
  9. ย้ำว่าต้องพิมพ์รหัสผ่านเดิมให้ถูกต้องเหมือนตอนพิมพ์ครั้งแรก เพื่อยืนยันรหัสผ่าน root ใหม่ ถ้าสำเร็จ จะขึ้นว่าอัปเดตรหัสผ่านเรียบร้อยแล้ว
  10. โดยคลิกไอคอนวงกลม มีลูกศรชี้ขวา ปกติจะอยู่มุมขวาบน จากนั้นจะคลิก Log Out หรือ Switch User ก็ได้
  11. โดยพิมพ์ "root" ในช่อง username ในหน้าล็อกอิน แล้วพิมพ์รหัสผ่าน root ที่ตั้งไป แล้วคลิก Log In หรือกด Enter เพื่อล็อกอินบัญชี root [4]
  12. เช็คได้ว่าล็อกอินในฐานะ root user แล้ว โดยเปิด Terminal ถ้าขึ้นว่า "root@computername:~#" ที่เคอร์เซอร์เวลาพิมพ์ตั้งแต่แรก ก็แปลว่าต่อจากนี้คุณพิมพ์คำสั่ง root ใน Terminal ได้ทั้งหมดแล้ว
    โฆษณา

คำเตือน

  • เวลาล็อกอินเป็น root user แล้ว ทำอะไรต้องระวังมากๆ เพราะถ้าเผลอไปลบไฟล์สำคัญของระบบ หรือไป execute ใช้งานคำสั่งสำคัญผิดพลาดไป อาจทำให้ระบบเสียหายถาวรได้เลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,832 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา